พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 940/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสะดุดหยุดชะงักจากการรับสภาพหนี้ การเริ่มต้นนับอายุความใหม่
จำเลยใช้เงินบางส่วนให้โจทก์ เป็นการรับสภาพหนี้ จึงเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง
อายุความสะดุดหยุดลงตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม ระยะเวลาที่ล่วงไปแล้วคือตั้งแต่วันหนี้ค้างชำระจนถึงวันที่ 5 ตุลาคม จึงเป็นอายุความเดิมซึ่งล่วงไปแล้ว ไม่นับเข้าในอายุความใหม่ ถ้านับด้วยก็จะเป็นนับเวลาซ้อนกันไปกับอายุความเดิมอายุความที่ให้เริ่มนับใหม่ตามมาตรานี้จึงเริ่มตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม เป็นต้นไป.
ในกรณีที่ระยะเวลานับเป็นปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 158 มิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลารวมเข้าด้วย จึงต้องนับวันรุ่งขึ้นเป็นต้นไป.
อายุความสะดุดหยุดลงตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม ระยะเวลาที่ล่วงไปแล้วคือตั้งแต่วันหนี้ค้างชำระจนถึงวันที่ 5 ตุลาคม จึงเป็นอายุความเดิมซึ่งล่วงไปแล้ว ไม่นับเข้าในอายุความใหม่ ถ้านับด้วยก็จะเป็นนับเวลาซ้อนกันไปกับอายุความเดิมอายุความที่ให้เริ่มนับใหม่ตามมาตรานี้จึงเริ่มตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม เป็นต้นไป.
ในกรณีที่ระยะเวลานับเป็นปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 158 มิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลารวมเข้าด้วย จึงต้องนับวันรุ่งขึ้นเป็นต้นไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 293/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าอุปการะเลี้ยงดูที่ตกลงกันเอง มีผลเป็นหนี้ค้างชำระ แม้ฐานะเปลี่ยนแปลงก็ไม่อาจขอเปลี่ยนแปลงได้
การตกลงยอมความกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรกันเองโดยศาลมิได้เกี่ยวข้องด้วยนั้น หากต่อมาปรากฏว่าพฤติการณ์ รายได้ หรือฐานะของคู่กรณีเปลี่ยนแปลงไป ก็ชอบที่จะร้องขอต่อศาลให้สั่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1596 ได้
ค่าอุปการะเลี้ยงดูที่ศาลจะสั่งได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1596 นั้น ต้องเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูที่จะพึงต้องชำระในอนาคต จะสั่งย้อนไปเกี่ยวกับเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูที่ค้างชำระอยู่ก่อนแล้วหาได้ไม่
การที่บุคคลจะไม่ต้องอุปการะเลี้ยงดูผู้อื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1595 นั้น มุ่งหมายสำหรับงวดกาลข้างหน้าเท่านั้น ส่วนการอุปการะเลี้ยงดูที่ค้างเกี่ยวอยู่ในครั้งอดีตนั้น ยังคงตกเป็นภาระในอันที่จะต้องรับผิดต่อไปไม่เปลี่ยนแปลง
ค่าอุปการะเลี้ยงดูที่ศาลจะสั่งได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1596 นั้น ต้องเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูที่จะพึงต้องชำระในอนาคต จะสั่งย้อนไปเกี่ยวกับเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูที่ค้างชำระอยู่ก่อนแล้วหาได้ไม่
การที่บุคคลจะไม่ต้องอุปการะเลี้ยงดูผู้อื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1595 นั้น มุ่งหมายสำหรับงวดกาลข้างหน้าเท่านั้น ส่วนการอุปการะเลี้ยงดูที่ค้างเกี่ยวอยู่ในครั้งอดีตนั้น ยังคงตกเป็นภาระในอันที่จะต้องรับผิดต่อไปไม่เปลี่ยนแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 293/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าอุปการะเลี้ยงดู: หนี้ค้างชำระตามสัญญา แม้ฐานะเปลี่ยนแปลง ก็ยังต้องชำระ
การตกลงยอมความกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรกันเองโดยศาลมิได้เกี่ยวข้องด้วยนั้น หากต่อมาปรากฏว่าพฤติการณ์รายได้ หรือฐานะของคู่กรณีเปลี่ยนแปลงไป ก็ชอบที่จะร้องขอต่อศาลให้สั่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1596 ได้
