คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิเดิม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4824/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีหลังคำพิพากษาถึงที่สุด: สิทธิครอบครองใหม่ไม่ขัดขวางการบังคับคดีเดิม
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าที่นาพิพาทเป็นของโจทก์ห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องและคดีถึงที่สุดไปแล้วจำเลยคงยึดถือที่นาพิพาทสืบเนื่องต่อมาเท่านั้นไม่มีพฤติการณ์ใดขึ้นใหม่อันจะแสดงว่าจำเลยได้แย่งการครอบครองที่นาพิพาทจึงจะนำระยะเวลาการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1375กำหนด1ปีมาบังคับแก่โจทก์มิได้ โจทก์ขอให้บังคับคดีภายใน10ปีนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นพิพากษาแม้จำเลยได้ฟ้องโจทก์ขอแสดงสิทธิครอบครองนาพิพาทเป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งคดีอยู่ระหว่างพิจารณาแต่เมื่อเป็นการครอบครองภายหลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วซึ่งไม่ก่อให้เกิดสิทธิครอบครองแก่จำเลยจำเลยจึงจะขอให้งดการบังคับคดีไว้ไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตคันคลองสาธารณประโยชน์ การประมูลเช่าโดยไม่คำนึงถึงสิทธิเดิม และค่าเสียหายที่เรียกร้องได้
เขตคันคลองรังสิตประยูรศักดิ์ ที่ยื่นขึ้นไปฝั่งละ 1 เส้น เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2)
พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พ.ศ. 2485 มาตรา 23 ให้กรมชลประทานจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ดูแลแต่มิได้รวมถึงให้มีอำนาจและหน้าที่นำเขตคันคลองรังสิตประยูรศักดิ์ไปให้เช่าโดยมิได้คำนึงถึงสิทธิของบุคคลอื่นที่มีต่อเขตคันคลองมาแต่เดิม เมื่อจำเลยที่ 2 ผู้เช่าได้ปักเสาคอนกรีตกั้นที่แนวเขตคันคลองตรงที่ติดต่อกับเขตที่ดินของโจทก์ จนไม่สามารถใช้สอยหาประโยชน์จากการที่จะผ่านเขต คันคลองไปสู่คลองได้ โจทก์ฟ้องให้เพิกถอนสัญญาเช่าระหว่างจำเลย ทั้งสองได้ แต่ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2862/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายและการใช้บทบัญญัติกฎหมายที่แก้ไขใหม่ในคดีที่สิทธิเกิดก่อน
การเป็นบิดากับบุตรระหว่างนาย บ. กับผู้ร้องมีอยู่แล้วในวันที่ 16 ตุลาคม 2519 ซึ่งเป็นวันที่บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ใช้บังคับ จึงนำบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ตรวจใหม่มาใช้บังคับหาได้ไม่
ปัญหาว่าการฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรจะต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่วันที่บุตรบรรลุนิติภาวะนั้น ศาลจะหยิบยกขึ้นพิจารณาได้ก็ต่อเมื่อผู้คัดค้านได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ มิฉะนั้นคดีไม่มีประเด็นข้อนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 181/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับสินบริคณห์: สิทธิเดิมของผู้จัดการสินสมรสย่อมไม่ถูกกระทบโดยกฎหมายใหม่
พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 7 บัญญัติว่าบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ไม่กระทบกระเทือนถึงอำนาจการจัดการสืบบริคณห์ที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่แล้วในวันใช้บังคับบทบัญญัติบรรพ 5 ใหม่นี้ เมื่อคดีได้ความว่าโจทก์ได้ที่พิพาทมาตั้งแต่ พ.ศ. 2499 โจทก์ซึ่งเป็นสามีมีอำนาจจัดการรวมทั้งมีสิทธิฟ้องคดีเพื่อประโยชน์แก่ที่พิพาทซึ่งเป็นสินบริคณห์นั้นได้อยู่แล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 (เดิม) มาตรา 1468, 1469 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้โดยลำพัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 236/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขระเบียบเงินบำนาญกระทบสิทธิลูกจ้างเดิม นายจ้างต้องไม่ตัดสิทธิเดิม
ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 20 บัญญัติห้ามนายจ้างทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เว้นแต่สัญญาจ้างแรงงานนั้นจะเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่า ดังนั้น จำเลยจะแก้ไขระเบียบว่าด้วยการจ่ายเงินบำนาญ ให้แก่ลูกจ้างให้กระทบกระเทือนเป็นที่เสียหายแก่สิทธิของลูกจ้างที่มีอยู่แล้วไม่ได้
บำนาญหมายถึงเงินเลี้ยงชีพที่จ่ายให้โดยมีกำหนดเวลาสำหรับความดีความชอบในการทำงานที่ได้ทำมา เมื่อโจทก์ทำงานกับบริษัทจำเลยมานานเกิน 10 ปี จึงมีสิทธิได้รับบำนาญตามระเบียบของจำเลยฉบับเดิม ถึงแม้โจทก์จะลาออกเอง ก็มีสิทธิได้รับบำนาญโดยไม่จำเป็นต้องทำงานให้ครบเกษียณ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1831-1838/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การแจ้งการครอบครองไม่ใช่เงื่อนไขการสูญเสียสิทธิเดิม
พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 5 บัญญัติให้ผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินแจ้งการครอบครองไว้เพื่อที่รัฐจะทราบว่าผู้ใดมีสิทธิครอบครองในที่นั้น ๆ ไม่ใช่ว่าถ้าไม่แจ้งการครอบครองแล้ว ผู้ครอบครองที่ดินจะเสียไปซึ่งสิทธิการครอบครองที่มีอยู่ก่อนนั้นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1426/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิในที่ดินร่วมไม่กระทบสิทธิภารจำยอมเดิม
เจ้าของที่ดินที่ซึ่งมีทางภารจำยอมโดยอายุความอยู่ก่อนแล้ว โอนขายที่ดินบางส่วนให้แก่ผู้ซื้อโดยเติมผู้ซื้อลงในโฉนดร่วมกับตน ดังนี้ ไม่เป็นเหตุทำให้การจำยอมซึ่งมีอยู่แต่เดิมสิ้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 103/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโต้แย้งสิทธิในที่ดิน การแสดงสิทธิโดยผู้รับมรดกถือเป็นการโต้แย้งสิทธิเดิม
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า สามีจำเลยเคยไปร้องเรียนต่อนายอำเภอว่าโจทก์บุกรุกเข้าครอบครองที่ดินตามตราจองของสามีจำเลย.เพื่อจะคลุมเอาที่ดินของโจทก์เป็นของสามีจำเลยเสีย.ดังนี้ ก็เป็นการโต้แย้งสิทธิเพื่อจะแย่งเอาที่ดินของโจทก์โดยชัดแจ้งอยู่แล้ว. เมื่อสามีจำเลยตาย จำเลยเป็นผู้รับมรดกของสามี ยังมาแสดงสิทธิโดยขอให้โจทก์ออกไปจากที่ดินดังกล่าว. แสดงความเป็นเจ้าของที่ดินของจำเลยสืบต่อจากสามีอีก. การกระทำของจำเลยดังนี้ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของที่ดินเกิดขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยแล้ว. การโต้แย้งสิทธินั้นไม่จำต้องถึงกับลงมือใช้กำลังกายเข้ายื้อแย่งหรือบุกรุกเข้าไปในที่ดิน.เพียงการกระทำของสามีจำเลยที่ไปร้องเรียนต่อนายอำเภออันต่อเนื่องมาถึงการกระทำของจำเลยเท่าที่กล่าวในฟ้อง.โจทก์ก็ชอบที่จะเสนอคดีต่อศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55. เพื่อขจัดข้อโต้แย้งและแสดงสิทธิของโจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 926/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำเกี่ยวกับการแบ่งมรดก: แม้ฟ้องจำเลยเพิ่ม สิทธิเดิมเป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อน โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ขอแบ่งมรดกผู้ตาย ศาลพิพากษาให้แบ่ง คดีถึงที่สุดแล้ว ต่อมาโจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้ แม้โจทก์จะตั้งรูปคดีว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาททั้งแปลง ขอให้ศาลแสดงว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ทั้งหมดก็ตามแต่จำเลยก็ต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับผู้ตายซึ่งจำเลยมีสิทธิรับมรดกด้วยและทางพิจารณาข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า ที่พิพาทครึ่งหนึ่งเป็นมรดกของผู้ตาย เมื่อพิจารณาคำฟ้อง คำให้การและข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว จะเห็นได้ว่า คดีมีประเด็นที่จะต้องพิจารณาเกี่ยวกับการแบ่งมรดกนั่นเอง ถือได้ว่ามีประเด็นอย่างเดียวกับคดีก่อน ฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับมรดกระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 จึงเป็นฟ้องซ้ำ
คดีมรดกซึ่งเป็นเรื่องพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์โดยตรง ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 สามีของจำเลยที่ 2 เมื่อคดีระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์เป็นฟ้องซ้ำ โจทก์ก็ไม่มีทางจะขอแบ่งมรดกจากจำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1094/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินที่ถูกจัดสรรนิคมต้องเป็นที่รกร้าง หากมีผู้ครอบครองทำประโยชน์ก่อน สิทธิครอบครองเดิมย่อมคุ้มครอง
คดีอาญาที่ฎีกาได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ส่วนข้อเท็จจริงศาลฎีกาต้องถือตามที่ศาลอุทธรณ์ฟังมานั้น ถ้าข้อเท็จจริงเท่าที่ศาลอุทธรณ์ฟังมายังไม่พอ ศาลฎีกาหยิบยกข้อเท็จจริงอย่างอื่นขึ้นพิจารณาประกอบด้วยได้
ตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2485 มาตรา4 แสดงว่า ที่ดินซึ่งรัฐบาลจะจัดตั้งนิคมสร้างตนเองได้นั้น พึงเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่ายังไม่มีผู้ใดเข้ายึดถือครอบครองทำกินอยู่ก่อน ฉะนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดิน 25 ไร่นี้ จำเลย(ซึ่งเป็นสมาชิกของนิคม) ได้ครอบครองทำประโยชน์มาก่อน ทางราชการจัดตั้งนิคมสร้างตนเองในจังหวัดลพบุรี และที่ดินรายนี้ไม่ใช่ที่ดินรกร้างว่างเปล่าเสียแล้วในขณะพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสร้างตนเองในจังหวัดลพบุรีและจังหวัดสระบุรี พ.ศ.2485 ออกตามอำนาจในพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพพ.ศ.2485 ใช้บังคับ (ดังนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 974/2505)เช่นนี้จะนำกฎหมายหรือข้อบังคับว่าด้วยการเข้าอยู่ในที่ดินจัดสรรของนิคมฯมาใช้บังคับไม่ได้ คำสั่งที่ผู้ปกครองนิคมฯออกประกาศถอนสิทธิให้จำเลยออกไปจากที่ดินไม่มีผลแก่จำเลยโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยจะฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามประกาศคำสั่งนั้น ก็จะเอาผิดแก่จำเลยตามบทกฎหมายที่โจทก์อ้างหาได้ไม่
of 5