พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8459/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. สำเร็จการศึกษานอกระบบ
ผู้ที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ถือได้ว่าเป็นผู้ที่ได้เข้าเรียนอยู่ในสถาบันการศึกษาอื่นในประเทศตามกำหนดเวลามาโดยตลอดจนมีความรู้ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่าหรือรับรองว่าเทียบได้ไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายตามหลักสูตรของกระทรวง-ศึกษาธิการ จึงมีคุณสมบัติครบถ้วนตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพ.ศ.2522 มาตรา 19 (1) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิก-สภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2535 มาตรา 12
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6245/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตติชมด้วยความเป็นธรรม ไม่เป็นละเมิด แม้เป็นการวิพากษ์วิจารณ์การกระทำที่ไม่เหมาะสมของ ส.ส.
หนังสือพิมพ์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา ได้ลงพิมพ์ข้อความที่จำเลยที่ 3 เขียนคอลัมน์สรุปได้ความว่าซ่าส์มากกว่าแค้น ที่ตั้งรัฐสภาทั่วบริเวณถือว่าเป็นเขตพระราชฐาน ผู้ใดจะพกอาวุธไม่ได้ โจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ดื่มสุราจนเกือบครองสติไม่อยู่ใช้ฝ่ามือตบหน้าช.วุฒิสมาชิก3ฉาดในข้อหาฐานใช้ปากไม่สบอารมณ์ในการประชุมวุฒิสภาสมัยก่อน ในวันนั้นพิจารณากฎหมายเลือกตั้ง ช. ได้พูดจาประหนึ่งว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้นไม่มีความรู้ความสามารถอะไรอย่างดีก็แค่หมาน้อยเห่าเครื่องบิน เมื่อคดีฟังได้ว่าโจทก์ได้ตบหน้าช. จริงโดยได้กระทำในเขตพระราชฐานและโจทก์เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถือได้ว่าเป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทยไม่น่าจะก่อเหตุเช่นนั้น การที่จำเลยที่ 3 เขียนข้อความลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ดังกล่าว จึงเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2324/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้สมัคร ส.ส. ต้องมีฐานะเป็นผู้สมัคร ณ เวลาเกิดเหตุ
ตามคำฟ้องโจทก์เพิ่งสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2535 แต่เหตุคดีนี้เกิดเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2535 ดังนั้นขณะเกิดเหตุโจทก์จึงไม่มีฐานะเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งจึงไม่เป็นผู้เสียหายตามความในพ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มาตรา 93 จัตวา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2535มาตรา 22 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้
ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องคดีอาญาของโจทก์ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องคดีอาญาของโจทก์ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5990/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินประจำตำแหน่ง ส.ส. ไม่อยู่ในข่ายเงินเดือนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286(2) บังคับคดีได้
เงินประจำตำแหน่ง เงินค่ารับรองและเงินช่วยเหลือค่าที่พักของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมิใช่เงินเดือน ทั้งตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมิใช่ข้าราชการเงินทั้ง 3 ประเภทจึงไม่อยู่ในความหมายของเงินเดือนของข้าราชการหรือลูกจ้างของ รัฐบาล ตามป.วิ.พ. มาตรา 286(2) โจทก์ย่อมขอบังคับคดีได้ กรณีนี้ไม่มีกฎหมายให้อำนาจศาลกำหนดเงินจำนวนตามที่เห็นสมควร เพื่อมิให้ต้องรับผิดในการบังคับคดีดังเช่นกรณีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286 (1) (3) (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5990/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินประจำตำแหน่ง ส.ส. มิใช่เงินเดือน จึงบังคับคดีได้
เงินประจำตำแหน่ง เงินค่ารับรองและเงินช่วยเหลือค่าที่พักของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมิใช่เงินเดือน ทั้งตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมิใช่ข้าราชการเงินทั้ง 3 ประเภทจึงไม่อยู่ในความหมายของเงินเดือนของข้าราชการหรือลูกจ้างของ รัฐบาล ตามป.วิ.พ. มาตรา 286(2) โจทก์ย่อมขอบังคับคดีได้ กรณีนี้ไม่มีกฎหมายให้อำนาจศาลกำหนดเงินจำนวนตามที่เห็นสมควร เพื่อมิให้ต้องรับผิดในการบังคับคดีดังเช่นกรณีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286(1)(3)(4).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1346/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สมาชิกภาพ ส.ส. เกิดจากการเลือกตั้งโดยตรง ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอให้ศาลสั่งให้ตนเองได้รับเลือกแทน
ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มาตรา 89, 102 และพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 77 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 (ฉบับ ที่ 2) พ.ศ. 2529 มาตรา 6 แสดงว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรย่อมมีได้แต่โดยการเลือกตั้ง ดังนี้ แม้ตามคำร้องของผู้ร้องจะอ้างว่าผู้ได้รับเลือกตั้งได้รับเลือกตั้งโดยมิชอบอันเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 ผู้ร้องคงมีสิทธิเพียงยื่นคำร้องคัดค้านเพื่อให้เลือกตั้งใหม่เท่านั้น ไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ร้องเป็นผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนบุคคลอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1346/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการคัดค้านผลเลือกตั้ง ส.ส. และขอบเขตอำนาจการขอให้มีการประกาศผลใหม่
ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยอ้างว่า ผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นอันดับที่ 3 ได้รับเลือกตั้งโดยมิชอบ อันเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 51แห่ง พ.ร.บ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 ดังนี้ผู้ร้องคงมีสิทธิเพียงยื่นคำร้องคัดค้านเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว มาตรา 78 เท่านั้นผู้ร้องซึ่งได้รับคะแนนเลือกตั้งเป็นอันดับที่ 4 ไม่มีสิทธิร้องขอให้ผู้ร้องเป็นผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนผู้ได้รับคะแนนเลือกตั้งเป็นอันดับที่ 3 เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นเช่นนั้นได้ และตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มาตรา 89,102 และพ.ร.บ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 77แสดงว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรย่อมมีได้แต่โดยการเลือกตั้งเท่านั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1346/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลือกตั้ง ส.ส. สิทธิในการร้องคัดค้านผลการเลือกตั้งจำกัดเฉพาะการเลือกตั้งใหม่ ไม่สามารถเรียกร้องให้ตนเองเป็น ส.ส. แทนได้
ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2521 มาตรา 89,102 และพระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522มาตรา 77 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2529 มาตรา 6 แสดงว่าสมาชิกภาพของสภาผู้แทนราษฎรย่อมมีได้แต่โดยการเลือกตั้ง ดังนี้ แม้ตามคำร้องของผู้ร้องจะอ้างว่าผู้ได้รับเลือกตั้งได้รับเลือกตั้งโดยมิชอบอันเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 ผู้ร้องคงมีสิทธิเพียงยื่นคำร้องคัดค้านเพื่อให้เลือกตั้งใหม่เท่านั้นไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ร้องเป็นผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนบุคคลอื่นที่ถูกคัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1346/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สมาชิกภาพ ส.ส. ได้มาจากการเลือกตั้ง สิทธิผู้ร้องคัดค้านการเลือกตั้ง
ตาม บทบัญญัติของ รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521มาตรา 89102 และพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพ.ศ. 2522 มาตรา 77 ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522(ฉบับ ที่ 2) พ.ศ. 2529 มาตรา 6 แสดงว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรย่อมมีได้ แต่ โดย การเลือกตั้ง ดังนี้ แม้ตามคำร้อง ของ ผู้ร้องจะอ้างว่าผู้ได้รับเลือกตั้งได้รับ เลือกตั้งโดยมิชอบอันเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 ผู้ร้องคงมีสิทธิเพียงยื่นคำร้องคัดค้านเพื่อให้เลือกตั้งใหม่เท่านั้น ไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ร้องเป็นผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนบุคคลอื่น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6099/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. การแจ้งข้อมูลเท็จ และการรอการลงโทษ
