พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสลักหลังอาวัลเช็คเพื่อชำระหนี้กู้ยืม เจตนาผู้สลักหลังสำคัญ แม้ไม่ใช่คู่สัญญากู้ยืมโดยตรง
ตามบันทึกการกู้ยืมเงินมีข้อความว่า จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้กู้เงินโจทก์ได้ออกเช็คพิพาทให้โจทก์เพื่อเป็นประกันเงินกู้แต่เมื่อบันทึกดังกล่าวจำเลยที่ 2 ผู้สลักหลังอาวัลเช็คพิพาทมิได้เข้าเป็นคู่สัญญาด้วย จำเลยที่ 2 จึงไม่อาจเอาข้อตกลงตามบันทึกที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำกันไว้มาเป็นเจตนาของจำเลยที่ 2 ได้เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามบันทึกกู้ยืมให้โจทก์เสร็จสิ้น จำเลยที่ 2 จะอ้างว่าไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์หาได้ไม่ เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้ให้การต่อสู้ไว้ว่า โจทก์เติมวันเดือนปีที่สั่งจ่ายเช็คพิพาทเอง มิได้ทวงถามให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ตามสัญญากู้ จำเลยที่ 2 จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในประเด็นดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5313/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนข้อผูกพันจากหนี้เดิมเป็นหนี้กู้ยืม สัญญากู้ยืมผูกพันจำเลยโดยบริบูรณ์เมื่อผิดนัดชำระหนี้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เดิมจำเลยเป็นหนี้เงินยืม หนี้ค่าน้ำมันและหนี้อื่น ๆ ต่อโจทก์ รวมเป็นเงิน 140,000 บาท ต่อมาจำเลยทำสัญญากู้ให้แก่โจทก์จำนวน 140,000 บาท จำเลยได้รับเงินไปแล้วโดยยอมให้ดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ปรากฏตามสัญญากู้ท้ายฟ้อง ครั้นหนี้ถึงกำหนดจำเลยไม่ชำระหนี้ จำเลยเป็นหนี้โจทก์ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย 232,400 บาท ดังนี้ ฟ้องของโจทก์แสดงแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญากู้เนื่องจากมูลหนี้ใดบ้าง เมื่อรวมหนี้ทุกประเภทจนถึงวันฟ้อง จำเลยยังเป็นหนี้โจทก์อีกเท่าใด เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระ โจทก์จึงฟ้องบังคับจำเลยให้ชำระหนี้แก่โจทก์ อันเป็นการถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
เดิมจำเลยเป็นหนี้เงินยืมและหนี้อื่น ๆ ต่อโจทก์จำนวน140,000 บาท ต่อมาจำเลยได้ทำสัญญากู้เงินระบุหนี้เป็นจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ กรณีเป็นการที่คู่สัญญาเปลี่ยนข้อผูกพันจากหนี้อื่น และหนี้เงินยืมมารวมผูกพันกันในลักษณะกู้ยืมตามสัญญากู้ที่ทำขึ้นไว้สัญญากู้จึงผูกพันจำเลยโดยบริบูรณ์.
