พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18042/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเมินราคาหลักประกันผิดพลาด ธนาคารอนุมัติสินเชื่อโดยประมาทเลินเล่อ ศาลลดค่าเสียหาย
โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงกำหนดความรับผิดจากการปฏิบัติผิดสัญญาตามสัญญารับจ้างสำรวจและประเมินราคาทรัพย์สิน จำเลยที่ 1 ผิดสัญญารับจ้างสำรวจและประเมินราคาทรัพย์สินราย ก. เนื่องจากไม่รายงานและประเมินราคาทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันอย่างถูกต้องตามความจริง โจทก์คิดค่าเสียหายจากต้นเงินส่วนที่ธนาคารให้สินเชื่อไปเกินกว่าที่ควรจะเป็นตามมติคณะกรรมการควบคุมบริษัทประเมินของโจทก์ ทั้งค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องเท่ากับจำนวนเงินสินเชื่อที่โจทก์อนุมัติให้ ก. กู้ก็ไม่ปรากฏว่าผู้กู้ผิดนัดชำระหนี้ มติดังกล่าวระบุด้วยว่า กรณีลูกหนี้ผ่อนชำระปกติ ให้บริษัทประเมินรับสภาพหนี้ยังไม่ต้องชำระค่าเสียหาย ถ้าลูกหนี้ผ่อนชำระหนี้จนหลักประกันคุ้มยอดหนี้ บริษัทประเมินหลุดพ้นจากการรับสภาพหนี้ แสดงว่าโจทก์เห็นว่ากรณีที่ผู้กู้ยังคงชำระหนี้ให้แก่โจทก์ยังไม่มีความเสียหายเกิดขึ้น เพียงแต่มีความเสี่ยงว่าผู้กู้จะไม่ชำระหนี้ เมื่อโจทก์ไม่นำสืบให้เห็นว่าโจทก์เสียหายอย่างอื่นหรือจะเสียประโยชน์จากการนำเงินจำนวนนี้ไปเพื่อการอย่างอื่นและจะได้ประโยชน์มากกว่าการได้ดอกเบี้ยจากการให้สินเชื่อแก่ ก. การที่โจทก์เรียกร้องค่าเสียหาย 300,000 บาท จึงสูงเกินไป
สัญญารับจ้างสำรวจและประเมินราคาทรัพย์สินกำหนดหน้าที่ของบริษัทประเมินต้องสำรวจและประเมินราคาทรัพย์สินให้ครบถ้วนตามแบบและวิธีปฏิบัติที่ธนาคารกำหนด แบบสำรวจและประเมินกำหนดรายการประเมินราคาหลักประกันไว้ คือ ราคาประเมินซึ่งเป็นราคาสำหรับการประเมินที่ดินต่อตารางวาและราคาอาคาร กับราคารับเป็นหลักประกันซึ่งเป็นการประเมินมูลค่าทรัพย์สินโดยคำนวณจากข้อมูลเปรียบเทียบ ไม่ว่าจะเป็นราคาประเมินหรือราคารับเป็นหลักประกัน จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องให้ความเห็นตามมาตรฐานหลักวิชาและจรรยาบรรณในวิชาชีพเพื่อให้โจทก์พิจารณาให้สินเชื่อได้อย่างถูกต้อง หลักประกันราย ร. จำเลยที่ 1 กำหนดราคาประเมิน 10,844,626 บาท ราคารับเป็นหลักประกัน 22,000,000 บาท โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบกับโครงการเดียวกัน อ. นักประเมินราคาหลักทรัพย์ของโจทก์เห็นว่า จำเลยที่ 1 ประเมินราคารับเป็นหลักประกันสูงกว่าราคาประเมินของธนาคารร้อยละ 127.41 อ. ประเมินใหม่ได้ราคาประเมิน 8,081,085 บาท ราคารับเป็นหลักประกัน 9,674,000 บาท โดยเปรียบเทียบกับโครงการเดียวกัน นอกจากนี้ปรากฏว่าบริษัทประเมินอื่นรวมทั้งจำเลยที่ 1 เคยประเมินราคาในโครงการดังกล่าว ราคาประเมินกับราคารับเป็นหลักประกันจะต่างกันไม่เกินร้อยละ 30 โดยเฉพาะจำเลยที่ 1 ประเมินราคารับเป็นหลักประกันไม่เกินร้อยละ 20 มาตรฐานการประเมินราคารับเป็นหลักประกันจึงไม่เกินกึ่งหนึ่งของราคาประเมิน การที่จำเลยที่ 1 ประเมินราคารับเป็นหลักประกันถึง 22,000,000 บาท จึงเป็นการประเมินราคารับเป็นหลักประกันเกินกว่าราคาประเมินกว่าร้อยละ 100 เป็นเรื่องผิดปกติ ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ประเมินราคารับเป็นหลักประกันตามมาตรฐานวิชาชีพเป็นการผิดสัญญา
การให้สินเชื่อ โจทก์ต้องวิเคราะห์ข้อมูลเพื่ออนุมัติวงเงินกู้ โดยฝ่ายประเมินสินทรัพย์ของโจทก์ต้องตรวจสอบข้อมูลว่าน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด ราคาที่จำเลยที่ 1 ประเมินนั้นเหมาะสมหรือไม่ และต้องพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ด้วย ทั้งโจทก์ได้เสนอคณะกรรมการพิจารณาสินเชื่อเพื่อวิเคราะห์สินเชื่อด้วย ไม่ได้ใช้ราคาประเมินของจำเลยที่ 1 แต่เพียงอย่างเดียว ในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ เมื่อโจทก์ได้รับรายงานการประเมินราคาจากจำเลยที่ 1 แล้วต้องทราบว่าราคาประเมินซึ่งเป็นราคาต้นทุนกับราคารับเป็นหลักประกันซึ่งเป็นราคาตลาดต่างกันกว่าร้อยละ 100 เป็นเรื่องผิดปกติ แต่ยังคงอนุมัติสินเชื่อให้แก่ผู้กู้ ต้องถือว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อ หากจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดทั้งหมดในส่วนต่างจากการให้สินเชื่อย่อมเป็นการโอนภาระความเสี่ยงของโจทก์แก่ผู้ประเมินราคาหลักประกัน ทั้งที่เป็นความผิดของโจทก์ที่วิเคราะห์ข้อมูลผิดพลาดและไม่ตรวจสอบความน่าเชื่อถือทางการเงินของลูกค้า
