พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1442/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือบอกกล่าวหนี้จำนองและการฟ้องคดีก่อนครบกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้จำนองพร้อมทั้งดอกเบี้ยภายในเดือนตุลาคม 2521 จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะชำระหนี้ดังกล่าวในวันใดก็ได้จนถึงวันสิ้นเดือนตุลาคม 2521 โจทก์ส่งหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยวันที่ 1 ตุลาคม 2521 และนำคดีมาฟ้องวันที่ 6 ตุลาคม 2521 เป็นการนำมาฟ้องก่อนสิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ ซึ่งยังอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยจะชำระหนี้ให้โจทก์ได้ จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยละเลยไม่ปฏิบัติตามคำบอกกล่าวโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องบังคับจำนอง ไม่ใช่ฟ้องชำระหนี้กู้ ไม่ต้องมีสัญญากู้ปิดอากรแสตมป์
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้จำนอง ถ้าไม่ชำระก็ขอบังคับจำนอง มิใช่ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้ จึงไม่ต้องมีสัญญากู้ที่ต้องปิดอากรแสตมป์มาแสดง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2572/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับมรดกหนี้จำนอง: สิทธิและหน้าที่ของผู้รับมรดกตามกฎหมายลักษณะมรดก
เมื่อ อ.สามีโจทก์ตายทรัพย์สินของอ. ตลอดจนสิทธิหน้าที่ต่างๆ ซึ่งรวมทั้งหนี้จำนองที่จำเลยจำนองไว้กับอ. ย่อมเป็นมรดกตกทอดได้แก่โจทก์และทายาทตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะมรดก กรณีมิใช่อยู่ในบังคับเรื่องการโอนสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1133/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกกล่าวหนี้จำนองและเจตนาไม่ถือเอาประโยชน์จากระยะเวลาที่โจทก์กำหนด ทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องก่อนครบกำหนด
เมื่อจำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวให้ไถ่ถอนจำนองภายใน 30 วันนับแต่วันได้รับหนังสือจำเลยก็พูดกับผู้ส่งหนังสือว่า ไม่มีเงิน ถ้าอยากได้เร็ว ๆ ให้ฟ้องเอา เห็นได้ว่าจำเลยได้แสดงเจตนาไม่ถือเอาประโยชน์จากระยะเวลาที่โจทก์กำหนดให้ เมื่อโจทก์ได้ให้เวลาแก่จำเลยหลังทราบคำบอกกล่าวแล้วถึง 13 วัน อันเป็นระยะเวลาพอสมควรโจทก์มีอำนาจฟ้องได้โดยไม่ต้องรอให้ครบกำหนดระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคำบอกกล่าว
จำเลยฎีกาว่า สมควรอนุญาตให้จำเลยอ้างพยานเพิ่มเติมตามคำร้องของจำเลย เมื่อศาลฎีกาเห็นว่า แม้จะอนุญาตให้จำเลยสืบพยานตามที่ระบุไว้นั้น ก็ไม่ทำให้รูปคดีเปลี่ยนแปลง ไม่มีความจำเป็นต้องสืบพยานเช่นนั้น ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยอีกว่าสมควรจะรับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของจำเลยนั้นหรือไม่
จำเลยฎีกาว่า สมควรอนุญาตให้จำเลยอ้างพยานเพิ่มเติมตามคำร้องของจำเลย เมื่อศาลฎีกาเห็นว่า แม้จะอนุญาตให้จำเลยสืบพยานตามที่ระบุไว้นั้น ก็ไม่ทำให้รูปคดีเปลี่ยนแปลง ไม่มีความจำเป็นต้องสืบพยานเช่นนั้น ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยอีกว่าสมควรจะรับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของจำเลยนั้นหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2349/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การเรียกร้องดอกเบี้ยจำนองเมื่อไม่มีข้อตกลงชัดเจน
