คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สินค้าสูญหาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 80 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 305/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ร่วมขนส่งและผู้ขนส่งทอดสุดท้ายกรณีสินค้าสูญหายระหว่างการขนส่งทางทะเล
จำเลยประกอบอาชีพตัวแทนเดินเรือของบริษัทในต่างประเทศซึ่งไม่มีสาขาอยู่ในประเทศไทย และเป็นตัวแทนของบริษัทผู้ขนส่ง เมื่อเรือสินค้าจากต่างประเทศมาถึงท่าเรือเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี จำเลยได้ดำเนินการติดต่อกรมศุลกากรเพื่อให้พนักงานศุลกากรไปตรวจสินค้าในเรือ ติดต่อกองตรวจคนเข้าเมืองเพื่อส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจบนเรือ แจ้งเวลาเรือเข้าให้บริษัทผู้รับตราส่งทราบ และให้นำใบตราส่งมาแลกใบปล่อยสินค้าจากจำเลย สั่งให้นายเรือปล่อยสินค้า และวางหนังสือค้ำประกันของธนาคารต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทย ในการใช้บริการทางท่าเรือ เมื่อเรือสินค้ามาถึงท่าเรือเกาะสีชัง จำเลยเป็นผู้ว่าจ้างบริษัท จ. ขนถ่ายสินค้าจากเรือสินค้าสู่เรือฉลอมเพื่อส่งให้แก่บริษัทผู้รับตราส่งที่ท่าเรือกรุงเทพตามที่ระบุไว้ในใบตราส่ง และบริษัท จ. ได้ทำรายงานสินค้าขาดเกินมอบให้แก่จำเลย ตามพฤติการณ์ดังกล่าวเห็นได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการขนส่งทอดสุดท้ายขึ้นจากเรือสินค้า เพื่อส่งมอบให้แก่ผู้รับตราส่งและเพื่อให้สินค้าพิพาทได้ขนส่งถึงมือผู้ซื้อซึ่งถือได้ว่าเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเลโดยจำเลยเป็นผู้ร่วมขนส่งและเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 618 ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนส่งทางทะเลในขณะเกิดมูลคดีนี้ เมื่อสินค้าที่ขนส่งสูญหายระหว่างการขนส่งจำเลยจำต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในการสูญหายของสินค้าให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิมาจากผู้รับตราส่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 305/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทอดสุดท้ายในกรณีสินค้าสูญหายจากการขนส่งทางทะเล
จำเลยประกอบอาชีพตัวแทนเดินเรือของบริษัทในต่างประเทศซึ่งไม่มีสาขาอยู่ในประเทศไทยและเป็นตัวแทนของบริษัทผู้ขนส่งเมื่อเรือสินค้าจากต่างประเทศมาถึงท่าเรือ เกาะสีชังจังหวัดชลบุรีจำเลยได้ดำเนินการติดต่อกรมศุลกากรเพื่อให้พนักงานศุลกากรไปตรวจสินค้าในเรือติดต่อกองตรวจคนเข้าเมืองเพื่อส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจบนเรือแจ้งเวลาเรือเข้าให้บริษัทผู้รับตราส่งทราบและให้นำใบตราส่งมาแลกใบปล่อยสินค้าจากจำเลยสั่งให้นายเรือปล่อยสินค้าและวางหนังสือค้ำประกันของธนาคารต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทยในการใช้บริการทางท่าเรือเมื่อเรือสินค้ามาถึงท่าเรือเกาะ สีชัง จำเลยเป็นผู้ว่าจ้างบริษัท จ. ขนถ่ายสินค้าจากเรือสินค้าสู่เรือฉลอมเพื่อส่งให้แก่บริษัทผู้รับตราส่งที่ท่าเรือกรุงเทพตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งและบริษัท จ. ได้ทำรายงานสินค้าขาดเกินมอบให้แก่จำเลยตามพฤติการณ์ดังกล่าวเห็นได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการขนส่งทอดสุดท้ายขึ้นจากเรือสินค้าเพื่อส่งมอบให้แก่ผู้รับตราส่งและเพื่อให้สินค้าพิพาทได้ขนส่งถึงมือผู้ซื้อซึ่งถือได้ว่าเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเลโดยจำเลยเป็นผู้ร่วมขนส่งและเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา618ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนส่งทางทะเลในขณะเกิดมูลคดีนี้เมื่อสินค้าที่ขนส่งสูญหายระหว่างการขนส่งจำเลยจำต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในการสูญหายของสินค้าให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิมาจากผู้รับตราส่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 