พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2808-2809/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินพิพาท, สิทธิของเจ้าหนี้, การครอบครองปรปักษ์, และการฟ้องขับไล่ที่ไม่สุจริต
แม้ว่าตามสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์ที่3และจำเลยข้อ3มีว่าหากจำเลยไม่ชำระค่าที่ดินให้โจทก์ที่3เป็นเวลา2เดือนถือว่าสละสิทธิและเงินที่ส่งมาถือเป็นค่าเช่าก็ตามแต่ตามทางปฏิบัติเมื่อชำระเงินมัดจำให้โจทก์ที่3จำนวน30,000บาทแล้วจำเลยได้ผ่อนชำระให้โจทก์ที่3เรื่อยมาแต่ไม่ติดต่อกันทุกเดือนและขาดส่งเกินกว่า2เดือนแล้วก็มีหลังจากนั้นเมื่อจำเลยชำระให้โจทก์ที่3ก็รับชำระอีกการซื้อที่ดินแปลงที่3ก็เช่นเดียวกันจำเลยได้ชำระค่าเช่าที่ดินจำนวน140,000บาทเท่านั้นแสดงให้เห็นว่าโจทก์ที่3และจำเลยต่างไม่ถือเอากำหนดระยะเวลาในสัญญาข้อ3เป็นสาระสำคัญอีกต่อไปดังนั้นการเลิกสัญญาจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา387คือโจทก์ที่3จะต้องบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรหากจำเลยไม่ชำระหนี้โจทก์ที่3จึงจะบอกเลิกสัญญาได้แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่3ได้บอกเลิกสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยดังนั้นสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยและโจทก์ที่3จึงยังมีผลใช้บังคับอยู่ โจทก์ที่3ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินและโอนการจัดสรรที่ดินให้โจทก์ที่1แม้ในสัญญาดังกล่าวจะไม่ระบุถึงจำเลยหรือผู้ซื้อที่ดินรายอื่นๆว่าได้ซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ที่3ก็ดีแต่ขณะที่โจทก์ที่7ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่โจทก์ที่1นั้นจำเลยได้ปลูกสร้างบ้านอยู่อาศัยรวมทั้งสร้างอู่ซ่อมรถยนต์ในที่ดินพิพาทก่อนแล้วและโจทก์ที่1ได้เคยเสนอขอแลกห้องแถวสองห้องของตนกับที่ดินพิพาทของจำเลยอีกด้วยแสดงว่าโจทก์ที่1รู้อยู่แล้วในขณะทำสัญญาซื้อขายที่ดินและรับโอนการจัดสรรที่ดินซึ่งรวมถึงที่ดินพิพาทจากโจทก์ที่3ว่าจำเลยได้ซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ที่3อยู่ก่อนและการที่โจทก์ที่2รับโอนที่ดินที่จัดสรรแทนโจทก์ที่1ก็ถือได้ว่าโจทก์ที่2ทราบแล้วว่าจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายที่ดินกับโจทก์ที่3อยู่ก่อนแล้วเพราะโจทก์ที่1เป็นกรรมการของโจทก์ที่2อยู่ด้วยเมื่อโจทก์ที่1และที่2ทราบมาก่อนแล้วว่าจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจากโจทก์ที่3การที่โจทก์ที่1และที่2ยังซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ที่3เช่นนี้การรับโอนในส่วนที่ดินพิพาทจึงมิได้เป็นไปโดยสุจริตการที่โจทก์ที่2นำคดีมาฟ้องขับไล่จำเลยจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตโจทก์ที่2ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้ จำเลยกับโจทก์ที่3เท่านั้นที่เป็นคู่สัญญาในการซื้อขายที่ดินพิพาทกันโจทก์ที่1และที่2มิได้เป็นคู่สัญญากับจำเลยด้วยแม้โจทก์ที่1จะเป็นผู้ซื้อที่ดินซึ่งรวมถึงที่ดินพิพาทไปจากโจทก์ที่3โดยโจทก์ที่2เป็นผู้รับโอนแทนโจทก์ที่1โดยรู้อยู่ก่อนแล้วว่าจำเลยเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ก็หาได้มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดกำหนดให้นิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยกับโจทก์ที่3ตกติดไปอันจะมีผลทำให้โจทก์ที่1และที่2ต้องรับไปซึ่งสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาจะซื้อขายระหว่างโจทก์ที่3กับจำเลยด้วยไม่ดังนั้นจำเลยจึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่2แบ่งแยกที่ดินพิพาทเพื่อโอนให้แก่จำเลยได้ จำเลยทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจากโจทก์ที่3โดยยังชำระราคาไม่ครบถ้วนและการที่โจทก์ที่3โอนขายที่ดินรวมทั้งที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่1โดยโจทก์ที่1ให้โจทก์ที่2รับโอนแทนนั้นเป็นการโอนโดยไม่สุจริตและเป็นทางให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบคดีของจำเลยจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237แต่จำเลยมิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนระหว่างโจทก์ที่3กับโจทก์ที่2จึงไม่อาจพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนดังกล่าวได้แต่ไม่ตัดสิทธิของจำเลยที่จะนำคดีมาฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148(3) ตามหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์ที่3และจำเลยระบุให้จำเลยผู้ซื้อเข้าปลูกบ้านในที่ดินพิพาทได้ทันแม้ยังอยู่ระหว่างผ่อนชำระราคาก็ตามการที่จำเลยเข้าปลูกบ้านอาศัยในที่ดินพิพาทก็โดยอาศัยสิทธิตามสัญญาซื้อขายดังกล่าวเป็นการเข้าครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ที่3ไม่ใช่โดยอาศัยอำนาจของตนเองการครอบครองที่ดินพิพาทจึงไม่เป็นปรปักษ์จนกว่าจำเลยจะบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือให้โจทก์ที่3ทราบว่าจะยึดถือที่ดินพิพาทเพื่อตนเองเมื่อจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ที่3แม้จะนานเท่าใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2141/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันขยายผลถึงบริษัทในเครือ: สิทธิของเจ้าหนี้ในการเรียกชำระหนี้จากผู้ค้ำประกัน
ตามสัญญาค้ำประกันมีใจความว่าข้าพเจ้า(จำเลย)ขอทำสัญญาค้ำประกันว. ไว้ต่อบริษัทน. มีข้อความดังต่อไปนี้ข้อ5"ในกรณีที่ลูกจ้างได้รับคำสั่งให้โยกย้ายไปปฏิบัติงานในบริษัทอื่นซึ่งต่างนิติบุคคลกับบริษัทน. แต่เป็นบริษัทในเครือของกลุ่มที.ซี.ซี.ไม่ว่าจะตั้งสำนักงานอยู่ณที่ใดก็ตามสัญญาค้ำประกันฉบับนี้ย่อมมีผลใช้บังคับตลอดระยะเวลาที่ลูกจ้างยังคงปฏิบัติหน้าที่เป็นลูกจ้างของบริษัทในเครือของบริษัทกลุ่มที.ซี.ซี."หมายความว่าจำเลยยอมผูกพันตนชำระหนี้ค่าเสียหายไม่ว่ากรณีใดๆอันเกิดจากการกระทำของว.ในขณะปฏิบัติงานเป็นลูกจ้างของบริษัทน. หรือบริษัทในกลุ่มที.ซี.ซี. เมื่อข้อเท็จจริงฟังยุติได้ว่าขณะที่ว. ไปก่อให้เกิดความเสียหายนั้นว.ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นพนักงานในบริษัทน.แต่ไปทำหน้าที่ในเครือบริษัทกลุ่มที.ซี.ซี.และโจทก์เป็นบริษัทในเครือกลุ่มที.ซี.ซี.ดังนั้นเมื่อว.ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ตามข้อกำหนดในสัญญานี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5366/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ในการประชุมเจ้าหนี้แม้ยังไม่มีคำสั่งรับชำระหนี้ การดำเนินการประชุมเจ้าหนี้ต้องเป็นไปตามกฎหมาย
เจ้าหนี้รายที่ 4 ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามคำพิพากษาภายในระยะเวลาตามกฎหมาย ถึงแม้ศาลจะยังไม่ได้มีคำสั่งให้จำเลยรายที่ 4 ได้รับชำระหนี้ ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 4เป็นเจ้าหนี้ในคดี ย่อมมีสิทธิเข้าประชุมเจ้าหนี้และออกเสียงลงคะแนนได้ตามมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483ส่วนการที่จะมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยแค่ไหนเพียงใดนั้น เป็นดุลพินิจของศาลที่จะมีคำสั่งต่อไปในสำนวนคำขอรับชำระหนี้ การที่ศาลยังมิได้มีคำสั่งให้เจ้าหนี้รายที่ 4 ได้รับชำระหนี้ ไม่เป็นเหตุที่จะต้องเลื่อนการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกซึ่งต้องดำเนินการโดยเร็วที่สุดตามมาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5366/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ในการประชุมเจ้าหนี้แม้ยังไม่ได้คำสั่งรับชำระหนี้ การดำเนินการประชุมเจ้าหนี้ต้องเป็นไปตามกฎหมาย
เจ้าหนี้รายที่4ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามคำพิพากษาภายในระยะเวลาตามกฎหมายถึงแม้ศาลจะยังไม่ได้มีคำสั่งให้เจ้าหนี้รายที่4ได้รับชำระหนี้ก็ถือได้ว่าเจ้าหนี้รายที่4เป็นเจ้าหนี้ในคดีย่อมมีสิทธิเข้าประชุมเจ้าหนี้และออกเสียงลงคะแนนได้ตามมาตรา34แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483ส่วนการที่จะมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยแค่ไหนเพียงใดนั้นเป็นดุลพินิจของศาลที่จะมีคำสั่งต่อไปในสำนวนคำขอรับชำระหนี้การที่ศาลยังมิได้มีคำสั่งให้เจ้าหนี้รายที่4ได้รับชำระหนี้ไม่เป็นเหตุที่จะต้องเลื่อนการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกซึ่งต้องดำเนินการโดยเร็วที่สุดตามมาตรา31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5366/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ในการประชุมเจ้าหนี้แม้ยังไม่มีคำสั่งรับชำระหนี้ - การดำเนินการประชุมเจ้าหนี้ต้องเป็นไปตามกฎหมาย