เดิมจำเลยเป็นหนี้เงินยืมและหนี้อื่น ๆ ต่อโจทก์จำนวน140,000 บาท ต่อมาจำเลยได้ทำสัญญากู้เงินระบุหนี้เป็นจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ กรณีเป็นการที่คู่สัญญาเปลี่ยนข้อผูกพันจากหนี้อื่น และหนี้เงินยืมมารวมผูกพันกันในลักษณะกู้ยืมตามสัญญากู้ที่ทำขึ้นไว้สัญญากู้จึงผูกพันจำเลยโดยบริบูรณ์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4872/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเพื่อประกันหนี้กู้ยืม การลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คทำให้มีผลผูกพันตามกฎหมาย
จำเลยที่ 2 ปฏิเสธว่าลายมือชื่อด้านหลังเช็คพิพาทมิใช่ของตนโจทก์นำสืบพยานบุคคลว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อด้านหลังเช็คพิพาท และในสำนวนมีลายมือชื่อแท้จริงของจำเลยที่ 2 ในสัญญาจำนอง ใบแต่งทนาย และคำให้การ เมื่อเป็นพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับประเด็นโดยตรง ศาลมีอำนาจอาศัยลายมือชื่อดังกล่าวตรวจเปรียบเทียบ เพื่อชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานว่า เพียงพอให้เชื่อฟังได้หรือไม่
มูลหนี้คดีนี้เป็นหนี้กู้ยืมเงิน 1,000,000 บาท มิได้ทำสัญญากู้กันไว้ แต่มีการจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันและให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานในการกู้ยืมเงิน หลังจากนั้นจำเลยที่ 1สั่งจ่ายเช็คพิพาทเป็นเงิน 1,000,000 บาท มอบให้โจทก์อีกโดยตกลงว่าเพื่อเป็นประกัน เช็คพิพาทจึงออกเพื่อประกันการกู้ยืมเงินด้วย โจทก์มีสิทธิฟ้องได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวบังคับจำนองก่อน
การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อไว้ด้านหลังเช็คที่สั่งจ่ายระบุชื่อ โจทก์ขีดฆ่าคำว่าหรือผู้ถือออก และมุม ซ้ายบนของด้านหน้ามีข้อความว่าเข้าบัญชีผู้รับเงินเท่านั้นห้ามเปลี่ยนมือ และในเช็คไม่ปรากฏว่ามีถ้อยคำสำนวนว่าใช้ได้เป็นอาวัล หรือสำนวนอื่นใดทำนองเดียวกัน จำเลยที่ 2 จึงมิใช่ผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้รับอาวัลแต่การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อด้านหลังเช็คที่จำเลยที่ 1เป็นผู้สั่งจ่ายโดยระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงินและจำเลยทั้งสองนำเช็คไปมอบให้โจทก์ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อด้านหลังเช็คด้วยความสมัครใจที่จะผูกพันต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรง ในอันที่จะรับผิดตามข้อความในเช็คอย่างเดียวกับจำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายด้วยการลงลายมือชื่อของตนในเช็คตามมาตรา 900 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ชำระเงินตามเช็คพิพาทพร้อมดอกเบี้ย
คำขอให้โจทก์ทั้งสองชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์จนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จ เห็นได้ว่าเป็นการพิมพ์ผิดเพราะโจทก์มีเพียงคนเดียวจะขอให้โจทก์ชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ย่อมไม่ได้ ทั้งในที่อื่นตามฟ้องทั้งหมดได้ขอให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ย จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ขอให้ชำระดอกเบี้ยถึงวันฟ้อง ศาลมีอำนาจพิพากษาให้จนถึงวันที่ชำระเสร็จตามคำพิพากษาได้.
มูลหนี้คดีนี้เป็นหนี้กู้ยืมเงิน 1,000,000 บาท มิได้ทำสัญญากู้กันไว้ แต่มีการจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันและให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานในการกู้ยืมเงิน หลังจากนั้นจำเลยที่ 1สั่งจ่ายเช็คพิพาทเป็นเงิน 1,000,000 บาท มอบให้โจทก์อีกโดยตกลงว่าเพื่อเป็นประกัน เช็คพิพาทจึงออกเพื่อประกันการกู้ยืมเงินด้วย โจทก์มีสิทธิฟ้องได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวบังคับจำนองก่อน
การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อไว้ด้านหลังเช็คที่สั่งจ่ายระบุชื่อ โจทก์ขีดฆ่าคำว่าหรือผู้ถือออก และมุม ซ้ายบนของด้านหน้ามีข้อความว่าเข้าบัญชีผู้รับเงินเท่านั้นห้ามเปลี่ยนมือ และในเช็คไม่ปรากฏว่ามีถ้อยคำสำนวนว่าใช้ได้เป็นอาวัล หรือสำนวนอื่นใดทำนองเดียวกัน จำเลยที่ 2 จึงมิใช่ผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้รับอาวัลแต่การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อด้านหลังเช็คที่จำเลยที่ 1เป็นผู้สั่งจ่ายโดยระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงินและจำเลยทั้งสองนำเช็คไปมอบให้โจทก์ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อด้านหลังเช็คด้วยความสมัครใจที่จะผูกพันต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรง ในอันที่จะรับผิดตามข้อความในเช็คอย่างเดียวกับจำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายด้วยการลงลายมือชื่อของตนในเช็คตามมาตรา 900 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ชำระเงินตามเช็คพิพาทพร้อมดอกเบี้ย
คำขอให้โจทก์ทั้งสองชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์จนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จ เห็นได้ว่าเป็นการพิมพ์ผิดเพราะโจทก์มีเพียงคนเดียวจะขอให้โจทก์ชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ย่อมไม่ได้ ทั้งในที่อื่นตามฟ้องทั้งหมดได้ขอให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ย จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ขอให้ชำระดอกเบี้ยถึงวันฟ้อง ศาลมีอำนาจพิพากษาให้จนถึงวันที่ชำระเสร็จตามคำพิพากษาได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3100/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลาย: หนี้กู้ยืม, สัญญาเบิกเกินบัญชี, และการเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
เมื่อไม่มีข้อตกลงในสัญญากู้เงินว่า หากผู้กู้ผิดสัญญา ผู้ให้กู้ต้องฟ้องร้องบังคับเป็นคดีแพ่งสามัญก่อนจึงจะฟ้องให้ล้มละลายได้ เมื่อต้นเงินที่กู้ระบุจำนวนได้แน่นอนและมีจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 บาท ผู้ให้กู้มีอำนาจฟ้องให้ผู้กู้ล้มละลายได้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมิใช่สัญญากู้ยืมเงิน จึงไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้เบิกเงินเกินบัญชีมาแสดงก็ฟ้องร้องบังคับคดีได้
จำเลยเพียงแต่อาศัยและช่วยทำงานอยู่กับบุคคลอื่น โดยไม่ได้รับเงินเดือนและไม่มีทรัพย์สินอื่นใดอีก ดังนั้น แม้โจทก์ทวงถามหนี้จำเลยเพียงครั้งเดียว และก่อนฟ้องเพียง 13 วัน ก็เพียงไม่เข้าข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเท่านั้น เมื่อมีข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยไม่สามารถชำระหนี้ให้โจทก์ได้ จำเลยก็เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมิใช่สัญญากู้ยืมเงิน จึงไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้เบิกเงินเกินบัญชีมาแสดงก็ฟ้องร้องบังคับคดีได้
จำเลยเพียงแต่อาศัยและช่วยทำงานอยู่กับบุคคลอื่น โดยไม่ได้รับเงินเดือนและไม่มีทรัพย์สินอื่นใดอีก ดังนั้น แม้โจทก์ทวงถามหนี้จำเลยเพียงครั้งเดียว และก่อนฟ้องเพียง 13 วัน ก็เพียงไม่เข้าข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเท่านั้น เมื่อมีข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยไม่สามารถชำระหนี้ให้โจทก์ได้ จำเลยก็เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2254/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: มูลหนี้ตามเช็ค vs. หนี้กู้ยืม
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายโดยอาศัยมูลหนี้ตามเช็คซึ่งจำเลยออกให้โจทก์เพื่อชำระหนี้เงินยืมแล้วธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน และเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด โจทก์ได้มายื่นคำขอรับชำระหนี้ เห็นได้ว่าโจทก์มีความประสงค์ขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามเช็ค หาใช่ประสงค์ขอรับชำระหนี้ในหนี้กู้ยืมไม่ จึงไม่ต้องมีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1125/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้กู้ยืมโดยมีเช็คเป็นหลักฐาน: เช็คไม่ใช่หลักฐานกู้ยืม ไม่สามารถขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้
เจ้าหนี้มิได้ขอรับชำระหนี้ในฐานะที่เป็นผู้ทรงเช็คแต่ขอรับชำระหนี้ในฐานะที่เป็นเจ้าหนี้เงินกู้โดยมีเช็คเป็นหลักฐาน เช็คมิใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืม จะนำสืบว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมหาได้ไม่ จึงเป็นหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94(1) และเมื่อเจ้าหนี้มิได้ขอรับชำระหนี้ในฐานะผู้ทรงเช็คก็ไม่ชอบที่จะให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ในฐานะเป็นผู้ทรงเช็ค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 530/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้กู้ยืมที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ: ไม่อาจขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้
ผู้ขอรับชำระหนี้ขอรับชำระหนี้เงินที่จำเลยกู้ยืมผู้ขอรับชำระหนี้ไป แต่การกู้เงินนั้นจำเลยมิได้ทำหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือให้ผู้ขอรับชำระหนี้ยึดถือไว้ จำเลยเพียงแต่ออกเช็คให้ผู้ขอรับชำระหนี้ยึดถือไว้เท่านั้นเช็คที่จำเลยออกให้ผู้ขอรับชำระหนี้ยึดถือไว้ไม่มีคำว่ากู้หรือยืม และข้อความในเช็คก็ไม่มีเค้าว่าเป็นการกู้ยืม สภาพของเช็คก็เป็นการใช้เงินไม่ใช่การกู้ยืมเช็คที่จำเลยออกให้ผู้ขอรับชำระหนี้จึงไม่ใช่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม เมื่อผู้ขอรับชำระหนี้ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยผู้กู้มาแสดง หนี้ที่ขอรับชำระจึงเป็นหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653ดังนั้นผู้ขอรับชำระหนี้จะขอรับชำระหนี้เงินกู้รายนี้ไม่ได้เพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1595/2503 และ 997/2510)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1324/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้กู้ยืมหยุดชะงักจากการชำระดอกเบี้ยด้วยการให้ทำนา และการฟ้องเรียกหนี้โดยไม่ต้องบอกกล่าว
โจทก์ฟ้องเรียกหนี้เงินกู้ โดยบรรยายปีที่กู้สลับกัน ไม่เรียงลำดับแต่ละปีแต่ได้อ้างเอกสารสำเนาสัญญากู้แต่ละฉบับมาท้ายฟ้อง ตรงกับคำบรรยายฟ้องและไม่ขัดกับเอกสาร ดังนี้ ฟ้องของโจกท์ไม่เคลือบคลุม
ป. กู้เงินของสามีโจทก์ไป และมอบนาให้ทำกินต่างดอกเบี้ยตลอดมาต่อมา ป. ตาย จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป. ได้มอบนานั้นให้ทำต่างดอกเบี้ยจนกระทั่งสามีโจกท์ตายและเมื่อสามีโจกท์ตายแล้ว จำเลยก็มอบนาดังกล่าวให้โจกท์ซึ่งเป็นผู้รับมรดกของสามีทำนาต่างดอกเบี้ยต่อมาอีกดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยได้ปฎิบัติการชำระดอกเบี้ยด้วยการให้ทำนา เป็นการรับสารภาพต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องด้วยการส่งดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง (อ้างฎีกาประชุมใหญ่ที่ 159/2513)
หนี้กู้ยืมที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาอันพึงชำระหนี้ไว้นั้น เจ้าหนี้จะฟ้องให้ชำระหนี้ที่ยืมไปโดยไม่ต้องบอกกล่าวก็ได้ (อ้างฎีกาที่ 873/2518)
ป. กู้เงินของสามีโจทก์ไป และมอบนาให้ทำกินต่างดอกเบี้ยตลอดมาต่อมา ป. ตาย จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป. ได้มอบนานั้นให้ทำต่างดอกเบี้ยจนกระทั่งสามีโจกท์ตายและเมื่อสามีโจกท์ตายแล้ว จำเลยก็มอบนาดังกล่าวให้โจกท์ซึ่งเป็นผู้รับมรดกของสามีทำนาต่างดอกเบี้ยต่อมาอีกดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยได้ปฎิบัติการชำระดอกเบี้ยด้วยการให้ทำนา เป็นการรับสารภาพต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องด้วยการส่งดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง (อ้างฎีกาประชุมใหญ่ที่ 159/2513)
หนี้กู้ยืมที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาอันพึงชำระหนี้ไว้นั้น เจ้าหนี้จะฟ้องให้ชำระหนี้ที่ยืมไปโดยไม่ต้องบอกกล่าวก็ได้ (อ้างฎีกาที่ 873/2518)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้กู้ยืมเงิน ดอกเบี้ยเกินอัตราและทบต้นเป็นโมฆะ ส่วนที่สมบูรณ์บังคับได้
จำเลยอ้างว่าชำระหนี้เงินกู้ให้โจทก์แล้วบางส่วน และโจทก์ออกใบรับให้แต่ต่อมาปลวกขึ้นบ้านจำเลยกับใบรับนั้นเสีย ดังนี้จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2)
จำเลยกู้เงินให้โจทก์ไปจริงเพียง 2,000 บาท ซึ่งจำเลยชำระแล้ว 1,000 บาท ส่วนอีก 2,420 บาทเป็นดอกเบี้ยล่วงหน้าที่โจทก์เรียกเกินอัตรา และคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยมิได้มีการตกลงเป็นหนังสือต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654, 655 ดังนั้นดอกเบี้ยดังกล่าว จึงเป็นหนี้ที่ไม่สมบูรณ์ ตกเป็นโมฆะ ส่วนหนี้เงินต้นที่ยังคงค้างชำระอยู่อีก 1,000 บาท นั้นยังคงสมบูรณ์อยู่ สัญญากู้ไม่เป็นโมฆะทั้งฉบับ ในส่วนที่สมบูรณ์โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับได้ และมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะชำระเงินเสร็จ
จำเลยกู้เงินให้โจทก์ไปจริงเพียง 2,000 บาท ซึ่งจำเลยชำระแล้ว 1,000 บาท ส่วนอีก 2,420 บาทเป็นดอกเบี้ยล่วงหน้าที่โจทก์เรียกเกินอัตรา และคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยมิได้มีการตกลงเป็นหนังสือต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654, 655 ดังนั้นดอกเบี้ยดังกล่าว จึงเป็นหนี้ที่ไม่สมบูรณ์ ตกเป็นโมฆะ ส่วนหนี้เงินต้นที่ยังคงค้างชำระอยู่อีก 1,000 บาท นั้นยังคงสมบูรณ์อยู่ สัญญากู้ไม่เป็นโมฆะทั้งฉบับ ในส่วนที่สมบูรณ์โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับได้ และมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะชำระเงินเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จากการกู้ยืม: การรับสภาพหนี้ในคำให้การของจำเลยทำให้โจทก์ไม่ต้องสืบพยาน และคดีไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2505 และ 18 กรกฎาคม 2505จำเลยได้ยืมเงินโจทก์ไป ได้ทำสัญญากู้ไว้โดยไม่ได้ระบุเวลาชำระเงินแต่จำเลยสัญญาว่าจะชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้ภายใน 3 ปีครบกำหนดในพ.ศ. 2508 จำเลยไม่ชำระหนี้ จำเลยให้การรับว่าได้ยืมเงินโจทก์ไปจริงตามฟ้อง แต่ได้หักหนี้กันไปแล้ว และคดีขาดอายุความ เรื่องกำหนดเวลาใช้เงิน 3 ปีก็ดี เรื่องหนี้ถึงกำหนดชำระในพ.ศ. 2508 ก็ดี จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธไว้ ดังนี้ ต้องถือว่าจำเลยรับตามฟ้อง และโจทก์ไม่จำต้องสืบพยานในข้อนี้เพราะฟังได้แล้วว่าครบกำหนดชำระหนี้เมื่อพ.ศ. 2508 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม2515 คดีจึงยังไม่ขาดอายุความ