คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สินค้าเสียหาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 79 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6551/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ขนส่งทางทะเล: การออกใบตราส่งถือเป็นการรับขนส่ง และความรับผิดต่อสินค้าเสียหายจากอุณหภูมิไม่เหมาะสม
โจทก์ตกลงว่าจ้างให้จำเลยดำเนินการส่งทุเรียนสดพันธุ์จาก ประเทศไทยไปยังเมืองเกาซุงประเทศไต้หวันโดยทางเรือ จำเลยได้ติดต่อจองระวางเรือ ทำพิธีการศุลกากรและตกลงให้ผู้มีชื่อเป็นผู้ขนส่งทุเรียนพิพาทดังกล่าวไปให้ผู้ซื้อที่ประเทศไต้หวัน โจทก์ตกลงว่าจ้างโดยจำเลยเป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาทเริ่มตั้งแต่จัดหารถลากตู้คอนเทนเนอร์ไปรับทุเรียนพิพาทที่จังหวัดจันทบุรี และนำไปส่งที่เรือแหลมฉบัง จำเลยได้ออกใบตราส่ง และรับเงินค่าบริการไปแล้วตามใบตราส่ง มีข้อความระบุว่า บริษัทจำเลยซึ่งเป็นบริษัทขนส่งได้รับสินค้าไว้ถูกต้อง แล้วและจำเลยได้เรียกเก็บเงินค่าระวางขนส่งค่าเช่าตู้คอนเทนเนอร์และค่าธรรมเนียมอื่นจากโจทก์ไปแล้ว จำเลยจึงเป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาทและตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติการรับขนส่งของทางทะเลพ.ศ. 2534 ใบตราส่งหมายความว่าเอกสารที่ผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งของเป็นหลักฐานแห่งสัญญารับขนของทางทะเล เมื่อจำเลยเป็นผู้ออกใบตราส่งจำเลยจึงปฏิเสธว่าจำเลยเป็นเพียงตัวแทนในการติดต่อรับขนส่งไม่ใช่ผู้ขนส่งไม่ได้
เหตุที่ทำให้สินค้าพิพาทเสียหายเป็นความผิดของจำเลยผู้ขนส่งและตามภาพถ่ายใบกำกับสินค้าเอกสารระบุว่า ทุเรียนพิพาทมีราคากิโลกรัมละ 1 ดอลลาร์สหรัฐ โจทก์และจำเลยไม่นำสืบว่าความจริงทุเรียนพิพาทมีราคาเท่าใด ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางกำหนดราคาทุเรียนพิพาทให้กิโลกรัมละ 20 บาทจึงเหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6437/2541 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งและผู้ร่วมขนส่งในความเสียหายของสินค้า รวมถึงการกำหนดภูมิลำเนาของบริษัทต่างชาติ
จำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี จำเลยที่ 2 และที่ 4 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนในประเทศไทย ผู้ขายสินค้าพิพาท ได้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาท โดยจำเลยที่ 1 มีหน้าที่รับสินค้าพิพาทจากผู้ขายสินค้าและบรรทุกสินค้าลงเรือ เมื่อเรือขนสินค้ามาถึงท่าเรือปลายทางจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องติดต่อประสานงานในการนำเรือเจ้าจอดเทียบท่า และติดต่อพิธีการทางศุลกากร ในการติดต่อขอรับสินค้าบริษัท อ.ผู้สั่งซื้อสินค้าจะต้องติดต่อกับจำเลยที่ 2เพื่อชำระค่าระวางบรรทุกสินค้า เมื่อจำเลยที่ 2 รับชำระค่าระวางบรรทุกสินค้าแล้ว จะแจ้งให้จำเลยที่ 4 ออกใบปล่อยสินค้าให้ และใบตราส่งซึ่งจำเลยที่ 1 ออกให้แก่ผู้ขายสินค้ามีข้อความระบุว่า การปล่อยสินค้าให้ติดต่อจำเลยที่ 2 และมีข้อความระบุอีกว่า ค่าระวางบรรทุกสินค้าให้ชำระที่เมืองท่าปลายทาง แสดงว่า จำเลยที่ 2 ทำหน้าที่เก็บค่าระวางบรรทุกสินค้าสำหรับสินค้าพิพาทแทนจำเลยที่ 1 เช่นนี้ ย่อมฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 2เป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการของจำเลยที่ 1 ในราชอาณาจักร จึงถือได้ว่าภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 ใช้ในการติดต่อดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ด้วย โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลแพ่งได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 3 (2) (ข) ในวันที่มีการออกใบตราส่งฉบับแรกคือวันที่ 28 เมษายน 2534และวันที่มีการส่งมอบและตรวจรับสินค้าพิพาทคือวันที่ 8 มิถุนายน 2534 พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ยังไม่มีผลใช้บังคับ แต่พระราชบัญญัติดังกล่าวเพิ่งจะมีผลใช้บังคับในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2535 ดังนั้น จึงต้องนำ ป.