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่า จำเลยตกลงเช่าซื้อทรัพย์สินของโจทก์ที่โจทก์จำนองไว้ต่อธนาคาร ถ้าจำเลยผิดสัญญาไม่ชำระเงินให้โจทก์ โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการผิดสัญญาได้ ดังนี้ เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความที่มีกล่าวถึงเรื่องไถ่ถอนจำนองก็ไม่มีข้อตกลงให้จำเลยรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยของหนี้จำนองแต่อย่างใด โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชำระดอกเบี้ยหนี้จำนองทรัพย์สินที่จำเลยเช่าซื้อจากโจทก์ และโจทก์ต้องเสียให้ธนาคารในระหว่างจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 224/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้จำนองระงับด้วยสัญญาประนีประนอม สิทธิบังคับคดีตามสัญญาใหม่
โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ชำระหนี้จำนอง แล้วโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยยอมชำระหนี้จำนอง ศาลพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ ถือว่าเป็นเพียงฟ้องในมูลหนี้สามัญ และมีผลทำให้หนี้เดิมระงับ เกิดหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ย่อมบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอื่นๆ ของจำเลยรวมทั้งทรัพย์ที่จำนองได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1683/2498,127/2506 และ 989/2506)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองหลายสิ่งประกันหนี้เดียว: แบ่งภาระตามจำนวนเงินจำนอง, คืนส่วนเกิน, ห้ามรวมหนี้
การจำนองทรัพย์สินหลายสิ่งเพื่อประกันหนี้รายหนึ่งรายเดียวโดยมิได้ระบุอันดับไว้ แต่ระบุจำนวนเงินจำนองไว้เฉพาะทรัพย์สินแต่ละสิ่ง หากผู้รับจำนองใช้สิทธิบังคับทรัพย์สินทั้งหมดพร้อมกันเช่นนี้ต้องแบ่งภาระแห่งหนี้นั้นกระจายไปตามจำนวนเงินจำนองที่ระบุไว้เฉพาะทรัพย์สิ่งนั้นๆ ซึ่งผลก็คือ หากขายทอดตลาดทรัพย์สิ่งใดได้เงินเกินกว่าจำนวนที่ระบุในสัญญาจำนอง ก็ต้องคืนส่วนที่เกินให้ผู้จำนองไป และทรัพย์สิ่งใดขายได้ไม่คุ้มจำนวนที่ระบุในสัญญาจำนองส่วนที่ขาดก็เป็นอันพับไป จะเอาหนี้จำนองแต่ละรายมารวมกันตั้งเป็นเกณฑ์คำนวณมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์และการระงับหนี้จำนองจากการชำระหนี้ด้วยทรัพย์สิน
โจทก์เป็นผู้รับพินัยกรรมและผู้จัดการมรดกของ พ. ได้ครอบครองที่พิพาทสืบต่อมาในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ และเป็นไปโดยสงบและเปิดเผยอย่างเป็นเจ้าของ ส่วนจำเลยเป็นทายาทผู้สืบกรรมสิทธิ์ จาก ส. ซึ่งมีชื่อในโฉนดที่พิพาท ฉะนั้น ภาระการพิสูจน์ว่าการครอบครองที่พิพาทของฝ่ายโจทก์ได้เป็นไปโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของย่อมตกอยู่แก่โจทก์ (อ้างฎีกาที่ 521/2493, 1112/2493)
แม้จำเลยจะเป็นฝ่ายนำสืบก่อนตามคำสั่งศาลชั้นต้น หากจะทำการพิจารณาวินิจฉัยต่อไป ก็ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ ศาลฎีกาย่อมดำเนินการพิจารณาต่อไปตามรูปคดี ที่โจทก์เป็นฝ่ายมีหน้าที่นำสืบก่อนได้ โดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาใหม่
การที่ พ. ยอมให้ ส. เอาที่พิพาทที่ ส.จำนองไว้กับ พ. ตีใช้หนี้ แม้จะมิได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียน เมื่อ พ. กับโจทก์ซึ่งเป็นทายาทได้ครอบครองมาเกิน 10 ปี ฝ่ายโจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทตามมาตรา 1382 สิทธิไถ่ถอนจำนองของจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ส. จึงระงับไป จำเลยจะเถียงกันว่าเมื่อไม่มีการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนอง การจำนองก็ยังมีอยู่หาได้ไม่ เพราะกรณีเป็นการที่ฝ่ายจำเลยยกที่พิพาทตีใช้หนี้และฝ่ายโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้ว หนี้จำนองย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 ประกอบมาตรา 744 (1) ทั้งจำเลยไม่ใช่บุคคลภายนอกซึ่งจะถือได้ว่า เมื่อไม่จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองตามมาตรา 746 การจำนองก็ไม่ระงับไป
