คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หนี้สิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 473 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4170/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของบันทึกเลิกบริษัท: ข้อตกลงจัดการหนี้สินยังไม่ผูกพันจนกว่าจะจดทะเบียนเลิกบริษัท
จำเลยที่ 2 และที่ 3 กับ ย. ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ตกลงกันเลิกบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ทำบันทึกเลิกบริษัทจำเลยที่ 1 และมีข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สิน หนี้สิน และภาระความรับผิดต่าง ๆ ของจำเลยที่ 1 ระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 ฝ่ายหนึ่ง กับ ย. ฝ่ายหนึ่ง โดยระบุให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับภาระในการชำระหนี้การค้าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นการส่วนตัว บันทึกดังกล่าวจึงถือเป็นข้อตกลงที่กำหนดหน้าที่ของทั้งสองฝ่าย เพื่อประสงค์จะระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับการจัดการแบ่งปันทรัพย์สินและชำระหนี้สินของจำเลยที่ 1 ที่มีอยู่ให้เสร็จสิ้นไปเมื่อมีการจดทะเบียนเลิกบริษัทจำเลยที่ 1 ดังนั้น ตราบใดที่ยังไม่มีการจดทะเบียนเลิกบริษัทจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงยังเป็นนิติบุคคล ข้อตกลงในการจัดการทรัพย์สินและหนี้สินตามบันทึกจึงยังไม่อาจมีผลบังคับได้ และบันทึกเลิกบริษัทดังกล่าวไม่ถือเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ มาตรา 374 โจทก์จึงไม่อาจอาศัยข้อตกลงในบันทึกเลิกบริษัทนั้นบังคับให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้, สิทธิบังคับจำนอง, และความรับผิดของทายาทต่อหนี้สินของผู้ตาย
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของ ท. ผู้ตายให้ชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองที่ ท. ได้จำนองที่ดินเป็นประกันหนี้เงินกู้ไว้แม้โจทก์ฟ้องคดีหลังจาก ท. ถึงแก่ความตายไปเกิน 1 ปี คดีขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 วรรคสามแล้ว แต่บทบัญญัติดังกล่าวยกเว้นมิให้ใช้บังคับในกรณีสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ตามมาตรา 193/27 แม้คดีขาดอายุความแล้ว ก็ยังยอมให้โจทก์ผู้รับจำนองใช้สิทธิบังคับเอาจากทรัพย์สินที่จำนองได้ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของ ท. ให้ชำระหนี้โจทก์จากทรัพย์สินที่จำนองได้
โจทก์ไม่ได้มอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือแก่ ร. ทนายโจทก์ให้บอกกล่าวบังคับจำนอง แต่เมื่อ ร. ได้บอกกล่าวบังคับจำนองในนามของโจทก์และโจทก์ยอมรับเอาการบอกกล่าวแล้ว ย่อมถือว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 823 และถือว่าโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยแล้ว
ท. ผู้ตายเป็นหนี้โจทก์อยู่และถึงแก่ความตาย จำเลยซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายย่อมรับไปทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่อโจทก์ โจทก์มีสิทธิที่จะฟ้องเรียกร้องบังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมได้เท่าที่ไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ได้รับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1601 ส่วนจำเลยจะได้รับมรดกของผู้ตาย และผู้ตายจะมีทรัพย์มรดกหรือไม่ เป็นเรื่องต้องว่ากันในชั้นบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7093/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดร่วมรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วนที่ล้มละลาย แม้จะไม่มีหนี้ส่วนตัว
ผู้คัดค้านเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. ซึ่งได้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ผู้คัดค้านล้มละลายตามห้างได้ ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 89 และเนื่องจากผู้คัดค้านต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. โดยไม่จำกัดจำนวน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1070, 1077 (2) ดังนั้น ผู้คัดค้านจึงไม่อาจต่อสู้คดีหรือนำสืบว่าตนมีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. หรือพิสูจน์ว่าตนมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
คดีนี้เดิมโจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. และผู้คัดค้านเด็ดขาดโดยอ้างว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยจึงมีว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. และผู้คัดค้านมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. เด็ดขาดแต่ยกฟ้องผู้คัดค้านโดยวินิจฉัยว่ามีเหตุอันสมควรที่จะไม่ให้ผู้คัดค้าน ล้มละลาย คดีถึงที่สุด ต่อมาศาลพิพากษาให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. ล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงยื่นคำร้องขอให้ผู้คัดค้านล้มละลายตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 89 ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในชั้นนี้จึงมีว่า ผู้คัดค้านเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดหรือไม่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยทั้งสองกรณีดังกล่าวจึงอาศัยเหตุต่างกัน การที่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องดังกล่าวจึงมิใช่ฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีแพ่งให้ผู้คัดค้านร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. ชำระหนี้แก่โจทก์ซึ่งคดีถึงที่สุดแล้ว และโจทก์ยื่นฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. เป็นคดีล้มละลายภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีแพ่ง ย่อมมีผลทำให้อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. ตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (2) ดังนั้น เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ผู้คัดค้านก็ต้องร่วมรับผิดในหนี้สินของห้างดังกล่าวซึ่งเป็นวิธีจัดการเพื่อรวบรวมทรัพย์สินของห้างนั้นชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ของห้างตามอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยชอบ แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะยื่นคำร้องขอให้ผู้คัดค้านล้มละลายตามห้างเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี นับแต่คดีแพ่งถึงที่สุดก็ตาม คำร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวก็ไม่ขาดอายุความเพราะกรณีมิใช่หนี้สินส่วนตัวของผู้คัดค้านที่ผู้คัดค้านจะอ้างอายุความดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7093/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดร่วมรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วน และการฟ้องล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย
ผู้คัดค้านเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ป.และห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าว ได้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ผู้คัดค้านล้มละลายตามห้างได้ เนื่องจากผู้คัดค้านต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1070,1077(2) ผู้คัดค้านจึงไม่อาจต่อสู้คดีหรือนำสืบว่าตนมีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. หรือพิสูจน์ว่าตนมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
เดิมโจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. และผู้คัดค้านเด็ดขาด โดยอ้างว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยจึงมีว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. และผู้คัดค้านมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างเด็ดขาด แต่ยกฟ้องผู้คัดค้านโดยวินิจฉัยว่ามีเหตุอันสมควรที่จะไม่ให้ผู้คัดค้านล้มละลาย ต่อมาศาลพิพากษาให้ห้างดังกล่าวล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงยื่นคำร้องขอให้ผู้คัดค้านล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 89 ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจมีคำขอโดยทำเป็นคำร้องให้บุคคลซึ่งนำสืบได้ว่าเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนนั้นล้มละลายได้ โดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีขึ้นใหม่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยจึงมีว่า ผู้คัดค้านเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดหรือไม่ ประเด็นที่วินิจฉัยจึงอาศัยเหตุต่างกัน การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องดังกล่าวจึงมิใช่ฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148 ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ผู้คัดค้านร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. ชำระหนี้แก่โจทก์และโจทก์ยื่นฟ้องห้างดังกล่าวเป็นคดีล้มละลาย ซึ่งยังไม่พ้นกำหนดเวลา10 ปี นับแต่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีแพ่ง ย่อมมีผลทำให้อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(2) เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ป.ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ผู้คัดค้านในฐานะเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ก็ต้องร่วมรับผิดในหนี้สินของห้างซึ่งเป็นวิธีจัดการเพื่อรวบรวมทรัพย์สินของห้างชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ของห้างตามอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยชอบ คำร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่ขาดอายุความ
กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้ผู้คัดค้านล้มละลายในฐานะเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด เมื่อห้างถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วศาลย่อมมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของผู้คัดค้านซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเด็ดขาดแล้วพิพากษาให้ล้มละลายตามห้างนั้นได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 89 โดยไม่จำต้องวินิจฉัยตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 9

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 517/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกลับจดทะเบียนบริษัทร้างเพื่อดำเนินคดีเรียกร้องหนี้สิน ต้องคำนึงถึงฐานะเดิมและหน้าที่ตามกฎหมาย
การที่ศาลจะสั่งและวางข้อกำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1246 ต้องเพื่อความยุติธรรมและโดยจุดประสงค์เพื่อจัดให้บริษัทเข้าสู่ฐานอันใกล้ที่สุดกับฐานเดิมเสมือนดั่งว่าบริษัทนั้นมิได้ถูกขีดชื่ออกจากทะเบียนเลย มิใช่สั่งและวางข้อกำหนดให้บริษัทหลุดพ้นหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องปฏิบัติในการทำบัญชีงบดุล ตรวจสอบและประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3199/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่ชำระหนี้ของบริษัทก่อนแบ่งเงินให้ผู้ถือหุ้น การเพิกเฉยหนี้ภาษีถือเป็นการละเมิด
ผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่ชำระสะสางการงานของบริษัทให้เสร็จไปกับจัดการใช้หนี้เงินและแจกจำหน่ายสินทรัพย์ของบริษัทตามมาตรา 1250 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การที่บริษัท บ. ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลกับภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ถูกต้อง จำเลยซึ่งเป็นทั้งกรรมการและผู้ชำระบัญชีของบริษัทดังกล่าวมีหน้าที่เอื้อเฟื้อสอดส่องในการประกอบกิจการของบริษัทที่ตนเป็นกรรมการตามมาตรา 1168 และในฐานะที่เป็นผู้ชำระบัญชีตามมาตรา 1252 จึงควรจะต้องรู้ว่าบริษัทเป็นหนี้ค่าภาษีอยู่ การที่จำเลยมิได้เก็บรักษาเอกสารไว้ตามมาตรา 1271 อีกทั้งเมื่อจดทะเบียนเลิกบริษัทแล้วมิได้แจ้งการเลิกกิจการภายใน 15 วัน นับจากวันเลิกประกอบกิจการตามประมวลรัษฎากร มาตรา 85/15 แต่ไปแจ้งหลังจากนั้น 1 ปีเศษและรีบจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีโดยบริษัทยังมีเงินสดเหลืออยู่อีก 1,538,905.44บาท แต่มิได้กันเงินที่จะชำระหนี้ให้กรมสรรพากรโจทก์โดยกลับแบ่งเงินเฉลี่ยคืนให้แก่ผู้ถือหุ้น อันขัดต่อมาตรา 1264 และมาตรา 1269 การกระทำของจำเลยจึงเป็นการจงใจปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ชำระบัญชีโดยฝ่าฝืนกฎหมายทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลภาษีอากรกลาง ต่อมาศาลฎีกาเห็นว่าคดีในส่วนของจำเลยไม่อยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากรกลางและพิพากษาให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลภาษีอากรกลางตั้งแต่ชั้นรับคำฟ้องจนถึงชั้นมีคำพิพากษา จึงเป็นกรณีที่ศาลไม่รับคำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาล กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17 วรรคสอง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีใหม่เพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่คำพิพากษาดังกล่าวนั้นถึงที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะผู้ถือหุ้นบริษัทจำกัดกับสิทธิในทรัพย์สินของบริษัท: ไม่มีสิทธิในทรัพย์สิน/หนี้สินส่วนตัว
โจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจาก ต. ซึ่งเป็นสามีของผู้ร้องสอดที่ 1และเป็นบิดาของผู้ร้องสอดที่ 2 แม้ว่า ต. กับผู้ร้องสอดที่ 1 จะเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทโจทก์ และ ต. เคยเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่และกรรมการบริหารบริษัทโจทก์มาก่อน ก็หาก่อให้ต. เกิดสิทธิหรือหน้าที่ใดในทรัพย์สินหรือหนี้สินของโจทก์เป็นการส่วนตัวไม่ หาก ต. นำสินสมรสระหว่าง ต. กับผู้ร้องสอดที่ 1 ไปลงทุนซื้อหุ้นโจทก์ ต. คงมีฐานะเป็นผู้ถือหุ้นคนหนึ่งของโจทก์เท่านั้น เมื่อโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยตามสัญญาซื้อขายและฟ้องเรียกเงินค่าสินค้าจากจำเลย หากโจทก์ชนะคดีเงินค่าสินค้าที่จำเลยชำระย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ต. ในฐานะผู้ถือหุ้นของโจทก์หามีสิทธิใด ๆ ในเงินค่าสินค้าดังกล่าวไม่ เงินค่าสินค้าจึงไม่ใช่สินสมรสหรือเป็นมรดกของ ต. ผู้ร้องสอดทั้งสองมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในเงินค่าสินค้า จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะขอให้ศาลให้ความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิเรียกร้องในเงินค่าสินค้าที่โจทก์ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(1) ผู้ร้องสอดทั้งสองไม่มีสิทธิร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1840/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ชำระบัญชีไม่ต้องรับผิดร่วมกับบริษัท หากไม่มีทรัพย์สินเหลือพอชำระหนี้ และไม่ได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ก็เฉพาะกรณีจำเลยที่ 2 ปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ผู้ชำระบัญชีโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายไม่ได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 มีอยู่ เมื่อไม่ปรากฏว่านอกจากทรัพย์สินที่โจทก์ยึดและอายัดมาชำระหนี้แล้ว จำเลยที่ 1 ยังมีทรัพย์สินอื่น ดังนั้น แม้จำเลยที่ 2 จะปฏิบัติหน้าที่ผู้ชำระบัญชีไม่ครบถ้วนตามที่ ป.พ.พ. บัญญัติไว้ ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1431/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่ชำระสะสางหนี้สินบริษัท หากไม่มีทรัพย์สินเพียงพอต้องขอศาลสั่งล้มละลาย ไม่ต้องรับผิดหนี้ส่วนตัว
ผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1250 และ มาตรา 1266 ที่จะต้องชำระสะสางการงานของบริษัทให้เสร็จสิ้นไปกับจัดการใช้หนี้เงินและแจกจำหน่ายสินทรัพย์ของบริษัท ถ้าเห็นว่าเมื่อเงินค่าหุ้นได้ใช้เสร็จหมดแล้ว สินทรัพย์ยังไม่พอกับหนี้สิน ผู้ชำระบัญชีต้องร้องขอต่อศาลเพื่อให้ออกคำสั่งว่าบริษัทล้มละลายทันที นอกจากนี้ ป.รัษฎากร มาตรา 72 ยังบัญญัติให้ผู้ชำระบัญชีและผู้จัดการบริษัทมีหน้าที่ร่วมกันแจ้งให้เจ้าพนักงานประเมินทราบการเลิกบริษัท อีกทั้งมีหน้าที่และความรับผิดร่วมกันในการยื่นรายการและเสียภาษีตามแบบ แม้ไม่ปรากฏว่าผู้ชำระบัญชีร้องขอให้ศาลสั่งว่า บริษัทล้มละลาย แต่ความรับผิดร่วมกันในการยื่นรายการและเสียภาษีดังกล่าวเป็นการยื่น รายการของบริษัทและนำเงินของบริษัทไปชำระค่าภาษี เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า นอกจากสิทธิเรียกร้องในเงินที่บริษัทฝากไว้แก่ธนาคารซึ่งโจทก์ได้อายัดและนำมาชำระค่าภาษีบางส่วนแล้ว บริษัทไม่มีทรัพย์สินอื่นอีกและไม่มีการ แบ่งปันทรัพย์สินของบริษัท คืนแก่ผู้ถือหุ้น ผู้ชำระบัญชีจึงหาต้องรับผิดในหนี้ค่าภาษีของบริษัทเป็นส่วนตัวไม่
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 7 (2) เป็นการกำหนดว่า ศาลภาษีอากรมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งที่เกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรหรือไม่ หาใช่บทบัญญัติว่า ผู้ใดจะต้องรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9189/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการทรัพย์มรดกกรณีหนี้สินไม่ล้นพ้นตัว แม้มีเหตุให้สันนิษฐานได้แต่ทรัพย์มรดกเพียงพอชำระหนี้
เจ้าหนี้ได้รับทรัพย์มรดกของผู้ตายได้แก่รถบรรทุกและเงินฝากธนาคารชำระหนี้แล้ว เมื่อหักกลบกับหนี้ ตามฟ้องแล้วจะเหลือหนี้ค้างชำระเพียงจำนวนเล็กน้อยประมาณ 10,000 บาท อีกทั้งไม่ปรากฏว่าผู้ตายเป็นลูกหนี้ บุคคลอื่นอีก รูปคดีจึงยังไม่พอฟังว่าลูกหนี้ที่ตายเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว กรณีมีเหตุที่ไม่ควรให้จัดการทรัพย์มรดก ของผู้ตายตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 82
of 48