พ.พ.มาตรา 616ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มูลคดีเกิดขึ้น อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาใช้บังคับ ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 4 วรรคสอง มิใช่ถือเอาวันที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดี และกรณีไม่อาจนำเอา พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาใช้บังคับกับคดีนี้ได้
จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับสินค้าจากผู้ส่งที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และจำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดต่อให้เรือ ท.ขนส่งสินค้าดังกล่าว โดยจำเลยที่ 1เป็นผู้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ส่ง จำเลยที่ 1 จึงมีฐานะเป็นผู้ขนส่งตามบทบัญญัติแห่งป.พ.พ.มาตรา 608 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชอบในการที่สินค้าพิพาทสูญหายไปตาม มาตรา 616
ในการติดต่อขอรับสินค้าพิพาทบริษัท อ.ผู้สั่งซื้อสินค้าจะต้องติดต่อกับจำเลยที่ 2 และจะต้องชำระค่าระวางบรรทุกสินค้าให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 รับชำระค่าระวางบรรทุกสินค้าแล้ว จะแจ้งไปยังจำเลยที่ 4 ให้ออกใบปล่อยสินค้าให้ และตามใบตราส่ง ซึ่งจำเลยที่ 1 ออกให้แก่ผู้ส่งสินค้าระบุให้ผู้รับตราส่งติดต่อจำเลยที่ 2 ในการขอรับสินค้า ทั้งตามใบตราส่งที่จำเลยที่ 3 ออกให้แก่จำเลยที่ 1 ในฐานตัวแทนของผู้ส่งสินค้าก็ระบุให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับตราส่งนอกจากนั้น จำเลยที่ 2 ยังมีหน้าที่ติดต่อกับบริษัทเรือเพื่อรับเอกสารการปล่อยสินค้าพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าว รับฟังได้ว่าเป็นการดำเนินงานขนส่งสินค้าร่วมกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในการสูญหายของสินค้าพิพาทด้วย
สำหรับจำเลยที่ 4 เป็นผู้ทำการขนถ่ายสินค้าที่บรรทุกมากับเรือท. และนำสินค้าดังกล่าวไปมอบให้แก่การท่าเรือสัตหีบ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 4ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 4 เป็นผู้ร่วมทำการขนส่งสินค้าพิพาทด้วย จำเลยที่ 4จึงต้องร่วมรับผิดในความสูญหายของสินค้าพิพาทดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2555/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าสูญหาย/เสียหาย และการรับช่วงสิทธิของผู้รับประกันภัย
เมื่อปรากฏว่าสินค้าประตูอัตโนมัติซึ่งจำเลยเป็นผู้ขนส่งได้สูญหายไปบางส่วนและจำเลยไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็นได้ว่า การสูญหายดังกล่าวเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดแต่สภาพแห่งของนั้นเองหรือเกิดเพราะความผิดของผู้ส่งหรือผู้รับตราส่ง เช่นนี้ จำเลยก็ต้องรับผิดในการที่สินค้าประตูอัตโนมัติสูญหายไปบางส่วนดังกล่าวต่อผู้รับตราส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 ข้อกำหนดในใบตราส่งที่ว่าในกรณีที่ความเสียหายต่อสินค้าที่สามารถเห็นได้ บุคคลที่มีสิทธิรับสินค้าจะต้องทำคำร้องเรียนต่อผู้ขนส่งเป็นหนังสืออย่างช้าที่สุดภายใน14 วัน จากวันรับสินค้านั้น เป็นข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่ง เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเช่นว่านั้น ข้อความดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625 เมื่อปรากฏว่าชิ้นส่วนของสินค้าสูญหายไป ผู้รับตราส่งได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรและเจ้าหน้าที่รายงานความเสียหายของคลังสินค้า