73/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ vs. ประเด็นใหม่: ค่าเสียหายจากสินค้าสูญหายหลังศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
จำเลยทั้งหกเคยฟ้องฟ้องเรียกค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและเงินจำนวนอื่นจากโจทก์แม้โจทก์จะให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์ไม่ต้องรับผิดเพราะโจทก์เลิกจ้างจำเลยทั้งหกเนื่องจากจำเลยทั้งหกกระทำผิดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้สินจ้างของโจทก์สูญหายไปประเด็นต้องวินิจฉัยในคดีก่อนก็มีเพียงว่าจำเลยทั้งหกฟ้องเรียกค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและเงินจำนวนอื่นได้เพียงใดหรือไม่ไม่มีประเด็นว่าจำเลยทั้งหกต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่ทำให้สินค้าของโจทก์สูญหายไปให้โจทก์เพียงใดหรือไม่การที่โจทก์มาฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งหกโดยกล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งหกได้กระทำละเมิดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อให้สินค้าของโจทก์สูญหายไปจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ คดีก่อนศาลมีคำ พิพากษาถึงที่สุดว่าโจทก์เลิกจ้างจำเลยทั้งหกโดยจำเลยทั้งหกไม่ได้กระทำผิดจำเลยทั้งหกไม่ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้สินค้าของโจทก์สูญหายไปดังที่โจทก์ให้การต่อสู้คดีในคดีก่อน คำพิพากษาดังกล่าวย่อม ผูกพันโจทก์ โจทก์จึงมาฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งหกโดยอ้างว่าจำเลยทั้งหกกระทำละเมิดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้สินค้าของโจทก์สูญหายไปไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5203/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งและตัวแทนขนส่ง กรณีสินค้าสูญหาย รวมถึงข้อยกเว้นจำกัดความรับผิดที่มิชอบ
แม้บริษัท ม.ผู้รับตราส่งในต่างประเทศได้รับช่วงสิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องเอาตามสัญญารับขนให้ผู้ส่งส่งมอบสินค้าที่ขนส่งแต่บริษัท ม.ไม่ได้รับสินค้าพิพาทจากโจทก์จึงไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระให้โจทก์และไม่มีส่วนได้เสียสำหรับสินค้าที่สูญหายเพราะไม่ใช่เจ้าของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ส่งย่อมได้รับความเสียหายจึงมีอำนาจฟ้องเรียกราคาสินค้าพิพาทจากผู้ขนส่งได้ ในการออกใบตราส่งแม้ไม่มีชื่อจำเลยเป็นผู้ขนส่งแต่จำเลยเป็นผู้ออกในนามของบริษัท ฟ.ผู้ขนส่งแสดงว่าจำเลยในฐานะตัวแทนของบริษัท ฟ.ตัวการได้ทำสัญญารับขนสินค้าพิพาทกับโจทก์เมื่อสินค้าพิพาทเกิดสูญหายที่ปลายทางในระหว่างอยู่ในความรับผิดชอบของบริษัท ฟ.ผู้ขนส่งจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนทำสัญญาขนส่งตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศจึงต้องรับผิดตามสัญญารับขนนั้นโดยลำพังตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา824และมาตรา616 ข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดในใบตราส่งจำเลยเป็นผู้กำหนดขึ้นเองฝ่ายเดียวโดยพิมพ์ไว้ด้านหลังใบตราส่งเป็นภาษาอังกฤษตัวอักษรมีขนาดเล็กมากจนยากที่จะอ่านได้ไม่มีช่องสำหรับให้ผู้ใดลงชื่อและไม่มีคำแปลภาษาไทยแม้ อ.หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์จะมีความรู้ภาษาอังกฤษแต่ก็มิได้ลงลายมือชื่อแสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งและยังทักท้วงไว้ด้วยข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา625เมื่อสินค้าพิพาทเกิดสูญหายในระหว่างอยู่ในความครอบครองของผู้ขนส่งจำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ชดใช้ราคาสินค้าพิพาทตามจำนวนที่ระบุไว้ในใบกำกับสินค้าหรือใบแสดงราคาสินค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา620 จำเลยฎีกาในประเด็นที่ว่าจำเลยเป็นตัวแทนทำสัญญาประกันภัยให้แก่โจทก์หรือไม่เมื่อประเด็นข้อนี้โจทก์เป็นผู้กล่าวอ้างและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยต้องกันกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจำเลยไม่ได้เป็นตัวแทนของโจทก์นำสินค้าไปเอาประกันภัยโจทก์มิได้ฎีกาหรือแก้ฎีกาเป็นประเด็นขึ้นมาข้อวินิจฉัยของศาลล่างดังกล่าวจึงเป็นผลดีแก่จำเลยแล้วไม่เป็นประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1331/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับขนส่งและผู้มอบหมายการขนส่ง กรณีสินค้าสูญหาย
จำเลยที่ 3 ลงชื่อจะมาทราบคำสั่งศาลในวันที่ 30 ตุลาคม2534 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 3เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2534 ถือว่าจำเลยที่ 3 ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยที่ 3นำส่งสำเนาฎีกาแก่โจทก์และกรณีส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 15 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้มิฉะนั้นถือว่าทิ้งฎีกาแล้ว เมื่อส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ไม่ได้ จำเลยที่ 3มิได้แถลงตามคำสั่งศาลชั้นต้น ถือว่าจำเลยที่ 3 ทิ้งฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246, 247
จำเลยที่ 1 มีวัตถุประสงค์ในการขนส่งและรับขนสินค้า ได้รับจ้างโจทก์จัดหารถไปบรรทุกสินค้าจากโรงงานของโจทก์ไปที่ท่าเรือของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ในวันที่มีการขนสินค้าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ไปดูการบรรจุสินค้าเข้าตู้บรรจุสินค้าที่โรงงานของโจทก์และเป็นผู้ส่งมอบตู้บรรจุสินค้าของโจทก์ให้แก่บริษัท น. ที่ท่าเรือของการท่าเรือแห่งประเทศไทยและเป็นผู้รับเงินค่าจ้างขนส่งทั้งหมดจากโจทก์ โดยในใบเสร็จรับเงินของจำเลยที่ 1ระบุว่าเป็นค่าบริการลากจูงตู้บรรจุสินค้าที่จำเลยที่ 1 รับจากโจทก์ ทั้งก่อนเกิดเหตุจำเลยที่ 1 เคยว่าจ้างจำเลยที่ 3 ขนส่งสินค้าให้แก่โจทก์มาแล้วหลายครั้ง ตามพฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ประกอบการเป็นผู้รับขนส่งของเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าโดยปกติและได้รับค่าระวางพาหนะจากโจทก์ แม้จำเลยที่ 1ไม่มีใบอนุญาตให้ประกอบการขนส่งและไม่มีรถบรรทุกเป็นของตนเอง จำเลยที่ 1ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ขนส่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 608 และการที่จำเลยที่ 1 ว่าจ้างให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้นำรถไปลากจูงตู้บรรจุสินค้าของโจทก์ ย่อมเป็นการมอบหมายของนั้นไปอีกทอดหนึ่ง เมื่อของที่รับขนสูญหายไปเพราะความผิดของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบุคคลที่จำเลยที่ 1 มอบหมายของนั้นไป จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 617

