พบผลลัพธ์ทั้งหมด 79 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 437/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันไม่ใช่เงินมัดจำ แต่เป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายจากผิดสัญญา ค่าเสียหายต้องพิสูจน์ได้
เงินประกันความรับผิดตามสัญญาข้อ 3 ซึ่งได้ระบุไว้ว่าเพื่อเป็นหลักประกันในการปฏิบัติการรับจ้างของจำเลยที่ 1 ตามสัญญา จำเลยที่ 1ได้นำหนังสือค้ำประกันความรับผิดของธนาคารภายในวงเงิน 295,000 บาท มาวางเป็นประกันไว้แก่โจทก์ตั้งแต่วันทำสัญญาแล้ว เงินตามหนังสือค้ำประกันของธนาคารดังกล่าวจึงไม่ใช่เงินมัดจำที่โจทก์จะริบได้เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างผิดสัญญา แต่ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายฐานผิดสัญญา ดังนั้น เงินจำนวนนี้จำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างจึงมีสิทธินำไปหักกับยอดเงินค่าเสียหายที่เป็นค่าปรับที่ศาลได้กำหนดให้แก่โจทก์ได้
สำหรับค่าเสียหายที่โจทก์จะต้องจ้างผู้รับเหมารายใหม่แพงขึ้นจากสัญญาเดิมที่โจทก์ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 แต่เงินจำนวนนี้ตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ข้อ 2 ของข้อความทั่วไปว่าด้วยการจ้างผู้อื่นทำงานต่อซึ่งกำหนดไว้ว่า "ค่าเสียหายในเบื้องต้นก็คือเงินค่าจ้างของผู้รับจ้างคนใหม่ที่เกินกว่าจำนวนเงินค่าจ้างของผู้รับจ้างที่เหลือซึ่งผู้รับจ้างจะต้องรับผิดชดใช้แก่ผู้ว่าจ้าง" เงินจำนวนดังกล่าวนี้จึงถือว่าเป็นค่าเสียหายในกรณีผู้รับจ้างผิดสัญญาเช่นกัน
ตามสัญญาจ้างเหมา ข้อ 4 วรรคสุดท้าย ที่กำหนดไว้ว่าโจทก์ทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชดใช้แต่ค่าปรับอย่างเดียวหรือค่าเสียหายกรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 380 วรรคสอง แห่ง ป.พ.พ. ดังนี้เมื่อโจทก์ไม่อาจพิสูจน์ความเสียหายยิ่งกว่าค่าปรับที่ศาลกำหนดให้ ศาลจึงไม่อาจกำหนดค่าเสียหายดังกล่าวให้โจทก์อีกได้
สำหรับค่าเสียหายที่โจทก์จะต้องจ้างผู้รับเหมารายใหม่แพงขึ้นจากสัญญาเดิมที่โจทก์ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 แต่เงินจำนวนนี้ตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ข้อ 2 ของข้อความทั่วไปว่าด้วยการจ้างผู้อื่นทำงานต่อซึ่งกำหนดไว้ว่า "ค่าเสียหายในเบื้องต้นก็คือเงินค่าจ้างของผู้รับจ้างคนใหม่ที่เกินกว่าจำนวนเงินค่าจ้างของผู้รับจ้างที่เหลือซึ่งผู้รับจ้างจะต้องรับผิดชดใช้แก่ผู้ว่าจ้าง" เงินจำนวนดังกล่าวนี้จึงถือว่าเป็นค่าเสียหายในกรณีผู้รับจ้างผิดสัญญาเช่นกัน
ตามสัญญาจ้างเหมา ข้อ 4 วรรคสุดท้าย ที่กำหนดไว้ว่าโจทก์ทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชดใช้แต่ค่าปรับอย่างเดียวหรือค่าเสียหายกรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 380 วรรคสอง แห่ง ป.พ.พ. ดังนี้เมื่อโจทก์ไม่อาจพิสูจน์ความเสียหายยิ่งกว่าค่าปรับที่ศาลกำหนดให้ ศาลจึงไม่อาจกำหนดค่าเสียหายดังกล่าวให้โจทก์อีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4000/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปิดอากรแสตมป์บนหนังสือสัญญากู้และค้ำประกัน และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