สัญญารับจ้างสำรวจและประเมินราคาทรัพย์สินกำหนดหน้าที่ของบริษัทประเมินต้องสำรวจและประเมินราคาทรัพย์สินให้ครบถ้วนตามแบบและวิธีปฏิบัติที่ธนาคารกำหนด แบบสำรวจและประเมินกำหนดรายการประเมินราคาหลักประกันไว้ คือ ราคาประเมินซึ่งเป็นราคาสำหรับการประเมินที่ดินต่อตารางวาและราคาอาคาร กับราคารับเป็นหลักประกันซึ่งเป็นการประเมินมูลค่าทรัพย์สินโดยคำนวณจากข้อมูลเปรียบเทียบ ไม่ว่าจะเป็นราคาประเมินหรือราคารับเป็นหลักประกัน จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องให้ความเห็นตามมาตรฐานหลักวิชาและจรรยาบรรณในวิชาชีพเพื่อให้โจทก์พิจารณาให้สินเชื่อได้อย่างถูกต้อง หลักประกันราย ร. จำเลยที่ 1 กำหนดราคาประเมิน 10,844,626 บาท ราคารับเป็นหลักประกัน 22,000,000 บาท โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบกับโครงการเดียวกัน อ. นักประเมินราคาหลักทรัพย์ของโจทก์เห็นว่า จำเลยที่ 1 ประเมินราคารับเป็นหลักประกันสูงกว่าราคาประเมินของธนาคารร้อยละ 127.41 อ. ประเมินใหม่ได้ราคาประเมิน 8,081,085 บาท ราคารับเป็นหลักประกัน 9,674,000 บาท โดยเปรียบเทียบกับโครงการเดียวกัน นอกจากนี้ปรากฏว่าบริษัทประเมินอื่นรวมทั้งจำเลยที่ 1 เคยประเมินราคาในโครงการดังกล่าว ราคาประเมินกับราคารับเป็นหลักประกันจะต่างกันไม่เกินร้อยละ 30 โดยเฉพาะจำเลยที่ 1 ประเมินราคารับเป็นหลักประกันไม่เกินร้อยละ 20 มาตรฐานการประเมินราคารับเป็นหลักประกันจึงไม่เกินกึ่งหนึ่งของราคาประเมิน การที่จำเลยที่ 1 ประเมินราคารับเป็นหลักประกันถึง 22,000,000 บาท จึงเป็นการประเมินราคารับเป็นหลักประกันเกินกว่าราคาประเมินกว่าร้อยละ 100 เป็นเรื่องผิดปกติ ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ประเมินราคารับเป็นหลักประกันตามมาตรฐานวิชาชีพเป็นการผิดสัญญา
การให้สินเชื่อ โจทก์ต้องวิเคราะห์ข้อมูลเพื่ออนุมัติวงเงินกู้ โดยฝ่ายประเมินสินทรัพย์ของโจทก์ต้องตรวจสอบข้อมูลว่าน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด ราคาที่จำเลยที่ 1 ประเมินนั้นเหมาะสมหรือไม่ และต้องพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ด้วย ทั้งโจทก์ได้เสนอคณะกรรมการพิจารณาสินเชื่อเพื่อวิเคราะห์สินเชื่อด้วย ไม่ได้ใช้ราคาประเมินของจำเลยที่ 1 แต่เพียงอย่างเดียว ในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ เมื่อโจทก์ได้รับรายงานการประเมินราคาจากจำเลยที่ 1 แล้วต้องทราบว่าราคาประเมินซึ่งเป็นราคาต้นทุนกับราคารับเป็นหลักประกันซึ่งเป็นราคาตลาดต่างกันกว่าร้อยละ 100 เป็นเรื่องผิดปกติ แต่ยังคงอนุมัติสินเชื่อให้แก่ผู้กู้ ต้องถือว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อ หากจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดทั้งหมดในส่วนต่างจากการให้สินเชื่อย่อมเป็นการโอนภาระความเสี่ยงของโจทก์แก่ผู้ประเมินราคาหลักประกัน ทั้งที่เป็นความผิดของโจทก์ที่วิเคราะห์ข้อมูลผิดพลาดและไม่ตรวจสอบความน่าเชื่อถือทางการเงินของลูกค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12705/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายมีเงื่อนไขการขอสินเชื่อ สัญญาไม่เป็นผลเมื่อสถาบันการเงินไม่อนุมัติ ผู้จะซื้อไม่ผิดนัด
