พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3441/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการสิ้นสุดสิทธิครอบครอง: การกระทำไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก
คดีอาญาที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนถ้าข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ฟังมายังไม่พอแก่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยศาลฎีกาวินิจฉัยข้อเท็จจริงเพิ่มเติมได้ โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็นของผู้เสียหาย จำเลยเข้าไปปลูกมันสำปะหลังในที่พิพาทตามฤดูกาล ได้เวลาแล้วก็ถอนไป มีการเก็บเกี่ยวและเข้าไปในที่พิพาทใหม่ทุกปี การเข้าไปไถที่พิพาทของจำเลยเป็นการเข้าไปโดยไม่มีข้ออ้างได้ตามกฎหมายก็ตามแต่การที่จำเลยบุกรุกเข้าไปไถและปลูกมันสำปะหลังในที่พิพาทเป็นการแย่งการครอบครองที่พิพาทของผู้เสียหาย เมื่อผู้เสียหายมิได้ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปีผู้เสียหายก็หมดสิทธิฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาท สิทธิครอบครองในที่พิพาทของผู้เสียหายย่อมสิ้นสุดลง ดังนั้น การที่จำเลยเข้าไปไถและปลูกมันสำปะหลังในที่พิพาท จึงเป็นการเข้าไปไถและปลูกมันสำปะหลังในขณะที่สิทธิครอบครองในที่พิพาทของผู้เสียหายสิ้นสุดลงแล้ว การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก
แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็นของผู้เสียหาย จำเลยเข้าไปปลูกมันสำปะหลังในที่พิพาทตามฤดูกาล ได้เวลาแล้วก็ถอนไป มีการเก็บเกี่ยวและเข้าไปในที่พิพาทใหม่ทุกปี การเข้าไปไถที่พิพาทของจำเลยเป็นการเข้าไปโดยไม่มีข้ออ้างได้ตามกฎหมายก็ตามแต่การที่จำเลยบุกรุกเข้าไปไถและปลูกมันสำปะหลังในที่พิพาทเป็นการแย่งการครอบครองที่พิพาทของผู้เสียหาย เมื่อผู้เสียหายมิได้ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปีผู้เสียหายก็หมดสิทธิฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาท สิทธิครอบครองในที่พิพาทของผู้เสียหายย่อมสิ้นสุดลง ดังนั้น การที่จำเลยเข้าไปไถและปลูกมันสำปะหลังในที่พิพาท จึงเป็นการเข้าไปไถและปลูกมันสำปะหลังในขณะที่สิทธิครอบครองในที่พิพาทของผู้เสียหายสิ้นสุดลงแล้ว การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 219/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ภาษีจำกัดเฉพาะเบี้ยปรับ ไม่อุทธรณ์หน้าที่เสียภาษี ถือเป็นการยอมรับการประเมิน สิทธิในการโต้แย้งเรื่องภาษีสิ้นสุด
โจทก์อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เพียงให้งดหรือลดหย่อนเบี้ยปรับโดยอ้างว่ามิได้มีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีโดยมิได้คัดค้านการประเมินว่า โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าหรือการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด ดังนี้ปัญหาที่ว่าโจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าได้ยุติไปแล้ว โจทก์จะรื้อฟื้นขึ้นอุทธรณ์ต่อศาลขอให้สั่งเพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2954/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสิทธิครอบครองที่ดินเนื่องจากขาดการครอบครองต่อเนื่องและการเข้าครอบครองของผู้อื่น
