พบผลลัพธ์ทั้งหมด 142 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2582/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทนพิเศษกว่าเช่า และสิทธิเช่าเมื่อมีการเวนคืนเพื่อประโยชน์สาธารณะ
จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบแสดงว่าสัญญาเช่าตึกพิพาทที่จำเลยทำไว้ต่อโจทก์ที่แท้จริงเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาซึ่งไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94พระราชบัญญัติ ญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องให้ใช้บังคับแผนผังปรับปรุงเขตเพลิงไหม้ เป็นเรื่องที่กฎหมายห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ซ่อมแซม รื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคารในเขตที่มีการประกาศใช้บังคับแผนผังปรับปรุงเขตเพลิงไหม้แล้วเท่านั้นมิใช่ให้รื้อถอนทันที แม้ตึกพิพาทจะอยู่ในเขตเพลิงใหม้ซึ่งแผนผังปรับปรุงเขตเพลิงไหม้กำหนดให้มีการตัดถนนใหม่ซึ่งจำเป็นต้องซื้อตึกพิพาทแต่เมื่อสิทธิในการเช่าตึกพิพาทของจำเลยตามสัญญาที่ตกลงกับโจทก์ยังมีอยู่และตึกพิพาทยังไม่ถูกทำลายหรือสูญหาย โจทก์จะยกเงื่อนไขดังกล่าวขึ้นเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาเช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ได้การที่ทางราชการต้องการใช้ที่ดินแห่งใดเพื่อประโยชน์ของทางราชการมิใช่หน้าที่ของโจทก์ที่จะเป็นผู้ดำเนินการ เพราะตามพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 61 ได้บัญญัติไว้แล้วว่าในกรณีที่มีความจำเป็นต้องจัดให้ได้มาซึ่งที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ใดเพื่อใช้ประโยชน์ตามที่กำหนดในแผนผังปรับปรุงเขตเพลิงไหม้ ให้ดำเนินการเวนคืนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์นั้นโดยให้นำกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มาใช้บังคับโดยอนุโลม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2290/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่และสิทธิเช่าที่ดิน: ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องคดีส่วนแพ่งขอให้ห้ามจำเลยเข้าไปในที่ดินพิพาทของโจทก์ ถือได้ว่าเป็นประเภทเดียวกับฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท และจำเลยมิได้กล่าวแก้ข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ เมื่อที่ดินพิพาทอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 5,000 บาท คดีส่วนแพ่งจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามมาตรา 248 ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาในคดีส่วนแพ่งว่าจำเลยที่ 1 ได้เช่าที่ดินพิพาทจากนาง ม. และ บ. เจ้าของที่ดินพิพาทเดิม เมื่อโจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโจทก์ต้องรับโอนทั้งสิทธิและหน้าที่ที่จะจต้องให้จำเลยที่ 1 เช่า หรือจำเลยที่ 1 มีสิทธิที่จะซื้อที่ดินพิพาทจาก บ.หรือโจทก์ ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาทได้นั้น เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่ฟังว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้เช่าที่ดินพิพาทจาก ม.หรือ บ. เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3570/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการคุ้มครองสิทธิผู้เช่าช่วง สิทธิการเช่ายึดได้เฉพาะลูกหนี้ตามคำพิพากษา
การอ้างว่าจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินที่ถูกยึดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 จะต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 55 ด้วย ในชั้นนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้นำยึดสิทธิการเช่าของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น มิได้กระทบกระเทือนถึงสิทธิการเช่าของผู้ร้องตามสัญญาเช่าที่ทำกับจำเลยที่ 1 ผู้ให้เช่าช่วง ดังนี้ยังไม่มีการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2759/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดินสร้างลานจอดรถและอาคารพาณิชย์: สิทธิเช่าเป็นไปตามสัญญาแต่ละฉบับ และข้อเสนอเช่าต่อไม่ใช่ข้อผูกมัด