ทำรายงานความเสียหายของสินค้าไว้แล้ว ถือไม่ได้ว่าผู้รับตราส่งได้รับสินค้าเอาไว้แล้วโดย ไม่อิดเอื้อนความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่งจึงไม่สิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 623 วรรคหนึ่ง จำเลยผู้ขนส่งจะต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าต่อ ผู้รับตราส่ง และโจทก์ได้ชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวให้แก่ผู้รับตราส่งในฐานะผู้รับประกันภัยไป โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาเรียกร้องเอาค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวจากจำเลยได้ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 189/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญารับขนของทางทะเลและการไม่มีอำนาจฟ้องของผู้รับโอนสิทธิเมื่อสินค้าเสียหายก่อนถึงปลายทาง
คดีนี้เป็นเรื่องรับขนของทางทะเล ซึ่งขณะเกิดข้อพิพาท พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ยังไม่มีผลใช้บังคับ ทั้งไม่ปรากฏคลองจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นว่าด้วยรับขนของทางทะเล จึงต้องวินิจฉัยคดีโดยอาศัยเทียบกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่ง ตามมาตรา 4 แห่ง ป.พ.พ. อันได้แก่บทบัญญัติตามป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 8 มาตรา 627 ซึ่งบัญญัติว่า "เมื่อของถึงตำบลที่กำหนดให้ส่งและผู้รับตราส่งได้เรียกให้ส่งมอบแล้ว ท่านว่าแต่นั้นไปสิทธิทั้งหลายของผู้ส่งอันเกิดแต่สัญญารับขนนั้นย่อมตกไปได้แก่ผู้รับตราส่ง" แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าสินค้ารายพิพาทมิได้ไปถึงตำบลที่กำหนดให้ส่ง เพราะถูกไฟไหม้เสียหายไปหมดก่อนระหว่างการขนส่ง บริษัท ย.ผู้รับโอนตราส่งจากธนาคารมาจึงไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายให้ส่งมอบสินค้ารายพิพาทได้ สิทธิทั้งหลายของผู้ส่งอันเกิดแต่สัญญารับขนไม่อาจตกไปได้แก่บริษัท ย. บริษัท ย.จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 5 ให้รับผิดตามสัญญารับขนรายพิพาทได้ ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัย และอ้างว่ารับช่วงสิทธิจากบริษัท ย.ผู้เอาประกันภัยในสินค้ารายพิพาทย่อมไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 5 ด้วยเช่นกัน
เมื่อจำเลยที่ 5 ผู้ขนส่งหลายทอดไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้องแล้ว แม้จำเลยที่ 2 และที่ 4 ผู้ขนส่งหลายทอดเช่นกันซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ร่วมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 5 มิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 และที่ 4 ได้ด้วย เพราะเป็นเรื่องการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 245 (1) ประกอบด้วย มาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 189/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องของผู้รับประกันภัยเมื่อสินค้าเสียหายระหว่างขนส่ง และการพิสูจน์ความรับผิดของผู้ขนส่ง
คดีนี้เป็นเรื่องรับขนของทางทะเล ซึ่งขณะเกิดข้อพิพาทพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ยังไม่มีผลใช้บังคับ ทั้งไม่ปรากฏคลองจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นว่าด้วยรับขนของทางทะเล จึงต้องวินิจฉัยคดีโดยอาศัยเทียบกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่ง ตามมาตรา 4 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อันได้แก่บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 8มาตรา 627 ซึ่งบัญญัติว่า "เมื่อของถึงตำบลที่กำหนดให้ส่งและผู้รับตราส่งได้เรียกให้ส่งมอบแล้ว ท่านว่าแต่นั้นไปสิทธิทั้งหลายของผู้ส่งอันเกิดแต่สัญญารับขนนั้นย่อมตกไปได้แก่ผู้รับตราส่ง"แต่ข้อเท็จจริงปรากฎว่าสินค้ารายพิพาทมิได้ไปถึงตำบลที่กำหนดให้ส่ง เพราะถูกไฟไหม้เสียหายไปหมดก่อนระหว่างการขนส่ง บริษัท ย.ผู้รับโอนตราส่งจากธนาคารมาจึงไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยที่ 5ซึ่งเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายให้ส่งมอบสินค้ารายพิพาทได้ สิทธิทั้งหลายของผู้ส่งอันเกิดแต่สัญญารับขนไม่อาจตกไปได้แก่บริษัทย.บริษัทย. จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 5ให้รับผิดตามสัญญารับขนรายพิพาทได้ ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัย และอ้างว่ารับช่วงสิทธิจากบริษัท ย.ผู้เอาประกันภัยในสินค้ารายพิพาทย่อมไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 5ด้วยเช่นกัน เมื่อจำเลยที่ 5 ผู้ขนส่งทอดไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้องแล้ว แม้จำเลยที่ 2 และที่ 4 ผู้ขนส่งหลายทอดเช่นกันซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ร่วมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 5 มิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2และที่ 4 ได้ด้วย เพราะเป็นเรื่องการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 189/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องของผู้รับประกันภัยเมื่อสินค้าเสียหายระหว่างขนส่ง สิทธิของผู้รับโอนตราส่ง และการไม่มีสิทธิเรียกร้องตามสัญญารับขน
คดีนี้เป็นเรื่องรับขนของทางทะเลซึ่งขณะเกิดข้อพิพาทพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534ยังไม่มีผลใช้บังคับทั้งไม่ปรากฏคลองจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นว่าด้วยรับขนของทางทะเลจึงต้องวินิจฉัยคดีโดยอาศัยเทียบกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งตามมาตรา4แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อันได้แก่บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ3ลักษณะ8มาตรา627ซึ่งบัญญัติว่า"เมื่อของถึงตำบลที่กำหนดให้ส่งและผู้รับตราส่งได้เรียกให้ส่งมอบแล้วท่านว่าแต่นั้นไปสิทธิทั้งหลายของผู้ส่งอันเกิดแต่สัญญารับขนนั้นย่อมตกไปได้แก่ผู้รับตราส่ง"แต่ข้อเท็จจริงปรากฎว่าสินค้ารายพิพาทมิได้ไปถึงตำบลที่กำหนดให้ส่งเพราะถูกไฟไหม้เสียหายไปหมดก่อนระหว่างการขนส่งบริษัทย.ผู้รับโอนตราส่งจากธนาคารมาจึงไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยที่5ซึ่งเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายให้ส่งมอบสินค้ารายพิพาทได้สิทธิทั้งหลายของผู้ส่งอันเกิดแต่สัญญารับขนไม่อาจตกไปได้แก่บริษัทย.บริษัทย. จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่5ให้รับผิดตามสัญญารับขนรายพิพาทได้ดังนั้นโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยและอ้างว่ารับช่วงสิทธิจากบริษัทย.ผู้เอาประกันภัยในสินค้ารายพิพาทย่อมไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่5ด้วยเช่นกัน เมื่อจำเลยที่5ผู้ขนส่งทอดไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้องแล้วแม้จำเลยที่2และที่4ผู้ขนส่งหลายทอดเช่นกันซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ร่วมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่5มิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่2และที่4ได้ด้วยเพราะเป็นเรื่องการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1)ประกอบด้วยมาตรา247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1418/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลเมื่อเกิดความเสียหายต่อสินค้า โดยพิจารณาตามกฎหมายที่ใช้บังคับ ณ เวลาทำสัญญา
