พบผลลัพธ์ทั้งหมด 80 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4085/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอคืนรถยนต์เช่าซื้อเมื่อถูกยึดริบ: การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตและการประสงค์จะรับค่าเช่าซื้อ
แม้สัญญาเช่าซื้อระบุว่าหากทรัพย์สินที่เช่าซื้อถูกยึดถูกริบไม่ว่าโดยเหตุใดให้ถือว่าสัญญาเลิกกันโดยมิต้องบอกกล่าวก่อนและผู้เช่าซื้อยอมชำระเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างจนครบแต่ผู้ร้องไม่ได้ใช้สิทธิตามสัญญาดังกล่าวกลับยอมรับชำระค่าเช่าซื้ออีก2งวดหลังจากรถยนต์ของกลางถูกยึดแล้วและยอมผ่อนผันการผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระอีก7งวดซึ่งเป็นเงินส่วนน้อยเมื่อเทียบกับราคาเช่าซื้อทั้งหมดแสดงว่าผู้ร้องไม่ประสงค์จะเลิกสัญญากับผู้เช่าซื้อและผู้ร้องต้องการจะได้ค่าเช่าซื้อตามสัญญาเท่านั้นการที่ผู้ร้องขอคืนรถยนต์ของกลางจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้เช่าซื้อแต่ฝ่ายเดียวเป็นการใช้สิทธิทางศาลโดยไม่สุจริตผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอคืนรถยนต์ของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5787/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของผู้เช่าที่ดินหลังแสดงเจตนาไม่ซื้อ และยินยอมให้ขายต่อ
จำเลยที่ 1 ตกลงขายที่นาพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่านาก่อนแล้ว เมื่อโจทก์แสดงความประสงค์ไม่ซื้อที่นาพิพาทและยินยอมให้จำเลยที่ 1 ขายที่นาพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 แล้วการที่โจทก์กลับมาร้องขอต่อคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลเพื่อวินิจฉัยให้จำเลยที่ 2 ขายที่นาพิพาทให้แก่โจทก์นั้น เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 ขายที่นาพิพาทให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6920/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนเครื่องหมายการค้า การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และสิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้า
เมื่อฟ้องของโจทก์ได้บรรยายว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าBIRKENSTOCK จำเลยนำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ขอให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยคำฟ้องของโจทก์จึงได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่ใช้เป็นหลักแห่งข้อหาแล้วโจทก์หาจำต้องบรรยายในฟ้องว่าผู้ใดเป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์ซึ่งเป็นรายละเอียดที่โจทก์อาจนำสืบในชั้นพิจารณาต่อไปได้ฟ้องของโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้วไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม คดีแพ่งหมายเลขดำที่302/2530ของศาลชั้นต้นเป็นคดีที่ส.ในฐานะส่วนตัวเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยมิใช่คดีที่ส.ฟ้องจำเลยในฐานะที่ส.เป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์เช่นในคดีนี้โจทก์ในคดีนี้จึงมิใช่โจทก์คนเดียวกันกับโจทก์ในคดีแพ่งหมายเลขดำที่302/2530ของศาลชั้นต้นฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173วรรคสอง(1) โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าBIRKENSTOCK และรูปเครื่องหมายประดิษฐ์ลักษณะวงกลมที่ประกอบด้วยอักษรโรมันคำว่าBIRKENSTOCKBADHONNEF-RHEIN กับรูปเท้าและกากบาทที่มีรัศมีแสงส่องสู่เบื้องบนคำว่าBIRKENSTOCKเป็นนามสกุลของบรรพบุรุษของนายคาร์ลเบอร์เคนสต๊อค กรรมการผู้จัดการของโจทก์ส่วนคำว่าBADHONNEF-RHEIN เป็นชื่อตำบลริมแม่น้ำไรน์ซึ่งเป็นที่ตั้งบริษัทของโจทก์โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้ารองเท้าโดยจดทะเบียนไว้ในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันและประเทศอื่นอีกหลายประเทศกับได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า BIRKENSTOCK ไว้ต่อองค์การทรัพย์สินปัญญาแห่งโลกสินค้ารองเท้าของโจทก์แพร่หลายในประเทศต่างๆมาเป็นเวลานานกว่า25ปีเป็นที่รู้จักในหมู่คนไทยที่เดินทางไปต่างประเทศและมีผู้ซื้อเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยจำเลยได้เคยเห็นและรู้ถึงเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนการที่จำเลยขอจดและจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งเหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกประการเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตโจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดและจดทะเบียนดังกล่าวดีกว่าจำเลย เครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนและนายทะเบียนได้รับจดทะเบียนคำว่าBIRKENSTOCK คำว่าBIRK ในกรอบรูปประดิษฐ์คำว่าBRIKENS