พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,449 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7656/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จากการกู้ยืมและการรับสภาพหนี้: อายุความ 10 ปี มิใช่ 2 ปี
จำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้กับโจทก์เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2540 โดยรับว่าเป็นหนี้กู้ยืมเงินโจทก์ 60,000 บาท จึงมีผลเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือและเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ด้วย การกู้ยืมเงินไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 ส่วนหนังสือรับสภาพหนี้ไม่มีอายุความในตัวเองเพียงแต่มีผลทำให้อายุความในมูลหนี้เดิมสะดุดหยุดลง เมื่อนับแต่วันที่ 13 พฤษภาคม 2540 ถึงวันที่ 24 ตุลาคม 2544 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ฟ้องคดียังไม่เกิน 10 ปี จึงไม่ขาดอายุความ
การที่ลูกหนี้รับสภาพหนี้มิใช่กรณีลูกหนี้รับสภาพความผิดภายหลังมูลหนี้เดิมขาดอายุความแล้วที่จะมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/35
การที่ลูกหนี้รับสภาพหนี้มิใช่กรณีลูกหนี้รับสภาพความผิดภายหลังมูลหนี้เดิมขาดอายุความแล้วที่จะมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/35
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7544/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ต้องไม่มีข้อต่อสู้ สิทธิเรียกร้องที่มีข้อโต้แย้งนำมาหักลบหนี้ไม่ได้
จำเลยต้องรับผิดตามเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 การที่จำเลยขอหักกลบลบหนี้เงินค่าแชร์กับหนี้เงินต้นเงินยืมตามเช็คพิพาทกับดอกเบี้ยนั้น ถือว่าจำเลยประสงค์จะนำหนี้ค่าแชร์ที่โจทก์อ้างว่าเป็นหนี้จำเลยจำนวน 800,000 บาท มาหักกลบลบหนี้กับหนี้ตามเช็คพิพาทในชั้นศาล โจทก์นำสืบโต้เถียงว่าโจทก์กับจำเลยได้ตกลงหนี้สินระหว่างกันแล้วโดยให้หักค่าแชร์ที่โจทก์จะต้องชำระอีก 1,200,000 บาท กับหนี้เงินยืมที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ เมื่อตกลงแล้วโจทก์ได้คืนเช็คตามจำนวนหนี้ที่หักหนี้ให้แก่จำเลยและจำเลยมีหน้าที่ชำระค่าแชร์แทนโจทก์ หลังจากหักหนี้กันแล้วจำเลยยังค้างชำระหนี้โจทก์จำนวน 759,040 บาท ซึ่งจำเลยได้สั่งจ่ายเป็นเช็ค 4 ฉบับ อันเป็นการต่อสู้ว่าหนี้ค่าแชร์ที่โจทก์จะต้องชำระให้จำเลยนั้นระงับไปแล้วด้วยการหักกลบลบหนี้ โจทก์ไม่มีหนี้ที่ต้องชำระแก่จำเลยอีก ถือได้ว่าสิทธิเรียกร้องที่จำเลยนำมาหักกลบลบหนี้ยังมีข้อต่อสู้อยู่ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 344 บัญญัติว่า "สิทธิเรียกร้องใดยังมีข้อต่อสู้อยู่ สิทธิเรียกร้องนั้นท่านว่าหาอาจจะเอามาหักกลบลบหนี้ได้ไม่" ดังนั้นจำเลยจึงนำสิทธิเรียกร้องค่าแชร์ที่ชำระแทนโจทก์ไปขอหักกลบลบหนี้กับโจทก์ตามเช็คพิพาทไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7050/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือสัญญากู้เงินที่ไม่ครบอากรแสตมป์ ไม่อาจใช้เป็นหลักฐานทางแพ่งได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินกู้จำนวน 24,000 บาท ตามสำเนาหนังสือสัญญากู้เงินท้ายฟ้อง จำเลยให้การปฏิเสธว่าหนังสือสัญญากู้เงินเป็นเอกสารปลอม การที่จะฟังว่าจำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์หรือไม่ จึงต้องอาศัยหนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวเป็นพยานหลักฐาน ซึ่งหนังสือสัญญากู้เงินตามที่โจทก์อ้างมีลักษณะเป็นตราสาร ต้องปิดอากรแสตมป์ 1 บาท ต่อทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท แห่งยอดเงินที่กู้ยืมตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร ดังนั้น เมื่อยอดเงินตามหนังสือสัญญากู้เงินมีจำนวน 24,000 บาท จึงต้องปิดอากรแสตมป์ 12 บาท แต่ในหนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวปิดอากรแสตมป์เพียง 5 บาท จึงปิดอากรแสตมป์ไม่บริบูรณ์ ไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 มีผลเท่ากับว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ โจทก์จึงฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
การขอปิดอากรแสตมป์เพิ่มในหนังสือสัญญากู้เงิน จะต้องกระทำก่อนหรือในขณะที่นำเอกสารนั้นมาใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานก่อนศาลชั้นต้นตัดสิน เมื่อโจทก์กระทำหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว หนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวจึงเป็นตราสารที่มิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์ไม่สามารถนำมาใช้เป็นพยานหลักฐานได้ เมื่อหนังสือสัญญากู้เงินไม่สามารถใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีได้แล้ว แม้โจทก์ได้ขออนุญาตปิดอากรเพิ่มเพื่อให้มีผลเป็นตราสารที่ปิดแสตมป์ครบบริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 117 ก็ไม่ทำให้ผลเปลี่ยนแปลงไป
การขอปิดอากรแสตมป์เพิ่มในหนังสือสัญญากู้เงิน จะต้องกระทำก่อนหรือในขณะที่นำเอกสารนั้นมาใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานก่อนศาลชั้นต้นตัดสิน เมื่อโจทก์กระทำหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว หนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวจึงเป็นตราสารที่มิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์ไม่สามารถนำมาใช้เป็นพยานหลักฐานได้ เมื่อหนังสือสัญญากู้เงินไม่สามารถใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีได้แล้ว แม้โจทก์ได้ขออนุญาตปิดอากรเพิ่มเพื่อให้มีผลเป็นตราสารที่ปิดแสตมป์ครบบริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 117 ก็ไม่ทำให้ผลเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6470/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัดในหนี้ที่เกิดขึ้นจากการซื้อขายสินค้าก่อนและหลังจดทะเบียน
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ประกอบกิจการค้าขายเฟอร์นิเจอร์ ใช้ชื่อร้านว่า แสงชัยเฟอร์นิเจอร์ และจำเลยที่ 2 ได้สั่งซื้อเฟอร์นิเจอร์จากโจทก์ในชื่อแสงชัยเฟอร์นิเจอร์ เมื่อจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 ก็ยังคงสั่งซื้อเฟอร์นิเจอร์จากโจทก์ในชื่อแสงชัยเฟอร์นิเจอร์ การที่โจทก์ส่งสินค้าตามที่จำเลยที่ 2 สั่งในชื่อแสงชัยเฟอร์นิเจอร์ก่อนที่จะจดทะเบียนเป็นจำเลยที่ 1 แต่เมื่อจดทะเบียนเป็นจำเลยที่ 1 แล้วการซื้อสินค้าของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวก็อยู่ภายในขอบวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ได้เข้าไปถือเอาประโยชน์จากสินค้าที่โจทก์ส่งไปให้ จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดในหนี้ที่จำเลยที่ 2 สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6470/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัดในหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนและหลังจดทะเบียน โดยมีวัตถุประสงค์สอดคล้องกับหนี้