สัญญาเช่าที่ดินที่กำหนดให้ผู้เช่าสร้างลานจอดรถยนต์แล้วมอบให้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่านั้น เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าธรรมดา แม้ที่ดินตามสัญญาเช่าดังกล่าวจะเป็นที่ดินส่วนหนึ่งของสัญญาเช่าอีกฉบับหนึ่งซึ่งระบุให้ผู้เช่ามีหน้าที่ต้องสร้างอาคารพาณิชย์แล้วจดทะเบียนยกกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ให้เช่า โดยผู้ให้เช่าตกลงให้ผู้เช่าเช่าอาคารพาณิชย์มีกำหนด 25 ปี นับแต่วันก่อสร้างเสร็จก็ตาม ก็ไม่เกี่ยวกับการเช่าที่ดินเพื่อทำลานจอดรถยนต์ จำเลยจะมีสิทธิเช่าที่ดินอันเป็นลานจอดรถยนต์ได้นานเพียงใดต้องดูระยะเวลาแห่งการเช่านั้นเป็นเกณฑ์
ท้ายหนังสือบอกเลิกการเช่าของโจทก์ที่มีมาถึงจำเลยมีข้อความว่า ถ้าจำเลยประสงค์จะเช่าต่อให้ติดต่อแผนกที่ดินและโรงเรือนของโจทก์ เป็นเพียงคำแนะนำของโจทก์เท่านั้นไม่ใช่คำเสนอให้เช่าของโจทก์ แม้จำเลยจะได้สนองตอบรับการเช่าก็ไม่ถือว่าโจทก์จำเลยได้ต่อสัญญาเช่ากันอีก
ปัญหาเรื่องอายุความในทางแพ่งเป็นข้อที่ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
เงินที่จำเลยนำไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์เป็นค่าเช่ารายเดือน มิใช่วางเป็นค่าเสียหาย โจทก์ไปขอรับเงินเป็นค่าเสียหายแต่พนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานวางทรัพย์ไม่ยอมจ่ายให้โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้
ท้ายหนังสือบอกเลิกการเช่าของโจทก์ที่มีมาถึงจำเลยมีข้อความว่า ถ้าจำเลยประสงค์จะเช่าต่อให้ติดต่อแผนกที่ดินและโรงเรือนของโจทก์ เป็นเพียงคำแนะนำของโจทก์เท่านั้นไม่ใช่คำเสนอให้เช่าของโจทก์ แม้จำเลยจะได้สนองตอบรับการเช่าก็ไม่ถือว่าโจทก์จำเลยได้ต่อสัญญาเช่ากันอีก
ปัญหาเรื่องอายุความในทางแพ่งเป็นข้อที่ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
เงินที่จำเลยนำไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์เป็นค่าเช่ารายเดือน มิใช่วางเป็นค่าเสียหาย โจทก์ไปขอรับเงินเป็นค่าเสียหายแต่พนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานวางทรัพย์ไม่ยอมจ่ายให้โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของร่วมสิทธิเช่า: โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอนการโอนสิทธิเช่าระหว่างเจ้าของร่วมด้วยกัน
โจทก์และบุตรโจทก์เป็นเจ้าของร่วมกันในสิทธิการเช่าตึกพิพาทโดยโจทก์ให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือสิทธิดังกล่าวแทน ต่อมาได้มีการโอนเป็นชื่อของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนของ อ. เจ้าของร่วมอีกคนหนึ่ง ดังนี้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ดังกล่าว เพราะทั้งโจทก์และ อ. ต่างเป็นเจ้าของร่วมในทรัพย์สินพิพาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของร่วมสิทธิเช่า ไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอนการโอนสิทธิระหว่างเจ้าของร่วมด้วยกัน
โจทก์และบุตรโจทก์เป็นเจ้าของร่วมกันในสิทธิการเช่าตึกพิพาทโดยโจทก์ให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือสิทธิดังกล่าวแทน ต่อมาได้มีการโอนเป็นชื่อของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนของ อ. เจ้าของร่วมอีกคนหนึ่ง ดังนี้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ดังกล่าว เพราะทั้งโจทก์และ อ. ต่างเป็นเจ้าของร่วมในทรัพย์สินพิพาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 559-561/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกข้อกฎหมายพิเศษหลังคดีถึงที่สุด การอ้างสิทธิเช่าที่ดินในชั้นบังคับคดีเป็นไปไม่ได้ หากมิได้ยกขึ้นต่อสู้ในชั้นพิจารณา