ที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า โจทก์ไม่ได้เข้ายึดถือครอบครองที่พิพาทตั้งแต่ระหว่างปี พ.ศ. 2506 - 2507 ถึงปัจจุบัน และฝ่ายจำเลยบางคนเข้าไปยึดถือครอบครองปลูกผักมา 8 - 9 ปีแล้ว เช่นนี้ การครอบครองของโจทก์ย่อมสิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1377 วรรคแรก โจทก์จึงไม่ใช่เจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาท ไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ การที่โจทก์ยอมออกจากที่พิพาทโดยเชื่อคำบอกล่าวของเจ้าพนักงานว่าเป็นที่สาธารณะตั้งแต่ก่อนฟ้องคดีนี้เป็นเวลาถึง 10 ปีเศษ ถือไม่ได้ว่ามีเหตุอันมีสภาพเป็นเหตุชั่วคราวมาขัดขวางการครอบครองยึดถือทรัพย์สินของโจทก์ ตามมาตรา 1377 วรรคสอง ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่า กรณีนี้ต้องนำกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จมาใช้บังคับนั้น โจทก์มิได้ตั้งประเด็นมาให้คำฟ้องว่าที่พิพาทเป็นที่บ้าน ที่สวนตามกฎหมายดังกล่าว กรณีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยถึงว่าที่พิพาทเป็นที่บ้านที่สวนอันจะอยู่ในบังคับของกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2331/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาของผู้จัดการแทนผู้เสียหาย การสิ้นสุดสิทธิเรียกร้องเมื่อผู้จัดการแทนตาย
เรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
ในกรณีที่บิดาผู้เสียหายได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในความผิดฐานฆ่าผู้เสียหายถึงแก่ความตายโดยเจตนา ในฐานะผู้จัดการแทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2) นั้น เมื่อบิดาผู้เสียหายตายลงระหว่างพิจารณา ผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรของบิดาผู้เสียหาย (พี่ชายผู้เสียหาย) หามีสิทธิดำเนินคดีต่างบิดาผู้เสียหายต่อไปตามความหมายของบทบัญญัติมาตรา 29 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ เพราะบิดาผู้เสียหายเป็นผู้จัดการแทนผู้เสียหาย ซึ่งถูกทำร้ายถึงตายเท่านั้น
ในกรณีที่บิดาผู้เสียหายได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในความผิดฐานฆ่าผู้เสียหายถึงแก่ความตายโดยเจตนา ในฐานะผู้จัดการแทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2) นั้น เมื่อบิดาผู้เสียหายตายลงระหว่างพิจารณา ผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรของบิดาผู้เสียหาย (พี่ชายผู้เสียหาย) หามีสิทธิดำเนินคดีต่างบิดาผู้เสียหายต่อไปตามความหมายของบทบัญญัติมาตรา 29 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ เพราะบิดาผู้เสียหายเป็นผู้จัดการแทนผู้เสียหาย ซึ่งถูกทำร้ายถึงตายเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1915/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาในคดีแพ่งอาญาเกี่ยวเนื่อง การสิ้นสุดสิทธิฎีกาเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นว่าคดีมีมูล