คำว่าBRIKENSTAR คำว่าBRIKENSTYLE และคำว่าBIRKENSTATE ต่างเป็นอักษรโรมันซึ่งตรงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือเป็นคำย่อของเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือมิฉะนั้นก็มีเพียง2พยางค์แรกของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวว่าBIRKENS หรือBRIKENS เป็นตัวอักษรโรมัน7ตัวซึ่งเท่ากันกับคำว่าBIRKENS ซึ่งเป็น2พยางค์แรกและเป็นจุดเด่นของเครื่องหมายการค้าของโจทก์การออกเสียง2พยางค์แรกดังกล่าวของเครื่องหมายการค้าของจำเลยก็ออกเสียงตรงหรือใกล้เคียงกับการออกเสียง2พยางค์แรกของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งเครื่องหมายการค้าทั้งหมดของจำเลยที่จำเลยขอจดทะเบียนและได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ดังกล่าวก็ได้ขอใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกับสินค้าของโจทก์คือรองเท้าและรองเท้าแตะด้วยดังนี้เมื่อจำเลยได้เห็นและรู้ถึงเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงถือได้ว่าจำเลยได้ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้ว บทบัญญัติมาตรา21และ22แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474เป็นบทบัญญัติสำหรับวิธีดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งแบ่งออกเป็นขั้นๆรวมทั้งขึ้นประกาศคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา21และขั้นจดทะเบียนตามมาตรา22ซึ่งได้กำหนดเวลาสำหรับการยื่นคำคัดค้านการจดทะเบียนไว้ว่าจะต้องยื่นภายใน90วันนับแต่วันประกาศคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา21แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็หาตัดสิทธิเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงที่จะดำเนินคดีเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของตนไม่คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลยโจทก์จึงย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำขอจดทะเบียนและทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามมาตรา41(1)แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474โดยไม่คำนึงว่าโจทก์ได้คัดค้านการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยไว้แล้วหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6679/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจยังสมบูรณ์แม้ผู้มอบอำนาจลาออก และการเรียกเก็บเช็คจากผู้ล้มละลายโดยรู้อยู่แล้วถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
ขณะที่ ต. ลงชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์มอบอำนาจให้ ซ.ฟ้องคดีแทนโจทก์นั้นต. ยังเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ แม้ภายหลัง ต. จะลาออกหนังสือมอบอำนาจนั้นคงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย เหตุที่ ต. พ้นจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ของโจทก์ หาได้ทำให้ฐานะของผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนโจทก์สิ้นสุดตามไปไม่ ท. ทราบว่า ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ผู้สั่งจ่ายเด็ดขาดก่อนที่จะนำเช็คไปเรียกเก็บเงินจากโจทก์ เมื่อ ท.เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยทราบ จึงถือว่าจำเลยทราบด้วย เมื่อผู้สั่งจ่ายเช็คถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยต้องนำเช็คไปขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 27,91การที่จำเลยนำเช็คของผู้สั่งจ่ายไปเรียกเก็บเงินจากโจทก์ทั้งที่รู้อยู่ว่าผู้สั่งจ่ายถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จำเลยจะอ้างความไม่สุจริตของตนมาเป็นเหตุที่จะไม่คืนเงินตามเช็คที่ได้รับจากโจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4891/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตและการลวงสาธารณชน
โจทก์แสดงให้เห็นความเป็นมาของการใช้อักษรโรมันคำว่าRENOMA เป็นชื่อทางการค้าของ ซ.บิดาของ ม. ประธานกรรมการใหญ่ของโจทก์ตั้งแต่ปี 2480 และการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำดังกล่าวในประเทศฝรั่งเศสในปี 2502 และปี 2509 ตลอดจนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำดังกล่าวในประเทศอื่น ๆ ในภายหลังและการโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นของ ซ.ให้โจทก์ จึงฟังได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันดังกล่าว ที่จำเลยอ้างว่าคิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าดังกล่าวขึ้นโดยต้องการให้มีความหมายว่า จำเลยไม่มีแม่อีกแล้วนั้น ก็ปรากฏตามคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยว่าจำเลยได้ระบุว่าคำว่า RENOMA เป็นอักษรโรมันอ่านว่า รีโนมา แปลไม่ได้ และปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวมีรูปลักษณะตรงกับรูปลักษณะเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า RENOMA ซึ่งเป็นตัวพิมพ์เล็กภายในกรอบสี่เหลี่ยมของโจทก์ทุกประการ รวมทั้งลักษณะการเอียงขึ้นของเส้นขวางในตัวอักษร "e" และสัดส่วนของช่องว่างระหว่างตัวอักษรแต่ละตัวด้วยการที่รูปลักษณะเครื่องหมายการค้าของจำเลยตรงกับรูปลักษณะของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกประการเช่นนี้ หากจำเลยไม่เคยเห็นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์มาก่อน ก็ยากที่เครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีรูปลักษณะตรงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกประการเช่นนั้น นอกจากนี้เครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวยังคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า RENOMA ซึ่งเป็นตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็กซึ่งมิได้อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมอีกด้วย ปรากฏว่าจำเลยเคยเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย ญี่ปุ่น และฮ่องกง และหลังจากโจทก์ได้รับโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า RENOMA มาจาก ซ.แล้ว โจทก์ได้นำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปจดทะเบียนไว้ในประเทศต่าง ๆ ประมาณ30 ประเทศ และโจทก์ได้ส่งสินค้าของโจทก์ไปจำหน่ายยังต่างประเทศในทวีปต่าง ๆสินค้าของโจทก์มีวางจำหน่ายที่ห้างสรรพสินค้าโซโกใกล้สถานีรถไฟที่เมืองโกเบประเทศญี่ปุ่น และโจทก์ได้โฆษณาเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในนิตยสารและหนังสือต่าง ๆ ในประเทศต่าง ๆ ทั้งได้มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไว้ในประเทศญี่ปุ่น ประเทศสิงคโปร์ และเมืองฮ่องกงด้วย จึงเชื่อได้ว่าจำเลยซึ่งเคยเดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศญี่ปุ่น ประเทศสิงคโปร์ และเมืองฮ่องกง ได้เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในระหว่างที่เดินทางไปท่องเที่ยวเช่นนั้น แล้วจำเลยได้นำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามที่ได้เห็นมานั้นมายื่นขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลย จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตโจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า RENOMA ดีกว่าจำเลยและขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้
เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า RENOMA ซึ่งเป็นตัวพิมพ์เล็กในกรอบสี่เหลี่ยมของจำเลยมีรูปลักษณะตรงกับเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า RENOMA ซึ่งเป็นตัวพิมพ์เล็กในกรอบสี่เหลี่ยมของโจทก์ ทุกประการ แม้กระทั่งลักษณะการเอียงขึ้นของเส้นขวางในตัวอักษร "e" และสัดส่วนของช่องว่างระหว่างตัวอักษร และเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวยังคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า "RENOMA" ซึ่งเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ และตัวพิมพ์เล็กซึ่งมิได้อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมอีกด้วย จึงเห็นได้โดยชัดแจ้งว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนกันกับหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนแล้ว
เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า RENOMA ซึ่งเป็นตัวพิมพ์เล็กในกรอบสี่เหลี่ยมของจำเลยมีรูปลักษณะตรงกับเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า RENOMA ซึ่งเป็นตัวพิมพ์เล็กในกรอบสี่เหลี่ยมของโจทก์ ทุกประการ แม้กระทั่งลักษณะการเอียงขึ้นของเส้นขวางในตัวอักษร "e" และสัดส่วนของช่องว่างระหว่างตัวอักษร และเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวยังคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า "RENOMA" ซึ่งเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ และตัวพิมพ์เล็กซึ่งมิได้อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมอีกด้วย จึงเห็นได้โดยชัดแจ้งว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนกันกับหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 182/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของผู้ให้เช่าซื้อในการขอคืนรถยนต์ของกลาง แม้เป็นเจ้าของ
จำเลยที่ 1 นำรถยนต์ของกลางไปกระทำความผิดมาครั้งหนึ่งแล้วซึ่งผู้ร้องเคยติดต่อขอรถยนต์ของกลางคืนจากพนักงานสอบสวน แสดงว่าผู้ร้องทราบเรื่องแล้ว แต่หาได้บอกเลิกสัญญาและติดตามยึดรถยนต์ของกลางคืนทันทีไม่กลับปล่อยให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับรถยนต์ของกลางกลับไปครอบครองใช้สอยและรับเงินค่าเช่าซื้อจากจำเลยที่ 1ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้นำรถยนต์ของกลางมา กระทำความผิดคดีนี้อีกซึ่งความข้อนี้อาจเป็นเพราะว่าตามสัญญาเช่าซื้อมีกำหนดให้จำเลยที่ 1ต้องรับผิดต่อผู้ร้องในทุกกรณีอยู่แล้วนั่นเอง ผู้ร้องจึงมิได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยที่ 1 พฤติการณ์แสดงว่าแม้จำเลยที่ 1 จะนำรถยนต์ของกลางไปใช้กระทำความผิดผู้ร้องก็ไม่ประสงค์จะบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อการที่ผู้ร้องมาร้องขอคืนของกลาง จึงเป็นการกระทำไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ไม่มีอำนาจที่จะร้องขอคืนของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2599/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขัดกันระหว่างคำให้การเดิมกับคำร้องขอคุ้มครองทรัพย์สิน การที่ศาลยกคำร้องเนื่องจากผู้ร้องใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
ผู้ร้องเป็นจำเลยที่ 2 ได้ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่าผู้ร้องมิได้เป็นภริยาชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาและคดีถึงที่สุดแล้วคำพิพากษาดังกล่าวจึงย่อมผูกพันผู้ร้องซึ่งเป็นจำเลยที่ 2 ในคดีนี้ด้วย ฉะนั้น เมื่อโจทก์นำสืบคดีข้างต้นฟังได้แน่ชัดว่า จำเลยที่ 2 รู้เห็นและร่วมด้วยในการที่จำเลยที่ 1กู้ยืมเงินไปจากโจทก์หลายครั้ง จนน่าเชื่อว่าทรัพย์ที่ถูกโจทก์บังคับคดีนั้นส่วนหนึ่งเป็นเงินจากการกู้ยืมจากโจทก์นั่นเอง แต่โจทก์นำสืบไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 เป็นภริยาชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 จึงเป็นเหตุที่ศาลชั้นต้นยกฟ้องจำเลยที่ 2 ดังนี้ในชั้นร้องขอกันส่วน ผู้ร้องคือจำเลยที่ 2 จะกลับอ้างว่าเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 คำให้การในฐานะเป็นจำเลยที่ 2จึงขัดกับคำร้องขอกันส่วน ผู้ร้องจึงร้องขอกันส่วนทรัพย์ที่ถูกบังคับคดีรายนี้ไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2390/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติตามคำพิพากษาและการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต: ข้ออ้างของจำเลยเป็นเรื่องบังคับคดี
จำเลยฎีกาอ้างว่า หลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา จำเลยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาโดยได้ขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากตึกแถวพิพาทแล้วส่งคืนโจทก์แต่โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่ยอมรับคืน เพราะประสงค์จะได้ค่าเสียหายจากจำเลยอีกต่อไปนั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายจนกว่าจะส่งมอบห้องพิพาทคืนโจทก์ ข้ออ้างของจำเลยจึงเป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2390/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งมอบทรัพย์สินหลังคำพิพากษา: ข้ออ้างการปฏิบัติตามคำพิพากษาและการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
จำเลยฎีกาอ้างว่า หลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา จำเลยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาโดยได้ขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากตึกแถวพิพาทแล้วส่งคืนโจทก์แต่โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่ยอมรับคืน เพราะประสงค์จะได้ค่าเสียหายจากจำเลยอีกต่อไปนั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายจนกว่าจะส่งมอบห้องพิพาทคืนโจทก์ ข้ออ้างของจำเลยจึงเป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1082/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยินยอมให้ใช้ที่ดิน & สิทธิโดยไม่สุจริต: โจทก์ฟ้องละเมิดแต่เคยยินยอมและทราบเหตุผล
พฤติการณ์ที่โจทก์มอบอำนาจให้มารดานำที่ดินของโจทก์ไปจัดการหาผลประโยชน์ติดต่อ กันตลอดมา รวมทั้งการที่บิดามารดาโจทก์ยินยอมให้ผู้ว่าราชการจังหวัดกับพวกซึ่ง เป็นจำเลยทำถนน ผ่านที่ดินโจทก์โดย โจทก์ก็รู้เห็นด้วย และไม่เคยโต้แย้งคัดค้านมาก่อน ถือ ได้ว่าโจทก์ยินยอมให้ทางราชการทำถนน พิพาทผ่านที่ดินของโจทก์แล้วการกระทำของจำเลยไม่เป็นละเมิด โจทก์มีอายุ 19 ปีเศษ เป็นนักศึกษาระดับอุดมศึกษาซึ่ง ถือ ว่ามีความรู้สึกผิดชอบและรอบรู้กับผลดี ผลเสียแห่งการกระทำของตน ได้เป็นอย่างดี แล้ว เมื่อโจทก์ยินยอมให้จำเลยทำถนน ผ่านที่ดินของโจทก์โดย เข้าใจว่าบิดามารดาโจทก์จะได้ รับสัมปทานเดินรถบนถนน สายดังกล่าว แต่ ต่อมาบิดามารดาโจทก์ไม่ได้รับอนุมัติสัมปทาน โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องว่าจำเลยทำละเมิดและให้รื้อถอนถนน พิพาทออกไปจากที่ดินโจทก์ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ใช้ สิทธิโดย ไม่ สุจริตขัดต่อ บทบัญญัติแห่งป.พ.พ. มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ไม่จำต้องวินิจฉัยว่าการให้ความยินยอมของโจทก์มิได้รับอนุญาตจากศาลเป็นการขัดต่อป.พ.พ. มาตรา 1574 หรือไม่.