พบผลลัพธ์ทั้งหมด 85 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5736/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินส่วนตัวก่อนสมรส: ที่ดินที่ได้รับยกให้ก่อนจดทะเบียนสมรสไม่เป็นสินสมรส
บิดาผู้ร้องยกที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่ผู้ร้องก่อนที่ผู้ร้องกับจำเลยจะจดทะเบียนสมรสกัน ย่อมถือได้ว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องมีอยู่ก่อนสมรสและเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องตามมาตรา 1471 (1) แห่ง ป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519
การที่บิดาผู้ร้องยกที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่ผู้ร้องในระหว่างที่ผู้ร้องอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลย แม้ว่าจะเป็นเพียงการยกสิทธิครอบครองให้โดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือและผู้ร้องกับจำเลยได้ทำกินและอยู่อาศัยในที่ดินและบ้านพิพาทตลอดมา ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของร่วมกับผู้ร้อง เพราะการที่จำเลยทำกินและอาศัยอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาทร่วมกับผู้ร้องเนื่องจากอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาเช่นนี้ ย่อมไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้เปลี่ยนเจตนาหรือลักษณะแห่งการครอบครองเป็นการยึดถือเพื่อตนอันจักทำให้จำเลยเกิดสิทธิครอบครองในทรัพย์สินที่พิพาท
กรณีที่จะเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 นั้น จะต้องเป็นทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรสเท่านั้น กฎหมายหาได้บัญญัติให้ทรัพย์สินที่คู่สมรสร่วมกันเป็นเจ้าของอยู่ก่อนสมรส กลายเป็นสินสมรสเมื่อได้มีการสมรสไม่
แม้ว่าหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาจะเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยกับผู้ร้องก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยด้วย โจทก์ก็ย่อมไม่มีอำนาจยึดสินส่วนตัวของผู้ร้องบังคับชำระหนี้แก่โจทก์ได้
การที่บิดาผู้ร้องยกที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่ผู้ร้องในระหว่างที่ผู้ร้องอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลย แม้ว่าจะเป็นเพียงการยกสิทธิครอบครองให้โดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือและผู้ร้องกับจำเลยได้ทำกินและอยู่อาศัยในที่ดินและบ้านพิพาทตลอดมา ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของร่วมกับผู้ร้อง เพราะการที่จำเลยทำกินและอาศัยอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาทร่วมกับผู้ร้องเนื่องจากอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาเช่นนี้ ย่อมไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้เปลี่ยนเจตนาหรือลักษณะแห่งการครอบครองเป็นการยึดถือเพื่อตนอันจักทำให้จำเลยเกิดสิทธิครอบครองในทรัพย์สินที่พิพาท
กรณีที่จะเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 นั้น จะต้องเป็นทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรสเท่านั้น กฎหมายหาได้บัญญัติให้ทรัพย์สินที่คู่สมรสร่วมกันเป็นเจ้าของอยู่ก่อนสมรส กลายเป็นสินสมรสเมื่อได้มีการสมรสไม่
แม้ว่าหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาจะเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยกับผู้ร้องก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยด้วย โจทก์ก็ย่อมไม่มีอำนาจยึดสินส่วนตัวของผู้ร้องบังคับชำระหนี้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5736/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินส่วนตัวก่อนสมรส: ที่ดินและบ้านที่ได้รับยกให้ก่อนจดทะเบียนสมรส ไม่ใช่สินสมรส
บิดาผู้ร้องยกที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่ผู้ร้องระหว่างที่ผู้ร้องกับจำเลยอยู่กินฉันสามีภริยาแต่ก่อนมีการจดทะเบียนสมรสย่อมถือได้ว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องมีอยู่ก่อนสมรสจึงเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องตามมาตรา 1471(1) แห่ง ป.พ.พ.ส่วนการที่จำเลยครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทร่วมกับผู้ร้อง ย่อมไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้เปลี่ยนเจตนาหรือลักษณะแห่งการครอบครองเป็นการยึดถือเพื่อตนอันจักทำให้จำเลยเกิดสิทธิครอบครองในทรัพย์พิพาท สินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 นั้น จะต้องเป็นทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรสเท่านั้น กฎหมายหาได้บัญญัติให้ทรัพย์สินที่คู่สมรสร่วมกันเป็นเจ้าของอยู่ก่อนสมรสกลายเป็นสินสมรสเมื่อได้มีการสมรสไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5736/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินส่วนตัวก่อนสมรส: ที่ดินรับมรดกก่อนแต่งงานเป็นสินส่วนตัว แม้ทำกินร่วมกัน