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้องคดีส่วนอาญา และมีคำสั่งไม่รับฟ้องคดีส่วนแพ่ง ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ประทับฟ้องโจทก์รวมทั้งคดีส่วนแพ่งไว้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ดังนี้ คำสั่งศาลที่ให้คดีมีมูลย่อมถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 170 จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาในส่วนอาญา แต่มีสิทธิฎีกาสำหรับคดีส่วนแพ่งได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1441-1444/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสิทธิครอบครองที่ดินเมื่อเจ้าของเดิมไม่เกี่ยวข้องอีกต่อไป และการครอบครองของผู้อื่นเกิน 1 ปี
ตามฟ้องโจทก์อ้างว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดิน แต่ทางพิจารณาได้ความว่าที่พิพาทเป็นของกรมประชาสงเคราะห์ แม้จะฟังว่าในชั้นแรกโจทก์เป็นผู้ยึดถือที่พิพาทโดยเสียค่าตอบแทนให้ ท.แล้วปลูกห้องแถวขึ้นก็ตาม แต่ปรากฏว่าหลังจากที่ ถ.ซื้อห้องแถวดังกล่าวได้แล้ว ได้ขายต่อให้กับบุคคลอื่น และมีการโอนต่อมาจนกระทั่งถึงจำเลยซึ่งได้เข้าครอบครองติดต่อกันมา โดยมิได้มีการรื้อถอนแต่อย่างใด เป็นเวลาเกินกว่า 1 ปีแล้ว โจทก์มิได้เข้าเกี่ยวข้องกับที่พิพาทเลย แสดงว่าโจทก์มิได้ยึดถือที่พิพาทต่อไปแล้ว ทั้งโจทก์มิได้มอบให้ผู้ใดยึดถือที่พิพาทแทน การครอบครองของโจทก์ย่อมสุดสิ้นลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1377 วรรคแรก โจทก์มิใช่เจ้าของที่ดินและไม่มีสิทธิครอบครอง จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2748-2749/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดหนี้ค่าฝากทรัพย์-การคิดค่าฝาก-การบังคับตามคำพิพากษา-การสิ้นสุดสิทธิ
จำเลยสั่งสินค้าจากต่างประเทศนำเข้ามาโดยทางเรือและขนถ่ายขึ้นที่ท่าเรือของโจทก์ แล้วฝากเก็บสินค้านั้นไว้ที่โรงพักสินค้าของโจทก์จำเลยย่อมมีความผูกพันตามสัญญาฝากทรัพย์ที่จะต้องชำระบำเหน็จค่าฝากให้โจทก์ แม้โจทก์จะเก็บรักษาทรัพย์ของจำเลยไม่ดีจนเป็นเหตุให้ทรัพย์นั้นเสื่อมเสียไปบ้าง ก็ไม่ทำให้สิทธิที่จะได้รับบำเหน็จค่าฝากของโจทก์ต้องสูญสิ้นไป ความเสียหายอันเกิดจากการเก็บรักษาทรัพย์ที่ฝากไว้ไม่ดีอย่างไรเป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวเรียกร้องเอาแก่กันอีกส่วนหนึ่ง
การท่าเรือแห่งประเทศไทยโจทก์เป็นองค์การประกอบกิจการท่าเรือเพื่อประโยชน์แห่งรัฐและประชาชน มีบทกฎหมายพิเศษที่ก่อตั้งและรับรองโจทก์ ให้โจทก์มีอำนาจกำหนดอัตราค่าภาระการใช้ท่าเรือซึ่งรวมทั้งค่าฝากทรัพย์ที่เก็บไว้ที่ท่าเรือนั้นด้วย ผู้ใดมาใช้บริการเอาทรัพย์ฝากเก็บไว้ที่ท่าเรือ สัญญาฝากทรัพย์ระหว่างโจทก์กับผู้นั้นก็เกิดขึ้นโดยไม่ต้องตกลงกันในเรื่องบำเหน็จค่าฝากดังเช่นกรณีของบุคคลธรรมดา เพราะเท่ากับคู่สัญญาได้ตกลงกันในตัวให้ถือตามอัตราที่โจทก์กำหนดแม้ภายหลังจากโจทก์รับฝากทรัพย์ของจำเลยไว้แล้ว