โดยปกติการเช่าทรัพย์ย่อมอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะเช่าทรัพย์ หากผู้ใดจะอ้างความคุ้มครองตามกฎหมายพิเศษ ก็ต้องยกขึ้นต่อสู้คดี เพราะตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 บัญญัติให้จำเลยแสดงโดยแจ้งชัดในคำให้การว่าจำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือบางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น ดังนี้เมื่อจำเลยฟ้องขอให้โจทก์เลิกใช้ทรัพย์ของจำเลยตามสัญญาเช่าโจทก์มีสิทธิ หรือได้รับความคุ้มครองที่จะมิให้ต้องเลิกใช้ทรัพย์ที่เช่า ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524โจทก์ต้องยกขึ้นแสดงรวมทั้งเหตุผล เมื่อโจทก์ไม่ได้อ้างสิทธิหรือความคุ้มครองตามกฎหมายพิเศษจนศาลวินิจฉัยคดีไป และคดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์จะมายกกฎหมายพิเศษขึ้นกล่าวอ้างในชั้นบังคับคดีอีกหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 992/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าไม่จดทะเบียน: สิทธิเช่ามีผลแค่ 3 ปี แม้สัญญาจะระบุ 8 ปี
ผู้ร้องทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทกับเจ้าของเดิมพร้อมกัน 3 ฉบับรวมระยะเวลาเช่า 8 ปี เมื่อมิได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมบังคับกันได้เพียง 3 ปี ตามสัญญาเช่าฉบับแรก สิทธิของผู้ร้องที่จะอยู่ในตึกแถวที่เช่าจึงมีอยู่ถึงวันครบกำหนดตามสัญญาดังกล่าว ไม่ว่าผู้ใดจะเป็นเจ้าของตึกแถวและที่ดิน สิทธิของผู้ร้องก็มีอยู่คงเดิม
การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีให้จำเลยรื้อถอนตึกแถวที่ผู้ร้องเช่าอยู่ออกไปจากที่ดินของโจทก์ตั้งแต่ก่อนครบกำหนดสัญญาเช่านั้น มีผลยิ่งกว่าการบอกเลิกสัญญาเช่าเสียอีก ผู้ร้องจึงจะอ้างว่าเมื่อไม่มีการบอกเลิกสัญญาเช่าจึงถือว่าผู้ร้องเช่าตึกแถวต่อโดยไม่มีกำหนดเวลาไม่ได้
การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีให้จำเลยรื้อถอนตึกแถวที่ผู้ร้องเช่าอยู่ออกไปจากที่ดินของโจทก์ตั้งแต่ก่อนครบกำหนดสัญญาเช่านั้น มีผลยิ่งกว่าการบอกเลิกสัญญาเช่าเสียอีก ผู้ร้องจึงจะอ้างว่าเมื่อไม่มีการบอกเลิกสัญญาเช่าจึงถือว่าผู้ร้องเช่าตึกแถวต่อโดยไม่มีกำหนดเวลาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 992/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าไม่ได้จดทะเบียน: สิทธิเช่าจำกัด 3 ปี แม้สัญญา 8 ปี เจ้าของที่ดินรื้อถอนก่อนกำหนดชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ร้องทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทกับเจ้าของเดิมพร้อมกัน 3 ฉบับรวมระยะเวลาเช่า 8 ปี เมื่อมิได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมบังคับกันได้เพียง 3 ปี ตามสัญญาเช่าฉบับแรกสิทธิของผู้ร้องที่จะอยู่ในตึกแถวที่เช่าจึงมีอยู่ถึงวันครบกำหนดตสัญญาดังกล่าว ไม่ว่าผู้ใดจะเป็นเจ้าของตึกแถวและที่ดิน สิทธิของผู้ร้องก็มีอยู่คงเดิม การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีให้จำเลยรื้อถอนตึกแถวที่ผู้ร้องเช่าอยู่ออกไปจากที่ดินของโจทก์ตั้งแต่ก่อนครบกำหนดสัญญาเช่านั้น มีผลยิ่งกว่าการบอกเลิกสัญญาเช่าเสียอีก ผู้ร้องจะอ้างว่าเมื่อไม่มีการบอกเลิกสัญญาเช่าจึงถือว่าผู้ร้องเช่าตึกแถวต่อโดยไม่มีกำหนดเวลาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 992/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าไม่จดทะเบียน สิทธิเช่ามีผลใช้ได้ 3 ปี แม้ทำสัญญา 8 ปี
ผู้ร้องทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทกับเจ้าของเดิมพร้อมกัน 3 ฉบับรวมระยะเวลาเช่า 8 ปี เมื่อมิได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมบังคับกันได้เพียง 3 ปี ตามสัญญาเช่าฉบับแรกสิทธิของผู้ร้องที่จะอยู่ในตึกแถวที่เช่าจึงมีอยู่ถึงวันครบกำหนดตามสัญญาดังกล่าว ไม่ว่าผู้ใดจะเป็นเจ้าของตึกแถวและที่ดิน สิทธิของผู้ร้องก็มีอยู่คงเดิม
การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีให้จำเลยรื้อถอนตึกแถวที่ผู้ร้องเช่าอยู่ออกไปจากที่ดินของโจทก์ตั้งแต่ก่อนครบกำหนดสัญญาเช่านั้น มีผลยิ่งกว่าการบอกเลิกสัญญาเช่าเสียอีก ผู้ร้องจึงจะอ้างว่าเมื่อไม่มีการบอกเลิกสัญญาเช่าจึงถือว่าผู้ร้องเช่าตึกแถวต่อโดยไม่มีกำหนดเวลาไม่ได้.
การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีให้จำเลยรื้อถอนตึกแถวที่ผู้ร้องเช่าอยู่ออกไปจากที่ดินของโจทก์ตั้งแต่ก่อนครบกำหนดสัญญาเช่านั้น มีผลยิ่งกว่าการบอกเลิกสัญญาเช่าเสียอีก ผู้ร้องจึงจะอ้างว่าเมื่อไม่มีการบอกเลิกสัญญาเช่าจึงถือว่าผู้ร้องเช่าตึกแถวต่อโดยไม่มีกำหนดเวลาไม่ได้.