พบผลลัพธ์ทั้งหมด 323 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7341/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเก็บกินรวมถึงสิ่งปลูกสร้าง ผู้ทรงสิทธิเก็บกินมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้เช่าเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุด
สิทธิเก็บกินในที่ดินเฉพาะส่วนย่อมหมายถึงสิ่งปลูกสร้างใด ๆ ซึ่งเป็นส่วนควบของที่ดินนั้นด้วย
เมื่อสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทสิ้นอายุการเช่าแล้ว โจทก์ผู้ทรงสิทธิเก็บกินย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าได้ แม้โจทก์จะมิใช่ผู้ทำสัญญาในฐานะผู้ให้เช่า ก็ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ในฐานะผู้ทรงสิทธิเก็บกินหมดสิทธิจัดการทรัพย์สินหรือถือเอาประโยชน์แห่งทรัพย์สินในที่ดินนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1417
เมื่อสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทสิ้นอายุการเช่าแล้ว โจทก์ผู้ทรงสิทธิเก็บกินย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าได้ แม้โจทก์จะมิใช่ผู้ทำสัญญาในฐานะผู้ให้เช่า ก็ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ในฐานะผู้ทรงสิทธิเก็บกินหมดสิทธิจัดการทรัพย์สินหรือถือเอาประโยชน์แห่งทรัพย์สินในที่ดินนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1417
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7143/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดค่าทดแทนเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแยกประเภทเป็นไปตามกฎหมาย
การกำหนดค่าทดแทนสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในที่ดินนั้นต้องปฏิบัติตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ซึ่งกำหนดเงินค่าทดแทนให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งที่ดินที่ต้องเวนคืนไว้ในมาตรา 18 (1) และกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่รื้อถอนไม่ได้ ซึ่งมีอยู่ในที่ดินที่ต้องเวนคืนไว้ในมาตรา 18 (2) แยกประเภทกัน ดังนั้น การคิดค่าทดแทนสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในที่ดินที่ถูกเวนคืนแยกจากกันจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2120/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอม: การติดตั้งสิ่งปลูกสร้างและจอดรถไม่ทำให้ประโยชน์ใช้สอยทางภาระจำยอมลดลงหรือเสื่อมความสะดวก
++ เรื่อง ภาระจำยอม
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 60 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 60 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2120/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมไม่ลดหรือเสื่อมความสะดวก แม้มีการติดตั้งสิ่งปลูกสร้างและจอดรถบนทางเดิน
จำเลยจดทะเบียนยอมให้ที่ดินของจำเลยบางส่วน อยู่ในบังคับทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยให้ใช้เป็น ทางเข้าออก ต่อมาจำเลยติดตั้งป้ายโฆษณาใกล้บริเวณทางเข้าออกและปลูกต้นอโศก อินเดียตามแนวยาวของทางภารจำยอม ประมาณ 13 เมตร แต่ต้นอโศก อินเดียเป็นต้นไม้ที่ขึ้นสูงในแนวตรง มีกิ่งและใบลู่ ลงตามลำต้น แม้จะมีบางส่วนล้ำเข้ามาในทางภารจำยอม บ้างก็ไม่เป็นที่กีดขวางทางเข้าออกแต่อย่างใด ส่วนป้ายโฆษณาที่ จำเลยได้ติดตั้งขนานไปกับทางภารจำยอมนั้นก็อยู่ในแนว ใกล้เคียงกับป้ายโฆษณาของโจทก์ แต่อยู่ในระดับที่สูงกว่า ไม่กีดขวางรถยนต์ที่แล่นเข้าหรือออกจากทางภารจำยอม