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่มีข้อตกลงว่า หลังจากทำสัญญาแล้วโจทก์ซึ่งเป็นผู้จะซื้อจะดำเนินการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินหรือธนาคาร เมื่อธนาคารอนุมัติสินเชื่อ จำเลยซึ่งเป็นผู้จะขายต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์นั้น เห็นได้ว่าสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวมีเงื่อนไขที่โจทก์จะต้องไปขอสินเชื่อกู้เงินจากสถาบันการเงินหรือธนาคารเพื่อชำระราคาส่วนที่เหลือให้แก่จำเลย สถาบันการเงินหรือธนาคารจะให้กู้หรือไม่เป็นเรื่องไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับสถาบันการเงินหรือธนาคารจะเป็นผู้พิจารณา หากสถาบันการเงินหรือธนาคารไม่ให้กู้ สัญญาจะซื้อจะขายย่อมไม่อาจสำเร็จลุล่วงได้ เมื่อโจทก์ได้ดำเนินการเพื่อขอกู้เงินจากธนาคารถึงสองธนาคาร แต่ธนาคารทั้งสองแห่งไม่อนุมัติ เงื่อนไขตามสัญญาจะซื้อจะขายจึงไม่เป็นผล สัญญาไม่อาจสำเร็จลุล่วงไปได้ แม้จะไม่ปรากฏว่ามีการจำกัดช่วงเวลาหรือจำนวนสถาบันการเงินหรือธนาคารที่โจทก์จะดำเนินการขอสินเชื่อ โจทก์จึงยังอาจดำเนินการขอสินเชื่อได้อีก ไม่ใช่เรื่องพ้นวิสัย แต่ก็ไม่แน่นอนว่าการดำเนินการขอสินเชื่อจะได้รับอนุมัติจากสถาบันการเงินหรือธนาคารใดหรือไม่ เมื่อไร ทั้งการดำเนินการขอสินเชื่อจากธนาคารมาสองแห่งแล้ว ถือว่าโจทก์ขวนขวายดำเนินการเพื่อปฏิบัติตามสัญญาตามสมควรแล้ว กรณีมิใช่ว่าโจทก์จะต้องดำเนินการขอสินเชื่อเรื่อยไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุดซึ่งมิใช่เจตนารมณ์ของคู่สัญญา เมื่อโจทก์พยายามปฏิบัติตามเงื่อนไขของสัญญาแล้วแต่ไม่สำเร็จไม่สามารถนำเงินมาชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือได้ จึงไม่ใช่ความผิดของโจทก์ โจทก์ไม่ใช่ผู้ผิดนัดสัญญา จำเลยจึงไม่มีสิทธิริบมัดจำ ดังนั้น โจทก์จึงฟ้องเรียกให้จำเลยคืนเงินมัดจำได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น พิพากษากลับว่า ให้จำเลยคืนเงินมัดจำ 5,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11319/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พนักงานสินเชื่อร่วมกับผู้อื่นใช้เอกสารราชการปลอมหลอกลวงธนาคาร คดีนี้ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิด
ทางนำสืบของโจทก์นอกจากคดีนี้แล้ว จำเลยยังถูกดำเนินคดีในข้อหาลักษณะเดียวกันกับในคดีนี้อีกหลายคดี ซึ่งลักษณะ วิธี หรือรูปแบบเฉพาะในการกระทำความผิดของจำเลยมีลักษณะเช่นเดียวกับคดีนี้ คือการที่มีผู้นำรถยนต์มาขอสินเชื่อ จำเลยทำการประเมินขอสินเชื่อจากผู้เสียหายแล้วมีการปลอมใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ ซึ่งสามารถนำมาฟังประกอบพยานหลักฐานของโจทก์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/2 วรรคหนึ่ง (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5670/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดหางาน-สินเชื่อ: จำเลยไม่ได้จัดหางานโดยตรง แต่เป็นตัวกลางอำนวยความสะดวก
พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง ประกอบกับมาตรา 4 นิยามคำว่า "จัดหางาน" หมายความว่า ประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางานหรือหาลูกจ้างให้แก่นายจ้าง โดยจะเรียกหรือรับค่าบริการตอบแทนหรือไม่ก็ตาม และให้หมายรวมถึงการเรียกเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดเพื่อจัดหางานให้คนหางาน ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยทั้งสามเพียงแต่เป็นผู้ติดต่อบริษัท ว. ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตให้จัดส่งคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ เพื่อให้ส่งผู้เสียหายที่ 1 ไปทำงานที่ดินแดนไต้หวันตามความประสงค์ ผู้จัดหางานให้แก่ผู้เสียหายที่ 1 ที่แท้จริงคือ บริษัท ว. การกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เสียหายที่ 1 เพื่อที่บริษัท ร. จะได้ค่าตอบแทนเมื่อธนาคารอนุมัติสินเชื่อ ผลประโยชน์ที่จำเลยทั้งสามจะได้รับมีเพียงค่าตอบแทนในการจัดหาผู้กู้จากบริษัท ร. รวมถึงค่าพาหนะและค่าป่วยการในการดำเนินการดังกล่าวจากผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งมิใช่เงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่จำเลยทั้งสามเรียกเพื่อจัดหางานให้ผู้เสียหายที่ 1 โดยตรง ไม่ต้องด้วยนิยามคำว่า "จัดหางาน" ตามมาตรา 4 ข้างต้น การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับใบอนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12457/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่เคลือบคลุมแม้ไม่ได้ระบุรายละเอียดสินเชื่อ 'เงินสดโทรสั่งได้' และดอกเบี้ยถูกต้องตามอัตราบัตรเครดิต