แม้จำเลยจะเป็นฝ่ายนำสืบก่อนตามคำสั่งศาลชั้นต้น หากจะทำการพิจารณาวินิจฉัยต่อไป ก็ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ ศาลฎีกาย่อมดำเนินการพิจารณาต่อไปตามรูปคดี ที่โจทก์เป็นฝ่ายมีหน้าที่นำสืบก่อนได้ โดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาใหม่
การที่ พ. ยอมให้ ส. เอาที่พิพาทที่ ส.จำนองไว้กับ พ. ตีใช้หนี้ แม้จะมิได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียน เมื่อ พ. กับโจทก์ซึ่งเป็นทายาทได้ครอบครองมาเกิน 10 ปี ฝ่ายโจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทตามมาตรา 1382 สิทธิไถ่ถอนจำนองของจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ส. จึงระงับไป จำเลยจะเถียงกันว่าเมื่อไม่มีการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนอง การจำนองก็ยังมีอยู่หาได้ไม่ เพราะกรณีเป็นการที่ฝ่ายจำเลยยกที่พิพาทตีใช้หนี้และฝ่ายโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้ว หนี้จำนองย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 ประกอบมาตรา 744 (1) ทั้งจำเลยไม่ใช่บุคคลภายนอกซึ่งจะถือได้ว่า เมื่อไม่จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองตามมาตรา 746 การจำนองก็ไม่ระงับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์และการระงับหนี้จำนองเมื่อมีการยกทรัพย์ชำระหนี้
โจทก์เป็นผู้รับพินัยกรรมและผู้จัดการมรดกของ พ. ได้ครอบครองที่พิพาทสืบต่อมาในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์และเป็นไปโดยสงบและเปิดเผยอย่างเป็นเจ้าของส่วนจำเลยเป็นทายาทผู้สืบกรรมสิทธิ์จาก ส. ซึ่งมีชื่อในโฉนดที่พิพาท ฉะนั้น ภาระการพิสูจน์ว่าการครอบครองที่พิพาทของฝ่ายโจทก์ได้เป็นไปโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของย่อมตกอยู่แก่โจทก์ (อ้างฎีกาที่ 521/2493,1112/2493)
แม้จำเลยจะเป็นฝ่ายนำสืบก่อนตามคำสั่งศาลชั้นต้น หากจะทำการพิจารณาวินิจฉัยต่อไป ก็ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ ศาลฎีกาย่อมดำเนินการพิจารณาต่อไปตามรูปคดีที่โจทก์เป็นฝ่ายมีหน้าที่นำสืบก่อนได้โดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาใหม่
การที่ พ. ยอมให้ส.เอาที่พิพาทที่ ส. จำนองไว้กับ พ. ตีใช้หนี้ แม้จะมิได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียนเมื่อ พ. กับโจทก์ซึ่งเป็นทายาทได้ครอบครองมาเกิน 10 ปี ฝ่ายโจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทตามมาตรา 1382 สิทธิไถ่ถอนจำนองของจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ส.จึงระงับไปจำเลยจะเถียงว่าเมื่อไม่มีการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองการจำนองก็ยังมีอยู่หาได้ไม่ เพราะกรณีเป็นการที่ฝ่ายจำเลยยกที่พิพาทตีใช้หนี้และฝ่ายโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้ว หนี้จำนองย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 ประกอบมาตรา 744(1) ทั้งจำเลยไม่ใช่บุคคลภายนอกซึ่งจะถือได้ว่าเมื่อไม่จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองตามมาตรา 746 การจำนองก็ไม่ระงับไป
แม้จำเลยจะเป็นฝ่ายนำสืบก่อนตามคำสั่งศาลชั้นต้น หากจะทำการพิจารณาวินิจฉัยต่อไป ก็ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ ศาลฎีกาย่อมดำเนินการพิจารณาต่อไปตามรูปคดีที่โจทก์เป็นฝ่ายมีหน้าที่นำสืบก่อนได้โดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาใหม่