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2929/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับขนส่งทางทะเล กรณีสินค้าสูญหายจากความประมาท ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า สินค้าของโจทก์เป็นเส้นใยฝ้ายจำนวน408 กล่อง น้ำหนัก 2,900 กิโลกรัม สูญหายทั้งหมด ซึ่งจำเลยก็ให้การรับว่าสินค้าของโจทก์ตกลงไปในทะเลและสูญหายทั้งหมด แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว รายการสินค้าที่เสียหายมีอย่างไร เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา หาจำต้องบรรยายมาในฟ้องไม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คดีนี้เป็นเรื่องรับขนของทางทะเล ซึ่งขณะเกิดข้อพิพาท พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ยังไม่มีผลใช้บังคับ ทั้งไม่ปรากฏคลองจารีต-ประเพณีแห่งท้องถิ่นว่าด้วยรับขนของทางทะเล จึงต้องวินิจฉัยคดีโดยอาศัยเพียงบท-กฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ตามมาตรา 4 แห่ง ป.พ.พ. อันได้แก่ บทบัญญัติตามป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 8 รับขน มาตรา 616 ซึ่งบัญญัติว่า ผู้ขนส่งจะต้องรับผิดในการที่ของอันเขาได้มอบหมายแก่ตนนั้นสูญหาย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการสูญหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัย เมื่อปรากฏว่า การบรรทุกสินค้าของจำเลยไม่รัดกุมพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้อุปกรณ์ผูกรัดตลอดจนวิธีการผูกรัดตู้คอนเทนเนอร์ไม่มั่นคงพอที่จะป้องกันความเสียหายอันเกิดจากคลื่นลมแรงได้ ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าการขนส่งสินค้าทางทะเลโดยเรือสินค้า มรสุมคลื่นลมแรงในทะเลย่อมเป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ ทั้งไม่ปรากฏว่าไม่อาจหาวิธีการอื่นใดในการผูกรัดและป้องกันการตกลงไปในทะเลของตู้คอนเทนเนอร์ให้ดีกว่าที่ปฏิบัติแล้วได้ และก่อนที่เรือจำเลยจะออกจากช่องแคบอังกฤษ ได้ทราบข่าวการพยากรณ์อากาศว่าจะเกิดคลื่นลมแรงแล้ว ดังนั้น หากนายเรือของจำเลยจะหยุดเรืออยู่ที่ช่องแคบอังกฤษรอจนกว่าคลื่นลมในอ่าวบิสเคย์สงบก่อน จึงค่อยออกเรือต่อไป ภัยพิบัติก็จะไม่เกิด จึงเป็นเรื่องที่นายเรือของจำเลยจะป้องกันได้ การที่นายเรือจำเลยอ้างว่าได้ทราบพยากรณ์-อากาศแล้วยังเดินเรือต่อไป เพราะเห็นว่าไม่เป็นอันตรายสำหรับเรือขนาดบรรทุก 20,500 ตัน นับว่าเป็นความประมาทของนายเรือจำเลยโดยแท้ ฉะนั้นจึงมิใช่เหตุสุดวิสัย เมื่อจำเลยมีภาระในการพิสูจน์ถึงเหตุสุดวิสัยเพื่อให้พ้นความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 616 แต่นำสืบไม่ได้ตามคำให้การ จำเลยก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2929/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับขนทางทะเล: ความรับผิดของผู้ขนส่งกรณีสินค้าสูญหายจากความประมาทเลินเล่อ ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า สินค้าของโจทก์เป็นเส้นใยฝ้ายจำนวน408 กล่อง น้ำหนัก 2,900 กิโลกรัม สูญหายทั้งหมด ซึ่งจำเลยก็ให้การรับว่าสินค้าของโจทก์ตกลงไปในทะเลและสูญหายทั้งหมด แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว รายการสินค้าที่เสียหายมีอย่างไรเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา หาจำต้องบรรยายมาในฟ้องไม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม คดีนี้เป็นเรื่องรับขนของทางทะเล ซึ่งขณะเกิดข้อพิพาทพระราชบัญญัติ การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ยังไม่มีผลใช้บังคับทั้งไม่ปรากฏคลองจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นว่าด้วยรับขนของทางทะเลจึงต้องวินิจฉัยคดีโดยอาศัยเพียงบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตามมาตรา 4 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อันได้แก่ บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 8 รับขน มาตรา 616 ซึ่งบัญญัติว่า ผู้ขนส่งจะต้องรับผิดในการที่ของอันเขาได้มอบหมายแก่ตนนั้นสูญหาย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการสูญหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัยเมื่อปรากฏว่า การบรรทุกสินค้าของจำเลยไม่รัดกุมพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้อุปกรณ์ผูกรัดตลอดจนวิธีการผูกรัดตู้คอนเทนเนอร์ไม่มั่นคงพอที่จะป้องกันความเสียหายอันเกิดจากคลื่นลมแรงได้ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าการขนส่งสินค้าทางทะเลโดยเรือสินค้ามรสุมคลื่นลมแรงในทะเลย่อมเป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ทั้งไม่ปรากฏว่าไม่อาจหาวิธีการอื่นใดในการผูกรัดและป้องกันการตกลงไปในทะเลของตู้คอนเทนเนอร์ให้ดีกว่าที่ปฏิบัติแล้วได้ และก่อนที่เรือจำเลยจะออกจากช่องแคบอังกฤษ ได้ทราบข่าวการพยากรณ์อากาศว่าจะเกิดคลื่นลมแรงแล้ว ดังนั้น หากนายเรือของจำเลยจะหยุดเรืออยู่ที่ช่องแคบอังกฤษรอจนกว่าคลื่นลมในอ่าวบิสเคย์สงบก่อนจึงค่อยออกเรือต่อไป ภัยพิบัติก็จะไม่เกิด จึงเป็นเรื่องที่นายเรือของจำเลยจะป้องกันได้ การที่นายเรือจำเลยอ้างว่าได้ทราบพยากรณ์อากาศแล้วยังเดินเรือต่อไป เพราะเห็นว่าไม่เป็นอันตรายสำหรับเรือขนาดบรรทุก 20,500 ตัน นับว่าเป็นความประมาทของนายเรือจำเลยโดยแท้ ฉะนั้นจึงมิใช่เหตุสุดวิสัย เมื่อจำเลยมีภาระในการพิสูจน์ถึงเหตุสุดวิสัยเพื่อให้พ้นความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 616 แต่นำสืบไม่ได้ตามคำให้การ จำเลยก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2661/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลและการรับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากสินค้าสูญหาย
แม้จำเลยที่ 2 จะให้การว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้ว แต่จำเลยที่ 2 ก็มิได้อ้างเหตุที่ฟ้องโจทก์ขาดอายุความว่าเป็นกรณีที่โจทก์รับช่วงสิทธิเรียกร้องมาจากผู้รับตราส่ง ซึ่งต้องเสียหายเพราะของสูญหายเนื่องจากความผิดของจำเลยทั้งสองผู้ขนส่งทางทะเลซึ่งโจทก์ต้องฟ้องภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่ส่งมอบของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624 ประกอบด้วยมาตรา 4แต่อย่างใด คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา 624 ดังกล่าวหรือไม่ที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นในคำให้การของจำเลยทั้งสอง ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 183 จึงถือไม่ได้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ก่อนเรือซึ่งบรรทุกสินค้าพิพาทมาถึงการท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 จะเป็นผู้ประกาศแจ้งความการมาถึงของเรือและสินค้าพิพาทให้ผู้รับตราส่งทราบ เมื่อเรือมาถึงจำเลยที่ 1 จะติดต่อทำพิธีการต่าง ๆ กับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่นกรมศุลกากร กรมเจ้าท่า กองตรวจคนเข้าเมือง และการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อนำเรือเข้าเทียบท่า แจ้งให้ผู้รับตราส่งทราบเพื่อให้ไปรับสินค้า หากมีค่าระวางเรือต้องเก็บปลายทางก็จะเป็นผู้เรียกเก็บไว้โดยจำเลยที่ 1 ได้รับค่าบำเหน็จจากการดำเนินการดังกล่าว และเป็นผู้ออกใบปล่อยสินค้า