บิดาผู้ร้องยกที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่ผู้ร้องก่อนที่ผู้ร้องกับจำเลยจะจดทะเบียนสมรสกัน ย่อมถือได้ว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องมีอยู่ก่อนสมรสและเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องตามมาตรา 1471(1) แห่ง ป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 การที่บิดาผู้ร้องยกที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่ผู้ร้องในระหว่างที่ผู้ร้องอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลย แม้ว่าจะเป็นเพียงการยกสิทธิครอบครองให้โดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือ และผู้ร้องกับจำเลยได้ทำกินและอยู่อาศัยในที่ดินและบ้านพิพาทตลอดมา ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของร่วมกับผู้ร้อง เพราะการที่จำเลยทำกินและอาศัยอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาทร่วมกับผู้ร้องเนื่องจากอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาเช่นนี้ ย่อมไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้เปลี่ยนเจตนาหรือลักษณะแห่งการครอบครองเป็นการยึดถือเพื่อตนอันจักทำให้จำเลยเกิดสิทธิครอบครองในทรัพย์สินที่พิพาท กรณีที่จะเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 นั้น จะต้องเป็นทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรสเท่านั้น กฎหมายหาได้บัญญัติให้ทรัพย์สินที่คู่สมรสร่วมกันเป็นเจ้าของอยู่ก่อนสมรส กลายเป็นสินสมรสเมื่อได้มีการสมรสไม่ แม้ว่าหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาจะเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยกับผู้ร้องก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยด้วย โจทก์ก็ย่อมไม่มีอำนาจยึดสินส่วนตัวของผู้ร้องบังคับชำระหนี้แก่โจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5531/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความยินยอมจำนองและการสัตยาบันหนี้: หนี้ร่วมผูกพันสินสมรสและสินส่วนตัว
ผู้ร้องในฐานะภรรยาของจำเลยที่ 2 ลงชื่อให้ความยินยอมในการทำนิติกรรมจำนองที่ดิน แม้หนังสือยินยอมจะไม่ได้ทำที่สำนักงานที่ดิน และต่อเจ้าพนักงานที่ดินก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายไม่ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1479 หนังสือยินยอมระบุว่า กิจการใดที่จำเลยที่ 2 ได้กระทำไปผู้ร้องร่วมรับผิดชอบในนิติกรรมนั้นด้วย เสมือนหนึ่งผู้ร้องได้กระทำเองทุกประการ แสดงให้เห็นว่าผู้ร้องได้รับรู้ถึงหนี้สินที่จำเลยที่ 2ได้ก่อให้เกิดขึ้น และถือได้ว่าผู้ร้องให้สัตยาบันหนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 ต้องผูกพันที่ดินและทรัพย์สินอื่นรวมทั้งส่วนของผู้ร้องด้วย ไม่ว่าจะเป็นสินสมรสและสินส่วนตัว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1489 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอกันส่วน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1698/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส: การโอนมรดกและการซื้อขายทรัพย์สินระหว่างสมรส ไม่ถือเป็นสินส่วนตัว
ตามภาพถ่ายโฉนดที่ดินระบุว่าผู้ร้องถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ที่ ตั้งบ้านพิพาทในฐานะผู้จัดการมรดกของ ท. ผู้ตาย แสดงว่าผู้ร้องไม่ได้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทเป็นส่วนตัว กรณี ดังกล่าวยังไม่อาจถือได้ว่าผู้ร้องได้ที่ดินและบ้านพิพาทมาระหว่าง สมรสโดยการรับมรดกจากมารดาของตน ต่อมาผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดก ได้ขายที่ดินให้อ.เสร็จเด็ดขาดไปแล้วหลังจากนั้นอ. นำที่ดินไปแบ่งแยกขายให้แก่บุคคลภายนอก และโอนขายที่ดินที่เหลือ พร้อมบ้านพิพาทให้ผู้ร้อง เมื่อไม่ปรากฎว่าผู้ร้องนำเงินสินส่วนตัว ไปซื้อที่ดินและบ้านพิพาทคืนมาจึงฟังไม่ได้ว่าที่ดินและบ้านพิพาท เป็นสินส่วนตัวของผู้ร้อง แต่เป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลย โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตาม คำพิพากษาของจำเลยจึงมีสิทธินำ เจ้าพนักงานบังคับคดียึดบ้านพิพาทออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมา ชำระหนี้แก่โจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1305/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส: การโอนทรัพย์สินระหว่างสมรสต้องทำเป็นหนังสือระบุเป็นสินส่วนตัวจึงมีผล
