คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิในที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 460 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8676/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในโฉนดที่ดินมรดก: การส่งมอบโฉนดคืนผู้จัดการมรดก แม้มีการทำประโยชน์ในที่ดิน แต่ไม่ถือเป็นการได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์
โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายฟ้องเรียกต้นฉบับโฉนดที่ดินพิพาท ซึ่งมีชื่อผู้ตายเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์จากจำเลย หาใช่ฟ้องเรียกที่ดินคืนจากจำเลยไม่ แม้จำเลยจะให้การต่อสู้ว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทก็ถือว่าจำเลยต่อสู้ว่าจำเลยไม่ต้องคืนต้นฉบับโฉนดเท่านั้น จึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ชอบแล้ว
เดิมที่ดินเป็นที่ดินมือเปล่าที่เจ้ามรดกมอบให้จำเลยเข้าทำนาจำเลยเป็นผู้ดูแลแทนผู้ตายซึ่งป่วยเป็นอัมพาต และผู้ตายมอบให้จำเลยดำเนินการออกโฉนดที่ดินแสดงให้เห็นว่าจำเลยยอมรับในกรรมสิทธิ์ของผู้ตายว่ามีเหนือที่ดินโดยสมบูรณ์ จำเลยมิได้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อแสดงว่าตนครอบครองปรปักษ์หรือเมื่อโจทก์ขอออกใบแทนโฉนดที่ดินจำเลยก็ไม่ได้โต้แย้งสิทธิต่อเจ้าพนักงานที่ดิน พยานหลักฐานของจำเลยไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 ที่ว่า ถ้าทรัพย์สินเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดไว้ในทะเบียนที่ดิน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7929/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดิน - อายุความ - พินัยกรรมสมบูรณ์ - สิทธิในที่ดิน
จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเสน่หา แม้จำเลยที่ 2 จะรับโอนที่ดินพิพาทมาโดยสุจริต มิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียปรียบก็ตาม กรณีเพียงแต่จำเลยที่ 1 เป็นผู้รู้ฝ่ายเดียว นิติกรรมการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ก็ย่อมถูกเพิกถอนเสียได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237
บ. ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อ 10 ปีมาแล้ว โดยหวังจะให้จำเลยเลี้ยงดู แต่จำเลยที่ 1 ได้ด่าว่า บ. บ. จึงต้องไปอาศัยอยู่กับโจทก์ที่ 1 หลังจากนั้นจำเลยที่ 1ไม่เคยดูแลเวลาป่วยก็ไม่พาไปโรงพยาบาล จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ก่อนที่ บ. ฟ้องจำเลยที่ 1 ขอถอนคืนการให้ที่ดินพิพาทเพราะเหตุจำเลยที่ 1 ประพฤติเนรคุณเพียง 1 เดือนเพื่อจะไม่ให้ บ. เรียกคืนโดยจำเลยที่ 1 รู้อยู่แล้วว่าเป็นทางให้ บ. เสียเปรียบ หาก บ. ไม่ถึงแก่ความตายในขณะคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 บ. ย่อมขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237
บ. ได้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 เมื่อสิทธิเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทได้ ขณะที่ บ. ทำพินัยกรรม บ. มีสิทธิในที่ดินพิพาทตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนการให้ที่ดินระหว่าง บ. กับจำเลยที่ 1 ในคดีก่อน แม้คดีจะยังไม่ถึงที่สุด แต่คำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีก่อนย่อมผูกพันคู่ความตามมาตรา 145 วรรคหนึ่งแห่ง ป.วิ.พ. นอกจากนี้ บ. ยังมีสิทธิในการฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 อันทำให้ บ. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ สิทธิทั้งสองดังกล่าวเป็นสิทธิที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินของ บ. การที่ บ. มีเจตนาทำพินัยกรรมให้โจทก์มีสิทธิตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีก่อน รวมทั้งสิทธิในการขอให้เพิกถอนนิติกรรมอันเป็นสิทธิที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทด้วย เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินตามที่ระบุในพินัยกรรมจึงถือไม่ได้ว่า บ. ทำพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้อื่น พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองจึงมีผลสมบูรณ์บังคับได้ตามกฎหมาย สิทธิตามที่กล่าวในที่ดินพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ในฐานะผู้รับพินัยกรรมตามกฎหมาย การที่จำเลยที่ 2 ได้รับโอนที่ดินจากจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้