ค่าอุปการะเลี้ยงดูที่ศาลจะสั่งได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1596 นั้น ต้องเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูที่จะพึงต้องชำระในอนาคต จะสั่งย้อนไปเกี่ยวกับเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูที่ค้างชำระอยู่ก่อนแล้วหาได้ไม่
การที่บุคคลจะไม่ต้องอุปการะเลี้ยงดูผู้อื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1595 นั้น มุ่งหมายสำหรับงวดกาลข้างหน้าเท่านั้น ส่วนการอุปการเลี้ยงดูที่ค้างเกี่ยวอยู่ในครั้งอดีตนั้น ยังคงตกเป็นภาระในอันที่จะต้องรับผิดต่อไปไม่เปลี่ยนแปลง
ค่าอุปการะเลี้ยงดูที่ศาลจะสั่งได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1596 นั้น ต้องเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูที่จะพึงต้องชำระในอนาคต จะสั่งย้อนไปเกี่ยวกับเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูที่ค้างชำระอยู่ก่อนแล้วหาได้ไม่
การที่บุคคลจะไม่ต้องอุปการะเลี้ยงดูผู้อื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1595 นั้น มุ่งหมายสำหรับงวดกาลข้างหน้าเท่านั้น ส่วนการอุปการเลี้ยงดูที่ค้างเกี่ยวอยู่ในครั้งอดีตนั้น ยังคงตกเป็นภาระในอันที่จะต้องรับผิดต่อไปไม่เปลี่ยนแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1122/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องเงินเกินสัญญา: เมื่อฝ่ายชนะมีสิทธิบังคับหนี้ที่ค้างชำระ และเรียกคืนเงินที่วางไว้เป็นประกัน
ตามสัญญาที่ตกลงทำกันไว้ไม่มีข้อความตัดสิทธิจำเลย เลยว่าเมื่อโจทก์กับพวกแพ้คดีจำเลยแล้วห้ามจำเลยเรียกเงินนอกจากที่วางไว้กับคนกลาง ภายหลังปรากฏว่าโจทก์กับพวกแพ้คดีจำเลยและต้องเสียเงินเกินกว่าจำนวนที่วางไว้แล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิบังคับเอาอีกได้
ส่วนจำนวนเงินที่จำเลยวางไว้กับคนกลาง เผื่อว่าเมื่อจำเลยแพ้คดีจะได้ชำระแก่โจทก์กับพวกนั้นเมื่อจำเลยเป็นฝ่ายชนะจำเลยก็ย่อมมีสิทธิเรียกเงินนั้นคืนได้
ส่วนจำนวนเงินที่จำเลยวางไว้กับคนกลาง เผื่อว่าเมื่อจำเลยแพ้คดีจะได้ชำระแก่โจทก์กับพวกนั้นเมื่อจำเลยเป็นฝ่ายชนะจำเลยก็ย่อมมีสิทธิเรียกเงินนั้นคืนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 790/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง สัญญากู้เพื่อบังคับชำระค่าเช่านา ศาลจำกัดความรับผิดตามจำนวนหนี้ค้างชำระ
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ จำเลยต่อสู้ว่าไม่ได้กู้เงินโจทก์จำเลยเช่านาโจทก์ให้นายตึ๋งทำ โดยโจทก์ให้จำเลยทำสัญญากู้ไว้แทนสัญญาเช่านา ดังนี้เมื่อฟังว่าสัญญากู้ที่ให้โจทก์จำเลยกระทำขึ้นก็เพื่อประสงค์จะให้เรียกร้องกันได้เมื่อนายตึ๋งค้างชำระค่าเช่านาเป็นการเปลี่ยนความรับผิดจากการค้ำประกันค่าเช่านามาเป็นการกู้เงินโดยเงื่อนไขที่ว่าหนี้ของลูกหนี้ยังค้างอยู่มิได้ชำระเพียงใด ผู้ค้ำประกันก็รับผิดเพียงนั้น
ฎีกาที่ 799/2493 รูปคดีไม่ตรงกับคดีนี้ เพราะเป็นเรื่องที่นิติกรรมสัญญากู้ที่ทำขึ้นผูกพันคู่กรณีโดยสมบูรณ์แต่คดีนี้ความรับผิดของจำเลยตามกฎหมายมีอยู่สมบูรณ์เพียงจำนวนที่ค้างชำระดังกล่าวมาข้างต้นเท่านั้นหาใช่เป็นการสืบเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขในเอกสารนั้นไม่
ฎีกาที่ 799/2493 รูปคดีไม่ตรงกับคดีนี้ เพราะเป็นเรื่องที่นิติกรรมสัญญากู้ที่ทำขึ้นผูกพันคู่กรณีโดยสมบูรณ์แต่คดีนี้ความรับผิดของจำเลยตามกฎหมายมีอยู่สมบูรณ์เพียงจำนวนที่ค้างชำระดังกล่าวมาข้างต้นเท่านั้นหาใช่เป็นการสืบเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขในเอกสารนั้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2471
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้สมยอมและการสันนิษฐานสุจริตของผู้ชำระหนี้ก่อนถูกยึดทรัพย์
วิธีพิจารณาแพ่งยึดทรัพย์สมยอมน่าที่นำสืบ ที่ดิน สัญญาจะขาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7345/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินวางประกันคดีล้มละลายเมื่อศาลไม่แจ้งหนี้ค้างชำระ ผู้มีสิทธิยังไม่ขาดสิทธิ
การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอรับเงินวางประกันค่าใช้จ่ายส่วนที่เหลือคืนจากศาลนั้น เป็นกรณีของการขอเงินค้างจ่ายคืนจากศาลซึ่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ไม่ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงจะต้องนำบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 ซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 323 บัญญัติว่า บรรดาเงินต่าง ๆ ที่ค้างจ่ายอยู่ในศาลหรือที่เจ้าพนักงานบังคับคดี ถ้าผู้มีสิทธิมิได้เรียกเอาภายในห้าปี ให้ตกเป็นของแผ่นดิน สำหรับคดีนี้ปรากฏว่าศาลมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่ามีเงินวางประกันค่าใช้จ่ายคงเหลืออยู่ที่ศาลและโจทก์มีสิทธิรับเงินดังกล่าว เงินดังกล่าวจึงมิใช่เงินค้างจ่ายซึ่งจะตกเป็นของแผ่นดินตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น เมื่อโจทก์เพิ่งทราบว่ามีเงินคงเหลือและมีสิทธิรับเงินดังกล่าวแล้วโจทก์จึงได้ยื่นคำขอรับเงินดังกล่าวคืนจากศาล กรณีจึงยังไม่พ้นกำหนดระยะเวลา 5 ปี โจทก์ย่อมมีสิทธิรับเงินดังกล่าวคืนได้ เงินดังกล่าวนั้นย่อมไม่ตกเป็นของแผ่นดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15009/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อห้องชุดจากการขายทอดตลาด ผู้ซื้อมีหน้าที่ตรวจสอบหนี้ค้างชำระ การออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้
ตามคำเตือนในการขายทอดตลาดระบุว่า โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อห้องชุดจากการขายทอดตลาดมีหน้าที่ตรวจสอบยอดหนี้ว่าเจ้าของห้องชุดเดิมมีหนี้ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ค้างชำระแก่จำเลยที่ 1 หรือไม่ และหากมีโจทก์จะต้องชำระให้แก่จำเลยที่ 1 หลังจากซื้อห้องชุดพิพาทแล้ว การที่โจทก์มีหนังสือให้จำเลยที่ 2 ออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้โดยเสนอว่าโจทก์จะชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางเฉพาะภายหลังจากโจทก์ซื้อห้องชุดพิพาทจากการขายทอดตลาดนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งเจ้าพนักงานที่ดินให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้โจทก์เป็นต้นไป เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ตอบหนังสือว่าข้อเสนอชำระหนี้ของโจทก์ชอบหรือไม่ และไม่ออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้แก่โจทก์ ถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์แล้ว โจทก์ฟ้องขอให้ออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ได้
พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 29 วรรคสาม บัญญัติว่า ผู้จัดการต้องดำเนินการออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 โดยต้องมีหนังสือรับรองการปลอดหนี้ตามวรรคสองให้แก่เจ้าของร่วมภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องและเจ้าของร่วมได้ชำระหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 ครบถ้วนแล้ว จะเห็นว่าการชำระหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามมาตรา 18 เป็นเงื่อนไขสำคัญของการออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ เมื่อกรณีไม่ได้ความว่าเจ้าของห้องชุดพิพาทเดิมค้างค่าใช้จ่ายต่าง ๆ หรือไม่ และเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ 1 ศาลย่อมกำหนดได้ว่าหากมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ นับถึงวันที่โจทก์ซื้อห้องชุดพิพาทจากการขายทอดตลาดซึ่งเจ้าของห้องชุดพิพาทเดิมค้างชำระแก่จำเลยที่ 1 ก็ให้โจทก์ชำระแก่จำเลยที่ 1 ให้เรียบร้อยแล้วให้จำเลยที่ 1 ออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ให้โจทก์ และเมื่อทางนำสืบโจทก์ยังไม่แน่ชัดว่าเจ้าของห้องชุดเดิมค้างค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แก่จำเลยที่ 1 หรือไม่ การที่จำเลยที่ 1 ไม่ออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ให้แก่โจทก์จึงไม่เป็นการละเมิด
พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 29 วรรคสาม บัญญัติว่า ผู้จัดการต้องดำเนินการออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 โดยต้องมีหนังสือรับรองการปลอดหนี้ตามวรรคสองให้แก่เจ้าของร่วมภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องและเจ้าของร่วมได้ชำระหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 ครบถ้วนแล้ว จะเห็นว่าการชำระหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามมาตรา 18 เป็นเงื่อนไขสำคัญของการออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ เมื่อกรณีไม่ได้ความว่าเจ้าของห้องชุดพิพาทเดิมค้างค่าใช้จ่ายต่าง ๆ หรือไม่ และเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ 1 ศาลย่อมกำหนดได้ว่าหากมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ นับถึงวันที่โจทก์ซื้อห้องชุดพิพาทจากการขายทอดตลาดซึ่งเจ้าของห้องชุดพิพาทเดิมค้างชำระแก่จำเลยที่ 1 ก็ให้โจทก์ชำระแก่จำเลยที่ 1 ให้เรียบร้อยแล้วให้จำเลยที่ 1 ออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ให้โจทก์ และเมื่อทางนำสืบโจทก์ยังไม่แน่ชัดว่าเจ้าของห้องชุดเดิมค้างค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แก่จำเลยที่ 1 หรือไม่ การที่จำเลยที่ 1 ไม่ออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ให้แก่โจทก์จึงไม่เป็นการละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14006/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบุริมสิทธิของกองทุนเงินทดแทนและประกันสังคม ครอบคลุมหนี้ค้างชำระทุกปี ไม่จำกัดเฉพาะปีปัจจุบัน
ตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 9 และ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 51 ซึ่งบทบัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าวนั้นเป็นเพียงกำหนดลำดับหนี้เงินทดแทน เงินสมทบและเงินเพิ่มที่นายจ้างค้างชำระกองทุนเงินทดแทนและกองทุนประกันสังคมให้เป็นหนี้บุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินของนายจ้างซึ่งเป็นลูกหนี้และให้อยู่ในลำดับเดียวกับบุริมสิทธิในค่าภาษีอากรตาม ป.พ.พ. โดยมิได้มีบทบัญญัติใดที่กำหนดว่าหนี้นั้นจะต้องเป็นหนี้ที่นายจ้างซึ่งเป็นลูกหนี้ค้างชำระอยู่ในปีใดอย่างบุริมสิทธิในมูลค่าภาษีอากรที่ ป.พ.พ. มาตรา 256 บัญญัติให้ใช้สำหรับเอาบรรดาค่าภาษีอากรในที่ดิน ทรัพย์สิน หรือค่าภาษีอากรอย่างอื่นที่ลูกหนี้ยังค้างชำระอยู่ในปีปัจจุบันและก่อนนั้นขึ้นไปอีกปีหนึ่ง
คดีนี้ผู้ร้องได้ใช้อำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้อายัดเงินในบัญชีเงินฝากธนาคาร ก. สาขาบ้านฉาง ของจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 50 และ พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 47 โดยชอบตั้งแต่ปี 2554 อันถือได้ว่าเป็นวันที่ผู้ร้องใช้อำนาจตามบทบัญญัติของกฎหมายเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ที่ค้างชำระเงินทดแทน เงินสมทบและเงินเพิ่มชำระหนี้แล้ว ผู้ร้องจึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ดังกล่าวจากเงินที่อายัดในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิตามคำร้อง
