พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2617/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบุคคลภายนอกในคดีประนีประนอมยอมความ: สิทธิในการโต้แย้งและการดำเนินคดีใหม่
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความให้นำเอาสิทธิการทำเหมืองแร่มาจับสลากแบ่งปันกัน โจทก์เป็นฝ่ายจับสลากได้ศาลได้มีคำพิพากษาตามยอมแล้ว ดังนี้ ผู้ร้องจะร้องต่อศาลขอให้สั่งเพิกถอนการปฏิบัติของคู่ความตามสัญญาประนีประนอมยอมความและเพิกถอนคำพิพากษาตามยอม โดยอ้างว่าสิทธิการทำเหมืองแร่พิพาทเป็นของผู้ร้อง ผู้ร้องไม่ใช่ คู่ความในคดี ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความและ คำพิพากษาตามยอมไม่ ผูกพันผู้ร้อง หาได้ไม่ หากผู้ร้องเห็นว่าการกระทำใด ๆ ของคู่ความเป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้อง ผู้ร้องก็ชอบที่จะว่ากล่าวกันเป็นคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2792/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อุทธรณ์คำสั่งพนักงานเงินทดแทนภายในกำหนด ทำให้จำเลยไม่มีสิทธิโต้แย้งในศาลแรงงาน
เมื่อพนักงานเงินทดแทนมีคำสั่งให้จำเลยจ่ายเงินทดแทนแล้วจำเลยมิได้อุทธรณ์คำสั่งต่ออธิบดีตามขั้นตอนและวิธีการในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16เมษายน 2515 จำเลยดำเนินการในศาลแรงงานไม่ได้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 169/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิโต้แย้งคำสั่งศาลและการขอเลื่อนคดีเพื่อสืบพยานจำเลย: การให้โอกาสคู่ความในการปกป้องสิทธิ
คำสั่งระหว่างพิจารณา คู่ความจะต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้เสียก่อน จึงจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ในภายหลัง แต่ศาลต้องให้คู่ความมีโอกาสและมีเวลาพอสมควรที่จะโต้แย้งคำสั่งนั้นได้
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่ให้จำเลยอ้างตนเองเป็นพยานและนัดตัดสินในวันรุ่งขึ้น ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยไม่มีเวลาที่จะโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นได้ แม้จำเลยไม่ได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้น ก็มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ในวันสืบพยานโจทก์จำเลยไม่ได้มาศาล คงมาแต่ทนายจำเลย เมื่อสืบพยานโจทก์แล้ว ทนายจำเลยย่อมมีสิทธิขอเลื่อนคดีเพื่อให้โอกาสจำเลยสาบานตนให้การเป็นพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรค 2 ได้ แม้จำเลยจะไม่ได้ยื่นคำร้องขอยื่นคำให้การ
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่ให้จำเลยอ้างตนเองเป็นพยานและนัดตัดสินในวันรุ่งขึ้น ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยไม่มีเวลาที่จะโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นได้ แม้จำเลยไม่ได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้น ก็มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ในวันสืบพยานโจทก์จำเลยไม่ได้มาศาล คงมาแต่ทนายจำเลย เมื่อสืบพยานโจทก์แล้ว ทนายจำเลยย่อมมีสิทธิขอเลื่อนคดีเพื่อให้โอกาสจำเลยสาบานตนให้การเป็นพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรค 2 ได้ แม้จำเลยจะไม่ได้ยื่นคำร้องขอยื่นคำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 169/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งระหว่างพิจารณาและการสิทธิในการโต้แย้ง/อุทธรณ์ รวมถึงสิทธิในการเบิกความของจำเลย
คำสั่งระหว่างพิจารณา คู่ความจะต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้เสียก่อน จึงจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ในภายหลังแต่ศาลต้องให้คู่ความมีโอกาสและมีเวลาพอสมควรที่จะโต้แย้งคำสั่งนั้นได้
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่ให้จำเลยอ้างตนเองเป็นพยานและนัดตัดสินในวันรุ่งขึ้น ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยไม่มีเวลาที่จะโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นได้แม้จำเลยไม่ได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้น ก็มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ในวันสืบพยานโจทก์จำเลยไม่ได้มาศาล คงมาแต่ทนายจำเลย เมื่อสืบพยานโจทก์แล้วทนายจำเลยย่อมมีสิทธิขอเลื่อนคดีเพื่อให้โอกาสจำเลยสาบานตนให้การเป็นพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรคสอง ได้ แม้จำเลยจะไม่ได้ยื่นคำร้องขอยื่นคำให้การ
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่ให้จำเลยอ้างตนเองเป็นพยานและนัดตัดสินในวันรุ่งขึ้น ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยไม่มีเวลาที่จะโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นได้แม้จำเลยไม่ได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้น ก็มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ในวันสืบพยานโจทก์จำเลยไม่ได้มาศาล คงมาแต่ทนายจำเลย เมื่อสืบพยานโจทก์แล้วทนายจำเลยย่อมมีสิทธิขอเลื่อนคดีเพื่อให้โอกาสจำเลยสาบานตนให้การเป็นพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรคสอง ได้ แม้จำเลยจะไม่ได้ยื่นคำร้องขอยื่นคำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 169/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิโต้แย้งคำสั่งศาล & สิทธิในการเบิกความ: ศาลต้องให้เวลาคู่ความพอสมควรในการโต้แย้งคำสั่ง และอนุญาตให้คู่ความเบิกความได้
คำสั่งระหว่างพิจารณา คู่ความจะต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้เสียก่อน จึงจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ในภายหลัง. แต่ศาลต้องให้คู่ความมีโอกาสและมีเวลาพอสมควรที่จะโต้แย้งคำสั่งนั้นได้.
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่ให้จำเลยอ้างตนเองเป็นพยานและนัดตัดสินในวันรุ่งขึ้น. ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยไม่มีเวลาที่จะโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นได้.แม้จำเลยไม่ได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้น. ก็มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้.
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ในวันสืบพยานโจทก์จำเลยไม่ได้มาศาล. คงมาแต่ทนายจำเลย เมื่อสืบพยานโจทก์แล้ว. ทนายจำเลยย่อมมีสิทธิขอเลื่อนคดีเพื่อให้โอกาสจำเลยสาบานตนให้การเป็นพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199วรรคสอง ได้ แม้จำเลยจะไม่ได้ยื่นคำร้องขอยื่นคำให้การ.
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่ให้จำเลยอ้างตนเองเป็นพยานและนัดตัดสินในวันรุ่งขึ้น. ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยไม่มีเวลาที่จะโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นได้.แม้จำเลยไม่ได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้น. ก็มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้.
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ในวันสืบพยานโจทก์จำเลยไม่ได้มาศาล. คงมาแต่ทนายจำเลย เมื่อสืบพยานโจทก์แล้ว. ทนายจำเลยย่อมมีสิทธิขอเลื่อนคดีเพื่อให้โอกาสจำเลยสาบานตนให้การเป็นพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199วรรคสอง ได้ แม้จำเลยจะไม่ได้ยื่นคำร้องขอยื่นคำให้การ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1159/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ผู้โต้แย้งสิทธิมิได้ แม้สร้างสิ่งปลูกสร้างโดยสุจริต
ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 วรรคแรกนั้น มีความหมายว่า บรรดาที่หลวงทั้งหลายซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 ก็ดี หรือที่ดินอันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินตามธรรมดาไม่ใช่ทรัพย์นอกพาณิชย์ และไม่ใช่ทรัพย์ที่จะถือเอาหรือโอนกันไม่ได้เหล่านี้ก็ดี ถ้าไม่มีกฎหมายพิเศษได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นแล้ว ก็เป็นอำนาจหน้าที่ของอธิบดีกรมที่ดินดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกัน เว้นแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะมอบหมายให้ทบวงการเมืองอื่นเป็นผู้ใช้ก็ได้
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 วรรคท้าย ซึ่งบัญญัติว่า"บรรดาที่ดินดังกล่าวในวรรคแรกนั้น เมื่อมีเหตุผลอันสมควร รัฐมนตรีมีอำนาจที่จะจัดขึ้นทะเบียนเป็นของทบวงการเมืองได้......" นั้น หมายความว่าถ้ารัฐเห็นสมควรจะให้ทบวงการเมืองใดรับผิดชอบดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันเอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก็มีอำนาจที่จะจัดขึ้นทะเบียนเป็นของทบวงการเมืองนั้นๆ ได้
ที่ดินที่ขึ้นทะเบียนเป็นของทบวงการเมืองอื่นไว้แล้วแต่เดิมก่อนประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับนั้น ไม่มีคำสั่งกำหนดว่าให้ปฏิบัติอย่างไร และในทางปฏิบัติบรรดาที่ดินราชพัสดุที่ขึ้นทะเบียนไว้ต่อกระทรวงการคลังกระทรวงการคลังก็คงใช้อำนาจปกครองอยู่เช่นเดิม ทั้งนี้เพราะถือได้ว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้จัดขึ้นทะเบียนเป็นของกระทรวงการคลังแล้วโดยอนุโลมตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 8 วรรคท้าย ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่รับรองสิทธิของกระทรวงการคลังว่ายังคงมีอำนาจปกครองที่ดินที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุไว้แล้วต่อไปตามเดิมอำนาจของกระทรวงการคลังจึงมิได้ถูกยกเลิกเพิกถอนไปโดยประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 วรรคแรก ที่พิพาทได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุของกระทรวงการคลังแล้ว กระทรวงการคลังโจทก์ที่ 1 จึงมีอำนาจฟ้องได้
การเปลี่ยนชื่อกระทรวงทบวงกรมต่างๆ จะทำได้ก็โดยตราขึ้นเป็นกฎหมาย ฉะนั้นจึงเป็นข้อที่ศาลรับรู้ได้เองว่ากระทรวงพระคลังฯ นั้นคือกระทรวงการคลัง
กำแพงเมืองและคูเมืองเป็นทรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ แม้ต่อมากำแพงจะถูกรื้อทำลายลง และคูเมืองตื้นเขินขึ้นก็ตาม แต่ทางราชการก็ได้ถือว่าเป็นที่หลวงหวงห้ามตลอดมา ไม่ยอมให้ราษฎรยึดถือเอาเป็นเจ้าของแม้จะขอเช่าก็ต้องได้รับอนุญาตก่อน ดังนี้ กำแพงเมืองและคูเมืองจึงยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเพราะเป็นที่สงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน
แม้นายอำเภอจะได้ทำนิติกรรมซื้อขายที่พิพาทให้จำเลย ก็ไม่ทำให้จำเลยได้สิทธิในที่พิพาท เพราะที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งจะโอนแก่กันมิได้ และจะยกอายุความขึ้นต่อสู้แผ่นดินไม่ได้
การได้สิทธิจดทะเบียนภารจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1312 นั้น จะต้องเป็นการสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต แต่ที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ไม่ใช่ทรัพย์สินของแผ่นดินธรรมดาหรือของเอกชน จะนำมาใช้บังคับในกรณีนี้หาได้ไม่ดังนั้น แม้จำเลยจะปลูกสร้างโดยสุจริตก็ตาม จำเลยก็ไม่มีสิทธิขอให้จดทะเบียนภารจำยอมได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 20/2511)
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 วรรคท้าย ซึ่งบัญญัติว่า"บรรดาที่ดินดังกล่าวในวรรคแรกนั้น เมื่อมีเหตุผลอันสมควร รัฐมนตรีมีอำนาจที่จะจัดขึ้นทะเบียนเป็นของทบวงการเมืองได้......" นั้น หมายความว่าถ้ารัฐเห็นสมควรจะให้ทบวงการเมืองใดรับผิดชอบดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันเอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก็มีอำนาจที่จะจัดขึ้นทะเบียนเป็นของทบวงการเมืองนั้นๆ ได้
ที่ดินที่ขึ้นทะเบียนเป็นของทบวงการเมืองอื่นไว้แล้วแต่เดิมก่อนประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับนั้น ไม่มีคำสั่งกำหนดว่าให้ปฏิบัติอย่างไร และในทางปฏิบัติบรรดาที่ดินราชพัสดุที่ขึ้นทะเบียนไว้ต่อกระทรวงการคลังกระทรวงการคลังก็คงใช้อำนาจปกครองอยู่เช่นเดิม ทั้งนี้เพราะถือได้ว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้จัดขึ้นทะเบียนเป็นของกระทรวงการคลังแล้วโดยอนุโลมตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 8 วรรคท้าย ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่รับรองสิทธิของกระทรวงการคลังว่ายังคงมีอำนาจปกครองที่ดินที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุไว้แล้วต่อไปตามเดิมอำนาจของกระทรวงการคลังจึงมิได้ถูกยกเลิกเพิกถอนไปโดยประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 วรรคแรก ที่พิพาทได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุของกระทรวงการคลังแล้ว กระทรวงการคลังโจทก์ที่ 1 จึงมีอำนาจฟ้องได้
การเปลี่ยนชื่อกระทรวงทบวงกรมต่างๆ จะทำได้ก็โดยตราขึ้นเป็นกฎหมาย ฉะนั้นจึงเป็นข้อที่ศาลรับรู้ได้เองว่ากระทรวงพระคลังฯ นั้นคือกระทรวงการคลัง
กำแพงเมืองและคูเมืองเป็นทรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ แม้ต่อมากำแพงจะถูกรื้อทำลายลง และคูเมืองตื้นเขินขึ้นก็ตาม แต่ทางราชการก็ได้ถือว่าเป็นที่หลวงหวงห้ามตลอดมา ไม่ยอมให้ราษฎรยึดถือเอาเป็นเจ้าของแม้จะขอเช่าก็ต้องได้รับอนุญาตก่อน ดังนี้ กำแพงเมืองและคูเมืองจึงยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเพราะเป็นที่สงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน
แม้นายอำเภอจะได้ทำนิติกรรมซื้อขายที่พิพาทให้จำเลย ก็ไม่ทำให้จำเลยได้สิทธิในที่พิพาท เพราะที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งจะโอนแก่กันมิได้ และจะยกอายุความขึ้นต่อสู้แผ่นดินไม่ได้
การได้สิทธิจดทะเบียนภารจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1312 นั้น จะต้องเป็นการสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต แต่ที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ไม่ใช่ทรัพย์สินของแผ่นดินธรรมดาหรือของเอกชน จะนำมาใช้บังคับในกรณีนี้หาได้ไม่ดังนั้น แม้จำเลยจะปลูกสร้างโดยสุจริตก็ตาม จำเลยก็ไม่มีสิทธิขอให้จดทะเบียนภารจำยอมได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 20/2511)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 180/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไม่อนุญาตถอนตัวจากการเป็นจำเลยร่วมเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ผู้ร้องต้องโต้แย้งเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ภายหลังมีคำพิพากษา
