พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1173/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเฉลี่ยทรัพย์ต้องแสดงความยากลำบากในการชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่น และการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาผู้ยื่นคำขอต่อศาลเพื่อขออนุญาตเข้าเฉลี่ยในทรัพย์สินหรือเงินที่ขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ถูกยึดในคดีอื่น มีหน้าที่ต้องนำสืบให้ศาลเห็นว่า ตนไม่สามารถเอาชำระหนี้ได้จากทรัพย์สินอื่น ๆ ของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น
พฤติการณ์ที่ถือได้ว่าผู้ยื่นคำขอเฉลี่ยไม่สุจริต
พฤติการณ์ที่ถือได้ว่าผู้ยื่นคำขอเฉลี่ยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิไม่สุจริตในการต่อสู้คดี และการตีความกฎหมายเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนในการได้มาซึ่งที่ดิน
ในศาลชั้นต้นไม่ได้ต่อสู้ว่าวัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วนผิดกฎหมาย แต่ครั้นแพ้คดีจึงยกขึ้น เช่นนี้ เป็นการใช้สิทธิแห่งตนไม่สุจริต
พระราชบัญญัติควบคุมการได้มาซึ่งที่ดินโดยห้างหุ้นส่วนฯลฯพ.ศ.2485 และประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 นั้น เป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเพราะมีข้อห้ามกำหนดโทษเป็นความผิดทางอาญาไว้ แต่คำว่า 'ห้างหุ้นส่วน'ในพระราชบัญญัติดังกล่าวนี้ หมายถึงห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนอันถือว่าเป็นนิติบุคคล เพราะห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียนย่อมไม่อาจได้มาซึ่งที่ดินและไม่อยู่ในฐานะที่จะถูกลงโทษทางอาญา ดังนั้น หุ้นส่วนรายนี้จึงไม่อยู่ในบังคับพระราชบัญญัติฉบับนี้ และตามความหมายในประมวลกฎหมายที่ดินนั้นห้างหุ้นส่วนนั้นต้องเป็นห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนแล้ว การที่ทนายความแถลงรับข้อเท็จจริงนั้นถือว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามรูปความมิใช่จำหน่ายสิทธิ ดังนั้นตัวความจะคัดค้านมิได้เมื่อไม่ยกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1055(5) ขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้นการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัย จึงชอบแล้ว เพราะไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
พระราชบัญญัติควบคุมการได้มาซึ่งที่ดินโดยห้างหุ้นส่วนฯลฯพ.ศ.2485 และประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 นั้น เป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเพราะมีข้อห้ามกำหนดโทษเป็นความผิดทางอาญาไว้ แต่คำว่า 'ห้างหุ้นส่วน'ในพระราชบัญญัติดังกล่าวนี้ หมายถึงห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนอันถือว่าเป็นนิติบุคคล เพราะห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียนย่อมไม่อาจได้มาซึ่งที่ดินและไม่อยู่ในฐานะที่จะถูกลงโทษทางอาญา ดังนั้น หุ้นส่วนรายนี้จึงไม่อยู่ในบังคับพระราชบัญญัติฉบับนี้ และตามความหมายในประมวลกฎหมายที่ดินนั้นห้างหุ้นส่วนนั้นต้องเป็นห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนแล้ว การที่ทนายความแถลงรับข้อเท็จจริงนั้นถือว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามรูปความมิใช่จำหน่ายสิทธิ ดังนั้นตัวความจะคัดค้านมิได้เมื่อไม่ยกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1055(5) ขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้นการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัย จึงชอบแล้ว เพราะไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1491/2498 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนขายที่ดินสินเดิมโดยภรรยาให้ความยินยอมภายหลัง มิอาจฟ้องเรียกคืนได้