ก่อนจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 และที่ 3 ประกอบกิจการค้าขายเฟอร์นิเจอร์ใช้ชื่อร้านว่า ส.เฟอร์นิเจอร์ และจำเลยที่ 2 ได้สั่งซื้อเฟอร์นิเจอร์จากโจทก์ในชื่อ ส.เฟอร์นิเจอร์ เมื่อจดทะเบียนเป็นจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 ก็ยังคงสั่งซื้อเฟอร์นิเจอร์จากโจทก์ในชื่อ ส.เฟอร์นิเจอร์ อีก การที่โจทก์ส่งสินค้าตามที่จำเลยที่ 2 สั่งในชื่อ ส.เฟอร์นิเจอร์ก่อนที่จะจดทะเบียนเป็นจำเลยที่ 1 แต่เมื่อจดทะเบียนเป็นจำเลยที่ 1 แล้วการซื้อสินค้าของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวก็อยู่ภายในขอบวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ก็ได้เข้าไปถือเอาประโยชน์จากสินค้าที่โจทก์ส่งไปให้ดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดในหนี้ที่จำเลยที่ 2 สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6440/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเลยยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเป็นเหตุไม่ควรให้ล้มละลาย แม้หนี้ยังไม่สูญ
หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายในคดีนี้เป็นหนี้ตามคำพิพากษาของศาลแพ่งคดีหมายเลขแดงที่ 6312/2537 ที่โจทก์อาจขอรับชำระหนี้ได้ในคดีล้มละลายของศาลแพ่งคดีหมายเลขแดงที่ ล. 171/2541 แต่โจทก์มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีดังกล่าวจนต่อมาเจ้าหนี้ที่ขอรับชำระหนี้จำนวน 3 ราย ได้ถอนคำขอรับชำระหนี้ในคดีดังกล่าวทุกราย ศาลแพ่งจึงถือเป็นเหตุไม่ควรให้จำเลยถูกพิพากษาให้ล้มละลายและมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยแล้ว แม้ผลของคำสั่งดังกล่าวไม่ทำให้จำเลยหลุดพ้นหนี้สินตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 135 (2) ประกอบมาตรา 136 และโจทก์ยังอาจนำหนี้ตามคำพิพากษาของศาลแพ่งคดีหมายเลขแดงที่ 6312/2537 มาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้อีกในคดีนี้ก็ตาม แต่พฤติการณ์ที่โจทก์ละเลยมิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายของศาลแพ่งหมายเลขแดงที่ ล. 171/2541 โดยไม่ปรากฏเหตุอันสมควรทั้งที่มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 91 กรณีดังกล่าวจึงถือเป็นเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลายตามมาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6354/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดสิทธิเรียกร้องสำเร็จเมื่อมีเงินเข้าบัญชี แม้ไม่ครบหนี้ โจทก์ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมถอนอายัด
การอายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 2 ในบัญชีเงินฝากธนาคารมิใช่เป็นการอายัดสิทธิเรียกร้องแห่งรายได้เป็นคราว ๆ ซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบมาตรา 26 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 313 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้รวมตลอดถึงจำนวนเงินซึ่งถึงกำหนดชำระภายหลังการอายัดนั้นด้วย การที่ธนาคารส่งมอบเงินในบัญชีเงินฝากที่โจทก์ขอให้อายัดซึ่งมีจำนวนเพียง 490 บาท แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี การอายัดสิทธิเรียกร้องจึงเสร็จสิ้นไปแล้ว แม้เงิน 490 บาท นั้นจะไม่ครบจำนวนหนี้ตามคำพิพากษาที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ และหากต่อมาปรากฏว่ามีเงินในบัญชีเงินฝากที่จำเลยที่ 2 มีสิทธิเรียกร้องเกิดขึ้นใหม่ โจทก์ก็มีสิทธิที่จะขอให้อายัดสิทธิเรียกร้องดังกล่าวได้เป็นอีกสถานหนึ่งต่างหาก กรณีจึงไม่มีเหตุผลและความจำเป็นที่โจทก์จะขอถอนการอายัดซึ่งได้เสร็จสิ้นไปแล้วนั้นอีก ความรับผิดในค่าธรรมเนียมการถอนอายัดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบมาตรา 26 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 5 ข้อ 4 จึงไม่อาจเกิดขึ้นได้ แต่การที่โจทก์ขอรับเงิน 490 บาท ที่อายัดได้นั้นโจทก์ต้องเสียค่าธรรมเนียมอัตราร้อยละ 3.5 ตามตาราง 5 ข้อ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5985/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันมีผลผูกพันแม้ทำก่อนเกิดหนี้ & ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์ ระบุว่า จำเลยที่ 2 ขอค้ำประกันหนี้ของบริษัท ศ. ไม่ว่าหนี้นั้นมีอยู่แล้วขณะทำสัญญาหรือที่จะมีต่อไปในภายหน้าด้วย โดยจำเลยที่ 2 ยินยอมรับผิดชดใช้แทนแก่ธนาคาร ก. ซึ่งโอนขายสินเชื่อให้โจทก์ จนกว่าจะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิง ดังนั้น แม้สัญญาค้ำประกันดังกล่าวจะได้กระทำกันก่อนที่บริษัท ศ. เป็นหนี้ธนาคาร ก. ตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีท และไม่ว่าขณะก่อนหนี้ตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและทรัพสต์รีซีท จำเลยที่ 2 จะได้รู้เห็นยินยอมด้วยหรือไม่ แต่สัญญาค้ำประกันดังกล่าวก็มีผลผูกพันบังคับกันได้ และมิได้เป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรม เพราะขณะทำสัญญาจำเลยที่ 2 ตกลงยินยอมเพื่อประกันความรับผิดในหนี้ของบริษัท ศ. ที่จะเกิดในภายหน้าไว้ล่วงหน้าด้วย ซึ่งย่อมมีผลบังคับกันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 681 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การ จึงเป็นกรณีที่ศาลต้องวินิจฉัยชี้ขาดว่าข้ออ้างของโจทก์ตามที่กล่าวในฟ้องนั้นมีมูลที่จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดตามกฎหมายหรือไม่ และไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ในส่วนที่เรียกดอกเบี้ยเกิน 5 ปี ขาดอายุความหรือไม่ และโจทก์ต้องบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์ที่บริษัท ศ. จดทะเบียนจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้ก่อนหรือไม่ เพราะจำเลยที่ 2 มิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การ จึงเป็นกรณีที่ศาลต้องวินิจฉัยชี้ขาดว่าข้ออ้างของโจทก์ตามที่กล่าวในฟ้องนั้นมีมูลที่จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดตามกฎหมายหรือไม่ และไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ในส่วนที่เรียกดอกเบี้ยเกิน 5 ปี ขาดอายุความหรือไม่ และโจทก์ต้องบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์ที่บริษัท ศ. จดทะเบียนจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้ก่อนหรือไม่ เพราะจำเลยที่ 2 มิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5484/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับชำระหนี้ดอกเบี้ยหุ้นกู้ด้อยสิทธิในคดีล้มละลายภายใต้ข้อจำกัดของกฎหมายเฉพาะ
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 100 กำหนดให้ดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ไม่ให้ถือว่าเป็นหนี้ที่ขอรับชำระได้แต่ดอกเบี้ยก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวเจ้าหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้หรือไม่ ย่อมเป็นไปตามมูลแห่งหนี้และกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะ คดีนี้ได้ความว่าเจ้าหนี้ยื่นความประสงค์ขอรับชำระหนี้หุ้นกู้ด้อยสิทธิต่อคณะกรรมการดำเนินการแทนบริษัทลูกหนี้ ต่อมาคณะกรรมการ ปรส. ได้อนุญาตจัดสรรเงินบางส่วนชดใช้คืนแก่เจ้าหนี้แล้วตามความเห็นของคณะกรรมดำเนินการแทนลูกหนี้ โดยการคำนวณยอดหนี้คงค้างในส่วนของดอกเบี้ยนั้น ปรส. ถือปฏิบัติตาม พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ มาตรา 5 ว่า นับแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2541 ซึ่งเป็นวันที่ พ.