ดังนี้ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1เห็นได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการขนส่งทอดสุดท้ายเพื่อให้สินค้าพิพาทได้ขนส่งถึงมือผู้ซื้อซึ่งถือได้ว่าเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเลโดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 608 และ 609 ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนทางทะเล เมื่อสินค้าที่ขนส่งสูญหายระหว่างการขนส่ง จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในการสูญหายของสินค้าพิพาทให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิมาจากผู้รับตราส่ง ส่วนที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่ลงสู่เรือเล็กแล้วนำเข้าเก็บในโกดังนั้นถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ร่วมขนส่งสินค้าพิพาทกับจำเลยที่ 1เพื่อให้สินค้านั้นถึงมือผู้ซื้อในการขนส่งช่วงสุดท้าย จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2661/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลและผู้ร่วมขนส่ง กรณีสินค้าสูญหาย
แม้จำเลยที่ 2 จะให้การว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 แล้ว แต่จำเลยที่ 2ก็มิได้อ้างเหตุที่ฟ้องโจทก์ขาดอายุความว่าเป็นกรณีที่โจทก์รับช่วงสิทธิเรียกร้องมาจากผู้รับตราส่ง ซึ่งต้องเสียหายเพราะของสูญหาย เนื่องจากความผิดของจำเลยทั้งสองผู้ขนส่งทางทะเลซึ่งโจทก์ต้องฟ้องภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่ส่งมอบของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624 ประกอบด้วยมาตรา 4แต่อย่างใด คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา 624 ดังกล่าวหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นในคำให้การของจำเลยทั้งสอง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 จึงถือไม่ได้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ก่อนเรือซึ่งบรรทุกสินค้าพิพาทมาถึงการท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 จะเป็นผู้ประกาศแจ้งความการมาถึงของเรือและสินค้าพิพาทให้ผู้รับตราส่งทราบ เมื่อเรือมาถึงจำเลยที่ 1 จะติดต่อทำพิธีการต่าง ๆ กับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่นกรมศุลกากร กรมเจ้าท่า กองตรวจคนเข้าเมือง และการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อนำเรือเข้าเทียบท่า แจ้งให้ผู้รับตราส่งทราบเพื่อให้ไปรับสินค้า หากมีค่าระวางเรือต้องเก็บปลายทางก็จะเป็นผู้เรียกเก็บไว้ โดยจำเลยที่ 1 ได้รับค่าบำเหน็จจากการดำเนินการดังกล่าว และเป็นผู้ออกใบปล่อยสินค้า ดังนี้พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการขนส่งทอดสุดท้ายเพื่อให้สินค้าพิพาทได้ขนส่งถึงมือผู้ซื้อ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเล โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 608 และ 618 ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนทางทะเล เมื่อสินค้าที่ขนส่งสูญหายระหว่างการขนส่งจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในการสูญหายของสินค้าพิพาทให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิมาจากผู้รับตราส่ง ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่ลงสู่เรือเล็กแล้วนำเข้าเก็บในโกดังนั้น ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ร่วมขนส่งสินค้าพิพาทกับจำเลยที่ 1 เพื่อให้สินค้านั้นถึงมือผู้ซื้อในการขนส่งช่วงสุดท้าย จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6007/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งและหุ้นส่วนจากการสูญหายของสินค้า และขอบเขตความรับผิดในสัญญาขนส่ง
หนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครระบุว่าจำเลยที่ 2 มีวัตถุประสงค์รับจ้างขนส่งสินค้าโดยทางบกและทางน้ำ ผู้ตราส่งเป็นผู้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้บรรทุกสินค้าจากโกดังสินค้าของผู้ตราส่งไปยังการท่าเรือแห่งประเทศไทย และชำระเงินค่าจ้างขนส่งให้จำเลยที่ 2 ถือว่าจำเลยที่ 2 ทำการรับขนของเพื่อบำเหน็จในทางการค้าปกติของตน ย่อมเป็นผู้ขนส่งตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 608 จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของบริษัทน.ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ ณประเทศสิงคโปร์ รับจ้างบริษัทล. ผู้ตราส่งบรรทุกสินค้าลงเรือเพื่อขนส่งไปยังเมืองฮ่องกงทั้งออกใบตราส่งให้แก่ผู้ตราส่งการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนทำสัญญารับขนส่งกับ บริษัทล.ผู้ตราส่งแทนบริษัทน.ผู้ขนส่งตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและภูมิลำเนาในต่างประเทศ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำพังตนเอง โจทก์ผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าเสียหายในการที่สินค้าสูญหายให้แก่บริษัทท.ผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยไปแล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของบริษัทล.ผู้เอาประกันภัย และบริษัทท.ผู้รับประโยชน์มาฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2ผู้ขนส่ง และจำเลยที่ 3 ผู้ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ให้รับผิดเพราะเหตุสินค้าที่ทำการขนส่งสูญหายได้ แม้ตามหนังสือโอนสิทธิที่บริษัทท.ผู้รับประโยชน์จะได้โอนบรรดาสิทธิเกี่ยวกับสินค้าที่เอาประกันภัยไว้ให้โจทก์เรียกร้องเอาจากบริษัทน.และห้างหุ้นส่วนจำกัดน.ก็ตาม หาทำให้โจทก์หมดสิทธิฟ้องร้องจำเลยทั้งสามแต่ประการใด การที่บริษัทล.ผู้ตราส่งลงชื่อสลักหลังโอนใบตราส่งให้แก่บริษัทท.เพื่อให้บริษัทท.นำใบตราส่งเป็นหลักฐานในการรับสินค้ามิใช่บริษัทล.ผู้ตราส่งแสดงความตกลงชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดกับจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่ง ข้อยกเว้นและจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามที่จำเลยที่ 1 อ้างว่ามีอยู่ในใบตราส่งจึงตกเป็นโมฆะ เมื่อตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรจุสินค้าถูกลากจูงไปถึงโกดังของบริษัทท.ผู้รับตราส่งบริษัทส.ได้ทำการสำรวจสินค้าในตู้คอนเทนเนอร์พบว่าสินค้าในตู้คอนเทนเนอร์สูญหายไปทั้งหมดกรณีจึงมิใช่บริษัทท.ผู้รับตราส่งได้รับเอาของไว้แล้วโดยไม่อิดเอื้อน อันจะทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งสิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 623 การที่บริษัทล.ผู้ตราส่งว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้เป็นผู้ขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ของจำเลยที่ 1 มายังบริษัทล.เพื่อบรรจุสินค้าลงในตู้ เมื่อบรรจุสินค้าแล้วได้ให้จำเลยที่ 2 ลากตู้คอนเทนเนอร์ไปยังการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อส่งให้แก่จำเลยที่ 1 นั้นสัญญารับขนระหว่างบริษัทล.กับจำเลยที่ 2 เป็นคนละฉบับไม่เกี่ยวข้องกันกับสัญญารับขนระหว่างบริษัทล.กับจำเลยที่ 1จึงมิใช่เป็นการขนส่งโดยมีผู้ขนส่งหลายคนหลายทอด ค่าสำรวจสินค้าที่ผู้รับตราส่งเป็นผู้ว่าจ้างบริษัทผู้นำสำรวจมาทำการสำรวจสินค้ามิใช่ค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญารับขนของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในค่าสำรวจสินค้าไม่ได้.
of 8