พบผลลัพธ์ทั้งหมด 157 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 780/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ฐานะลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวในคดีล้มละลาย ต้องมีหลักฐานแสดงทรัพย์สินทั่วประเทศ ไม่ใช่แค่ในเขตศาล
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8(5)เป็นเพียงข้อสันนิษฐานถึงพฤติการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือเป็น เพียงเหตุหนึ่งที่กฎหมายให้อำนาจโจทก์ฟ้องจำเลยให้ ล้มละลายได้เท่านั้น ส่วนการพิจารณาคดีล้มละลายตามคำฟ้องของโจทก์นั้น ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงด้วยว่าจำเลยตกอยู่ในฐานะเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเพียงใด ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 มาตรา 10 และมาตรา 14 โดยคำนึงถึงเหตุอื่นประกอบที่พอแสดงให้เห็นว่าจำเลย ตกอยู่ในภาวะดังกล่าวจริง เดิมศาลจังหวัดนนทบุรีพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้จำนวน 170,784 บาทแก่โจทก์คดีถึงที่สุด แต่โจทก์ไม่สามารถสืบหาทรัพย์สินของจำเลยเพื่อนำยึดมาชำระหนี้ได้ โจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ (ศาลจังหวัดนครสวรรค์) ซึ่งโจทก์นำสืบให้เห็นแต่เพียงว่าจำเลยไม่มีทรัพย์สินในเขตจังหวัดนนทบุรีและไม่เคยชำระหนี้ให้โจทก์ แต่หานำสืบให้เห็นด้วยว่าในเขตจังหวัดนครสวรรค์จำเลยก็ไม่มีทรัพย์สินเช่นเดียวกัน อีกทั้งเหตุที่โจทก์อ้างเป็นเหตุฟ้องจำเลยให้ล้มละลายนี้สืบเนื่องจากกล่าวอ้างว่าจำเลยไม่มีทรัพย์สินที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้โดยโจทก์ไม่มีหลักฐานอื่น สนับสนุนหรือนำมาประกอบให้เพียงพอที่จะแสดงหรือพิสูจน์ ให้เห็นได้เป็นข้อสำคัญว่า จำเลยไม่มีความสามารถชำระหนี้ หรือเป็นบุคคลตกอยู่ในสภาพมีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สินแล้ว ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยยังเป็นลูกหนี้บุคคลอื่น ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 737/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลาย แม้มีหลักประกัน แต่เจ้าหนี้ไม่ต้องบังคับชำระหนี้จากหลักประกันก่อนก็ได้
โจทก์นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งที่ถึงที่สุดมาฟ้อง ขอให้จำเลยล้มละลายโดยมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวเกิดจากจำเลยผิดสัญญาประกันผู้ต้องหาต่อโจทก์และ ในการประกันผู้ต้องหานั้น จำเลยได้นำที่ดินตาม น.ส.3 ของบุคคลภายนอกวางเป็นหลักประกันไว้ ขณะที่จำเลยยื่น คำร้องขอประกันและทำสัญญาประกันผู้ต้องหาโดยมิได้จดทะเบียน จำนอง โจทก์จึงไม่ใช่ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของจำเลย ในที่ดินที่เป็นหลักประกันถือไม่ได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตาม คำพิพากษาเป็นเจ้าหนี้มีประกัน ดังนั้นโจทก์จึงสามารถฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้ตาม พระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 9 โดยมิต้องปฏิบัติตามความในมาตรา 10 จำเลยได้รับหนังสือทวงถามจากโจทก์ให้ชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่าสองครั้ง มีระยะห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวันจำเลยไม่ชำระหนี้ และไม่ปรากฏว่าจำเลยมีทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ พฤติการณ์ของจำเลยจึงเข้าข้อสันนิษฐานว่าเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 8(5)(9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 471/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: การพิสูจน์หนี้สินล้นพ้นตัว, อายุความบังคับคดี, และการฟ้องซ้ำ