จำเลยและผู้ร้องสมรสกันเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2512 จดทะเบียนหย่าเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2529 ผู้ร้องอ้างว่า เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2518 บิดาผู้ร้องซื้อที่ดินและบ้านพิพาทจาก ว. แต่เวลาจดทะเบียนโอนได้ให้ผู้ร้องมีชื่อเป็นผู้ซื้อเนื่องจากบิดาผู้ร้องยกที่ดินและบ้านพิพาทให้เป็นสินส่วนตัวของผู้ร้อง ดังนี้ เป็นการที่ผู้ร้องรับโอนที่ดินและบ้านพิพาทจาก ว.ในระหว่างที่ผู้ร้องและจำเลยเป็นสามีและภรรยากันและรับโอนก่อนประกาศใช้บทบัญญัติ บรรพ 5แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 ทรัพย์ที่รับโอนจะเป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัวจะต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะรับโอน เพราะสินสมรสหรือสินส่วนตัวเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในครอบครัวซึ่งบทบัญญัติที่ใช้คือ ป.พ.พ.บรรพ 5 มาตรา 1466 และ 1464เดิมที่กำหนดว่า การยกทรัพย์สินให้คู่สมรสเป็นสินส่วนตัวของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในระหว่างที่ยังเป็นสามีภริยากันอยู่นั้นจะต้องทำเป็นหนังสือโดยมีข้อความระบุแสดงไว้โดยชัดแจ้งว่ายกให้เป็นสินส่วนตัว ที่ผู้ร้องอ้างว่าบิดายกที่ดินและบ้านพิพาทให้ผู้ร้องเป็นสินส่วนตัวโดยไม่มีหนังสือยกให้มาแสดงว่าเป็นสินส่วนตัวนั้น การยกให้เป็นสินส่วนตัวไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่ดินและบ้านพิพาทจึงมิใช่สินส่วนตัวของผู้ร้อง แต่เป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องและจำเลยซึ่งผู้ร้องและจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน โจทก์จึงมีสิทธิที่จะยึดมาเพื่อบังคับคดีนำเงินมาชำระหนี้ของจำเลยแก่โจทก์ตามคำพิพากษาผู้ร้องไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1305/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส: การโอนทรัพย์สินระหว่างสมรสต้องทำเป็นหนังสือระบุเป็นสินส่วนตัวจึงจะชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยและผู้ร้องสมรสกันเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2512จดทะเบียนหย่า เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2529 ผู้ร้องอ้างว่า เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2518 บิดาผู้ร้องซื้อที่ดินและบ้านพิพาทจาก ว.แต่เวลาจดทะเบียนโอนได้ให้ผู้ร้องมีชื่อเป็นผู้ซื้อเนื่องจากบิดาผู้ร้องยกที่ดินและบ้านพิพาทให้เป็นสินส่วนตัวของผู้ร้อง ดังนี้เป็นการที่ผู้ร้องรับโอนที่ดินและบ้านพิพาทจาก ว. ในระหว่างที่ผู้ร้องและจำเลยเป็นสามีและภรรยากันและรับโอนก่อนประกาศใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ทรัพย์ที่รับโอนจะเป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัวจะต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะรับโอน เพราะสินสมรสหรือสินส่วนตัวเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในครอบครัวซึ่งบทบัญญัติที่ใช้คือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 มาตรา 1466และ 1464 เดิมที่กำหนดว่า การยกทรัพย์สินให้คู่สมรสเป็นสินส่วนตัวของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในระหว่างที่ยังเป็นสามีภริยากันอยู่นั้นจะต้องทำเป็นหนังสือโดยมีข้อความระบุแสดงไว้โดยชัดแจ้งว่ายกให้เป็นสินส่วนตัว ที่ผู้ร้องอ้างว่าบิดายกที่ดินและบ้านพิพาทให้ผู้ร้องเป็นสินส่วนตัวโดยไม่มีหนังสือยกให้มาแสดงว่าเป็นสินส่วนตัวนั้น การยกให้เป็นสินส่วนตัวไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่ดินและบ้านพิพาทจึงมิใช่สินส่วนตัวของผู้ร้อง แต่เป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องและจำเลยซึ่งผู้ร้องและจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน โจทก์จึงมีสิทธิที่จะยึดมาเพื่อบังคับคดีนำเงินมาชำระหนี้ของจำเลยแก่โจทก์ตามคำพิพากษาผู้ร้องไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส-สินส่วนตัว-อำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรม-ทรัพย์สินมรดก: การแบ่งทรัพย์สินหลังการเสียชีวิตของคู่สมรสและผู้จัดการมรดก