สัญญารับขนสินค้าพิพาททำขึ้นเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2534ซึ่งในวันดังกล่าว พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ยังไม่มีผลใช้บังคับแม้โจทก์จะฟ้องคดีนี้ในวันที่ 20 มกราคม 2536 หลังจากที่ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มีผลใช้บังคับแล้ว ในการพิจารณาถึงสิทธิเรียกร้องและความรับผิดในค่าสินไหมทดแทนเพื่อความสูญหายของสินค้าที่ขนส่งทางทะเล จึงต้องนำเอากฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะทำสัญญามาปรับใช้แก่คดี เพราะหากนำเอาพ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ซึ่งมีผลใช้บังคับในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีมาปรับใช้แก่คดีแล้วย่อมเป็นช่องทางให้คู่กรณีเลือกใช้กฎหมายที่จะปรับแก่คดีได้ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง กรณีจึงต้องนำ ป.พ.พ.บรรพ 3 ลักษณะ 8หมวด 1 ว่าด้วยรับขนของ ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งและใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นมาปรับใช้แก่คดีตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 609 วรรคสองและมาตรา 4 วรรคสอง
บริษัท บ.ผู้ขายได้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ขนส่งสินค้าจากประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันมายังกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 มีตัวแทนในประเทศไทยชื่อบริษัท ล. และเมื่อจำเลยที่ 1 ได้รับสินค้าดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 1 ได้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ขายแล้ว จำเลยที่ 1 ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ซึ่งมีบริษัท อ.เป็นตัวแทนในประเทศไทยขนส่งสินค้าดังกล่าวจากประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันมายังกรุงเทพมหานครอีกต่อหนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับสินค้าแล้วก็ได้ออกใบตราส่งให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ได้ใช้เรือชื่อ ดาร์ยา ชัน บรรทุกสินค้าจากประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันมายังประเทศไทยและมาถึงเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรีแม้ใบตราส่งดังกล่าวในช่องผู้ออกใบตราส่งจะลงนามโดยบริษัท อ.ก็ตาม แต่ก็ปรากฏว่าเป็นการลงนามในฐานะตัวแทนผู้ขนส่งเท่านั้น จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2เป็นผู้ออกใบตราส่งดังกล่าว
สัญญาเช่าเรือแม้จะมีข้อความระบุว่าเรืออยู่ในอำนาจการสั่งการของผู้เช่าเรือ แต่ในสัญญาดังกล่าวก็ได้ระบุให้เจ้าของเรือคือจำเลยที่ 2มีหน้าที่จัดเรือให้ พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ประจำเรือ กะลาสี ช่างกล ช่างไฟ ซึ่งเพียบพร้อมสำหรับเรือในขณะนั้น และเจ้าของเรือจะจัดหาและจ่ายค่าเสบียงอาหารทั้งหมด ค่าจ้างและค่าธรรมเนียมกงสุลเกี่ยวกับเรือและค่าขนถ่ายสินค้าสำหรับลูกเรือและในสัญญาเช่าเรือข้อ 8 ก็กำหนดไว้ว่าผู้เช่าเรือทำการบรรทุก จัดเรียงและทำให้เรือสมดุล การผูกรัดสินค้าและการปลดเปลื้อง การตรึงแน่น การปลดจาก การตรึง...ภายใต้การควบคุมดูแลและรับผิดชอบของนายเรือ ซึ่งตามข้อสัญญาดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะที่เป็นเจ้าของเรือยังมีอำนาจในการควบคุมเรือและเป็นผู้จ่ายค่าจ้างแก่ลูกเรือ นอกจากนั้นตามข้อตกลงสัญญาเช่าเรือ ข้อ 44 ที่ระบุว่านายเรือจะลงนามในใบตราส่งสำหรับสินค้าทั้งหมดที่ได้ขนภายใต้สัญญาเช่าเรือนี้ถ้าผู้เช่าเรือขอร้องหรือผู้เช่าเรือต้องการ ผู้เช่าเรือหรือผู้ตัวแทนของเขาได้รับมอบอำนาจไว้ ณที่นี้ในการลงนามใบตราส่ง ในนามของเจ้าของเรือหรือนายเรือ แต่ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามใบรับรองของนายเรือหรือใบรายการตรวจนับสินค้า ตามข้อตกลงดังกล่าวแสดงว่าการออกใบตราส่งนายเรือเป็นผู้ลงนามในใบตราส่งตามคำขอของผู้เช่าเรือ และในกรณีที่ผู้เช่าเรือหรือตัวแทนได้รับมอบอำนาจให้ออกใบตราส่ง การออกใบตราส่งนั้นต้องเป็นไปตามใบรับรองของนายเรือหรือใบรายการตรวจนับสินค้า เห็นได้ว่าการออกใบตราส่งตามข้อตกลงดังกล่าวเป็นการออกใบตราส่งในนามของเจ้าของเรือคือจำเลยที่ 2 และต้องเป็นไปตามใบรับรองของนายเรือหรือใบรายการตรวจนับสินค้ามิใช่ผู้เช่าเรือจะออกใบตราส่งในนามของตนเองหรือตามอำเภอใจได้ ซึ่งแสดงให้เห็นสถานะของเจ้าของเรือคือจำเลยที่ 2 ตามสัญญาเช่าเรือดังกล่าวว่ายังรับผิดชอบในการเดินเรือ การขนส่งสินค้ารวมทั้งการออกใบตราส่งเท่ากับจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งสินค้าในเรือนั้นด้วย หาใช่เป็นเรื่องที่บริษัท อ.