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 ให้ศาลพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9หรือมาตรา 10 ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมีทรัพย์สินหลายอย่างเพียงพอชำระหนี้โจทก์ได้ แม้จำเลยเพิ่งจะยกขึ้นอ้างในคำแก้อุทธรณ์แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยย่อมมีสิทธิยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาได้ แม้จำเลยมิได้นำสืบพยานมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นก็ตามแต่การที่จำเลยเพียงแต่กล่าวอ้างลอย ๆ ได้โดยไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุนให้เห็น จึงไม่มีน้ำหนักให้ศาลรับฟังเป็นความจริง ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่งเมื่อวันที่13 มิถุนายน 2529 แต่ในวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาดังกล่าวจำเลยยังไม่ผิดนัดชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม โจทก์จึงย้ายไม่อาจอาศัยคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษาตามยอมเพื่อบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ได้ทั้งอายุความในสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดซึ่งมีกำหนดสิบปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/32 ก็ยังไม่เริ่มนับเช่นกัน เนื่องจากมาตรา 193/12ให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป หนี้ตามคำพิพากษาตามยอมถึงกำหนดที่จำเลยต้องชำระหนี้ในวันที่ 15 กรกฎาคม 2529 แต่จำเลยผิดนัด โจทก์จึงอาศัยคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษาตามยอมบังคับคดีได้ ระยะเวลาการบังคับคดีของโจทก์จึงเริ่มนับแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2529พร้อมกับอายุความในสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาตามยอมที่เริ่มนับแต่วันดังกล่าวโจทก์นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวมาฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายเมื่อวันที่12 กรกฎาคม 2539 ยังไม่พ้นกำหนดระยะเวลาสิบปีนับแต่วันที่จำเลยผิดนัดชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมโจทก์จึงยังไม่หมดสิทธิร้องขอให้บังคับคดีและสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมยังไม่ขาดอายุความ โจทก์จึงนำมูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมมาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ได้ คดีแพ่งซึ่งถึงที่สุดแล้ว มีประเด็นว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์หรือไม่เพียงใด ส่วนคดีล้มละลายเรื่องนี้มีประเด็นว่า เมื่อจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าวแล้ว จำเลยเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ และสมควรให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่ การวินิจฉัยคดีสองเรื่องนี้จึงมิได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน โจทก์ฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148ประกอบด้วย พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 429/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ต้องแสดงเจตนาประวิงหนี้หรือหลีกเลี่ยงการชำระหนี้
ข้อสันนิษฐานตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 8(4) ข้อ ข. บัญญัติเพื่อให้คาดคะเนไว้ก่อนว่าหากจำเลยมีพฤติการณ์ต่าง ๆ ดังที่บัญญัติไว้แสดงว่าจำเลยน่าจะไม่สามารถจะชำระหนี้ของตนได้ และตกเป็น ผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ซึ่งโจทก์จะต้องนำสืบข้อเท็จจริงให้เข้ากับข้อสันนิษฐานดังกล่าวว่าจำเลยกระทำการโดยเจตนาที่จะประวิงการชำระหนี้หรือไม่ให้เจ้าหนี้ได้รับการชำระหนี้ การที่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เบิกความว่าไปรษณีย์ตอบรับแจ้งว่าย้ายไม่ทราบที่อยู่ใหม่ และทราบความ จากน้องชายจำเลยว่า จำเลยเป็นหนี้บุคคลอื่นอีกหลายราย ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ยังไม่พอฟังตามข้อสันนิษฐาน ดังกล่าวข้างต้นว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3789/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: การพิจารณาหนี้สินล้นพ้นตัวและเหตุสมควรมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