เมื่อขณะสามีทำสัญญาขายที่ดินสินเดิมของภรรยา ๆ ก็อยู่รู้เห็นด้วยแต่มิได้คัดค้านประการใดแล้วต่อมาภายหลังภรรยาจะมาฟ้องเอาที่ดินคืนจากผู้ซื้อไม่ได้เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1961/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินโดยมิได้รับความยินยอมจากเจ้าของร่วม และการใช้สิทธิไม่สุจริตของผู้ซื้อ
มารดาเอาที่ดินที่ตนและบุตรเป็นเจ้าของร่วมกันไปขอทำสัญญาขายให้แก่ผู้อื่น ทางอำเภอจึงประกาศโฆษณา การขาย บุตรจึงไปร้องคัดค้านจนทางอำเภอสั่งระงับการทำสัญญาซื้อขายไว้ผู้จะซื้อจึงเลี่ยงมาขออำนาจศาล ฟ้องมารดาให้โอนขายที่นั้นตามสัญญา แล้วทำยอมกัน ศาลพิพากษาให้โอนขายกันตามยอม แล้วแจ้งให้อำเภอทำสัญญาซื้อขายให้ ดังนี้ ย่อมได้ชื่อว่าผู้ซื้อใช้สิทธิไม่สุจริต ผู้ซื้อจะเถียงว่าตนรับซื้อไว้โดยสุจริตควรได้สิทธิทางทะเบียนหาได้ไม่นิติกรรมซื้อขายนั้น ย่อมไม่ผูกพันที่ดินส่วนของบุตรด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 910/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิไม่สุจริตของสามีในการบอกล้างนิติกรรมขายฝากที่ภรรยาทำโดยไม่ได้รับความยินยอม
สามีเคยให้ภรรยาเอาที่ดินไปจำนองและมอบเงินไปชำระดอกเบี้ย และไถ่ถอนมาหลายครั้งแล้ว ภายหลังภรรยาเอาที่นี้ไปขายฝากไว้แก่ผู้อื่น แล้วสามีมาขอบอกล้างให้ทำลายนิติกรรมโดยอ้างว่าไม่ได้รับความยินยอมจากสามีนั้น เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตาม ป.พ.พ.ม. 5 การบอกล้างไม่มีผล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 910/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิไม่สุจริตในการบอกล้างนิติกรรมขายฝากเมื่อสามีเคยยินยอมให้ภรรยาจำนองและไถ่ถอนที่ดินมาก่อน
สามีเคยให้ภรรยาเอาที่ดินไปจำนองและมอบเงินไปชำระดอกเบี้ย และไถ่ถอนมาหลายครั้งแล้ว. ภายหลังภรรยาเอาที่นี้ไปขายฝากไว้แก่ผู้อื่นอีก. แล้วสามีมาขอบอกล้าง ให้ทำลายนิติกรรมโดยอ้างว่าไม่ได้รับความยินยอมจากสามีนั้น.เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตาม ป.พ.พ. ม.5 การบอกล้างไม่มีผล.(อ้างฎีกาที่ 468/2488).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 302/2488 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระบัญชีหุ้นส่วนหลังเลิกสัญญา แม้มีคดีความค้างอยู่ ไม่ถือว่าใช้สิทธิไม่สุจริต
เมื่อหุ้นส่วนเลิกกันแล้ว ผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ตกลงกันในเรื่องชำระบัญชี ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งย่อมฟ้องขอให้ศาลตั้งผู้อื่นเป็นผู้ชำระบัญชีได้.
แม้หุ้นส่วนเลิกกันมานานแล้ว ก็ไม่เป็นเหตุขัดขวางที่จะร้องขอให้มีการชำระบัญชี
การฟ้องขอชำระบัญชีหุ้นส่วน แม้จะเพื่อฟ้องคดีอีกเรื่องหนึ่งซึ่งเป็นหนี้ที่ปรากฎจากการชำระบัญชี ก็ไม่ถือว่าเป็นการใช้สิทธิ์ไม่สุจริต.