เป็นผู้ออกใบตราส่งในนามของตนเองและต้องรับผิดตามเนื้อความในใบตราส่งโดยลำพังไม่ และการออกใบตราส่งซึ่งมีชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งเช่นนี้หากสินค้าที่ขนส่งสูญหายหรือเสียหายไป จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ออกใบตราส่งก็ต้องรับผิดต่อผู้รับตราส่งตามเนื้อความในใบตราส่งนั้น ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาทนี้ด้วย
เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาทด้วยแล้ว แม้สินค้าพิพาทจะมิได้สูญหายไปในระหว่างการขนส่งของจำเลยที่ 2 ก็ตาม แต่สินค้าพิพาทได้สูญหายไปในระหว่างการขนส่งของจำเลยที่ 3 จากเรือดาร์ยา ชัน ของจำเลยที่ 2 จากเกาะสีชังมายังท่าเรือกรุงเทพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขนส่งของทางทะเลเพื่อนำมาส่งมอบให้แก่ผู้รับตราส่ง ณ ท่าเรือกรุงเทพซึ่งเป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้าตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งและเป็นสถานที่ส่งมอบของให้แก่ผู้รับตราส่ง จำเลยที่ 2 ในฐานะที่เป็นผู้ขนส่งด้วยทอดหนึ่งจึงต้องร่วมรับผิดในการที่สินค้าที่ขนส่งสูญหายไปด้วย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 616 ประกอบมาตรา 618 อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง
ขณะทำสัญญารับขนคดีนี้ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534 ยังมิได้มีผลบังคับ จึงมิอาจนำกฎหมายดังกล่าวมาใช้ให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 ได้ และเมื่อความรับผิดของจำเลยที่ 2 ต้องปรับใช้ ป.พ.พ.บรรพ 3 ลักษณะ 8 หมวด 1 ว่าด้วยการรับขนของอันเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งแล้วและ ป.พ.พ.มาตรา 616 มิได้บัญญัติจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งไว้ไม่เกินกิโลกรัมละ 30 บาท ของน้ำหนักสุทธิดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 48 ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในค่าเสียหายเต็มจำนวนแห่งความเสียหายที่แท้จริงตามที่โจทก์ฟ้องและนำสืบ
เมื่อจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดในความเสียหายต่อบริษัท ส.และโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าเสียหายของสินค้าพิพาทที่สูญหายไปให้แก่บริษัท ส. ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยไปแล้วเป็นเงิน 409,665 บาท โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิจากบริษัท ส.ผู้เอาประกันภัยที่จะเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 2ได้ จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6163/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งหลายทอดทางทะเลต่อความเสียหายของสินค้า และอายุความฟ้องร้อง
