พบผลลัพธ์ทั้งหมด 207 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1468/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้สิ้นสุดแล้ว ธนาคารไม่อาจปรับขึ้นดอกเบี้ยได้เกินอัตราเดิมตามสัญญา
การที่ธนาคารโจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระเงินกู้ทั้งหมดพร้อมไถ่ถอนจำนองและจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว แสดงว่า โจทก์บอกเลิกสัญญากู้เงินแล้วตามหนังสือดังกล่าว เมื่อสัญญา สิ้นสุดลง โจทก์จะอาศัยประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย และประกาศของโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงิน ให้สินเชื่อในอัตราที่โจทก์มีสิทธิเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อ ที่ผิดเงื่อนไขได้ถึงร้อยละ 24 ต่อปีมาปรับคิดดอกเบี้ยกับจำเลย ในอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นหาได้ไม่ เพราะสัญญาที่ให้สิทธิ แก่โจทก์ในการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสิ้นผลไปก่อนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1399/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเมื่อใด? ผู้รับจำนองต้องรับผิดอย่างไร?
แม้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า ผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามอัตราและกำหนดในสัญญาแล้ว ผู้กู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นทบเข้ากับต้นเงินได้เป็นรายเดือน และให้ดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับต้นเงินกลายเป็นต้นเงินอันผู้กู้จะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันและมีกำหนดชำระอย่างเดียวกันกับที่ระบุในสัญญาข้อ 2(ภายในวันสิ้นเดือน) และสัญญาดังกล่าวไม่ได้มีกำหนดเวลาสิ้นสุดใช้บังคับได้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาหรือมีการหักทอนบัญชีและเรียกให้ชำระหนี้คงเหลือก็ตามแต่เมื่อจำเลยได้ทำบันทึกข้อตกลงแก้ไขสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีครั้งที่ห้าและขอลดวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีลงจากวงเงินเดิมคงเหลือวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงิน 1,700,000 บาท แล้วจำเลยเบิกถอนเงินครั้งสุดท้ายโดยวิธีถอนเงินสดบริการเงินด่วนเพียงครั้งเดียว หลังจากนั้นก็มีเพียงรายการที่จำเลยนำเงินสดเข้าฝาก และรายการที่โจทก์ คิดดอกเบี้ยแล้วนำไปทบกับต้นเงินในวันสิ้นเดือนเพื่อให้ เป็นต้นเงินต่อไป จากนั้นก็ไม่มีการถอนเงินออกจากบัญชีอีกเลย และมีการหักทอนบัญชีกันในวันที่ 31 ธันวาคม 2537 ซึ่งปรากฏว่า จำเลยเป็นหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์ 1,696,182.61 บาท ใกล้เคียงกับวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี 1,700,000 บาทแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยว่าไม่ประสงค์จะให้มี การสะพัดทางบัญชีระหว่างกันอีกต่อไป และตาม สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์และจำเลยกำหนดหักทอนบัญชีกัน ทุกวันสิ้นสุดของเดือน สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึง เป็นอันเลิกกันในวันที่ 31 ธันวาคม 2537 หาได้สิ้นสุด ในวันที่ 7 เมษายน 2538 อันเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาที่โจทก์ บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ไม่ ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538 โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลดจำนวนต้นเงินต่ำกว่าที่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเมื่อเป็นผลจากการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษากำหนดระยะเวลาที่โจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้สั้นลงกว่าที่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้ จึงเป็นการวินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยไม่ชอบ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ของประชาชน แม้จำเลยทั้งสองไม่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ ก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ จำเลยที่ 2 เข้ามาเกี่ยวข้องในกรณีนี้เพียงแต่เป็นผู้รับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากจำเลยที่ 1ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองไว้แก่โจทก์และโจทก์ชอบที่จะ ได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญ มิ พักต้องพิเคราะห์ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะได้โอนไปยัง บุคคลภายนอกแล้วหรือหาไม่ ดังนี้จำเลยที่ 2 จึงต้องรับไป ทั้งสิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ 1 อันมีต่อโจทก์เฉพาะที่ เกี่ยวกับทรัพย์สินซึ่งจำนองในฐานะผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง เท่านั้น แม้ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้ทำบันทึกตกลงขึ้นเงินจำนอง เป็นประกันครั้งที่สามอีกเป็นเงิน 56,000 บาท ทำให้ ยอดหนี้จำนองรวมเป็นเงิน 1,700,000 บาท ก็เป็นการจดทะเบียน เปลี่ยนแปลงจำนวนหนี้อันจำนองเป็นประกันเพื่อให้ยกขึ้น เป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกได้ โดยจำเลยที่ 2 กระทำในฐานะ เป็นผู้มีส่วนได้เสีย คือเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 746 ยอมขึ้นเงินจำนอง ในทรัพย์สินซึ่งจำนองอีกเพียง 56,000 บาท หาทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 หรือลูกหนี้จำนอง โดยตรงในหนี้จำนองทั้งหมด แม้บันทึกขึ้นเงินจำนองครั้งที่สาม จะมีข้อความว่า เงื่อนไขและข้อตกลงอื่น ๆ ให้เป็นไปตาม หนังสือสัญญาจำนองเดิมทุกประการ ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2ต้องรับผิดในหนี้ที่ขาดจำนวน หากบังคับจำนองแล้วได้เงิน ไม่พอชำระหนี้ตามที่ระบุในบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนอง ที่จำเลยที่ 1 ผู้จำนองทำไว้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุด-ดอกเบี้ย: การคิดดอกเบี้ยหลังสัญญาสิ้นสุด และอัตราดอกเบี้ยที่ใช้
จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ในวงเงิน 1,000,000บาท เป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา แต่โจทก์ผู้ให้กู้จะเรียกร้องให้จำเลยผู้กู้ชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนเมื่อใดก็ได้ ตามแต่ผู้ให้กู้จะเห็นสมควร หลังจากทำสัญญาแล้วมีการเพิ่มและลดวงเงินหลายครั้ง รวมวงเงินที่อนุมัติ 3,000,000 บาท กำหนดหักทอนบัญชีทุกวันสิ้นเดือน แม้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์จำเลยจะไม่มีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดใช้บังคับได้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาก็ตาม แต่เมื่อมีการหักทอนบัญชีกันในวันที่31 กรกฎาคม 2537 แล้ว วงเงินค้างชำระเกิน 3,000,000 บาท โจทก์จึงได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ หลังจากนั้นจำเลยไม่ได้เบิกเงินจากบัญชีอีกเลย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าคู่สัญญาประสงค์ให้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงในวันที่ 31 กรกฎาคม 2537 นั่นเอง แม้หลังจากนั้นจำเลยจะนำเงินเข้าบัญชีอีก 2 ครั้งก็เป็นการชำระหนี้ที่ค้างอยู่ มิได้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันตามปรกติอีก โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยได้เพียงวันที่ 31 กรกฎาคม 2537 เท่านั้น และหากในขณะสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลง โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราใด หลังจากเลิกสัญญาแล้วโจทก์ก็มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยได้ในอัตราดังกล่าวแบบไม่ทบต้นจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้นเท่านั้น เพราะเป็นกรณีที่ถือว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาแต่ต้น โจทก์จะคิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดที่พึงเรียกเก็บตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเมื่อใด และการคิดดอกเบี้ยหลังเลิกสัญญา
จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ในวงเงิน1,000,000 บาท เป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา แต่โจทก์ผู้ให้กู้จะเรียกร้องให้จำเลยผู้กู้ชำระหนี้ทั้งหมด หรือบางส่วนเมื่อใดก็ได้ ตามแต่ผู้ให้กู้จะเห็นสมควร หลังจาก ทำสัญญาแล้วมีการเพิ่มและลดวงเงินหลายครั้ง รวมวงเงิน ที่อนุมัติ 3,000,000 บาท กำหนดหักทอนบัญชีทุกวันสิ้นเดือนแม้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์จำเลยจะไม่มี กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดใช้บังคับได้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาก็ตาม แต่เมื่อมีการหักทอนบัญชีกันในวันที่ 31 กรกฎาคม 2537แล้ว วงเงินค้างชำระเกิน 3,000,000 บาท โจทก์จึงได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ หลังจากนั้นจำเลยไม่ได้เบิกเงินจากบัญชีอีกเลย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าคู่สัญญาประสงค์ให้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงในวันที่ 31 กรกฎาคม 2537 นั่นเอง แม้หลังจากนั้นจำเลยจะนำเงินเข้าบัญชีอีก 2 ครั้ง ก็เป็นการชำระหนี้ที่ค้างอยู่ มิได้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันตามปรกติ อีกโจทก์จึงคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยได้เพียงวันที่ 31กรกฎาคม 2537 เท่านั้น และหากในขณะสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลง โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราใด หลังจากเลิกสัญญาแล้วโจทก์ก็มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยได้ในอัตราดังกล่าวแบบไม่ทบต้นจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้นเท่านั้น เพราะเป็นกรณีที่ถือว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาแต่ต้นโจทก์จะคิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดที่พึงเรียกเก็บตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7377/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบัญชีเดินสะพัด: การสิ้นสุดสัญญา, อายุความ, และดอกเบี้ย
สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์และจำเลย ไม่ได้ตกลงกันเกี่ยวกับหนี้เบิกเงินเกินบัญชีว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้นเมื่อใด สัญญาบัญชีเดินสะพัดดังกล่าวจะสิ้นสุดลงก็ต่อเมื่อคู่สัญญาตกลงเลิกสัญญาต่อกันหรือเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเรียกร้องให้หักทอนบัญชีและให้ชำระหนี้ต่อกันแล้ว
การที่จำเลยนำเงินเข้าหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 20มกราคม 2525 และหยุดเดินสะพัดบัญชีกับโจทก์ภายหลังจากวันที่ 16 เมษายน 2525โดยมิได้ขอปิดบัญชีต่อโจทก์ ไม่ถือว่าเป็นการแสดงเจตนาเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดดังกล่าว ส่วนการที่โจทก์ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คก็มิใช่เป็นการแสดงเจตนาเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดกับจำเลยโดยปริยาย แม้เมื่อจำเลยหยุดเดินสะพัดทางบัญชีโดยไม่ติดต่อกับโจทก์และโจทก์เขียนข้อความในบัญชีเดินสะพัดว่า บัญชีเงินกู้เกินกำหนดชำระเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2527 ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ทำขึ้นฝ่ายเดียว หาใช่การแสดงเจตนาหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินที่คงเหลือไม่ จึงไม่มีผลเป็นการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยปริยาย และภายหลังวันที่ 30 มีนาคม 2527สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์และจำเลยก็ยังคงมีอยู่ตลอดไปหาได้ยกเลิกหรือสิ้นสุดลงไม่ แม้จำเลยจะมิได้นำเงินเข้าฝากหรือเบิกเงินจากโจทก์อีกโจทก์ก็มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่มีการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดหรือหักทอนบัญชีและมีการผิดนัดชำระแล้ว หลังจากนั้นโจทก์ก็ยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยโดยไม่ทบต้นได้อีก
ดังนั้นเมื่อโจทก์เพิ่งบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดส่งไปถึงจำเลยเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2537 และเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ที่ค้างชำระแก่โจทก์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถามดังกล่าว จึงถือได้ว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์และจำเลยเลิกและหักทอนบัญชีกันเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม2537 แต่อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีต่อจำเลยจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาชำระหนี้ที่ระบุไว้ในหนังสือดังกล่าว คือเริ่มนับแต่วันที่ 15 กันยายน2537 เป็นต้นไป ซึ่งการฟ้องคดีเกี่ยวกับหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะเป็นอย่างอื่นจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา193/30 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2537 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
การที่จำเลยนำเงินเข้าหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 20มกราคม 2525 และหยุดเดินสะพัดบัญชีกับโจทก์ภายหลังจากวันที่ 16 เมษายน 2525โดยมิได้ขอปิดบัญชีต่อโจทก์ ไม่ถือว่าเป็นการแสดงเจตนาเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดดังกล่าว ส่วนการที่โจทก์ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คก็มิใช่เป็นการแสดงเจตนาเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดกับจำเลยโดยปริยาย แม้เมื่อจำเลยหยุดเดินสะพัดทางบัญชีโดยไม่ติดต่อกับโจทก์และโจทก์เขียนข้อความในบัญชีเดินสะพัดว่า บัญชีเงินกู้เกินกำหนดชำระเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2527 ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ทำขึ้นฝ่ายเดียว หาใช่การแสดงเจตนาหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินที่คงเหลือไม่ จึงไม่มีผลเป็นการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยปริยาย และภายหลังวันที่ 30 มีนาคม 2527สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์และจำเลยก็ยังคงมีอยู่ตลอดไปหาได้ยกเลิกหรือสิ้นสุดลงไม่ แม้จำเลยจะมิได้นำเงินเข้าฝากหรือเบิกเงินจากโจทก์อีกโจทก์ก็มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่มีการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดหรือหักทอนบัญชีและมีการผิดนัดชำระแล้ว หลังจากนั้นโจทก์ก็ยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยโดยไม่ทบต้นได้อีก
ดังนั้นเมื่อโจทก์เพิ่งบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดส่งไปถึงจำเลยเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2537 และเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ที่ค้างชำระแก่โจทก์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถามดังกล่าว จึงถือได้ว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์และจำเลยเลิกและหักทอนบัญชีกันเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม2537 แต่อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีต่อจำเลยจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาชำระหนี้ที่ระบุไว้ในหนังสือดังกล่าว คือเริ่มนับแต่วันที่ 15 กันยายน2537 เป็นต้นไป ซึ่งการฟ้องคดีเกี่ยวกับหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะเป็นอย่างอื่นจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา193/30 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2537 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6668/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีเก็บของในคลังสินค้า: เริ่มนับเมื่อสัญญาสิ้นสุด ไม่ใช่นับจากวันขนย้ายสินค้า
บริษัท ท.ผู้ฝากของในคลังสินค้าได้สลักหลังใบรับของคลังสินค้าโอนกรรมสิทธิ์สินค้าที่โจทก์รับฝากไว้ไปเป็นของจำเลย และจำเลยแจ้งให้โจทก์ทราบโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว จำเลยจึงเป็นผู้สวมสิทธิบริษัท ท.ผู้ฝาก เมื่อใบประทวนสินค้าไม่ได้กำหนดเวลาฝากสินค้าว่าสิ้นสุดลงเมื่อใด ตาม ป.พ.พ.มาตรา 774 โจทก์ในฐานะนายคลังสินค้าจะเรียกให้จำเลยผู้สวมสิทธิของบริษัท ท.ผู้ฝาก ถอนสินค้าได้ต่อเมื่อบอกกล่าวให้จำเลยทราบล่วงหน้า 1 เดือน โจทก์มีหนังสือลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์2536 ถึงจำเลยแจ้งว่า อายุของการฝากสินค้าได้สิ้นสุดลงแล้ว ให้จำเลยชำระค่าฝากสินค้าและขนย้ายสินค้าออกจากคลังสินค้าของโจทก์ ดังนั้น สัญญาย่อมสิ้นสุดตั้งแต่วันครบ1 เดือน คือวันที่ 18 มีนาคม 2536 และโจทก์จึงต้องฟ้องคดีภายในอายุความตามกฎหมายนับแต่วันที่สิ้นสุดของสัญญาดังกล่าว มิใช่เริ่มนับอายุความนับแต่วันที่มีการขนย้ายสินค้าออกจากคลังสินค้า
กฎหมายลักษณะเก็บของในคลังสินค้าไม่ได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ และตามมาตรา 771 ซึ่งเป็นบทเบ็ดเสร็จทั่วไปของลักษณะเก็บของในคลังสินค้าบัญญัติให้นำบทบัญญัติว่าด้วยฝากทรัพย์มาใช้บังคับแก่การเก็บของในคลังสินค้าด้วยเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับบทบัญญัติในลักษณะเก็บของในคลังสินค้า จึงต้องนำบทบัญญัติมาตรา671 มาใช้บังคับในคดีนี้โดยอนุโลม โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 14 มิถุนายน 2538 จึงพ้นกำหนด 6 เดือน แล้ว คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ
กฎหมายลักษณะเก็บของในคลังสินค้าไม่ได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ และตามมาตรา 771 ซึ่งเป็นบทเบ็ดเสร็จทั่วไปของลักษณะเก็บของในคลังสินค้าบัญญัติให้นำบทบัญญัติว่าด้วยฝากทรัพย์มาใช้บังคับแก่การเก็บของในคลังสินค้าด้วยเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับบทบัญญัติในลักษณะเก็บของในคลังสินค้า จึงต้องนำบทบัญญัติมาตรา671 มาใช้บังคับในคดีนี้โดยอนุโลม โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 14 มิถุนายน 2538 จึงพ้นกำหนด 6 เดือน แล้ว คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6658/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและผลต่อการคิดดอกเบี้ย
สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์และจำเลยรวมอยู่ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี มีกำหนดเวลา 12 เดือน เมื่อครบกำหนดเวลาแล้วมีการต่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีออกไปอีก 12 เดือน ครบกำหนดในวันที่ 6 สิงหาคม 2535 แล้วหลังจากนั้นไม่มีการต่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีออกไปอีก และจำเลยก็ไม่ได้เบิกและถอนเงินออกจากบัญชีอีก เพียงแต่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์รวม4 ครั้ง เท่านั้น ดังนี้ สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งรวมอยู่ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจึงสิ้นสุดลงในวันที่ 6 สิงหาคม 2535 หลังจากวันที่ 6 สิงหาคม 2535โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น คงคิดดอกเบี้ยได้ตามธรรมดาโดยไม่ทบต้นเท่านั้น และดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิคิดจากจำเลยต้องเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ใช้อยู่ในขณะนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6658/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเมื่อใด, ดอกเบี้ยทบต้น, และการหักกลบลบหนี้
สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์และจำเลยรวมอยู่ ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี มีกำหนดเวลา 12 เดือนเมื่อครบกำหนดเวลาแล้วมีการต่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีออกไป อีก 12 เดือน ครบกำหนดในวันที่ 6 สิงหาคม 2535แล้วหลังจากนั้นไม่มีการต่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ออกไปอีกและจำเลยก็ไม่ได้เบิกและถอนเงินออกจากบัญชีอีกเพียงแต่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์รวม4 ครั้ง เท่านั้น ดังนี้ สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งรวมอยู่ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจึงสิ้นสุดลงในวันที่6 สิงหาคม 2535 หลังจากวันที่ 6 สิงหาคม 2535 โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น คงคิดดอกเบี้ยได้ตามธรรมดา โดยไม่ทบต้นเท่านั้น และดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิ คิดจากจำเลยต้องเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ใช้อยู่ในขณะนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6581/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดสัญญาเดินสะพัด – การคิดดอกเบี้ย – วันหักบัญชีครั้งสุดท้าย
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่โจทก์และจำเลยทำต่อกันเป็นแบบไม่มีกำหนดระยะเวลา วงเงินไม่เกิน 4,000,000 บาทจำเลยใช้เช็คเบิกถอนเงินจากบัญชีครั้งสุดท้ายวันที่ 9 มกราคม 2539 จำนวน 509,000 บาท แล้วจำเลยได้นำเงินฝากเข้าบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2539 จำนวน 30,000 บาท หักทอนบัญชีแล้วมียอดหนี้ 4,070,147.21 บาท หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกถอนเงินจาก บัญชีอีก คงมีแต่รายการหนี้ค่าธรรมเนียมเช็คคืนและดอกเบี้ยที่โจทก์คิดทบต้นทุกเดือนจนถึงวันที่โจทก์บอกเลิกสัญญาเท่านั้นการที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คถอนเงินออกจากบัญชี แล้วโจทก์ไม่ยอมจ่ายเงินและคิดค่าธรรมเนียมเช็คคืนเมื่อวันที่ 22มกราคม 2539 แสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยเดินสะพัดทางบัญชีต่อไปและโจทก์หักทอนบัญชีในวันที่ 31 มกราคม 2539 ถือว่าเป็นการคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่ไม่มี การเดินสะพัดทางบัญชีต่อกัน พฤติการณ์ของโจทก์และจำเลยดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่ มีต่อกันเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่ 31 มกราคม 2539 ซึ่งเป็น วันคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้าย หลังจากนั้นโจทก์ไม่มีสิทธิ คิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 654/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสัญญาจ้างว่าความ การถอนทนาย และการประวิงคดี: ศาลต้องแจ้งการถอนทนายให้จำเลยทราบ
การจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของซึ่งตามกฎหมายเรื่องจ้างทำของมิได้กำหนดวิธีการเกี่ยวกับการที่ผู้รับจ้าง จะบอกเลิกสัญญาได้ ทั้งไม่ปรากฏข้อสัญญาระหว่าง พ. ทนายความกับจำเลยว่าจะเลิกสัญญากันอย่างไร จึงต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386 คือต้องแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อปรากฏว่า พ. ยังมิได้แสดงเจตนาแก่จำเลยสัญญาจ้างว่าความระหว่าง พ. และจำเลยจึงไม่สิ้นสุดลง การที่ศาลชั้นต้นจะแจ้งการถอนตัวของทนายให้จำเลยทราบ ตามกฎหมายก็เฉพาะกรณีศาลชั้นต้นอนุญาตให้ทนายถอนตัวและจำเลยยังไม่ทราบเรื่อง เมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้อนุญาตให้ พ.ถอนตัวจากการเป็นทนาย จึงไม่ใช่กรณีต้องแจ้งให้จำเลยทราบ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีมาสองนัดแล้ว นัดแรกให้เลื่อนคดีเพราะทนายจำเลยป่วย ครั้งที่สองให้เลื่อนคดี เพราะไม่มีพยานจำเลยมาศาล ในครั้งนี้ทนายมายื่นคำร้องขอถอนตัว โดยจำเลยเองก็มิได้มาศาลทั้งที่เป็นวันนัดที่จำเลยต้องเบิกความและจำเลยก็มิได้มีพยานปากอื่นมาศาล พฤติการณ์การกระทำของจำเลยและทนายเห็นได้ชัดว่ามุ่งประวิงคดี จำเลยจะอ้างว่าทรายจำเลยไม่แจ้งให้จำเลยทราบและจำเลยเป็นคนบ้านนอกมาเป็นเหตุประวิงคดีไม่ได้ ที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและฟังว่าจำเลยจงใจประวิงคดีจึงชอบแล้ว