คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หนังสือ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 160 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7254/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมขายที่ดินไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ กรณีสัญญาจะซื้อจะขายมีเงินมัดจำ
คดีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้จำเลยที่ 3 และที่ 4จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมบ้านพิพาทในส่วนของจำเลยที่ 3และที่ 4 ให้โจทก์ โดยให้โจทก์ทั้งสองชำระเงินแก่จำเลยที่ 3และที่ 4 คนละ 187,500 บาท จำเลยที่ 3 และที่ 4 ฎีกาขอให้พิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 3 และที่ 4 ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาของจำเลยที่ 3 และที่ 4 สามารถแยกกันได้แต่ละจำนวนที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ต้องรับผิดตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 แม้จำเลยที่ 3 และที่ 4 จะยื่นฎีการวมกันมา ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาก็ต้องแยกกันตามจำนวนที่แต่ละคนต้องรับผิด เมื่อทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่เกินคนละสองแสนบาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่จะขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ โดยโจทก์ทั้งสองวางเงินมัดจำไว้เป็นจำนวน 20,000 บาทซึ่งจำเลยที่ 1 ได้รับไว้แล้ว สัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยทั้งสี่จึงมิใช่กรณีที่จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อของจำเลยที่ 3 และที่ 4 แต่อย่างใดไม่ดังนั้น ความยินยอมหรือการมอบอำนาจของจำเลยที่ 3 และที่ 4หาจำต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของจำเลยที่ 3 และที่ 4ไม่เช่นกัน กรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 798

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6102/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายเกิดมีผลผูกพัน แม้ยังมิได้ทำเป็นหนังสือ เมื่อมีการวางมัดจำและตกลงกันแล้ว
โจทก์ตกลงซื้อตึกแถวจากจำเลยและได้วางมัดจำไว้แล้วและข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์จำเลยมีการตกลงกันว่าจะทำสัญญาจะซื้อจะขายเป็นหนังสือ ดังนั้นแม้จะยังไม่ได้ทำสัญญากันเป็นหนังสือ ก็ถือว่าสัญญาจะซื้อจะขายเกิดมีขึ้นแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องคดีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6102/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายเกิดมีขึ้นเมื่อวางมัดจำ แม้ไม่มีสัญญาเป็นหนังสือ
โจทก์ตกลงซื้อตึกแถวจากจำเลยและได้วางมัดจำไว้แล้วและข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์จำเลยมีการตกลงกันว่าจะทำสัญญาจะซื้อจะขายเป็นหนังสือ ดังนั้นแม้จะยังไม่ได้ทำสัญญากันเป็นหนังสือ ก็ถือว่าสัญญาจะซื้อจะขายเกิดมีขึ้นแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องคดีได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำวินิจฉัย คชก. ต้องยื่นต่อประธาน คชก. หากไม่ถึงประธาน ถือว่าไม่อุทธรณ์คำวินิจฉัยเป็นที่สุด
การอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล(คชก.ตำบล) จะต้องยื่นอุทธรณ์โดยทำเป็นหนังสือต่อประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลในกำหนดสามสิบวัน นับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัย แต่ไม่เกินหกสิบวันนับแต่คณะกรรมการฯ ได้มีคำวินิจฉัย เมื่อประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลไม่ได้รับหนังสืออุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ยื่นอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล ต่อคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัด (คชก.จังหวัด) คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลจึงเป็นที่สุด เมื่อจำเลยที่ 2 ผู้ซื้อที่นาพิพาทจากจำเลยที่ 1 ไม่ยอมขายนาพิพาทให้โจทก์จึงเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งอันเป็นที่สุดของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้ ตาม พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2524 มาตรา 58 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3475/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้ตามหนังสือและการฟ้องผิดสัญญาประกันภัย การฟ้องต้องสอดคล้องกับหนังสือรับสภาพหนี้
หนังสือของจำเลยตามเอกสารหมาย จ.7 กล่าวอ้างถึงหนังสือของจำเลยตามเอกสารหมาย จ.5 ซึ่งจำเลยเคยขอเสนอชำระค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 147,375.06 บาท และจำเลยยืนยันในหนังสือเอกสารหมาย จ.7 อีกครั้งว่าจะชำระค่าเสียหายดังกล่าวให้แก่โจทก์เป็นเงิน 147,375.06 บาท ภายในระยะเวลาที่สั้นที่สุด แม้จำนวนเงินที่จำเลยเสนอจะต่ำกว่าที่โจทก์เรียกร้อง เป็นจำนวนเงิน174,203.40 บาท ก็ตาม แต่จำเลยก็มิได้โต้แย้งค่าสินไหมทดแทนในจำนวนเงิน147,375.06 บาท กลับยืนยันว่าจะใช้เงินจำนวนนี้ให้แก่โจทก์ หนังสือของจำเลยตามเอกสารหมาย จ.7 จึงเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ตามความหมายใน ป.พ.พ.มาตรา172 เดิม
ความเสียหายของเครื่องปั๊มน้ำเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งอยู่ภายใต้การคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย การเสี่ยงภัยทุกชนิดในการติดตั้งไม่ได้อยู่ภายใต้การคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกัยภัยการขนส่งทางทะเลตามฟ้อง เมื่อโจทก์ฟ้องบังคับจำเลยให้รับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยการขนส่งทางทะเล แม้โจทก์จะฟ้องบังคับจำเลยตามหนังสือรับสภาพหนี้ด้วยก็ตาม แต่โจทก์ก็กล่าวอ้างว่าเป็นการรับสภาพหนี้ตามกรมธรรม์ประกันภัยการขนส่งทางทะเล เมื่อได้ความว่าจำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ตามกรมธรรม์ประกันภัยการเสี่ยงภัยทุกชนิดในการติดตั้ง มิได้รับสภาพหนี้ตามกรมธรรม์ประกันภัยการขนส่งทางทะเลตามฟ้องเช่นกัน เช่นนี้ จึงเป็นเรื่องนอกฟ้อง จำเลยไม่ต้องรับผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2113/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระดอกเบี้ยไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ อนุญาตให้ใช้พยานบุคคลยืนยันได้
การชำระดอกเบี้ยไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคสอง จึงนำสืบพยานบุคคลว่าได้ชำระดอกเบี้ยแล้วได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2113/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระดอกเบี้ยไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานหนังสือ สามารถนำสืบพยานบุคคลได้
การชำระดอกเบี้ยไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสอง จึงนำสืบพยานบุคคลว่าได้ชำระดอกเบี้ยแล้วได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2982/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานการกู้ยืมเงิน หนังสือรับสภาพหนี้เพียงพอ แม้ไม่มีคำว่า 'กู้ยืม' โดยตรง