การติดตั้งป้ายโฆษณาและปลูกต้นอโศก อินเดียจึงไม่ทำให้ประโยชน์ในการใช้ทางภารจำยอมของโจทก์ลดลงหรือเสื่อมความสะดวกไป แม้รถยนต์ที่จอดอยู่ใต้ชายคาอาคารของจำเลยซึ่งอาจล้ำเข้ามา บนทางภารจำยอมบ้าง แต่รถยนต์ก็ยังสามารถแล่นเข้าออก สวนทางกันได้ และจำเลยยังจัดให้มียามรักษาการณ์เพื่อดูแล การจอดรถยนต์บนทางภารจำยอมมิให้กีดขวางหรือเป็นอุปสรรค ในการเข้าออกของรถยนต์ ซึ่งโจทก์ยังสามารถขับรถยนต์แล่น เข้าออกบนทางภารจำยอมได้ตามปกติ การกระทำของจำเลย จึงยังไม่ทำให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดหรือเสื่อมความสะดวก แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7284/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินโดยสิ่งปลูกสร้างและการอุทธรณ์คำพิพากษาเรื่องข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยผิด
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยปลูกสร้างตึกผนังร่วมรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ตามแนวหลักเขตโฉนดที่ดินร่วมตลอดแนว ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างผนังร่วมที่จำเลยปลูกสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยไม่ได้ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ก่อนทำการปลูกสร้างจำเลยรังวัดตรวจสอบแนวเขตที่ดินแล้ว หากอาคารของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ก็ย่อมตกเป็นภาระจำยอมเพราะจำเลยปลูกสร้างอาคารโดยสุจริต เป็นคดีที่มีคำขอไม่มีทุนทรัพย์และมีทุนทรัพย์รวมกันอยู่ด้วย แต่เมื่อคำขอในส่วนที่ให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง แม้ที่ดินพิพาทจะมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท คดีก็ไม่ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2827/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองโดยสุจริตและการฟ้องซ้ำ กรณีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินของผู้อื่น
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยนี้กับพวกรวม 2 คน รื้อถอนบ้านพิพาทออกจากที่ดินโจทก์และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยจนกว่าจะรื้อถอนบ้านพิพาทศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยฟังว่าจำเลยได้เข้าไปอยู่ในบ้านพิพาทที่เจ้าของบ้านพิพาทคนก่อนได้ปลูกสร้างขึ้นไว้โดยสุจริต ตาม ป.พ.พ.มาตรา 4 และมาตรา 1310 กรณีไม่อาจถือได้ว่าจำเลยมีความประมาทเลินเล่อ โจทก์ผู้เป็นเจ้าของบ้านพิพาทจะขอให้บังคับจำเลยกับพวกรื้อถอนบ้านพิพาทไม่ได้ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยเรื่องค่าเสียหาย แม้คดีก่อนคำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินเช่นเดียวกับคดีนี้ แต่คดีก่อนศาลยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่ว่าจำเลยมีสิทธิอยู่ในที่ดินของโจทก์หรือไม่และโจทก์เสียหายเพียงใด ประเด็นดังกล่าวนี้จึงไม่เป็นประเด็นที่ได้วินิจฉัยแล้วในคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2827/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่และการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินของผู้อื่น: การพิจารณาประเด็นสิทธิการครอบครองและการไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยนี้กับพวกรวม2 คน รื้อถอนบ้านพิพาทออกจากที่ดินโจทก์และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยจนกว่าจะรื้อถอนบ้านพิพาทศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยฟังว่าจำเลยได้เข้าไปอยู่ในบ้านพิพาทที่เจ้าของบ้านพิพาทคนก่อนได้ปลูกสร้างขึ้นไว้โดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 