ประมวลรัษฎากร มาตรา 118 ไม่ได้กำหนดว่าจะต้องปิดอากรแสตมป์ที่ด้านใดของเอกสาร เมื่อหนังสือสัญญากู้เงินและหนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นแบบพิมพ์แผ่นเดียวกันมี 2 หน้า ด้านหน้าเป็นแบบพิมพ์หนังสือสัญญากู้เงิน ด้านหลังเป็นแบบพิมพ์หนังสือค้ำประกัน การที่โจทก์ปิดอากรแสตมป์ด้านที่เป็นแบบพิมพ์หนังสือสัญญากู้เงินถึง200 บาท ทั้งที่ต้องปิดอากรแสตมป์เพียง 93 บาท ส่วนหนังสือสัญญาค้ำประกันต้องปิดอากรแสตมป์ 10 บาท แสดงว่าโจทก์ปิดอากรแสตมป์ตามหนังสือสัญญากู้เงินและหนังสือสัญญาค้ำประกันครบถ้วนแล้ว จึงใช้เป็นพยานหลักฐานได้
เมื่อตามหนังสือสัญญาค้ำประกันมิได้กำหนดให้จำเลยที่ 2 รับผิดร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ศาลต้องพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ก่อน ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระ จึงให้จำเลยที่ 2 ชำระแทน
เมื่อตามหนังสือสัญญาค้ำประกันมิได้กำหนดให้จำเลยที่ 2 รับผิดร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ศาลต้องพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ก่อน ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระ จึงให้จำเลยที่ 2 ชำระแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5004/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันและรับสภาพหนี้มีผลบังคับใช้ได้ ไม่ขาดอายุความ สิทธิเรียกร้องตามสัญญาไม่มีกำหนดอายุความชัดเจนใช้ 10 ปี
ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายถึงข้อหาว่าจำเลยที่1ผิดสัญญาจึงทำบันทึกข้อความยอมรับชำระหนี้แก่โจทก์และจำเลยที่2ถึงที่4เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่1โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ส่วนข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือสัญญาขอวงเงินสินเชื่อในการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศที่จำเลยที่1ทำไว้กับโจทก์กับบันทึกข้อตกลงยอมรับชำระหนี้แก่โจทก์และสัญญาค้ำประกันจำเลยที่1ที่จำเลยที่2ถึงที่4ทำไว้ต่อโจทก์และคำขอบังคับคือโจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระหนี้จำนวนตามฟ้องดังนี้คำฟ้องโจทก์จึงได้แสดงโดยแจ้งขัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นข้อหาแล้วส่วนในช่องข้อหาแม้โจทก์จะระบุข้อหาไว้ไม่ละเอียดเท่าที่ปรากฏตามเนื้อความในคำฟ้องก็ไม่ใช่สาระสำคัญที่จะทำให้คำฟ้องของโจทก์เป็นคำฟ้องเคลือบคลุมส่วนข้อที่ว่าจำเลยได้รับหรือใช้วงเงินสินเชื่อของโจทก์ไปกี่ครั้งครั้งละจำนวนเท่าใดและโจทก์ชำระเงินให้แก่ธนาคารไปก่อนแล้วเป็นจำนวนเท่าใดเพื่อแสดงว่าได้รับเงินจากโจทก์หรือเป็นหนี้โจทก์จำนวนเท่าใดนั้นเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่1ได้ทำสัญญาขอวงเงินสินเชื่อในการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศไว้กับโจทก์และจำเลยที่2ได้เข้าค้ำประกันจำเลยที่1แต่จำเลยที่1และที่2ไม่ชำระหนี้จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์ย่อมมีสิทธินำคดีมาฟ้องได้จำเลยที่1และที่2จึงไม่อาจโต้แย้งว่าโจทก์ไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องเพราะโจทก์ดำเนินกิจการตามสัญญาดังกล่าวนอกขอบวัตถุประสงค์ได้และสัญญาสัญญามิได้มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดต่อการสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนจึงมีผลใช้บังคับกันได้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1มิได้ตกเป็นโมฆะ สัญญาขอวงเงินสินเชื่อในการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศกำหนดให้จำเลยที่1เป็นผู้ดำเนินการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศเองมิได้ตั้งโจทก์ให้เป็นตัวแทนในการสั่งสินค้าจากต่างประเทศจำเลยที่1เพียงแต่ขอให้โจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตกับธนาคารและจำเลยที่1ขอใช้วงเงินสินเชื่อในการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตดังกล่าวเงินสินเชื่อนั้นจึงมิใช่เงินทดรองที่โจทก์ออกไปก่อนในการเป็นตัวแทนจำเลยที่1ในการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศและเงินค่าตอบแทน1เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าเลตเตอร์ออฟเครดิตก็ถือไม่ได้ว่าเป็นเงินค่าบำเหน็จในการเป็นตัวแทนหรือเป็นสินจ้างในการงานที่โจทก์รับทำสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมิได้มีกำหนดอายุความ2ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา165(1)และ(7)เดิมแต่เป็นกรณีไม่มีบทบัญญัติกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องถืออายุความทั่วไปคือ10ปีตามมาตรา164เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2209/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันโดยไม่มีเงื่อนไข การแจ้งเหตุผิดสัญญาเกินกำหนดไม่ทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิด
หนังสือค้ำประกันข้อ 2 ระบุว่า ธนาคาร (จำเลยที่ 3) รับรองว่าขณะใดที่ได้รับหนังสือแจ้งความจากโจทก์ว่า จำเลยที่ 1ปฏิบัติผิดสัญญาและไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ภายในวงเงินที่ค้ำประกันไม่ว่าทั้งหมดหรือเฉพาะส่วนใดก็ตามจำเลยที่ 3 ยอมชำระเงินแทนภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งความดังกล่าวเป็นต้นไป แต่โจทก์จะต้องแจ้งเหตุแห่งการปฏิบัติผิดสัญญาให้ธนาคารทราบภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่เหตุการณ์นั้น ๆได้เกิดขึ้น ข้อความดังกล่าวเป็นการค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์โดยไม่มีเงื่อนไข แม้ข้อความตอนท้ายระบุให้โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 3ทราบภายในกำหนด 15 วัน ก็เป็นเพียงกำหนดเวลาที่จะต้องแจ้งให้ผู้ค้ำประกันรู้ตัวว่าจะต้องรับผิดเท่านั้น หาใช่เงื่อนไขจำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกันไม่ การที่จำเลยที่ 1 แจ้งให้จำเลยที่ 3ทราบถึงการปฏิบัติผิดสัญญาของจำเลยที่ 1 เกินกำหนด 15 วันย่อมไม่ทำให้จำเลยที่ 3 พ้นความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2209/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันโดยไม่มีเงื่อนไข: การแจ้งเหตุผิดสัญญาเกินกำหนดไม่ทำให้ผู้ค้ำประกันพ้นความรับผิด
หนังสือค้ำประกันข้อ2ระบุว่าธนาคาร(จำเลยที่3)รับรองว่าขณะใดที่ได้รับหนังสือแจ้งความจากโจทก์ว่าจำเลยที่1ปฏิบัติผิดสัญญาและไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ภายในวงเงินที่ค้ำประกันไม่ว่าทั้งหมดหรือเฉพาะส่วนใดก็ตามจำเลยที่3ยอมชำระเงินแทนภายในกำหนด15วันนับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งความดังกล่าวเป็นต้นไปแต่โจทก์จะต้องแจ้งเหตุแห่งการปฏิบัติผิดสัญญาให้ธนาคารทราบภายในกำหนด15วันนับแต่วันที่เหตุการณ์นั้นๆได้เกิดขึ้นข้อความดังกล่าวเป็นการค้ำประกันจำเลยที่1ต่อโจทก์โดยไม่มีเงื่อนไขแม้ข้อความตอนท้ายระบุให้โจทก์แจ้งให้จำเลยที่3ทราบภายในกำหนด15วันก็เป็นเพียงกำหนดเวลาที่จะต้องแจ้งให้ผู้ค้ำประกันรู้ตัวว่าจะต้องรับผิดเท่านั้นหาใช่เงื่อนไขจำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกันไม่การที่จำเลยที่1แจ้งให้จำเลยที่3ทราบถึงการปฏิบัติผิดสัญญาของจำเลยที่1เกินกำหนด15วันย่อมไม่ทำให้จำเลยที่3พ้นความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8028/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของผู้มีหน้าที่ตรวจสอบเอกสารค้ำประกันสัญญา ความผิดพลาดของเอกสารและการละเลยหน้าที่