โจทก์จะกำหนดอัตราค่าฝากทรัพย์ขึ้นใหม่สูงขึ้นกว่าเดิม ก็ถือได้ว่าอัตราค่าฝากใหม่นั้นเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในข้อตกลงเดิมในสัญญาฝากทรัพย์ระหว่างโจทก์จำเลยทั้งจำเลยก็รู้อยู่แล้วว่าโจทก์ขึ้นราคาค่าฝาก แต่ไม่ขนทรัพย์ออกไปคงฝากไว้กับโจทก์อยู่เรื่อยมา จึงถือได้ว่าจำเลยตกลงยอมเสียค่าบำเหน็จค่าฝากให้โจทก์ตามอัตราใหม่ แม้จำนวนบำเหน็จค่าฝากจะท่วมราคาทรัพย์ที่ฝากมากก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้แก่โจทก์
จำเลยให้การต่อสู้ว่า หากจำเลยต้องรับผิดใช้เงินให้โจทก์ก็ขอหักกลบลบหนี้กันค่าเสียหายที่โจทก์เก็บรักษาทรัพย์ของจำเลยไม่ดีโดยจำเลยมิได้ฟ้องแย้ง ค่าเสียหายที่จำเลยกล่าวอ้างนี้ โจทก์นำสืบปฏิเสธว่าทรัพย์ของจำเลยไม่เสียหาย จึงเป็นหนี้ที่ยังมีข้อต่อสู้อยู่ จำเลยจะขอหักกลบลบหนี้กับโจทก์หาได้ไม่
ทรัพย์ที่ฝากย่อมจะถูกยึดหน่วงเอาไว้ได้จนกว่าจะได้รับชำระค่าฝาก แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้จำเลยนำสินค้าของจำเลยออกไปจากโรงพักสินค้าของโจทก์ตามที่โจทก์ฟ้อง และจำเลยได้จัดการปฏิบัติตามคำพิพากษานั้นแล้ว โจทก์ก็ยังมีสิทธิยึดหน่วงสินค้านั้นไว้ได้จนกว่าจะได้รับชำระบำเหน็จค่าฝาก แต่ต้องถือว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาในส่วนที่บังคับให้จำเลยนำสินค้าออกไปแล้ว แม้สินค้าจะยังอยู่ในโรงพักสินค้าของโจทก์ต่อมาก็เป็นเรื่องโจทก์ใช้สิทธิยึดถือเอาไว้เองตามสิทธิยึดหน่วงของโจทก์มิใช่จำเลยฝ่าฝืนไม่นำออกไป การคิดบำเหน็จค่าฝากทรัพย์จากจำเลยตามคำพิพากษาจึงต้องยุติลงในวันที่จำเลยไปขอขนสินค้าออกแล้วโจทก์ไม่ยอมให้ขน
การท่าเรือแห่งประเทศไทยโจทก์เป็นองค์การประกอบกิจการท่าเรือเพื่อประโยชน์แห่งรัฐและประชาชน มีบทกฎหมายพิเศษที่ก่อตั้งและรับรองโจทก์ ให้โจทก์มีอำนาจกำหนดอัตราค่าภาระการใช้ท่าเรือซึ่งรวมทั้งค่าฝากทรัพย์ที่เก็บไว้ที่ท่าเรือนั้นด้วย ผู้ใดมาใช้บริการเอาทรัพย์ฝากเก็บไว้ที่ท่าเรือ สัญญาฝากทรัพย์ระหว่างโจทก์กับผู้นั้นก็เกิดขึ้นโดยไม่ต้องตกลงกันในเรื่องบำเหน็จค่าฝากดังเช่นกรณีของบุคคลธรรมดา เพราะเท่ากับคู่สัญญาได้ตกลงกันในตัวให้ถือตามอัตราที่โจทก์กำหนดแม้ภายหลังจากโจทก์รับฝากทรัพย์ของจำเลยไว้แล้ว โจทก์จะกำหนดอัตราค่าฝากทรัพย์ขึ้นใหม่สูงขึ้นกว่าเดิม ก็ถือได้ว่าอัตราค่าฝากใหม่นั้นเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในข้อตกลงเดิมในสัญญาฝากทรัพย์ระหว่างโจทก์จำเลยทั้งจำเลยก็รู้อยู่แล้วว่าโจทก์ขึ้นราคาค่าฝาก แต่ไม่ขนทรัพย์ออกไปคงฝากไว้กับโจทก์อยู่เรื่อยมา จึงถือได้ว่าจำเลยตกลงยอมเสียค่าบำเหน็จค่าฝากให้โจทก์ตามอัตราใหม่ แม้จำนวนบำเหน็จค่าฝากจะท่วมราคาทรัพย์ที่ฝากมากก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้แก่โจทก์
จำเลยให้การต่อสู้ว่า หากจำเลยต้องรับผิดใช้เงินให้โจทก์ก็ขอหักกลบลบหนี้กันค่าเสียหายที่โจทก์เก็บรักษาทรัพย์ของจำเลยไม่ดีโดยจำเลยมิได้ฟ้องแย้ง ค่าเสียหายที่จำเลยกล่าวอ้างนี้ โจทก์นำสืบปฏิเสธว่าทรัพย์ของจำเลยไม่เสียหาย จึงเป็นหนี้ที่ยังมีข้อต่อสู้อยู่ จำเลยจะขอหักกลบลบหนี้กับโจทก์หาได้ไม่