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งไม่อนุญาตให้ผู้ร้องถอนตัวจากการเป็นจำเลยร่วมนั้นเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาหากผู้ร้องไม่เห็นพ้อง ก็มีสิทธิเพียงแต่จะโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้เพื่อสิทธิอุทธรณ์ในเมื่อได้พิจารณาหรือมีคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีแล้วเท่านั้น ผู้ร้องจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นก่อนศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226
เมื่อฝ่ายจำเลยได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นในเรื่องนี้เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาให้เป็นประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์แล้วแต่ศาลอุทธรณ์มิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยแม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวในชั้นฎีกาก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นพิจารณาได้เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
เมื่อฝ่ายจำเลยได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นในเรื่องนี้เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาให้เป็นประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์แล้วแต่ศาลอุทธรณ์มิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยแม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวในชั้นฎีกาก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นพิจารณาได้เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 577/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ภาษีเกินกำหนด: สิทธิโต้แย้งหมดไป แม้การประเมินจะผิดพลาด
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 ได้กำหนดเวลาไว้ให้ผู้ต้องเสียภาษีอุทธรณ์การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันรับแจ้งการประเมิน เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัยสั่งยกอุทธรณ์โดยอ้างเหตุว่า มิได้ยื่นอุทธรณ์ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ผู้ต้องเสียภาษีไม่อุทธรณ์คำวินิจฉัยในข้อนี้ต่อศาล ก็ไม่มีทางที่ศาลจะพิจารณาชี้ขาดว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ ฯ ที่ให้ยกอุทธรณ์เพราะยื่นเกินกำหนดเวลานั้นไม่ชอบ เพราะผู้ต้องเสียภาษีหมดสิทธิโต้แย้งเสียแล้ว และแม้คณะกรรมฯ ได้วินิจฉัยว่าไว้ด้วยว่า การประเมินของเจ้าพนักงานชอบด้วยกฎหมายและระเบียบการแล้ว ผู้ต้องเสียภาษีก็หมดสิทธิที่จะรื้อฟื้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินขึ้นโต้แย้งต่อไปได้(อ้างนัยฎีกาที่ 810/2505)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1635/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงโทษจำคุกโดยศาลอุทธรณ์และสิทธิในการฎีกาของโจทก์
ศาลชั้นต้นจำคุกจำเลย 2 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำคุกจำเลย 1 ปี และรอการลงโทษด้วย เป็นการแก้มาก ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 150/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิโต้แย้งสัญชาติ: การแสดงเจตนาคัดค้านคำสั่งห้ามเข้าประเทศ ถือเป็นการโต้แย้งสัญชาติและมีสิทธิฟ้องร้องได้
เมื่อเจ้าหน้าที่กองตรวจคนเข้าเมืองสั่งไม่ให้อยู่ในราชอาณาจักร และให้ออกไปให้พ้น ถ้าผู้นั้นได้โต้แย้งคำสั่งว่าเขาเป็นคนเกิดในประเทศไทย จะแต่งทนายร้องขอให้ศาลวินิจฉัย ดังนี้ ถือว่ามีข้อโต้แย้ง ชอบที่จะฟ้องศาลได้
การที่ได้แสดงตนและเอกสารว่าเป็นคนต่างด้วยมาก่อนแล้ว ก็กลับพิสูจน์ความจริงใหม่ได้
การที่ได้แสดงตนและเอกสารว่าเป็นคนต่างด้วยมาก่อนแล้ว ก็กลับพิสูจน์ความจริงใหม่ได้