และมาตรา 1310 กรณีไม่อาจถือได้ว่าจำเลยมีความประมาทเลินเล่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าของบ้านพิพาทจะขอให้บังคับจำเลยกับพวกรื้อถอนบ้านพิพาทไม่ได้ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยเรื่องค่าเสียหาย แม้คดีก่อนคำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินเช่นเดียวกับคดีนี้แต่คดีก่อนศาลยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่ว่าจำเลยมีสิทธิอยู่ในที่ดินของโจทก์หรือไม่และโจทก์เสียหายเพียงใดประเด็นดังกล่าวนี้จึงไม่เป็นประเด็นที่ได้วินิจฉัยแล้วในคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2743/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริตและสิทธิในการใช้ประโยชน์จากสิ่งปลูกสร้างสาธารณูปโภค
จำเลยที่ 1 ทำการปรับปรุงถนนบนที่ดินที่ ส.อุทิศเป็นสาธารณประโยชน์โดยก่อสร้างเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก และการก่อสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ตลอดแนวเขตเป็นเนื้อที่ประมาณ 15 ตารางวา และจำเลยที่ 3 ได้ปักเสาพาดสายไฟฟ้ารุกล้ำที่ดินของโจทก์ตามแนวขอบถนนจำนวน4 ต้น โดยมี ส.เจ้าของที่ดินชี้แนวเขตในการสร้างถนน และโจทก์รู้เห็นการก่อสร้างทั้งโจทก์และ ส.ก็ยังเข้าใจว่าไม่ได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 1และที่ 3 จึงมิได้กระทำโดยเจตนาหรือประมาทเลินเล่อ ไม่เป็นการละเมิด แต่เป็นการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต โจทก์ย่อมไม่อาจขอให้รื้อถอนถนนและเสาไฟฟ้ากับเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้
โจทก์ตั้งหัวเรื่องในคำฟ้องว่า ละเมิด เรียกค่าเสียหาย แต่ใจความในคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องว่า หากการรื้อถอนถนนและเสาไฟฟ้าไม่อาจกระทำได้ไม่ว่าด้วยประการใด ๆ ให้จำเลยร่วมกันหรือแทนกันใช้ค่าที่ดินให้แก่โจทก์คำฟ้องของโจทก์จึงมีความหมายรวมทั้งการปลูกสร้างรุกล้ำอันเป็นการละเมิดตามป.พ.พ.มาตรา 420 และในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ด้วยศาลจึงมีอำนาจวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ใช้ค่าที่ดินแก่โจทก์ได้
สิ่งที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ปลูกสร้างในที่ดินของโจทก์มิใช่โรงเรือน แต่เป็นถนนและเสาไฟฟ้าอันเป็นสาธารณูปโภคสำหรับประชาชนใช้ร่วมกันแม้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ปลูกสร้างรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริต กรณีก็ไม่อาจนำมาตรา 1312 ตาม ป.พ.พ.มาใช้บังคับได้ เมื่อเป็นกรณีไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติไว้โดยตรง จึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งคือ ป.พ.พ.มาตรา1314 ซึ่งกำหนดให้ใช้บทบัญญัติมาตรา 1310 บังคับตลอดถึงการก่อสร้างใด ๆซึ่งติดที่ดินด้วย และเมื่อสิ่งปลูกสร้างคดีนี้เป็นสาธารณูปโภคสำหรับประชาชนใช้ร่วมกันซึ่งโจทก์ไม่อาจเป็นเจ้าของได้ โจทก์จึงคงมีสิทธิเพียงเรียกให้จำเลยที่ 1 และที่ 3ซื้อที่ดินนั้นตามราคาตลาดตาม ป.พ.พ.มาตรา 1310 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ย่อมไม่มีกำหนดอายุความ เว้นแต่ผู้ที่ยึดถือจะได้กรรมสิทธิ์โดยครอบครองปรปักษ์