ข้อหาความผิดที่โจทก์ฟ้อง มิใช่เป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อปรากฏว่าพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนแล้ว ผู้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีจะเป็นผู้ใดหามีความสำคัญไม่ พนักงานอัยการย่อมมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องคดีต่อศาลได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120
จำเลยกรอกใบสมัครเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่าจำเลยจบการศึกษาประโยคชั้นมัธยม ศึกษาตอนปลาย ความจริงแล้วจำเลยไม่ได้จบการศึกษาชั้นดังกล่าว อันเป็นการแจ้งข้อความเท็จแก่เจ้าพนักงานผู้รับสมัครเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 กับแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความเท็จลงในเอกสารราชการเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการหรือตามแผนการศึกษาของชาติใน ความหมายของพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มาตรา 19(1) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2523 มาตรา 6 นั้น หมายถึงหลักสูตรหรือแผนการศึกษาของชาติในขณะที่บุคคลนั้น ๆ สอบไล่ในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายได้ เมื่อปรากฏว่าจำเลยสอบไล่ได้ตามหลักสูตรประโยคมัธยมวิสามัญศึกษาตอนปลายมัธยมปีที่ 6 ในปี พ.ศ.2503 ซึ่งขณะนั้นแผนการศึกษาของชาติที่ใช้บังคับอยู่คือแผนการศึกษาชาติ พ.ศ.2494 สำหรับชั้นมัธยมศึกษาแยกออกเป็น 3 สาย ในสาย ข.มัธยมวิสามัญศึกษาซึ่งมีชั้นมัธยมวิสามัญตอนปลายเพียงแค่มัธยมปีที่ 6 เท่านั้น จึงถือว่าจำเลยสอบไล่ได้ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายตามแผนการศึกษาของชาติ พ.ศ.2494 แล้ว จำเลยจึงเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 19(1) แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 ที่แก้ไขแล้ว การที่จำเลยสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แม้จะกรอกคุณสมบัติทางการศึกษาลงในใบสมัครไม่ตรงต่อความจริง ก็ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มาตรา 26
การที่จำเลยกระทำผิดโดยแจ้งคุณสมบัติทางการศึกษาเป็นเท็จเป็นเพราะจำเลยเข้าใจผิดว่าตนไม่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งความจริงแล้วจำเลยมีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎหมาย เมื่อคำนึงถึงสภาพความผิดและพฤติการณ์สิ่งแวดล้อมแล้ว สมควรรอการลงโทษไว้
จำเลยกรอกใบสมัครเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่าจำเลยจบการศึกษาประโยคชั้นมัธยม ศึกษาตอนปลาย ความจริงแล้วจำเลยไม่ได้จบการศึกษาชั้นดังกล่าว อันเป็นการแจ้งข้อความเท็จแก่เจ้าพนักงานผู้รับสมัครเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 กับแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความเท็จลงในเอกสารราชการเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการหรือตามแผนการศึกษาของชาติใน ความหมายของพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มาตรา 19(1) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2523 มาตรา 6 นั้น หมายถึงหลักสูตรหรือแผนการศึกษาของชาติในขณะที่บุคคลนั้น ๆ สอบไล่ในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายได้ เมื่อปรากฏว่าจำเลยสอบไล่ได้ตามหลักสูตรประโยคมัธยมวิสามัญศึกษาตอนปลายมัธยมปีที่ 6 ในปี พ.ศ.2503 ซึ่งขณะนั้นแผนการศึกษาของชาติที่ใช้บังคับอยู่คือแผนการศึกษาชาติ พ.ศ.2494 สำหรับชั้นมัธยมศึกษาแยกออกเป็น 3 สาย ในสาย ข.มัธยมวิสามัญศึกษาซึ่งมีชั้นมัธยมวิสามัญตอนปลายเพียงแค่มัธยมปีที่ 6 เท่านั้น จึงถือว่าจำเลยสอบไล่ได้ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายตามแผนการศึกษาของชาติ พ.ศ.2494 แล้ว จำเลยจึงเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 19(1) แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 ที่แก้ไขแล้ว การที่จำเลยสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แม้จะกรอกคุณสมบัติทางการศึกษาลงในใบสมัครไม่ตรงต่อความจริง ก็ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มาตรา 26
การที่จำเลยกระทำผิดโดยแจ้งคุณสมบัติทางการศึกษาเป็นเท็จเป็นเพราะจำเลยเข้าใจผิดว่าตนไม่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งความจริงแล้วจำเลยมีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎหมาย เมื่อคำนึงถึงสภาพความผิดและพฤติการณ์สิ่งแวดล้อมแล้ว สมควรรอการลงโทษไว้