หนี้ค่าธรรมเนียมและค่าภาษีอากรการโอนที่ดินยังเป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในชั้นตรวจคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อีกว่า โจทก์มีสิทธิจะได้รับชำระหนี้ค่าธรรมเนียมและค่าภาษีการโอนภายหลังจากจำเลยทั้งสองผิดนัดหรือไม่เพียงใดดังนั้นในชั้นนี้หนี้ค่าธรรมเนียมและค่าภาษีอากรการโอนที่ดินจึงยังไม่เป็นหนี้ที่สามารถกำหนด จำนวนที่แน่นอนได้ โจทก์จะนำมารวมเป็นหนี้ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ล้มละลายหาได้ไม่ จำเลยที่ 2 รับราชการเป็นอาจารย์ระดับ 7 มีเงินเดือน ๆ ละ 14,070 บาทและเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินราคาประมาณ 1,300,000 บาท แม้จะติดจำนองสหกรณ์ออมทรัพย์จำนวน 800,000 บาท แต่ราคาที่ดินก็ยังสูงกว่าหนี้จำนองที่มีอยู่ ดังนั้นหนี้ที่จำเลยที่ 2 มีอยู่ต่อโจทก์เพียง 200,000 บาท จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัว ส่วนจำเลยที่ 1 ไม่ปรากฏว่ามีทรัพย์สินอย่างใด เมื่อจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือทวงถามจากโจทก์ให้ชำระหนี้ไม่น้อยกว่าสองครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน และจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ จึงเข้าข้อสันนิษฐานว่าเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว ในคดีเดิมที่โจทก์จำเลยทั้งสองทำสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นโจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดในหนี้เพียง 337,500 บาท และดอกเบี้ยตามกฎหมายซึ่งจำเลยที่ 1 ยินยอมโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 692 ราคาทั้งแปลง 12,000,000 บาทและโจทก์รับโอนที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์แล้ว แม้โจทก์จะเบิกความว่าจำเลยที่ 1จำนองที่ดินดังกล่าวไว้แก่โจทก์เป็นเงินอีก 700,000 บาท แต่มูลค่าของราคาที่ดินที่โจทก์ได้รับเห็นได้ชัดว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินของจำเลยในจำนวนที่สูงกว่าหนี้เดิมมากอันเป็นประโยชน์แก่โจทก์อย่างยิ่งแล้ว นับได้ว่าเป็นเหตุอื่นที่ไม่สมควรให้จำเลยที่ 1ล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3778/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด: ลูกหนี้ร่วมกันมีหนี้สินล้นพ้นตัว แม้มีทรัพย์สินแต่ยังไม่เพียงชำระหนี้ได้ทั้งหมด
จำเลยทั้งสองและ ส. ต่างเป็นลูกหนี้โจทก์ร่วมกัน โจทก์มีสิทธิเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้แต่คนใดคนหนึ่ง สิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก แต่จำเลยทั้งสองกับ ส. ก็ยังคงต้องผูกพันอยู่จนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จสิ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 ดังนั้นการที่โจทก์บังคับคดียึดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 2 และของ ส. แต่ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 2 เพียงรายเดียว และรับชำระหนี้จาก ส. 7,200,000 บาท แล้วปลดจำนองให้ ส. นั้น จึงเป็นการใช้สิทธิของโจทก์ที่กระทำได้โดยชอบ
การที่ศาลจะพิพากษาให้ผู้ใดล้มละลายเป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาเป็นรายบุคคลเฉพาะบุคคลนั้น ๆ จะนำเหตุ ที่โจทก์ไม่ฟ้อง ส. ให้ล้มละลาย ทั้งที่ ส. เป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยทั้งสองมาเป็นเหตุยกฟ้องย่อมไม่ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีหลักฐานยืนยันถึงจำนวนเงินรายได้ต่อเดือนมาแสดง ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินมายืนยัน อีกทั้งทรัพย์สินบางรายการก็ติดจำนองกับเป็นมรดกระหว่างพี่น้อง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดอันจะเป็นเหตุให้ศาลยกฟ้องตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย มาตรา 14