โจทก์ตั้งหัวเรื่องในคำฟ้องว่า ละเมิด เรียกค่าเสียหาย แต่ใจความในคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องว่า หากการรื้อถอนถนนและเสาไฟฟ้าไม่อาจกระทำได้ไม่ว่าด้วยประการใด ๆ ให้จำเลยร่วมกันหรือแทนกันใช้ค่าที่ดินให้แก่โจทก์คำฟ้องของโจทก์จึงมีความหมายรวมทั้งการปลูกสร้างรุกล้ำอันเป็นการละเมิดตามป.พ.พ.มาตรา 420 และในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ด้วยศาลจึงมีอำนาจวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ใช้ค่าที่ดินแก่โจทก์ได้
สิ่งที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ปลูกสร้างในที่ดินของโจทก์มิใช่โรงเรือน แต่เป็นถนนและเสาไฟฟ้าอันเป็นสาธารณูปโภคสำหรับประชาชนใช้ร่วมกันแม้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ปลูกสร้างรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริต กรณีก็ไม่อาจนำมาตรา 1312 ตาม ป.พ.พ.มาใช้บังคับได้ เมื่อเป็นกรณีไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติไว้โดยตรง จึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งคือ ป.พ.พ.มาตรา1314 ซึ่งกำหนดให้ใช้บทบัญญัติมาตรา 1310 บังคับตลอดถึงการก่อสร้างใด ๆซึ่งติดที่ดินด้วย และเมื่อสิ่งปลูกสร้างคดีนี้เป็นสาธารณูปโภคสำหรับประชาชนใช้ร่วมกันซึ่งโจทก์ไม่อาจเป็นเจ้าของได้ โจทก์จึงคงมีสิทธิเพียงเรียกให้จำเลยที่ 1 และที่ 3ซื้อที่ดินนั้นตามราคาตลาดตาม ป.พ.พ.มาตรา 1310 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะเจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ย่อมไม่มีกำหนดอายุความ เว้นแต่ผู้ที่ยึดถือจะได้กรรมสิทธิ์โดยครอบครองปรปักษ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2668/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมไม่ระบุแนวเขต ครอบคลุมประโยชน์ใช้สอยทุกส่วนของที่ดิน แม้มีสิ่งปลูกสร้างหรือพื้นที่ไม่ได้ใช้เป็นทางเดินโดยตรง
บันทึกข้อตกลงภารจำยอมเรื่องทางเดินมิได้ระบุแนวเขตเส้นทางภารจำยอมไว้ ภารจำยอมดังกล่าวย่อมครอบคลุมถึงประโยชน์ในการใช้ภารจำยอมในทุกส่วนของที่ดิน ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองยังคงใช้ที่ดินภารจำยอมส่วนที่โรย กรวด หิน ส่วนที่ดินภารจำยอมในส่วนที่มีหญ้าและต้นไม้ขึ้นปกคลุมแม้จำเลยทั้งสองไม่อาจใช้เป็น ทางเดินตามปกติแต่ที่ดินดังกล่าวเป็นพื้นที่ต่อเนื่องกับที่ดิน ที่โรย กรวด หิน ย่อมถือได้ว่าจำเลยทั้งสองใช้ประโยชน์ ในที่ดินดังกล่าวด้วย เมื่อจำเลยทั้งสองและพนักงานประมาณ 300 คน ตลอดจนใช้ยานพาหนะเข้าออกเส้นทางภารจำยอม ดังกล่าวเป็นเวลาข้านานจนถึงปัจจุบันโดยไม่ได้ ละทิ้งจะถือว่าจำเลยทั้งสองสละสิทธิมิได้ ที่ดินพิพาท ยังคงเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินจำเลยทั้งสองและยัง ไม่หมดประโยชน์แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 807/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางภารจำยอมได้มาจากการครอบครองโดยสงบและเปิดเผย การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำทางภารจำยอม
การที่จะได้สิทธิในทางภารจำยอมโดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1401นั้นเจ้าของที่ดินสามยทรัพย์จะต้องใช้ทางผ่านที่ดินภารยทรัพย์โดยมิได้ขออนุญาตจากเจ้าของและมิใช่เป็นการใช้โดยถือวิสาสะติดต่อกันมาเกิน10ปีห้างหุ้นส่วนจำกัดส. ได้ดำเนินการจัดสรรแบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลงย่อยปลูกตึกแถวขายพร้อมที่ดินประมาณ40คูหาแก่บุคคลทั่วไปโดยเหลือที่ดินทำเป็นถนนตรงกลางคือทางพิพาทเพื่อให้บุคคลที่มาซื้อที่ดินพร้อมตึกแถวได้ใช้ทางพิพาทเข้าออกสู่ทางสาธารณะกรณีเช่นนี้ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดส. แสดงออกโดยชัดแจ้งต่อบุคคลที่มาซื้อตึกแถวพร้อมที่ดินว่าไม่หวงห้ามหรือสงวนสิทธิในทางพิพาทโดยยอมให้บุคคลที่ซื้อตึกแถวพร้อมที่ดินใช้ทางพิพาทอันกระทบถึงสิทธิของห้างหุ้นส่วนจำกัดส. ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทางพิพาทบิดาโจทก์ซื้อตึกแถวพร้อมที่ดินและได้ใช้ทางพิพาทออกสู่ถนนสาธารณะมาตั้งแต่ปี2505จึงมิใช่เป็นการใช้โดยถือวิสาสะเมื่อบิดาโจทก์ถึงแก่กรรมที่ดินและตึกแถวเป็นมรดกตกทอดได้แก่โจทก์โจทก์ก็ได้ใช้ทางพิพาทเช่นเดียวกับบิดาโจทก์โดยมิได้ขออนุญาตจากใครและมิได้ใช้โดยถือวิสาสะไม่เคยมีใครมาห้ามมิให้โจทก์ใช้ทางพิพาทและเมื่อจำเลยที่1ซื้อที่ดินโฉนดทางพิพาทจากกรมบังคับคดีเมื่อปี2527จำเลยที่1ก็ไม่เคยห้ามมิให้โจทก์ใช้ทางพิพาทจำเลยก็ยอมรับว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมเพียงแต่โต้แย้งว่าไม่ทำให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกลงดังนี้ถือได้ว่าบิดาโจทก์และโจทก์ได้ใช้ทางพิพาทโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเพื่อจะให้ทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมโดยไม่จำต้องแสดงเจตนาเป็นเจ้าของการที่จำเลยที่1เก็บค่าเช่าจากพวกพ่อค้าที่มาตั้งแผงขายสินค้าบริเวณสองข้างทางพิพาทจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่1ใช้สิทธิในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทางพิพาทต่อบุคคลอื่นที่มิใช่เจ้าของสามยทรัพย์ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการได้สิทธิในทางภารจำยอมโดยอายุความของโจทก์ บิดาโจทก์ใช้ทางพิพาทมาตั้งแต่ปี2505อายุความที่จะได้สิทธิจึงเริ่มนับตั้งแต่ปี2505เมื่อโจทก์รับมรดกที่ดินจากบิดาโจทก์ก็ได้รับประโยชน์จากอายุความนั้นด้วยและนับติดต่อกันกับช่วงที่โจทก์ใช้ทางพิพาทต่อจากบิดานับถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกิน10ปีทางพิพาทจึงตกเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ ปากทางพิพาทนี้เดิมกว้าง6.80เมตรเมื่อจำเลยที่1สร้างอาคาร6ชั้นคร่อมปากทางเสาและผนังอาคารกินทางเข้ามาข้างละ65เซนติเมตรจึงทำให้ทางพิพาทแคบเข้า1.30เมตรคงเหลือเป็นทางอยู่5.50เมตรการกระทำของจำเลยที่1เจ้าของภารยทรัพย์เป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดลงไปและเสื่อมความสะดวกเพราะเดิมทางกว้าง6.80เมตรรถยนต์วิ่งสวนกันเข้าออกได้สะดวกเมื่อทางเหลือเพียง5.50เมตรรถยนต์ย่อมวิ่งเข้าออกสวนกันไม่ได้สะดวกถึงแม้จำเลยที่1จะได้ซื้อที่พิพาทมาโดยสุจริตไม่รู้ว่าที่พิพาทตกเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์และที่ดินของผู้ที่ซื้อที่ดินจากห้างหุ้นส่วนจำกัดส. ผู้จัดสรรขายแล้วก็ตามก็ไม่ทำให้ภารจำยอมนั้นสิ้นสภาพไปจำเลยที่1จึงต้องรื้ออาคารที่จำเลยที่1ปลูกสร้างคร่อมทางภารจำยอมออกไปการที่จำเลยที่1ได้รับอนุญาตจากจำเลยที่2ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ปลูกสร้างอาคารได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522ก็ไม่เป็นเหตุที่จำเลยที่1จะยกขึ้นเป็นข้อแก้ตัวเพื่อจะไม่ต้องรื้อถอนอาคารพิพาทถึงแม้คำสั่งของจำเลยที่2จะชอบด้วยกฎหมายก็ไม่อาจลบล้างสิทธิการได้ทางภารจำยอมของโจทก์ได้ เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยให้จำเลยที่1รื้อถอนอาคารพิพาทออกจากทางภารจำยอมแล้วจึงไม่จำต้องวินิจฉัยในประเด็นที่โจทก์ฎีกาขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่2ที่อนุญาตให้จำเลยที่1ทำการปลูกสร้างอาคารพิพาทนั้นต่อไป