แม้โจทก์จะบรรยายมาในคำฟ้องเพียงว่า จำเลยสมัครเป็นสมาชิกบัตรเครดิตซิตี้แบงก์วีซ่าทองของโจทก์ โจทก์อนุมัติให้จำเลยเป็นสมาชิกและออกบัตรเครดิตให้แก่จำเลยใช้แทนเงินสดเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการ ตลอดจนเบิกถอนเงินสดจากสถานประกอบการที่เป็นสมาชิกของโจทก์ และนอกจากนี้ในการเป็นสมาชิกบัตรเครดิตของโจทก์ จำเลยยังได้รับวงเงินหมุนเวียนอีกจำนวน 240,000 บาท แต่โจทก์ได้แนบใบแจ้งยอดบัญชีบัตรเครดิตซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับยอดหนี้ที่เกิดจากสินเชื่อ "เงินสดโทรสั่งได้" มาด้วย ทั้งยังปรากฏว่าในแต่ละเดือนโจทก์ได้ส่งใบแจ้งยอดบัญชีบัตรเครดิตไปให้จำเลยทราบตลอดมาจนกระทั่งสัญญาเลิกกัน จำเลยจึงย่อมจะต้องทราบถึงข้อผูกพันของสินเชื่อ "เงินสดโทรสั่งได้" รวมทั้งภาระหนี้สินที่เกิดจากสินเชื่อเป็นอย่างดี การไม่ระบุรายละเอียดของข้อตกลงในการใช้สินเชื่อประเภทนี้ในใบสมัครและในเงื่อนไขการใช้บัตร จึงไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบในทางคดี ประกอบกับในคำให้การของจำเลย จำเลยให้การต่อสู้ว่าหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องเกิดจากสินเชื่อ "เงินสดโทรสั่งได้" แสดงว่าจำเลยไม่ได้หลงข้อต่อสู้แต่อย่างใด กรณีจึงถือได้ว่าคำฟ้องโจทก์ได้บรรยายโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การให้สินเชื่อ "เงินสดโทรสั่งได้" แก่จำเลย แม้จะปรากฏข้อเท็จจริงว่าเกิดขึ้นหลังจากจำเลยสมัครเป็นสมาชิกบัตรเครดิตซิตี้แบงก์วีซ่าของโจทก์ แต่ก็ได้ความจากใบแจ้งยอดบัญชีบัตรเครดิตพร้อมคำแปลเอกสารว่า โจทก์ได้แจ้งให้จำเลยชำระหนี้อันเกิดจากสินเชื่อ "เงินสดโทรสั่งได้" รวมกันมากับหนี้อันเกิดจากการซื้อสินค้าและบริการ ซึ่งจำเลยเองไม่ได้โต้แย้งคัดค้านการดำเนินการในลักษณะดังกล่าวของโจทก์แต่อย่างใด จึงทำให้น่าเชื่อว่าสินเชื่อ "เงินสดโทรสั่งได้" เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาบัตรเครดิต การคิดดอกเบี้ยอันเนื่องมาจากการผิดนัดชำระหนี้จึงต้องถือตามอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิคิดสำหรับสินเชื่อบัตรเครดิตซิตี้แบงก์วีซ่า มิใช่ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 0.8 ต่อเดือน ซึ่งเป็นอัตราที่ใช้บังคับในระหว่างไม่ผิดนัดตามที่จำเลยกล่าวอ้างไม่ ซึ่งปรากฏตามประกาศอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อของโจทก์ว่า ในช่วงวันที่ 9 กันยายน 2549 ที่จำเลยเริ่มผิดนัดชำระหนี้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยได้เกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยเพียงอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ 9 กันยายน 2549 จึงชอบแล้ว
การให้สินเชื่อ "เงินสดโทรสั่งได้" แก่จำเลย แม้จะปรากฏข้อเท็จจริงว่าเกิดขึ้นหลังจากจำเลยสมัครเป็นสมาชิกบัตรเครดิตซิตี้แบงก์วีซ่าของโจทก์ แต่ก็ได้ความจากใบแจ้งยอดบัญชีบัตรเครดิตพร้อมคำแปลเอกสารว่า โจทก์ได้แจ้งให้จำเลยชำระหนี้อันเกิดจากสินเชื่อ "เงินสดโทรสั่งได้" รวมกันมากับหนี้อันเกิดจากการซื้อสินค้าและบริการ ซึ่งจำเลยเองไม่ได้โต้แย้งคัดค้านการดำเนินการในลักษณะดังกล่าวของโจทก์แต่อย่างใด จึงทำให้น่าเชื่อว่าสินเชื่อ "เงินสดโทรสั่งได้" เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาบัตรเครดิต การคิดดอกเบี้ยอันเนื่องมาจากการผิดนัดชำระหนี้จึงต้องถือตามอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิคิดสำหรับสินเชื่อบัตรเครดิตซิตี้แบงก์วีซ่า มิใช่ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 0.8 ต่อเดือน ซึ่งเป็นอัตราที่ใช้บังคับในระหว่างไม่ผิดนัดตามที่จำเลยกล่าวอ้างไม่ ซึ่งปรากฏตามประกาศอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อของโจทก์ว่า ในช่วงวันที่ 9 กันยายน 2549 ที่จำเลยเริ่มผิดนัดชำระหนี้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยได้เกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยเพียงอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ 9 กันยายน 2549 จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15786/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดกรรมการสถาบันการเงินจากสินเชื่อที่ไม่ชอบ พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน 2551 ใช้โทษที่เบากว่า
ขณะคดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีพ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.2551 ออกมาใช้บังคับ และในมาตรา 3 บัญญัติให้ยกเลิกพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 ที่แก้ไขเพิ่มเติม แต่ในมาตรา 158 ได้บัญญัติให้ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน หรือธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ที่ใช้บังคับอยู่เดิมให้ใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติในพระราชบัญญัติฉบับหลังนี้ ดังนี้ ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดหลักประกันเป็นทรัพย์สินที่บริษัทเงินทุนต้องเรียก (ฉบับที่ 5) และ (ฉบับที่ 6) ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 มาตรา 30 (5) จึงยังมีผลใช้บังคับอยู่ ทั้งพ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.2551 ยังบัญญัติให้การที่สถาบันการเงินฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าวเป็นความผิด และกำหนดโทษสำหรับสถาบันการเงินรวมทั้งกรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการสถาบันการเงินนั้น ตามมาตรา 46 (5) วรรคหนึ่ง, 125, 132 วรรคสอง แต่ปรากฏว่าโทษที่จะต้องลงแก่กรรมการตามที่บัญญัติในมาตรา 75 วรรคสอง สำหรับความผิดตามมาตรา 30 (5) แห่งพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 คือจำคุกตั้งแต่สองปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงห้าแสนบาท แตกต่างกับโทษที่บัญญัติในมาตรา 132 วรรคสอง สำหรับความผิดเดียวกันตามมาตรา 46 (5) วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 125 แห่งพ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.2551 ซึ่งบัญญัติโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาทและปรับอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่หรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องโดยไม่มีโทษจำคุก โทษตามพ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.2551 เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้โทษตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าทางใด ตามป.อ. มาตรา 3 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5298/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล, ดอกเบี้ยเกินอัตรา, สัญญาที่ไม่เป็นธรรม: คดีสินเชื่อส่วนบุคคล
ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) บัญญัติว่า คำฟ้อง ให้เสนอต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่ คำว่า มูลคดีเกิดขึ้น หมายถึง เหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง เมื่อโจทก์อนุมัติวงเงินสินเชื่อบุคคลให้แก่จำเลย ณ ที่ทำการของโจทก์ ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวงปทุมวัน ต่อมาจำเลยผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงเห็นได้ว่าเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิที่ทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยเกิดขึ้น ณ ที่ทำการของโจทก์ซึ่งเป็นสถานที่อนุมัติสินเชื่อบุคคลให้แก่จำเลย อันอยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวงปทุมวัน ดังนั้น โจทก์จึงมีอำนาจเสนอคำฟ้องคดีนี้ต่อศาลแขวงปทุมวันได้ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว การที่โจทก์ใช้โทรศัพท์แจ้งเรื่องการอนุมัติสินเชื่อบุคคลให้แก่จำเลยเป็นเพียงการอำนวยความสะดวกให้แก่จำเลยซึ่งเป็นลูกค้าเท่านั้น หาทำให้มูลคดีที่เกิดขึ้น ณ ที่ทำการของโจทก์เปลี่ยนแปลงไปไม่