การที่ศาลจะพิพากษาให้ผู้ใดล้มละลายเป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาเป็นรายบุคคลเฉพาะบุคคลนั้น ๆ จะนำเหตุ ที่โจทก์ไม่ฟ้อง ส. ให้ล้มละลาย ทั้งที่ ส. เป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยทั้งสองมาเป็นเหตุยกฟ้องย่อมไม่ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีหลักฐานยืนยันถึงจำนวนเงินรายได้ต่อเดือนมาแสดง ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินมายืนยัน อีกทั้งทรัพย์สินบางรายการก็ติดจำนองกับเป็นมรดกระหว่างพี่น้อง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดอันจะเป็นเหตุให้ศาลยกฟ้องตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3778/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: ศาลฎีกาพิพากษากลับให้พิทักษ์ทรัพย์จำเลย เนื่องจากมีหนี้สินล้นพ้นตัว แม้จะมีการชำระหนี้บางส่วน
จำเลยทั้งสองและ ส. ต่างเป็นลูกหนี้โจทก์ร่วมกัน โจทก์มีสิทธิเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้แต่คนใดคนหนึ่งสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก แต่จำเลยทั้งสองกับ ส. ก็ยังคงต้องผูกพันอยู่จนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จสิ้นตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 ดังนั้นการที่โจทก์บังคับคดียึดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 2 และของ ส. แต่ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 2เพียงรายเดียว และรับชำระหนี้จาก ส. 7,200,000 บาท แล้วปลดจำนองให้ ส. นั้นจึงเป็นการใช้สิทธิของโจทก์ที่กระทำได้โดยชอบ การที่ศาลจะพิพากษาให้ผู้ใดล้มละลายเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาเป็นรายบุคคลเฉพาะบุคคลนั้น ๆ จะนำเหตุที่โจทก์ไม่ฟ้อง ส. ให้ล้มละลาย ทั้งที่ ส. เป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยทั้งสองมาเป็นเหตุยกฟ้องโจทก์ย่อมไม่ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีหลักฐานยืนยันถึงจำนวนเงินรายได้ต่อเดือนมาแสดง ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินมายืนยันอีกทั้งทรัพย์สินบางรายการก็ติดจำนอง กับเป็นมรดกระหว่างพี่น้องจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดอันจะเป็นเหตุให้ศาลยกฟ้องตามมาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3470/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: การมีหนี้สินล้นพ้นตัว, เสนอประนีประนอมหนี้, และการไม่มีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้
การที่โจทก์ได้มีหนังสือส่งทางไปรษณีย์ตอบรับทวงถามให้จำเลยทั้งสี่ชำระหนี้โจทก์แล้วสองครั้งซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวันและจำเลยทั้งสี่ได้รับหนังสือแล้ว ไม่ชำระหนี้โจทก์ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสี่มีทรัพย์สินอื่นอันจะพึงยึดมาชำระหนี้โจทก์ได้กรณีจึงเข้าข้อสันนิษฐานแล้วว่าจำเลยทั้งสี่มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8(5)(9) นอกจากนี้ยังได้ความอีกว่า ว่าจำเลยเสนอขอทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อโจทก์และต่อบริษัทธนาคาร อ. ที่ฟ้องเรียกหนี้ประมาณ 800,000,000 บาทซึ่งจำเลยที่ 1 เองก็ยอมรับว่าไม่สามารถผ่อนชำระหนี้ให้แก่สถาบันการเงินได้ ดังนี้ เป็นกรณีลูกหนี้เสนอคำขอประนอมหนี้แก่เจ้าหนี้ตั้งแต่สองคนขึ้นไปตามมาตรา 8(8) แห่งพระราชบัญญัติ ล้มละลายฯ เมื่อจำเลยทั้งสี่มิได้นำสืบให้เห็นว่ามีทรัพย์สิน พอสามารถชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลย ทั้งสี่ล้มละลาย ศาลจึงต้องสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลย ทั้งสี่เด็ดขาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2076/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: การพิสูจน์หนี้สินล้นพ้นตัว และข้อโต้แย้งเกี่ยวกับข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