แม้หุ้นส่วนเลิกกันมานานแล้ว ก็ไม่เป็นเหตุขัดขวางที่จะร้องขอให้มีการชำระบัญชี
การฟ้องขอชำระบัญชีหุ้นส่วน แม้จะเพื่อฟ้องคดีอีกเรื่องหนึ่งซึ่งเป็นหนี้ที่ปรากฎจากการชำระบัญชี ก็ไม่ถือว่าเป็นการใช้สิทธิ์ไม่สุจริต.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 814/2487 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้สิทธิไม่สุจริตของผู้จัดการร้าน และสิทธิของผู้ประดิษฐ์
ผู้จัดการร้านไปจ้างช่างเขียนแบบเครื่องหมายการค้าแล้วนำไปจ้างพิมพ์พร้อมทั้งเข้าทั้งของร้านแต่แล้วงดพิมพ์พายหลังผู้จัดการคนนั้นออกจากร้านไปค้าส่วนตัวและเอาเครื่องหมายนั้นไปไช้ต่อมาเจ้าของร้านได้ไช้เครื่องหมายนั้นบ้าง และได้จดทเบียนเครื่องหมายแล้วโดยไม่รู้ว่ามีผู้ไช้เครื่องหมายนี้ดังนี้ ได้ชื่อว่าผู้จัดการนั้นไช้สิทธิไม่สุจริต ไม่มีสิทธิไนเครื่องหมายนั้นดีกว่าเจ้าของร้านเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10693/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิที่ดินปฏิรูปที่ดินโดยมิชอบ และการฟ้องร้องโดยใช้สิทธิไม่สุจริต
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของรัฐในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมอบที่ดินและอนุญาตให้ ป. เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน มิได้มีผลให้ ป. มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท คงมีแต่เพียงสิทธิการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทเท่านั้น พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 39 บัญญัติว่า "ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะทำการแบ่งแยก หรือโอนสิทธิในที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรมหรือโอนไปยังสถาบันเกษตรกรฯลฯ" นิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่าง ป. กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 อีกทั้งยังมีผลให้ ป. สิ้นสิทธิการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทเพราะกระทำการขัดต่อระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมว่าด้วยการให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรผู้ได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมปฏิบัติเกี่ยวกับการเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน พ.ศ.2535 ข้อ 7 และข้อ 11 การที่โจทก์ไปรับสิทธิการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตกทอดทางมรดกของ ป. ได้ ก็มีเหตุผลให้เชื่อว่าโจทก์ปกปิดข้อความจริงเรื่อง ป. ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ไปเอาไว้ มิได้แจ้งต่อคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จึงต้องมีการออกใบแทนหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน ทั้ง ๆ ที่ฉบับเดิมมิได้สูญหาย แต่อยู่ในความยึดถือของจำเลยที่ 1 ผู้ซื้อที่ดิน เมื่อสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทมีข้อตกลงในข้อ 3 ว่า ถ้า ป. อยากได้ที่ดินคืน จะต้องคืนต้นเงิน 120,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมายให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงจะคืนที่ดินให้ ป. โจทก์ทราบดีกลับไปขอรับตกทอดทางมรดกซึ่งสิทธิตามหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทด้วยวิธีอ้างความเท็จว่าต้นฉบับหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินสูญหายแล้วมาฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองเช่นนี้ ย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตจึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินพิพาท การที่จำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์จากสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นเรื่องที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะต้องดำเนินการกับจำเลยตามกฎหมายต่อไป หาทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 310/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนเครื่องหมายการค้าเนื่องจากใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และความคล้ายคลึงทำให้สาธารณชนสับสน
เครื่องหมายการค้าของจำเลยร่วมจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 และมีการต่ออายุตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 จึงอาจมีการเพิกถอนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ได้
จำเลยร่วมรับโอนเครื่องหมายการค้าพิพาททางมรดกจากบิดาจำเลยร่วม ข้อเท็จจริงฟังได้ว่ากรณีมีเหตุทำให้เชื่อได้ว่าความคล้ายของเครื่องหมายการค้าของจำเลยร่วมกับของโจทก์เกิดจากการที่บิดาจำเลยร่วมทราบถึงเครื่องหมายการค้าของโจทก์เนื่องจากเคยทำงานกับโจทก์ และนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปดัดแปลงและจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของตนจึงถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เมื่อโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสีย โจทก์จึงมีสิทธิร้องขอต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยร่วมได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 61 (2) ประกอบ มาตรา 8 แม้สินค้าบานเกล็ดจะไม่ใช่เป็นสินค้าที่ระบุไว้ในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เมื่อโจทก์มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอน แต่คณะกรรมการฯมีคำสั่งไม่ให้เพิกถอน คำสั่งดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวและให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าของจำเลยร่วมจึงชอบแล้ว
จำเลยร่วมรับโอนเครื่องหมายการค้าพิพาททางมรดกจากบิดาจำเลยร่วม ข้อเท็จจริงฟังได้ว่ากรณีมีเหตุทำให้เชื่อได้ว่าความคล้ายของเครื่องหมายการค้าของจำเลยร่วมกับของโจทก์เกิดจากการที่บิดาจำเลยร่วมทราบถึงเครื่องหมายการค้าของโจทก์เนื่องจากเคยทำงานกับโจทก์ และนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปดัดแปลงและจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของตนจึงถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เมื่อโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสีย โจทก์จึงมีสิทธิร้องขอต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยร่วมได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 61 (2) ประกอบ มาตรา 8 แม้สินค้าบานเกล็ดจะไม่ใช่เป็นสินค้าที่ระบุไว้ในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เมื่อโจทก์มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอน แต่คณะกรรมการฯมีคำสั่งไม่ให้เพิกถอน คำสั่งดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวและให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าของจำเลยร่วมจึงชอบแล้ว