จำเลยที่2เป็นผู้จัดการนำเรือฉลอมไปขนถ่ายสินค้าช่วงจากเกาะสีชังไปยังท่าเรือกรุงเทพเพื่อนำสินค้ามอบให้แก่ผู้รับตราส่งที่ปลายทางเมื่อจำเลยที่2จดทะเบียนก่อตั้งบริษัทมีวัตถุประสงค์ทางการค้าเกี่ยวกับกิจการขนส่งลำเลียงหรือขนถ่ายสินค้าและหากเรือเดินทะเลที่ขนส่งสินค้ามาจากต่างประเทศมีระวางว่างจำเลยที่2สามารถรับของระวางและเรียกเก็บค่าระวางได้ทันทีจำเลยที่2จึงเป็นบุคคลรับขนส่งของเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปกติการที่จำเลยที่2ขนถ่ายสินค้าจากเรือเดินทะเลที่เกาะสีชังไปยังจุดหมายปลายทางที่กรุงเทพมหานครเป็นการทำหน้าที่ขนส่งทอดหนึ่งในเส้นทางขนส่งทั้งหมดจำเลยที่2จึงเป็นผู้ขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเลแม้สินค้านั้นจะสูญหายและบุบสลายในเรือเดินทะเลผู้ขนส่งหลายทอดทุกคนจะต้องรับผิดร่วมกันจำเลยที่2ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ เรือเดินทะเลเข้าเทียบที่เกาะสีชังเมื่อวันที่21พฤศจิกายน2534หลังจากตรวจสอบสินค้าแล้วต้องลำเลียงไปที่กรุงเทพมหานครทำพิธีการศุลกากรและท่าเรือต้องได้รับอนุญาตปล่อยสินค้าจึงจะรับได้โดยได้สั่งปล่อยสินค้าเมื่อวันที่29พฤศจิกายน2534ถือว่าวันสั่งปล่อยสินค้าเป็นวันส่งมอบโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่23พฤศจิกายน2535ยังไม่พ้นกำหนด1ปีนับแต่ส่งมอบฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 491/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิของผู้ขายเมื่อสินค้าเสียหายระหว่างส่งมอบ และอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้กระทำละเมิด
น. ซื้อสินค้าวัสดุก่อสร้างจากโจทก์ ได้ชำระราคาแล้วและตกลงให้โจทก์จัดส่งสินค้าที่ซื้อไปยังภูมิลำเนาของ น.โจทก์จึงให้ลูกจ้างของตนขับรถยนต์บรรทุกสินค้าไปส่งระหว่างทางถูกรถยนต์ซึ่งจำเลยขับมาด้วยความประมาทเลินเล่อชนทำให้สินค้าเสียหายทั้งหมด ดังนั้น แม้กรรมสิทธิ์ในสินค้าที่โจทก์ขายให้ได้ตกเป็นของ น. ในขณะทำสัญญาซื้อขายกันแล้วก็ตาม แต่โจทก์ก็ยังมีหน้าที่ที่จะต้องส่งมอบสินค้าให้ น.เมื่อสินค้าเกิดความเสียหายขึ้นเสียก่อน จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ผู้ขายที่จะต้องรับผิดชอบต่อ น. เมื่อโจทก์ชำระราคาสินค้านั้นให้แก่ทายาทของ น. ไป โจทก์จึงเข้าสู่ฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิของ น. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 227 มาฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4805/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทอดสุดท้ายในกรณีสินค้าเสียหายจากการขนส่งหลายทอดทางทะเล
จำเลยที่ 1 เป็นผู้แจ้งการนำเรือเข้าต่อกรมศุลกากรและหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง และจ้างเรือฉลอมไปขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่มาส่งที่โกดังของบริษัทผู้ซื้อสินค้าที่กรุงเทพมหานคร โดยจำเลยที่ 1 ได้รับบำเหน็จจากการดำเนินการดังกล่าว พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 เห็นได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการขนส่งทอดสุดท้ายเพื่อให้สินค้าถึงมือผู้ซื้อ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเล โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายตาม ป.พ.พ. มาตรา 609 และมาตรา 618 ซึ่งเป็นกฎหมายใกล้เคียงกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนทางทะเล จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายของสินค้าให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิมาจากผู้รับตราส่ง
เมื่อการขนส่งสินค้าเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเล โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย ผู้รับขนส่งต้องรับผิดร่วมกันในการที่สินค้านั้นสูญหายหรือบุบสลาย แม้ความเสียหายจะเกิดขึ้นก่อนที่จำเลยที่ 1จะรับขนเป็นทอดสุดท้ายก็ตาม
ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยให้โจทก์รับช่วงสิทธิและมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีแล้ว แต่ไม่ได้กล่าวไว้ในตอนท้ายของคำพิพากษา ส่วนศาลอุทธรณ์ก็เพียงแต่วงเล็บข้อความไว้เมื่อกล่าวถึงคำพิพากษาของศาลชั้นต้นศาลฎีกาสมควรกำหนดให้จำเลยทั้งสามชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ไว้ในคำพิพากษาให้ครบถ้วนด้วย
of 8