ร.ก. มีผลใช้บังคับ ดอกเบี้ยหรือเงินค่าป่วยการอื่นแทนดอกเบี้ยอันเกิดจากหนี้ที่บริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการได้ก่อขึ้นมิให้ถือว่าเป็นหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ได้ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้เพิ่มเติมในคดีล้มละลายซึ่งเป็นกระบวนการขอรับชำระหนี้ต่อเนื่องมาจากการได้รับเงินส่วนเฉลี่ยหนี้คืนจาก ปรส. เพียงเท่าจำนวนหนี้ดอกเบี้ยหุ้นกู้ค้างชำระก่อนวันที่ พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ มีผลใช้บังคับเท่านั้น ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ในส่วนดอกเบี้ยหุ้นกู้ด้อยสิทธิถึงวันที่ 22 พฤษภาคม 2541 จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5384/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองหนี้ในอนาคต: สัญญาจำนองยังผูกพัน แม้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว
สัญญาจำนองที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลย มีใจความว่า ผู้จำนองได้ตกลงจำนองที่ดินกับบรรดาสิ่งปลูกสร้างต่อไปภายหน้าแก่ผู้รับจำนองเพื่อประกันหนี้เงินซึ่ง ส. สมาชิกได้กู้ไปจากผู้รับจำนองแล้วในเวลานี้หรือจะกู้ในเวลาหนึ่งเวลาใดต่อไปในภายหน้าดังปรากฏจำนวนต้นเงินและดอกเบี้ยในบัญชีสหกรณ์ กับทั้งหนี้สินต่าง ๆ ซึ่ง ส. จะต้องรับผิดไม่ว่าในฐานะใด ๆ ต่อสหกรณ์ ตลอดจนค่าอุปกรณ์ทุกอย่างเนื่องจากการผิดสัญญาของผู้จำนองหรือของ ส. เป็นจำนวนเงินไม่เกิน 260,000 บาท จากข้อสัญญาดังกล่าวนี้มีความหมายแจ้งชัดว่า สัญญาจำนองที่ดินพิพาทนอกจากจะประกันหนี้เงินที่ ส. ได้กู้ไปจากจำเลยในขณะทำสัญญาจำนองนี้แล้ว ยังรวมถึงเป็นประกันหนี้ที่ ส. จะกู้ไปจากจำเลยต่อไปในอนาคตด้วย หากสัญญาจำนองที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยยังมีผลผูกพันอยู่โดยจำกัดวงเงินจำนองที่โจทก์จะต้องรับผิดทั้งสิ้นไม่เกิน 260,000 บาท ซึ่งตามบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 681 วรรคสอง บัญญัติว่าหนี้ในอนาคตหรือหนี้มีเงื่อนไขจะประกันไว้เพื่อเหตุการณ์ซึ่งหนี้นั้นอาจเป็นผลได้จริงก็ประกันได้ และมาตรา 707 บัญญัติว่า บทบัญญัติมาตรา 681 ว่าด้วยค้ำประกันนั้น ท่านให้ใช้ได้ในการจำนองอนุโลมตามควร จากบทบัญญัติดังกล่าวนี้เมื่อสัญญาจำนองกำหนดวงเงินจำนองที่โจทก์จะต้องรับผิดไม่เกิน 260,000 บาท แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์ที่จะรับผิดในหนี้จำนวนดังกล่าว หลังจากทำสัญญาจำนองที่ดินพิพาทแล้ว ส. ได้กู้เงินจำเลยจำนวน 50,000 บาท ซึ่งยังไม่เต็มวงเงินจำนอง แม้จะได้ชำระหนี้ดังกล่าวให้จำเลยครบถ้วนแล้วในวันที่ 3 มกราคม 2546 แต่เมื่อโจทก์และจำเลยมิได้ตกลงเลิกสัญญาจำนอง สัญญาจำนองที่ดินพิพาทยังมีผลผูกพันอยู่ไม่ระงับสิ้นไป ต่อมาวันที่ 24 มกราคม 2546 ส. ได้กู้เงินจำเลยจำนวน 130,000 บาท ซึ่งไม่เกินจำนวนวงเงินที่โจทก์จะต้องรับผิด จึงต้องถือว่าหนี้กู้เงินครั้งหลังนี้เป็นหนี้ในอนาคต สัญญาจำนองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์ย่อมครอบคลุมถึงหนี้กู้ยืมเงินครั้งหลังอันเป็นหนี้ประธานด้วย กรณีหาจำต้องไปจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่กันใหม่อีก การที่ ส. ยังค้างชำระหนี้เงินกู้ครั้งหลังจำนวน 130,000 บาท ที่มีอยู่แก่จำเลย โจทก์จึงมีหน้าที่จะต้องรับผิดต่อจำเลยตามสัญญาจำนองที่ดินพิพาทซึ่งประกันหนี้เงินกู้ดังกล่าวอยู่ สัญญาจำนองยังไม่ระงับสิ้นไป จำเลยมีสิทธิที่จะไม่จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทให้โจทก์ได้