แม้ศาลจะยังไม่ได้มีคำสั่งให้ ก. ซึ่งได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามคำพิพากษาภายในระยะเวลาตามกฎหมายได้รับชำระหนี้ก็ถือได้ว่าก. เป็นเจ้าหนี้ในคดีย่อมมีสิทธิเข้าประชุมเจ้าหนี้และออกเสียงลงคะแนนได้ตามมาตรา34แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483ส่วนการที่จะมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยแค่ไหนเพียงใดนั้นเป็นดุลพินิจของศาลที่จะมีคำสั่งต่อไปในสำนวนคำขอรับชำระหนี้การที่ศาลยังมิได้มีคำสั่งให้ ก. ได้รับชำระหนี้ไม่เป็นเหตุที่จะต้องเลื่อนการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกซึ่งต้องดำเนินการโดยเร็วที่สุดตามมาตรา31แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4678/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดบังคับคดีตามมาตรา 293 วรรคแรก ต้องมีการยึดทรัพย์สินก่อน และไม่ลิดรอนสิทธิเจ้าหนี้
โจทก์ที่ 2 มิได้ร่วมกับโจทก์ที่ 1 ยื่นคำร้องของดการบังคับคดีไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องของโจทก์ที่ 1 แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 รับอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 2 ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิฎีกา การขอให้งดการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 293 วรรคแรกจะต้องมีการบังคับคดีโดยการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาอยู่ก่อนแล้วในขณะนั้น เนื่องจากวิธีการบังคับคดีที่จะงดคือการขายทอดตลาดหรือจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาโดยวิธีอื่น เพื่อเป็นการคุ้มครองป้องกันมิให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้รับความเสียหายจากการขายทอดตลาดหรือจำหน่ายทรัพย์สินก่อนที่จะได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดในคดีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นโจทก์ หาได้ให้ความคุ้มครองแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาถึงขนาดลิดรอนสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามิให้ดำเนินการเพื่อผลในการบังคับคดีตามคำพิพากษากับทรัพย์อื่นต่อไปไม่ คำร้องของโจทก์ที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ขอให้งดการบังคับคดีที่อาจมีต่อไปในอนาคตไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 814/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการจดทะเบียนโอนที่ดิน: น.ส.3 ไม่ใช่หลักฐานกรรมสิทธิ์, สิทธิเจ้าหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 ไม่เกิดขึ้น
ขณะโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3)ซึ่งเป็นเพียงเอกสารแสดงสิทธิครอบครองเป็นของจำเลยที่ 1 ไม่ใช่หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์เช่นโฉนดที่ดิน แม้ภายหลังได้มีการออกโฉนดที่ดินพิพาทแล้วจำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 3 ขายต่อให้จำเลยที่ 4 ก็จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1300 มาใช้แก่กรณีนี้ไม่ได้ โจทก์จึงไม่ใช่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6539/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม แม้เจ้าหนี้จะผ่อนผันการชำระหนี้ก็ยังคงมีอยู่
จำเลยที่ 1 ที่ 4 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ยอมชำระเงินให้โจทก์ที่ 1 ที่ 2 โดยผ่อนชำระเป็นงวดรายเดือน เดือนละ 20,000 บาทศาลพิพากษาตามยอม ผู้ร้องเป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าว ศาลออกคำบังคับให้จำเลยที่ 1 ที่ 4 ชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 4 ไม่ชำระหนี้ให้ตรงตามระยะเวลาเป็นการไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ โจทก์ที่ 1 ที่ 2 มีสิทธิบังคับคดีได้ทันที การที่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ยังไม่บังคับคดีและรับชำระหนี้ต่อมาเป็นเพียงการผ่อนผันให้เท่านั้น ไม่ใช่การสละสิทธิในการบังคับคดีหรือสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 154 วรรคสอง โจทก์ที่ 1 ที่ 2 จะบังคับคดีเมื่อใดก็ได้ตามสิทธิที่มีอยู่ตามกฎหมายและเมื่อต่อมาจำเลยที่ 1 ที่ 4 ไม่ชำระหนี้งวดที่ 13 และ 14 โจทก์ที่ 1 ที่ 2 จึงขอบังคับคดี การที่ศาลออกหมายบังคับคดีจึงชอบด้วยกฎหมาย แม้ภายหลังผู้ร้องจะชำระหนี้งวดที่ 13 และ 14 โจทก์ที่ 1 ที่ 2 รับไว้ ก็เป็นสิทธิของโจทก์ที่ 1ที่ 2 ผู้เป็นเจ้าหนี้จะรับชำระหนี้ ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตและไม่ทำให้หมายบังคับคดีกลับเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ไม่มีเหตุที่ศาลจะเพิกถอนหมายบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2189/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนการบังคับคดีโดยเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และผลกระทบต่อสิทธิของเจ้าหนี้รายอื่นในการเฉลี่ยทรัพย์
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ประสงค์จะบังคับคดีแก่จำเลย โจทก์ย่อมขอถอนการบังคับคดีได้โดยแจ้งไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นหนังสือว่าตนสละสิทธิในการบังคับคดีนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 295 (2) เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับหนังสือนั้นแล้ว การถอนการยึดทรัพย์ของโจทก์ย่อมมีผลทันที และถือว่าการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่เจ้าพนักงาน-บังคับคดียึดมาได้เสร็จสิ้นลงตั้งแต่วันดังกล่าว ผู้ร้องยื่นคำร้องและขอเฉลี่ยทรัพย์เข้ามาภายหลังจากสิ้นระยะเวลาสิบสี่วันนับจากวันดังกล่าว คำร้องของผู้ร้องจึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 290วรรคสี่ แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะยังมิได้มีคำสั่งเกี่ยวกับคำขอถอนการยึดของโจทก์ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5785/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอรับชำระหนี้ค่าไถ่ถอนจำนองในคดีล้มละลาย: เงื่อนไขหนี้, สิทธิเจ้าหนี้, การขอโอนกรรมสิทธิ์
กรณีที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ค่าไถ่ถอนจำนอง ซึ่งมูลหนี้ที่ลูกหนี้ที่ 1 ได้ก่อขึ้นแก่เจ้าหนี้เกิดก่อนวันที่ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ที่ 1 เด็ด ขาด ดังนั้น ถือว่าสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะไถ่ถอนจำนองด้วยตนเองย่อมมีอยู่แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ มูลแห่งหนี้ค่าไถ่ถอนจำนองที่จะเรียกเอาจากลูกหนี้ที่ 1 จึงเกิดขึ้นแล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เพียงแต่เจ้าหนี้ยังไม่ได้ไถ่ถอนจำนอง ซึ่งถ้า หากเจ้าหนี้ได้ไถ่ถอนจำนองไปแล้วเมื่อใด ก็ย่อมเรียกให้ลูกหนี้ที่ 1 ชดใช้เงินค่าไถ่ถอนจำนองได้เมื่อนั้น แต่ขณะที่ขอรับชำระหนี้ เจ้าหนี้ยังไม่ได้ไถ่ถอนจำนองและไม่แน่ว่าเจ้าหนี้จะใช้สิทธินั้นเมื่อใด เจ้าหนี้จึงยังไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้ชดใช้ค่าไถ่ถอนจำนอง แต่ถือได้ว่าหนี้ค่าไถ่ถอนจำนองรายนี้เป็นหนี้มีเงื่อนไขและเงื่อนไขยังไม่สำเร็จเจ้าหนี้ย่อมขอรับชำระหนี้ได้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483(มาตรา 94) ส่วนคำขอรับชำระหนี้ที่ระบุให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือใช้ราคาแก่เจ้าหนี้นั้น คำขอให้ใช้ราคาที่ดินเป็นเพียงส่วนหนึ่งของคำขอรับชำระหนี้ในลักษณะที่จะเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั่นเอง ซึ่งตามกฎหมายหนี้ที่จะขอรับชำระได้ในคดีล้มละลายจะต้องเป็นหนี้เงินเท่านั้น การที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในลักษณะขอให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือใช้ราคาแก่เจ้าหนี้เช่นนี้ จึงไม่มีสิทธิที่จะทำได้ แต่เจ้าหนี้ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้ดำเนินการเพื่อบังคับตามสิทธิของตนเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก เมื่อเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในลักษณะขอให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือใช้ราคาแก่เจ้าหนี้เช่นนี้ศาลจะอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้ในส่วนนี้หาได้ไม่.