การที่ พ. ยอมให้ส.เอาที่พิพาทที่ ส. จำนองไว้กับ พ. ตีใช้หนี้ แม้จะมิได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียนเมื่อ พ. กับโจทก์ซึ่งเป็นทายาทได้ครอบครองมาเกิน 10 ปี ฝ่ายโจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทตามมาตรา 1382 สิทธิไถ่ถอนจำนองของจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ส.จึงระงับไปจำเลยจะเถียงว่าเมื่อไม่มีการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองการจำนองก็ยังมีอยู่หาได้ไม่ เพราะกรณีเป็นการที่ฝ่ายจำเลยยกที่พิพาทตีใช้หนี้และฝ่ายโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้ว หนี้จำนองย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 ประกอบมาตรา 744(1) ทั้งจำเลยไม่ใช่บุคคลภายนอกซึ่งจะถือได้ว่าเมื่อไม่จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองตามมาตรา 746 การจำนองก็ไม่ระงับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์และการระงับหนี้จำนองเมื่อมีการยกทรัพย์ชำระหนี้
โจทก์เป็นผู้รับพินัยกรรมและผู้จัดการมรดกของ พ. ได้ครอบครองที่พิพาทสืบต่อมาในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์และเป็นไปโดยสงบและเปิดเผยอย่างเป็นเจ้าของ. ส่วนจำเลยเป็นทายาทผู้สืบกรรมสิทธิ์จาก ส. ซึ่งมีชื่อในโฉนดที่พิพาท ฉะนั้น ภาระการพิสูจน์ว่าการครอบครองที่พิพาทของฝ่ายโจทก์ได้เป็นไปโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของย่อมตกอยู่แก่โจทก์(อ้างฎีกาที่ 521/2493,1112/2493).
แม้จำเลยจะเป็นฝ่ายนำสืบก่อนตามคำสั่งศาลชั้นต้น. หากจะทำการพิจารณาวินิจฉัยต่อไป. ก็ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ. ศาลฎีกาย่อมดำเนินการพิจารณาต่อไปตามรูปคดีที่โจทก์เป็นฝ่ายมีหน้าที่นำสืบก่อนได้. โดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาใหม่.
การที่ พ.ยอมให้ส.เอาที่พิพาทที่ส. จำนองไว้กับพ.ตีใช้หนี้ แม้จะมิได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียน. เมื่อพ.กับโจทก์ซึ่งเป็นทายาทได้ครอบครองมาเกิน 10 ปี ฝ่ายโจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทตามมาตรา 1382.สิทธิไถ่ถอนจำนองของจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ส.จึงระงับไป.จำเลยจะเถียงว่าเมื่อไม่มีการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนอง. การจำนองก็ยังมีอยู่หาได้ไม่. เพราะกรณีเป็นการที่ฝ่ายจำเลยยกที่พิพาทตีใช้หนี้และฝ่ายโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้ว. หนี้จำนองย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 ประกอบมาตรา 744(1). ทั้งจำเลยไม่ใช่บุคคลภายนอก.ซึ่งจะถือได้ว่าเมื่อไม่จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองตามมาตรา 746. การจำนองก็ไม่ระงับไป.
แม้จำเลยจะเป็นฝ่ายนำสืบก่อนตามคำสั่งศาลชั้นต้น. หากจะทำการพิจารณาวินิจฉัยต่อไป. ก็ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ. ศาลฎีกาย่อมดำเนินการพิจารณาต่อไปตามรูปคดีที่โจทก์เป็นฝ่ายมีหน้าที่นำสืบก่อนได้. โดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาใหม่.
การที่ พ.ยอมให้ส.เอาที่พิพาทที่ส. จำนองไว้กับพ.ตีใช้หนี้ แม้จะมิได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียน. เมื่อพ.กับโจทก์ซึ่งเป็นทายาทได้ครอบครองมาเกิน 10 ปี ฝ่ายโจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทตามมาตรา 1382.สิทธิไถ่ถอนจำนองของจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ส.จึงระงับไป.จำเลยจะเถียงว่าเมื่อไม่มีการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนอง. การจำนองก็ยังมีอยู่หาได้ไม่. เพราะกรณีเป็นการที่ฝ่ายจำเลยยกที่พิพาทตีใช้หนี้และฝ่ายโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้ว. หนี้จำนองย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 ประกอบมาตรา 744(1). ทั้งจำเลยไม่ใช่บุคคลภายนอก.ซึ่งจะถือได้ว่าเมื่อไม่จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองตามมาตรา 746. การจำนองก็ไม่ระงับไป.