ทรัพย์ที่ฝากย่อมจะถูกยึดหน่วงเอาไว้ได้จนกว่าจะได้รับชำระค่าฝาก แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้จำเลยนำสินค้าของจำเลยออกไปจากโรงพักสินค้าของโจทก์ตามที่โจทก์ฟ้อง และจำเลยได้จัดการปฏิบัติตามคำพิพากษานั้นแล้ว โจทก์ก็ยังมีสิทธิยึดหน่วงสินค้านั้นไว้ได้จนกว่าจะได้รับชำระบำเหน็จค่าฝาก แต่ต้องถือว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาในส่วนที่บังคับให้จำเลยนำสินค้าออกไปแล้ว แม้สินค้าจะยังอยู่ในโรงพักสินค้าของโจทก์ต่อมาก็เป็นเรื่องโจทก์ใช้สิทธิยึดถือเอาไว้เองตามสิทธิยึดหน่วงของโจทก์มิใช่จำเลยฝ่าฝืนไม่นำออกไป การคิดบำเหน็จค่าฝากทรัพย์จากจำเลยตามคำพิพากษาจึงต้องยุติลงในวันที่จำเลยไปขอขนสินค้าออกแล้วโจทก์ไม่ยอมให้ขน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 240/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสิทธิเช่าและการพิพากษาที่ไม่สมบูรณ์ ศาลฎีกาเห็นว่าต้องฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อพิพากษาคดีให้ถูกต้อง
โจทก์มิได้รับข้อเท็จจริงที่จำเลยอ้างว่า ล. ผิดสัญญากับจำเลยร่วมโดยทำการก่อสร้างไม่เสร็จตามสัญญา จำเลยร่วมจึงได้บอกเลิกสัญญาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงไม่พอแก่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย
โจทก์เช่าตึกพิพาทจาก ล. โดยให้โจทก์มีสิทธิให้เช่าช่วงได้จำเลยเช่าช่วงตึกแถวจากโจทก์ จำเลยค้างชำระค่าเช่า โจทก์จึงฟ้องขับไล่และให้จำเลยชำระค่าเช่า จำเลยให้การว่าตึกพิพาทเป็นของกระทรวงการคลังกระทรวงการคลังให้ ล. สร้างแล้วยกให้กระทรวงการคลัง กระทรวงการคลังให้ล. เช่า ล. ก่อสร้างไม่เสร็จตามสัญญา กระทรวงการคลังจึงบอกเลิกสัญญาล. จึงหมดสิทธิที่จะเช่าอาคารพิพาท ดังนี้ ไม่ใช่เรื่องที่บุคคลหลายคนเรียกร้องเอาอสังหาริมทรัพย์อันเดียวกันอาศัยมูลสัญญาเช่าต่างราย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 543
โจทก์เช่าตึกพิพาทจาก ล. โดยให้โจทก์มีสิทธิให้เช่าช่วงได้จำเลยเช่าช่วงตึกแถวจากโจทก์ จำเลยค้างชำระค่าเช่า โจทก์จึงฟ้องขับไล่และให้จำเลยชำระค่าเช่า จำเลยให้การว่าตึกพิพาทเป็นของกระทรวงการคลังกระทรวงการคลังให้ ล. สร้างแล้วยกให้กระทรวงการคลัง กระทรวงการคลังให้ล. เช่า ล. ก่อสร้างไม่เสร็จตามสัญญา กระทรวงการคลังจึงบอกเลิกสัญญาล. จึงหมดสิทธิที่จะเช่าอาคารพิพาท ดังนี้ ไม่ใช่เรื่องที่บุคคลหลายคนเรียกร้องเอาอสังหาริมทรัพย์อันเดียวกันอาศัยมูลสัญญาเช่าต่างราย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 543
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 544/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบทรัพย์สินแทนการชำระหนี้สิ้นสุดสิทธิการครอบครองเดิม และไม่ต้องบอกกล่าวการเปลี่ยนแปลงลักษณะการครอบครอง
โจทก์ได้มอบนาให้จำเลยครอบครองแทนการชำระหนี้เงินกู้ดังนี้ การครอบครองของโจทก์ย่อมสิ้นสุดลงตามมาตรา 1377 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จำเลยจึงไม่จำต้องบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือครอบครองต่อโจทก์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1166-1168/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินราชพัศดุ: สิทธิของโจทก์สิ้นสุดเมื่อสัญญาเช่าที่ดินสิ้นสุด