โจทก์เป็นบริษัทจำกัดไม่ใช่สถาบันการเงินตามกฎหมาย ขณะทำสัญญายังไม่มีประกาศกระทรวงการคลังและประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลสำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน ดังนั้น การเรียกดอกเบี้ยเงินกู้จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 654 และ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 ห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปี แม้โจทก์จะคิดผลประโยชน์ตอบแทนตามสัญญาเป็นค่าบริการครั้งแรก และค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินต่างหากจากดอกเบี้ยปกติที่เรียกเก็บโดยใช้ชื่อเรียกแตกต่างออกไป แต่ผลประโยชน์ดังกล่าวก็เป็นค่าตอบแทนที่จำเลยต้องใช้ให้แก่โจทก์จากการได้กู้ยืมเงิน ดังนั้น เงินที่โจทก์คิดเป็นค่าบริการครั้งแรกและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินดังกล่าวจึงเป็นดอกเบี้ยของสัญญากู้ยืมเงิน โจทก์ได้รับผลประโยชน์คิดเป็นดอกเบี้ยทั้งหมดตามสัญญาได้แก่ ค่าบริการครั้งแรก ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินและดอกเบี้ยที่เรียกเก็บรายเดือน อันเป็นการคำนวณจากต้นเงินและดอกเบี้ยทั้งหมดที่คำนวณไว้ล่วงหน้าเป็นเวลา 2 ปี โดยจำเลยต้องผ่อนชำระต้นเงินและดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เท่ากันทุกเดือนโดยที่จำนวนดอกเบี้ยที่จำเลยต้องชำระมิได้ลดลงตามสัดส่วนของต้นเงินที่ลดลง จึงเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ (Flat rate) เมื่อคำนวณเป็นดอกเบี้ยตามอัตราปกติ (Effective rate) ซึ่งเกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี อันเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 654 และ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 ข้อตกลงที่เกี่ยวกับผลประโยชน์จากการกู้ยืมในสัญญาในส่วนที่ถือเป็นดอกเบี้ยทั้งหมดจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวจากจำเลย และต้องหักเงินค่าบริการครั้งแรกที่โจทก์เรียกเก็บไปแล้วออกจากต้นเงินที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาด้วย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2550)
โจทก์เป็นบริษัทจำกัดไม่ใช่สถาบันการเงินตามกฎหมาย ขณะทำสัญญายังไม่มีประกาศกระทรวงการคลังและประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลสำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน ดังนั้น การเรียกดอกเบี้ยเงินกู้จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 654 และ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 ห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปี แม้โจทก์จะคิดผลประโยชน์ตอบแทนตามสัญญาเป็นค่าบริการครั้งแรก และค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินต่างหากจากดอกเบี้ยปกติที่เรียกเก็บโดยใช้ชื่อเรียกแตกต่างออกไป แต่ผลประโยชน์ดังกล่าวก็เป็นค่าตอบแทนที่จำเลยต้องใช้ให้แก่โจทก์จากการได้กู้ยืมเงิน ดังนั้น เงินที่โจทก์คิดเป็นค่าบริการครั้งแรกและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินดังกล่าวจึงเป็นดอกเบี้ยของสัญญากู้ยืมเงิน โจทก์ได้รับผลประโยชน์คิดเป็นดอกเบี้ยทั้งหมดตามสัญญาได้แก่ ค่าบริการครั้งแรก ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินและดอกเบี้ยที่เรียกเก็บรายเดือน อันเป็นการคำนวณจากต้นเงินและดอกเบี้ยทั้งหมดที่คำนวณไว้ล่วงหน้าเป็นเวลา 2 ปี โดยจำเลยต้องผ่อนชำระต้นเงินและดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เท่ากันทุกเดือนโดยที่จำนวนดอกเบี้ยที่จำเลยต้องชำระมิได้ลดลงตามสัดส่วนของต้นเงินที่ลดลง จึงเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ (Flat rate) เมื่อคำนวณเป็นดอกเบี้ยตามอัตราปกติ (Effective rate) ซึ่งเกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี อันเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 654 และ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 ข้อตกลงที่เกี่ยวกับผลประโยชน์จากการกู้ยืมในสัญญาในส่วนที่ถือเป็นดอกเบี้ยทั้งหมดจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวจากจำเลย และต้องหักเงินค่าบริการครั้งแรกที่โจทก์เรียกเก็บไปแล้วออกจากต้นเงินที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาด้วย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2550)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3300/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: สัญญาขอสินเชื่อทำที่สาขาอื่น ไม่ถือเป็นมูลคดีเกิดในเขตอำนาจศาลชั้นต้น
จำเลยทำสัญญาขอสินเชื่อจากโจทก์สาขารังสิตซึ่งมิได้อยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้น มูลคดีจึงมิได้เกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลชั้นต้น ส่วนที่โจทก์โอนเงินกู้เข้าบัญชีของจำเลยที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาซีคอนสแควร์ ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นนั้น ธนาคารดังกล่าวเป็นเพียงธนาคารซึ่งจำเลยมีบัญชีเงินฝากอยู่เท่านั้น ไม่ใช่สถานที่ที่จำเลยได้ทำสัญญากับโจทก์ อีกทั้งไม่ใช่สถานที่ที่จำเลยจะต้องไปรับเงินกู้จากโจทก์โดยตรง จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2075/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุมัติสินเชื่อเกินอำนาจและขัดต่อประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ถือเป็นละเมิดและผิดสัญญาจ้าง
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ให้ความเห็นชอบโครงการโอนกิจการของธนาคาร ม. ให้แก่ธนาคาร ก. กำหนดการโอนกิจการ ให้โอนสินทรัพย์และหนี้สินทั้งหมดของโจทก์โดยให้ดูแลลูกหนี้เจ้าหนี้นั้น ให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตามที่พึงได้โดยครบถ้วนและให้ทำหนังสือสัญญาก่อนดำเนินการโอน หนังสือสัญญาการโอนสินทรัพย์และหนี้สินระหว่างโจทก์กับธนาคาร ก. ก็ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับข้อตกลงรับโอนสินทรัพย์และหนี้สิน ส่วนในเรื่องพนักงานของโจทก์นั้นตามข้อ 4 ก็เพียงแต่ระบุว่า "ก." ยินดีรับพนักงานของโจทก์ทุกคนที่สมัครใจทำงานกับ "ก." หรือบริษัทในเครือ หลักเกณฑ์ และหรือเงื่อนไขในการจ้าง "ก." จะพิจารณาตามความเหมาะสม ย่อมแสดงให้เห็นว่าโครงการโอนกิจการดังกล่าวโจทก์โอนเฉพาะสินทรัพย์และหนี้สินแก่ธนาคาร ก. เท่านั้น ส่วนในเรื่องพนักงานของโจทก์ เป็นกรณีที่พนักงานโจทก์แต่ละรายจะต้องดำเนินการต่อไปและสมัครใจที่จะเป็นพนักงานของธนาคาร ก. ภายใต้เงื่อนไขหลักเกณฑ์ที่ธนาคารผู้รับโอนพิจารณาก่อน จึงจะถือว่าเป็นพนักงานของธนาคาร ก. ดังนั้น สิทธิความเป็นนายจ้างของโจทก์กับพนักงานโจทก์จึงหาได้โอนไปยังธนาคารผู้รับโอนด้วยไม่ ยิ่งพิจารณาจากตำแหน่งของจำเลยที่ดำรงตำแหน่งเป็นรองกรรมการผู้จัดการโจทก์ด้วยแล้ว ถือว่าเป็นตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง จึงเป็นที่ชี้ชัดว่าจำเลยไม่ได้โอนไปเป็นพนักงานของธนาคาร ก. ดังนั้น สิทธิหน้าที่ตามสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยมีอยู่ต่อกันเช่นใดก็ยังคงเป็นไปตามนั้น หากจำเลยกระทำการไม่ถูกต้องในระหว่างที่เป็นลูกจ้าง โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายได้ การที่โจทก์ฟ้องว่าระหว่างทำงานจำเลยทุจริต ปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติโดยมิชอบด้วยกฎหมาย คำสั่ง ระเบียบ และข้อบังคับเกี่ยวกับการให้สินเชื่อของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง และเป็นการกระทำที่ผิดสัญญาจ้าง ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคำฟ้องของโจทก์บรรยายให้เห็นชัดแจ้งแล้วว่าโจทก์มีคำสั่งแต่งตั้งให้จำเลยเป็นคณะกรรมการพิจารณาให้สินเชื่อชุดบริหาร มีอำนาจพิจารณาอนุมัติสินเชื่อและต่ออายุสัญญาให้สินเชื่อแก่ลูกค้าภายในวงเงินที่จำกัด