คดีนี้ผู้ร้องได้ใช้อำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้อายัดเงินในบัญชีเงินฝากธนาคาร ก. สาขาบ้านฉาง ของจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 50 และ พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 47 โดยชอบตั้งแต่ปี 2554 อันถือได้ว่าเป็นวันที่ผู้ร้องใช้อำนาจตามบทบัญญัติของกฎหมายเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ที่ค้างชำระเงินทดแทน เงินสมทบและเงินเพิ่มชำระหนี้แล้ว ผู้ร้องจึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ดังกล่าวจากเงินที่อายัดในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิตามคำร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17210/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาล้มละลายจากหนี้ค้างชำระสัญญาเช่าซื้อและคำบังคับทวงหนี้ที่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำสัญญาเช่าซื้อรถกับโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกัน เมื่อโจทก์เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พบว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้จึงดำเนินการทวงหนี้ จนศาลล้มละลายกลางออกคำบังคับให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้ โดยจำเลยทั้งสามมิได้ปฏิเสธหนี้ภายในกำหนดเวลา 14 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งความ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสามเป็นหนี้โจทก์ตามจำนวนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งไปเป็นการเด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/39 วรรคสอง จำเลยที่ 2 และที่ 3 อ้างแต่เพียงว่าไม่ทราบเรื่องการทวงถามหนี้โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมิได้ปฏิเสธ แต่ก็มิได้โต้แย้งหรือขอให้ศาลเพิกถอนคำบังคับ คำบังคับดังกล่าวจึงผูกพันจำเลยทั้งสาม โจทก์ไม่จำต้องนำสืบอ้างส่งพยานหลักฐานสัญญาเช่าซื้อ สัญญาค้ำประกัน รายการคำนวณยอดหนี้และรายการค่าเสียหาย ภาระหนี้หลังการขายทอดตลาดแต่อย่างใด จำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ไม่อาจอ้างได้ว่าหนี้ที่ทวงถามโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขาดอายุความ
ก่อนฟ้องโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ชำระหนี้ 2 ครั้ง ครั้งแรกวันที่ 3 มิถุนายน 2551 ครั้งที่สองวันที่ 18 สิงหาคม 2551 โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 แม้การส่งครั้งแรกพนักงานไปรษณีย์จะแจ้งเหตุขัดข้องในการนำส่งว่า "ไม่มีผู้รับตามจ่าหน้า" แต่ก็ปรากฏตามแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรท้ายคำแถลงขอจัดส่งคำคู่ความว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 มีภูมิลำเนาอยู่ตามสถานที่โจทก์นำส่งหนังสือทวงถามจริง และในการนำส่งหนังสือทวงถามครั้งที่สอง ก็ปรากฏว่ามีผู้เกี่ยวพันเป็นหลานสาวคือ ส. ซึ่งเป็นบุคคลเดียวกับผู้ที่รับหมายเรียกคดีล้มละลายคดีนี้แทนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ลงลายมือชื่อรับหนังสือไว้แทน พฤติการณ์แสดงชัดว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 หลีกเลี่ยงไม่ยอมรับหนังสือทวงถาม ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้รับหนังสือและทราบการทวงถามโดยชอบแล้วตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (9)
ก่อนฟ้องโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ชำระหนี้ 2 ครั้ง ครั้งแรกวันที่ 3 มิถุนายน 2551 ครั้งที่สองวันที่ 18 สิงหาคม 2551 โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 แม้การส่งครั้งแรกพนักงานไปรษณีย์จะแจ้งเหตุขัดข้องในการนำส่งว่า "ไม่มีผู้รับตามจ่าหน้า" แต่ก็ปรากฏตามแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรท้ายคำแถลงขอจัดส่งคำคู่ความว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 มีภูมิลำเนาอยู่ตามสถานที่โจทก์นำส่งหนังสือทวงถามจริง และในการนำส่งหนังสือทวงถามครั้งที่สอง ก็ปรากฏว่ามีผู้เกี่ยวพันเป็นหลานสาวคือ ส. ซึ่งเป็นบุคคลเดียวกับผู้ที่รับหมายเรียกคดีล้มละลายคดีนี้แทนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ลงลายมือชื่อรับหนังสือไว้แทน พฤติการณ์แสดงชัดว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 หลีกเลี่ยงไม่ยอมรับหนังสือทวงถาม ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้รับหนังสือและทราบการทวงถามโดยชอบแล้วตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (9)