ในฟ้องโจทก์ระบุไว้ชัดว่า ห้องพิพาทเป็นของโจทก์ ไม่ได้กล่าวอ้างถึงสิทธิอื่น เป็นการยืนยันว่ามีอำนาจให้เช่าเพราะโจทก์เป็นเจ้าของแต่อย่างเดียวจำเลย จึงชอบที่จะยกข้อที่ว่าห้องพิพาทตกเป็นของราชพัศดุแล้ว ไม่ใช่ของโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจให้เช่าขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้
ว.เช่าที่ดินราชพัศดุมาเพื่อปลูกสร้างอาคารให้เช่า โดยมีข้อตกลงในสัญญาว่า เมื่อสัญญาสิ้นกำหนดแล้ว บรรดาสิ่งปลูกสร้างตกเป็นของรัฐบาลทั้งสิ้น โจทก์เช่าช่วงที่ดินที่ ว.เช่ามาจากทางราชการนั้นอีกต่อหนึ่งแล้วปลูกสร้างห้องพิพาทขึ้นให้จำเลยเช่า สัญญาเช่าที่ดินราชพัศดุระหว่าง ว.กับทางราชการสิ้นกำหนดในวันที่ 31 ธันวาคม 2506 โจทก์ทราบถึงข้อตกลงสัญญาระหว่าง ว.กับทางราชการดี และรู้ล่วงหน้าตามข้อสัญญาแล้วว่าโจทก์จะมีอำนาจให้เช่าได้ภายในกำหนดเวลาเพียงเท่าที่ ว.จะพึงมีตามสัญญาเช่าจากทางราชการ และอาคารที่ ว.ปลูกสร้างลงในที่พิพาทจะตกเป็นของราชพัศดุเมื่อสิ้นกำหนดสัญญาเช่าด้วย ดังนี้ แม้โจทก์จะเป็นผู้ปลูกสร้างห้องพิพาทก็ตาม ก็ปลูกโดยสวมสิทธิ ว. ต้องอยู่ในบังคับแห่งสัญญาระหว่าง ว. กับทางราชการด้วย เมื่อสัญญาเช่าที่ดินระหว่าง ว. กับทางราชการสิ้นกำหนด และทางราชการได้บอกเลิกสัญญาเช่าแล้ว กรรมสิทธิ์ในห้องพิพาทก็ตกเป็นของราชพัศดุตามสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2507 ว. หมดสิทธิในที่พิพาท กรรมสิทธิ์ในห้องพิพาทและอำนาจการให้เช่าของโจทก์ก็สิ้นสุดลงด้วย
โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 20-23/2509)
ว.เช่าที่ดินราชพัศดุมาเพื่อปลูกสร้างอาคารให้เช่า โดยมีข้อตกลงในสัญญาว่า เมื่อสัญญาสิ้นกำหนดแล้ว บรรดาสิ่งปลูกสร้างตกเป็นของรัฐบาลทั้งสิ้น โจทก์เช่าช่วงที่ดินที่ ว.เช่ามาจากทางราชการนั้นอีกต่อหนึ่งแล้วปลูกสร้างห้องพิพาทขึ้นให้จำเลยเช่า สัญญาเช่าที่ดินราชพัศดุระหว่าง ว.กับทางราชการสิ้นกำหนดในวันที่ 31 ธันวาคม 2506 โจทก์ทราบถึงข้อตกลงสัญญาระหว่าง ว.กับทางราชการดี และรู้ล่วงหน้าตามข้อสัญญาแล้วว่าโจทก์จะมีอำนาจให้เช่าได้ภายในกำหนดเวลาเพียงเท่าที่ ว.จะพึงมีตามสัญญาเช่าจากทางราชการ และอาคารที่ ว.ปลูกสร้างลงในที่พิพาทจะตกเป็นของราชพัศดุเมื่อสิ้นกำหนดสัญญาเช่าด้วย ดังนี้ แม้โจทก์จะเป็นผู้ปลูกสร้างห้องพิพาทก็ตาม ก็ปลูกโดยสวมสิทธิ ว. ต้องอยู่ในบังคับแห่งสัญญาระหว่าง ว. กับทางราชการด้วย เมื่อสัญญาเช่าที่ดินระหว่าง ว. กับทางราชการสิ้นกำหนด และทางราชการได้บอกเลิกสัญญาเช่าแล้ว กรรมสิทธิ์ในห้องพิพาทก็ตกเป็นของราชพัศดุตามสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2507 ว. หมดสิทธิในที่พิพาท กรรมสิทธิ์ในห้องพิพาทและอำนาจการให้เช่าของโจทก์ก็สิ้นสุดลงด้วย
โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 20-23/2509)