คดียังคงเหลือประเด็นต้องวินิจฉัยเฉพาะจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 เป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่เท่านั้น แต่พยานหลักฐานที่จำเลยที่ 1 ฎีกาขอให้ศาลฎีกาอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ระบุพยานเพิ่มเติมซึ่งเป็นพยานสนับสนุนข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 โดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 จึงไม่มีเหตุที่จะอนุญาตให้นำพยานหลักฐานเฉพาะต่อจำเลยที่ 2 มานำสืบสนับสนุนข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 1 เพราะเป็นพยานหลักฐานคนละส่วนกัน
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8 (9) เป็นเพียงข้อสันนิษฐานว่ามีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังบัญญัติไว้ในมาตรานี้เกิดขึ้นให้เชื่อไว้ก่อนว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว หาใช่บทบัญญัติให้เจ้าหนี้ต้องบอกกล่าวทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนฟ้องเสมอไปไม่ แม้เจ้าหนี้มิได้ทวงถามหรือการทวงถามไม่ชอบตามมาตรา 8 (9) ดังกล่าว แต่เจ้าหนี้ นำสืบได้ว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวตามที่ฟ้อง เจ้าหนี้ก็มีอำนาจฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลาย
ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยยื่นคำร้องตามคำร้องขอให้ศาลส่งคำร้องของจำเลยไปให้ ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 264 โดยอ้างว่า พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เมื่อปรากฏว่ากรณีตามคำร้องมิใช่เป็นการโต้แย้งว่าบทบัญญัติ แห่งกฎหมายดังกล่าวมาตราใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ทั้งปัญหาดังกล่าวได้ล่วงเลยมาถึงชั้นฎีกา ซึ่งจำเลยก็มิได้ ยื่นคำคัดค้านหรือฎีกาในปัญหาดังกล่าวมาด้วย กรณีจึงไม่เป็นประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยให้ ทั้งไม่มีเหตุที่จะส่ง คำร้องของจำเลยไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8 (9) เป็นเพียงข้อสันนิษฐานว่ามีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังบัญญัติไว้ในมาตรานี้เกิดขึ้นให้เชื่อไว้ก่อนว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว หาใช่บทบัญญัติให้เจ้าหนี้ต้องบอกกล่าวทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนฟ้องเสมอไปไม่ แม้เจ้าหนี้มิได้ทวงถามหรือการทวงถามไม่ชอบตามมาตรา 8 (9) ดังกล่าว แต่เจ้าหนี้ นำสืบได้ว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวตามที่ฟ้อง เจ้าหนี้ก็มีอำนาจฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลาย
ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยยื่นคำร้องตามคำร้องขอให้ศาลส่งคำร้องของจำเลยไปให้ ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 264 โดยอ้างว่า พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เมื่อปรากฏว่ากรณีตามคำร้องมิใช่เป็นการโต้แย้งว่าบทบัญญัติ แห่งกฎหมายดังกล่าวมาตราใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ทั้งปัญหาดังกล่าวได้ล่วงเลยมาถึงชั้นฎีกา ซึ่งจำเลยก็มิได้ ยื่นคำคัดค้านหรือฎีกาในปัญหาดังกล่าวมาด้วย กรณีจึงไม่เป็นประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยให้ ทั้งไม่มีเหตุที่จะส่ง คำร้องของจำเลยไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1153/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างมีหนี้สินล้นพ้นตัว แม้มีเงินเดือนและหุ้นสหกรณ์ แต่มีภาระหนี้สินสูงกว่าทรัพย์สิน ศาลพิพากษาสั่งพิทักษ์ทรัพย์
แม้จำเลยจะมีเงินเดือนประจำ และมีทรัพย์สินเป็น หุ้นอยู่ในสหกรณ์ออมทรัพย์กรมชลประทานก็ตาม แต่เงินเดือน ของจำเลยหลังจากหักค่าใช้จ่ายในครอบครัวแล้วคงเหลือ ประมาณ 2,000 บาท ซึ่งพอเพียงสำหรับการผ่อนชำระหนี้ ได้เฉพาะดอกเบี้ยเท่านั้น แต่จำเลยก็หาได้ชำระให้แก่โจทก์ไม่นอกจากนี้จำเลยยังเป็นหนี้สหกรณ์ออมทรัพย์สูงเกินกว่าทุนเรือนหุ้นที่จำเลยถืออยู่ในสหกรณ์อีกด้วย ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ทั้งไม่มีเหตุที่ไม่ควรให้ล้มละลายตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14