แต่จำเลยอนุมัติสินเชื่อแก่ลูกค้าของโจทก์เกินกว่าอำนาจของตน ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ซึ่งเป็นสภาพแห่งข้อหา โดยมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการไม่ปฏิบัติตามประกาศและคำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทย และคำสั่ง ระเบียบ และข้อบังคับของโจทก์ ในส่วนเรื่องการอนุมัติสินเชื่อของจำเลยเป็นการอนุมัติเร่งด่วนหรือไม่ ขัดแย้งกับข้อเท็จจริงในเอกสารท้ายคำฟ้องหรือไม่ อำนาจหน้าที่ระหว่างผู้บริหารระดับสูงของโจทก์กับจำเลยมีขั้นตอนปฏิบัติอย่างไร จำเลยทำละเมิดหรือผิดสัญญาจ้างอย่างไร ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เพียงใด เป็นเพียงรายละเอียดที่ศาลแรงงานกลางอาจหาข้อเท็จจริงดังกล่าวได้จากพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยในชั้นพิจารณา คำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม คดีนี้ เมื่อคดีที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ และคดีอาญาที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ มีข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แห่งการกระทำเดียวกัน ประกอบกับคำฟ้องโจทก์ที่ว่าระหว่างทำงานจำเลยทุจริตปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติโดยมิชอบด้วยกฎหมายและคำสั่ง ระเบียบ และข้อบังคับเกี่ยวกับการให้สินเชื่อของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1149/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายสินค้า/บริการโดยใช้เทรดบาท ไม่ขัดต่อกฎหมาย และไม่เป็นโมฆะ
ธุรกิจตามสัญญาการเป็นสมาชิกระบบการค้าแลกเปลี่ยนที่กำหนดเทรดบาทเพื่อใช้ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการ เป็นการให้สินเชื่อแก่จำเลยซึ่งเป็นสมาชิกของโจทก์เพื่อซื้อสินค้าหรือบริการในระหว่างสมาชิกด้วยกัน โดยจำเลยตกลงให้โจทก์ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารการซื้อขายสินค้าหรือบริการ กำหนดวงเงินการซื้อขายหรือให้บริการ ควบคุมและจัดทำบัญชีการซื้อขายและการบริการระหว่างจำเลยกับกลุ่มสมาชิกของโจทก์ โดยมีหน่วยที่ใช้วัดมูลค่าของสินค้าหรือการบริการที่โจทก์กำหนดขึ้นที่เรียกว่าเทรดบาทมาเป็นตัวกำหนดวงเงินที่จำเลยมีสิทธิซื้อขายสินค้าและการบริการได้ในระหว่างสมาชิก รวมถึงการกำหนดมูลค่าของสินค้าหรือการบริการที่มีการซื้อหรือการให้บริการกัน ตลอดจนค่าตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่โจทก์เรียกเก็บจากจำเลย โดยใช้วิธีหักทอนบัญชีสินเชื่อที่กำหนดมูลค่าเป็นเทรดบาทระหว่างจำเลยกับคู่ค้าที่เป็นสมาชิกของโจทก์ โดยไม่มีการชำระด้วยเทรดบาทเป็นเงินสด แต่มีการใช้เงินสดเป็นเงินบาทในการชำระหนี้เมื่อสมาชิกอีกฝ่ายหนึ่งมียอดซื้อและยอดขายสินค้าหรือบริการที่ไม่สมดุลกันเกินระยะเวลาที่กำหนดทำให้มียอดค้างชำระค่าสินค้าหรือบริการแล้วมีการเลิกสัญญากัน อันเป็นรูปแบบการให้สินเชื่อทางการค้าอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งสามารถทำได้ทำนองเดียวกับการให้สินเชื่อของผู้ประกอบการร้านค้าต่าง ๆ สัญญาดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 และเทรดบาทดังกล่าวไม่ใช่เงินตราที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายในประเทศไทย หรือเงินตราต่างประเทศที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายในประเทศอื่นใดนอกจากประเทศไทย หรือค่าแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศตามความหมายตามนัยมาตรา 3 ของ พ.ร.บ.ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ.2485 ทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงจากการนำสืบของจำเลยว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ออกกฎกระทรวงควบคุม กำกัด หรือห้ามการปฏิบัติกิจการเกี่ยวกับกรณีตามมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติดังกล่าวด้วย จึงไม่ถือว่า สัญญาดังกล่าวขัดต่อ พ.ร.บ.ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ.2485 อันจะทำให้สัญญาตกเป็นโมฆะ