โจทก์รู้เรื่องจำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ในวันที่ไปติดต่อที่สำนักงานที่ดิน เมื่อนับระยะเวลาจากวันที่โจทก์รู้เรื่องจำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 จนถึงวันที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเพื่อขอให้ศาลพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้ ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 240 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7910/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดกที่ไม่กระทบสิทธิผู้อื่น: สิทธิในที่ดินตาม น.ส.3 ยังคงอยู่
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายจึงมีประเด็นที่ศาลต้องวินิจฉัยแต่เพียงว่าสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามคำร้องหรือไม่เท่านั้น แม้ศาลจะตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ก็ไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงสิทธิของผู้ร้องสอด ผู้ร้องสอดมีสิทธิในที่ดินตาม น.ส.3 อยู่อย่างไร ก็คงมีอยู่อย่างนั้น จึงยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องร้องสอดเข้ามาในคดีนี้เพื่อให้ศาลรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิที่มีอยู่ กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7529/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินพิพาท: การครอบครองทำประโยชน์ก่อนออกโฉนดเป็นหลักฐานสำคัญกว่าชื่อในโฉนด
ที่ดินพิพาทมีเอกสารสิทธิเป็นโฉนดที่ดินออกในชื่อโจทก์ โจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าเป็นเจ้าของและผู้มีสิทธิครอบครองด้วย
แม้โจทก์จะมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินก็ตาม แต่โจทก์ยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ที่จำเลยอ้าง ปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นสิทธิของโจทก์หรือของจำเลย จึงต้องพิจารณาถึงสิทธิครอบครองก่อนที่จะมีการออกโฉนดที่ดิน เมื่อพยานหลักฐานฝ่ายจำเลยมีน้ำหนักมากกว่า เชื่อได้ว่าจำเลยครอบครองทำประโยชน์ที่ดินพิพาทตลอดมา ที่ดินพิพาทจึงเป็นสิทธิของจำเลย
เจ้าพนักงานที่ดินได้ออกโฉนดที่ดินพิพาทในชื่อโจทก์เพราะเข้าใจผิดหลงว่าโจทก์มีสิทธิ เป็นการออกให้โดยไม่ชอบจึงต้องพิพากษาให้เพิกถอน ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์ไปจดทะเบียนโอนชื่อในโฉนดที่ดิน หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของโจทก์ เป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7301/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อที่ดินโดยไม่สุจริต ทำให้ไม่อาจอ้างสิทธิในที่ดินได้ แม้มีชื่อในโฉนด
โจทก์รู้อยู่แล้วในขณะที่ซื้อที่ดินพิพาทว่าจำเลยที่ 2 ได้ที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 1 โดยมิชอบ ถือได้ว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 โดยไม่สุจริต โจทก์จึงไม่อาจอ้างเอาการมีชื่อในโฉนดที่ดินพิพาทขึ้นต่อสู้จำเลยที่ 1 ผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริงในที่ดินพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6294/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลกรณีสัญญาปลื้องทุกข์: ผู้ไม่อ้างสิทธิในที่ดินฟ้องบังคับโอน
จำเลยเป็นเพียงผู้อาศัยปลูกบ้านอยู่ในที่ดินพิพาท ไม่ใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในคดีที่ ล. มารดาโจทก์ทั้งสี่ฟ้องบังคับให้ ท. จดทะเบียนโอนที่ดิน การที่จำเลยกับ ล. ทำหนังสือสัญญากันระบุว่า ล. จะจดทะเบียนแบ่งแยกโอนที่ดินพิพาทเนื้อที่ 2 ไร่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดิน ในคดีที่ ล. พิพาทกับ ท. ให้แก่จำเลยเมื่อคดีถึงที่สุด กับให้เงินสดอีก 100,000 บาท เพื่อปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณราคาเป็นเงินได้ตามตาราง 1 ข้อ (2) (ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 436/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินพิพาท: สิทธิในที่ดินมรดก การครอบครองปรปักษ์ และการบังคับคดี
การแย่งการครอบครองที่ดินจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของผู้อื่น จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ ร. เพราะร. ได้ยกให้ ว. ก่อนตาย ว. ได้ครอบครองทำประโยชน์มาประมาณ20 ปี โดยโจทก์ไม่เคยเกี่ยวข้อง แล้ว ว. ได้ขายให้จำเลย จำเลยจึงเข้าครอบครองทำประโยชน์ต่อจาก ว. ไม่ได้บุกรุก เห็นได้ว่าจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยมาตั้งแต่ต้น จำเลยมิได้ยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ คดีจึงไม่มีปัญหาเรื่องการแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378 การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ด้วยว่าโจทก์ฟ้องเรียกคืนการครอบครองที่ดินพิพาทเกิน 1 ปี นับแต่เวลาที่ถูกแย่งการครอบครองหรือไม่จึงไม่ชอบ
ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยปรับที่ดินให้อยู่ในสภาพเดิมหากจำเลยไม่ดำเนินการ ให้โจทก์ว่าจ้างบุคคลอื่นกระทำการโดยให้จำเลยออกค่าใช้จ่ายนั้นเป็นการไม่ชอบด้วยวิธีการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ เพราะเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าว จึงให้ยกคำขอในส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2004/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทิศที่ดินเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน: สิทธิในที่ดินไม่กลับคืนแก่ผู้บริจาค แม้ไม่ได้ใช้ตามวัตถุประสงค์
การที่มีผู้จัดการมรดกอยู่แต่ผู้จัดการมรดกไม่ดำเนินการใด ๆเกี่ยวกับทรัพย์มรดก ย่อมไม่ทำให้สิทธิของทายาทในฐานะทายาทผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกที่จะดำเนินการฟ้องคดีเพื่อรักษาผลประโยชน์ของกองมรดกเสียไป
จ. อุทิศที่ดินให้เป็นถนนสาธารณะและได้จดทะเบียนยกให้แล้ว จึงตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1304(2) และสภาพความเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่อาจสูญสิ้นไปเพราะการไม่ได้ใช้ตามมาตรา 1305 แม้กรุงเทพมหานครจำเลยจะมิได้ใช้ที่ดินตามวัตถุประสงค์ที่ขอบริจาค และ จ. ได้กลับเข้าครอบครองใช้ประโยชน์นานเพียงใดก็ไม่ทำให้กรรมสิทธิ์ตกไปเป็นของ จ. ได้อีก เพราะตามมาตรา 1306 ห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8895/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดิน: น.ส.3ก. กับ สิทธิครอบครอง เป็นคนละส่วนกัน การคืน น.ส.3ก. ไม่ใช่การได้คืนการครอบครอง
หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) สำหรับที่ดินกับที่ดินพิพาทหรือสิทธิครอบครองในที่ดินถือเป็นคนละส่วนกัน เห็นได้จากการที่โจทก์สามารถขอให้ทางราชการออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ให้ใหม่ได้ แต่สิทธิครอบครองเป็นลักษณะอาการทางกฎหมายอย่างหนึ่งซึ่งจะได้มาก็ต้องด้วยเจตนายึดถือทรัพย์สินหรือที่ดินพิพาทไว้เพื่อตนเองเท่านั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367 การที่โจทก์เคยฟ้องเรียกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) คืนจากจำเลยและศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยคืนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) แก่โจทก์ จึงไม่เกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่ดินอันจำเลยได้ยึดถือตัวทรัพย์ไว้หรืออาจยึดถือตัวทรัพย์ไว้เพื่อตน ซึ่งโจทก์จะต้องไปดำเนินการในเรื่องถูกแย่งการครอบครองและฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองเป็นอีกกรณีหนึ่งต่างหาก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 กรณียังไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกที่ดินพิพาทคืนจากการครอบครองของจำเลยแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8793/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน: การพิสูจน์สิทธิก่อนคำสั่งเจ้าพนักงานที่ดิน
บทบัญญัติมาตรา 60 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินฯ เป็นเพียงการกำหนดวิธีการให้เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการสอบสวนเปรียบเทียบและสั่งการในกรณีที่มีการโต้แย้งสิทธิกันในการขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์เท่านั้น แม้จะมีข้อกำหนดไว้ว่าเมื่อเจ้าพนักงานที่ดินสั่งการอย่างไรแล้ว ให้ฝ่ายที่ไม่พอใจไปดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลภายในกำหนด 60 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งก็ตาม แต่ข้อกำหนดดังกล่าวคงเป็นเพียงการกำหนดขั้นตอนเพื่อให้เจ้าพนักงานที่ดินปฏิบัติภายหลังจากที่ได้สั่งการไปแล้ว คือหากมีการฟ้องคดีต่อศาลก็ให้เจ้าพนักงานที่ดินรอเรื่องไว้จนกว่าศาลจะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดประการใดก็ให้ดำเนินการไปตามนั้น ถ้าไม่ฟ้องภายในกำหนดก็ให้ดำเนินการไปตามที่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสั่งหาใช่เป็นเงื่อนไขในการฟ้องคดีต่อศาลไม่ ทั้งบทบัญญัติดังกล่าวก็มิได้ห้ามมิให้ฟ้องคดีหากมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ดังที่บัญญัติห้ามไว้ในกฎหมายอื่นดังนั้น เมื่อโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
of 46