บิดาโจทก์ยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสของบิดาโจทก์กับผู้ตายเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ไปแล้ว ถือได้ว่าบิดาโจทก์กับผู้ตายได้ตกลงแบ่งที่ดินทั้งแปลงดังกล่าวออกเป็นของแต่ละฝ่ายย่อมทำให้ที่ดินในส่วนที่เหลือหมดสภาพจากการเป็นสินสมรสและตกเป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย ส่วนบ้านนั้นบิดาโจทก์ได้ทำพินัยกรรมยกส่วนของตนครึ่งหนึ่งให้โจทก์แล้วเช่นกัน ส่วนที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งจึงตกเป็นของผู้ตายแต่ผู้เดียว การให้บ้านพิพาทซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์แก่ผู้รับจะสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 ต่อเมื่อได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การที่ผู้ตายได้ยื่นคำขอจดทะเบียนนิติกรรมยกบ้านพิพาทในส่วนของตนให้แก่โจทก์แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนนิติกรรมให้ การให้ดังกล่าวจึงยังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทส่วนที่เป็นของผู้ตายยังคงเป็นของผู้ตาย เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย ทรัพย์สินของผู้ตายย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท กรณีนี้ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิได้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 โจทก์ไม่ได้เป็นทายาท ไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดก ย่อมไม่มีอำนาจขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่ผู้จัดการมรดกโอนที่ดินพิพาทและครึ่งหนึ่งของบ้านพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายให้บุคคลอื่นได้ เครื่องทองรูปพรรณ เครื่องเพชร แหวน เข็มขัดนาก และเครื่องประดับอื่น ๆ ตามฟ้องเป็นเครื่องประดับกายซึ่งรวมกันแล้วมีราคาไม่มากเมื่อพิจารณาตามฐานะและรายได้ของบิดาโจทก์และผู้ตายแล้ว เป็นเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะของผู้ตายแม้ผู้ตายได้มาโดยบิดาโจทก์เป็นผู้หามาให้หรือผู้ตายหาเองในระหว่าสมรสก็ตามก็เป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3461/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิในที่ดินหลังจดทะเบียนสมรส: ศาลต้องพิจารณาว่าที่ดินเป็นสินส่วนตัวหรือสินร่วม
โจทก์จำเลยและจำเลยร่วมท้ากันให้ศาลวินิจฉัยข้อกฎหมายเพียงข้อเดียวโดยไม่สืบพยานว่า จำเลยมีสิทธิจะไม่ขายที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายเพราะไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยร่วมหรือไม่ โดยคู่ความแถลงรับกันว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่ดินมาก่อนจดทะเบียนสมรสกับจำเลยร่วม อันถือได้ว่าคู่ความสละประเด็นข้ออื่นในคดีแล้ว จำเลยและจำเลยร่วมจะโต้แย้งว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันมาในฐานะหุ้นส่วน จำเลยร่วมจึงมีสิทธิในที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วย ซึ่งเป็นการตั้งเป็นประเด็นใหม่นอกคำท้าอีกหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสและสินส่วนตัว: การได้มาซึ่งทรัพย์สินระหว่างสมรส, การยึดทรัพย์เพื่อชำระหนี้, และความรับผิดในหนี้ละเมิด
ที่ดินที่จำเลยได้รับมาหลังจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับแล้ว แม้จำเลยกับผู้ร้องจะสมรสกันก่อนกฎหมายใหม่ใช้บังคับ ก็ยังต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่นี้มาใช้บังคับ เมื่อจำเลยฝ่ายเดียวได้ที่ดินดังกล่าวมาระหว่างสมรสโดยการยกให้โดยเสน่หา จึงเป็นสินส่วนตัวของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3) ส่วนที่ดินที่จำเลยได้มาในระหว่างสมรสก่อนหน้านี้ เมื่อไม่ปรากฏว่า บิดายกให้จำเลยแต่ผู้เดียวหรือให้ผู้ร้องด้วย จึงต้องเป็นไปตามบทสันนิษฐานของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474 ตอนท้าย ที่ให้ถือว่าเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลย. แม้ผู้ร้องกับจำเลยจะร่วมกันกระทำหนี้ละเมิด แต่ก็เป็นการเฉพาะตัวของผู้ร้องกับจำเลยไม่เกี่ยวกับกิจการอันจำเป็นในครอบครัวหรือเกี่ยวข้องกับสินสมรส หรือเกิดจากการงานที่ทำด้วยกันในฐานะที่เป็นสามีภริยา จึงไม่เป็นหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1490 เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยด้วย จึงไม่อาจจะบังคับคดีให้กระทบกระทั่งถึงสิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่เหนือสินสมรสตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ได้