คำว่า หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 นั้น กฎหมายมิได้มีความหมายเคร่งครัดถึงกับว่าจะต้องมีถ้อยคำว่ากู้ยืมอยู่ในหนังสือนั้น เมื่อโจทก์มีหนังสือรับสภาพหนี้ซึ่งมีใจความว่าจำเลยเป็นหนี้เงินโจทก์จำนวน 19,780 บาท จำเลยรับจะชดใช้เงินให้แก่โจทก์กับมีลายมือชื่อจำเลยในฐานะลูกหนี้ลงไว้มาแสดงและมีพยานบุคคลมาสืบประกอบอธิบายได้ว่าหนี้เงินจำนวนดังกล่าวเป็นหนี้ที่เกิดจากการกู้เงินจำนวนเท่าใด จากการซื้อสินค้าเชื่อจำนวนเท่าใดก็ถือได้ว่าหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2740/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ผ่านตัวแทนตามหนังสือมอบอำนาจ การชำระหนี้โดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ไม่มีการแจ้งการชำระหนี้โดยตรง
โจทก์เขียนนามบัตรมอบให้ ป. ไปเก็บเงินจากจำเลยที่ 1 มีข้อความว่า "เรียนคุณ ส.(จำเลยที่ 1) เรื่องเงินที่คุณกู้ไปนั้นขอให้ฝากคุณ ป. ไปให้ผมตกลงอย่างไรเขียนหนังสือฝากคุณ ป.ไปด้วย ถ้าจะชำระให้ทั้งหมดก็แจ้งให้ผมไปรับเอง ถ้าจะผ่อนชำระผมให้คุณ ป. มารับจากคุณและเขียนหนังสือบอกผมด้วย" เอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานเป็นหนังสือตั้ง ป. เป็นตัวแทนโจทก์ในการรับชำระหนี้เงินกู้รายนี้จากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ผ่อนชำระหนี้ให้ป. ตัวแทนโจทก์โดยการผ่อนชำระหลายครั้งมิได้ชำระให้ทั้งหมดเพียงครั้งเดียว เป็นการปฏิบัติตามเงื่อนไขของโจทก์ที่วางไว้โดยถูกต้องตามข้อความที่ว่าถ้าจะผ่อนชำระโจทก์ให้ ป. มารับจากจำเลยที่ 1 ส่วนข้อความในนามบัตรที่ว่าตกลงอย่างไรให้เขียนหนังสือฝาก ป. ไปด้วยก็ดี และเขียนหนังสือบอกโจทก์ด้วยก็ดี เป็นเพียงคำขอร้อง ของ โจทก์มีถึงจำเลยที่ 1 มากกว่า มิใช่เงื่อนไขการมอบอำนาจให้ ป. รับชำระหนี้แทนโจทก์แต่อย่างใด ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 ผ่อนชำระหนี้โจทก์ให้ ป. โดยมิได้เขียนหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบจึงเป็นการปฏิบัติการชำระหนี้ให้โจทก์โดยชอบแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3977/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำหน่ายหนังสือละเมิดลิขสิทธิ์: ผู้ประกอบการค้าต้องตรวจสอบความถูกต้องของสินค้าก่อนจำหน่าย
หนังสือของกลางจำนวน 91 เล่ม ที่จำเลยขายหรือเสนอขาย พิมพ์ลอกเลียนจากหนังสือฉบับแท้จริงของกระทรวงศึกษาธิการผู้เสียหายมีลักษณะแตกต่างจากหนังสือฉบับแท้จริงอย่างเห็นได้ชัด จำเลยเป็นพ่อค้าประกอบอาชีพจำหน่ายหนังสือแบบเรียนและแบบฝึกหัดมานานประมาณ20 ปีแล้ว มีร้านค้าของตนเองและเป็นตัวแทนจำหน่ายหนังสือแบบเรียนขององค์การค้าของคุรุสภา จำเลยย่อมมีความรู้ความเข้าใจมีประสบการณ์และความชำนาญในการตรวจตราหนังสือแบบเรียนและแบบฝึกหัดต่าง ๆ ที่สั่งมาจำหน่ายในร้านค้าของตนว่าถูกต้องหรือไม่ จำเลยได้รู้เห็นหนังสือของกลางนั้นอยู่แล้วว่าไม่ใช่เป็นหนังสือแบบเรียนหรือแบบฝึกหัดที่แท้จริงของผู้เสียหาย และย่อมสังเกตเห็นว่าหนังสือของกลางดังกล่าวมีลักษณะแตกต่างจากหนังสือของผู้เสียหายที่จำเลยเคยสั่งซื้อจากองค์การค้าของคุรุสภา ซึ่งผู้เสียหายสงวนลิขสิทธิ์ดังนี้ ถือได้ว่า จำเลยขายหรือเสนอขายหนังสือของกลางจำนวน 91 เล่มนั้นโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นหนังสือที่พิมพ์ขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายจำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 27.
of 16