จำเลยเป็นผู้อำนวยการกองอาคารสถานที่ของโจทก์ มีหน้าที่รับผิดชอบในการทำสัญญาจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. โดยจำเลยเป็นผู้รับหนังสือค้ำประกันมาจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ.เพื่ออ้างอิงว่ามีหนังสือค้ำประกันของธนาคารที่ผู้รับจ้างต้องนำมาเป็นหลักประกันในการทำสัญญาจ้างและต้องลงรายการของหนังสือค้ำประกันแล้ว แต่จำเลยไม่ได้ทำการตรวจสอบหนังสือค้ำประกันเท่าที่ควรจะกระทำเช่น ตรงช่องรายการ "ตามสัญญาจ้าง" ของหนังสือค้ำประกัน ไม่มีเลขที่ของสัญญาจ้าง คงมีแต่วันที่ของสัญญาจ้างเท่านั้น และในหนังสือค้ำประกันของธนาคาร สัญญาลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2530 แต่ตรงช่องรายการ "ตามสัญญาจ้าง สธ.32/2530"กลับลงวันที่เป็น "วันที่ 28 พฤษภาคม 2530" ซึ่งหากเป็นสัญญาในวันที่ลงในหนังสือค้ำประกันวันที่ 27 พฤษภาคม 2530 แล้วจะไปค้ำประกันสัญญาจ้างลงวันที่ 28พฤษภาคม 2530 ซึ่งยังไม่ได้ทำสัญญาจ้างกันเลยได้อย่างไร เมื่อหนังสือค้ำประกันของธนาคารมีพิรุธ จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ต้องตรวจสอบว่าทำไมหนังสือค้ำประกันจึงมีพิรุธเช่นนี้หรือสั่งให้เจ้าหน้าที่ผู้ใต้บังคับบัญชาตรวจสอบเอกสารนี้ให้ปรากฏความจริงเสียก่อน และหากยังเป็นที่สงสัยอยู่อีก จำเลยก็ต้องตรวจสอบไปยังธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันดังกล่าวนั้นว่าได้ออกหนังสือค้ำประกันดังกล่าวจริงหรือไม่เพราะสัญญาค้ำประกันมีมูลค่าสูงถึง 20,000,000 บาท การละเลยของจำเลยเช่นนี้จึงถือว่าจำเลยประมาทเลินเล่อไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรในการปฏิบัติหน้าที่แล้ว จำเลยจะอ้างว่าในขณะทำสัญญาจ้างและขณะนำหนังสือค้ำประกันมาประกอบสัญญาจ้างไม่มีระเบียบให้ต้องตรวจสอบไปยังธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8028/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดหน้าที่ราชการจากความประมาทเลินเล่อในการตรวจสอบหนังสือค้ำประกันปลอม ทำให้เกิดความเสียหายต่อราชการ
จำเลยเป็นผู้อำนวยการกองอาคารสถานที่ของโจทก์มีหน้าที่รับผิดชอบในการทำสัญญาจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดศ. โดยจำเลยเป็นผู้รับหนังสือค้ำประกันมาจากห้างหุ้นส่วนจำกัดศ.เพื่ออ้างอิงว่ามีหนังสือค้ำประกันของธนาคารที่ผู้รับจ้างต้องนำมาเป็นหลักประกันในการทำสัญญาจ้างและต้องลงรายการของหนังสือค้ำประกันแล้วแต่จำเลยไม่ได้ทำการตรวจสอบหนังสือค้ำประกันเท่าที่ควรจะกระทำเช่นตรงช่องรายการ"ตามสัญญาจ้าง"ของหนังสือค้ำประกันไม่มีเลขที่ของสัญญาจ้างคงมีแต่วันที่ของสัญญาจ้างเท่านั้นและในหนังสือค้ำประกันของธนาคารสัญญาลงวันที่27พฤษภาคม2530แต่ตรงช่องรายการ"ตามสัญญาจ้างสธ.32/2530"กลับลงวันที่เป็น"วันที่28พฤษภาคม2530"ซึ่งหากเป็นสัญญาในวันที่ลงในหนังสือค้ำประกันวันที่27พฤษภาคม2530แล้วจะไปค้ำประกันสัญญาจ้างลงวันที่28พฤษภาคม2530ซึ่งยังไม่ได้ทำสัญญาจ้างกันเลยได้อย่างไรเมื่อหนังสือค้ำประกันของธนาคารมีพิรุธจึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ต้องตรวจสอบว่าทำไมหนังสือค้ำประกันจึงมีพิรุธเช่นนี้หรือสั่งให้เจ้าหน้าที่ผู้ใต้บังคับตรวจสอบเอกสารนี้ให้ปรากฏความจริงเสียก่อนและหากยังเป็นที่สงสัยอยู่อีกจำเลยก็ต้องตรวจสอบไปยังธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันดังกล่าวนั้นว่าได้ออกหนังสือค้ำประกันดังกล่าวจริงหรือไม่เพราะสัญญาค้ำประกันมีมูลค่าสูงถึง20,000,000บาทการละเลยของจำเลยเช่นนี้จึงถือว่าจำเลยประมาทเลินเล่อไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรในการปฏิบัติหน้าที่แล้วจำเลยจะอ้างว่าในขณะทำสัญญาจ้างและขณะนำหนังสือค้ำประกันมาประกอบสัญญาจ้างไม่มีระเบียบให้ต้องตรวจสอบไปยังธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 311/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันความเสียหายจากการทำงาน ถือเป็นการค้ำประกัน แม้ไม่มีข้อความระบุการชำระหนี้แทน
หนังสือสัญญาค้ำประกันมีข้อความว่าผู้ค้ำประกันขอรับรองว่าภ. เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อยหากปฏิบัติงานทำให้บริษัทเสียหายยักยอกทุจริตเงินของบริษัทบริษัทจะดำเนินการตามกฎหมายทันทีโดย ภ. ลงชื่อในฐานะผู้สมัครและจำเลยลงชื่อในฐานะผู้ค้ำประกันเป็นกรณีที่จำเลยได้ค้ำประกันความเสียหายที่เกิดจากการทำงานของ ภ. แล้วแม้จะไม่มีข้อความว่าจำเลยยอมรับผิดต่อบริษัทเพื่อชำระหนี้เมื่อ ภ. ไม่ชำระหนี้ก็ไม่ทำให้ความรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันของจำเลยที่มีอยู่เปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 311/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันความเสียหายจากการทำงาน แม้ไม่มีข้อความระบุการชำระหนี้ ก็ผูกพันตามกฎหมายค้ำประกัน
เอกสารที่ทำขึ้นใช้ถ้อยคำแสดงว่าเป็นหนังสือสัญญาค้ำประกันและข้อความต่อมาก็ระบุในรายละเอียดให้เป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยที่2ในฐานะผู้ค้ำประกันที่ลงชื่อไว้ในเอกสารดังกล่าวขอรับรองการเข้ามาทำงานของจำเลยที่1ในกรณีที่จำเลยที่1ยักยอกหรือทุจริตเงินของโจทก์ให้โจทก์ดำเนินการตามกฎหมายแก่จำเลยที่1และจำเลยที่2ได้ทันทีดังนี้เป็นกรณีที่จำเลยที่2ได้ค้ำประกันความเสียหายที่จะเกิดจากการทำงานของจำเลยที่1โดยจำเลยที่2ทำหลักฐานการค้ำประกันเป็นหนังสือให้ไว้แก่โจทก์แม้จะไม่มีข้อความในเอกสารดังกล่าวระบุว่าจำเลยที่2ยอมผูกพันตนรับผิดต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้เมื่อจำเลยที่1ไม่ชำระหนี้ก็ไม่ทำให้ความรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันของจำเลยที่2ที่มีอยู่เปลี่ยนแปลงไปทั้งนี้เพราะเมื่อจำเลยที่2ยินยอมผูกพันตนรับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันแล้วความรับผิดจะมีขึ้นตอนไหนเพียงใดย่อมเป็นไปตามกฎหมายไม่จำต้องระบุถึงความรับผิดดังกล่าวซ้ำอีกถึงได้ใช้คำว่า"ผู้ค้ำประกัน"อันเป็นถ้อยคำที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ3ลักษณะ11ว่าด้วยค้ำประกันจำเลยที่2จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2986/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันไม่สมบูรณ์ แต่การยอมรับสภาพเป็นผู้ค้ำประกันมีผลผูกพัน
หนังสือค้ำประกันปิดอากรแสตมป์ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่เมื่อจำเลยที่ 2 รับแล้วว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 จริง ก็ไม่จำต้องอาศัยหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 2 เป็นหลักฐานในคดี ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดได้