พบผลลัพธ์ทั้งหมด 64 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3288/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้เงินกู้โดยการมอบเงินให้บุคคลอื่นแทน การนำสืบการใช้เงินต้องมีหลักฐานตาม กม.แพ่งฯ มาตรา 653
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยชำระเงินที่กู้ยืมไปพร้อมดอกเบี้ยการที่จำเลยให้การและนำสืบอ้างว่า จำเลยได้ชำระเงินที่กู้ยืมให้โจทก์แล้วโดยมอบให้แก่ ล. ซึ่งขอกู้เงินจำนวนนี้จากโจทก์ตามคำสั่งของโจทก์ ดังนี้ มิใช่กรณีแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 350 กรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรค 2 เมื่อจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์มีหลักฐานเป็นหนังสือ แต่ไม่มีหลักฐานตามที่มาตรา 653 วรรค 2 กำหนดไว้ จำเลยจะนำสืบการใช้เงินหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3288/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้เงินกู้และการนำสืบการใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยชำระเงินที่กู้ยืมไปพร้อมดอกเบี้ยการที่จำเลยให้การและนำสืบอ้างว่า จำเลยได้ชำระเงินที่กู้ยืมให้โจทก์แล้วโดยมอบให้แก่ ล. ซึ่งขอกู้เงินจำนวนนี้จากโจทก์ตามคำสั่งของโจทก์ ดังนี้ มิใช่กรณีแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 350 กรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653วรรค 2 เมื่อจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์มีหลักฐานเป็นหนังสือ แต่ไม่มีหลักฐานตามที่มาตรา653 วรรค 2 กำหนดไว้ จำเลยจะนำสืบการใช้เงินหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4476/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้จากซื้อขายหลักทรัพย์เป็นหนี้เงินกู้ และความสมบูรณ์ของสัญญา
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ไปตามสัญญากู้เงินต่อมาจำเลยได้นำเงินที่ได้จากการขายหุ้นเงินปันผลและเงินสดมาชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วนนับถึงวันที่11กันยายน2523จำเลยชำระเงินต้นให้โจทก์831,333บาท67สตางค์กับดอกเบี้ยอีก583,642บาท99สตางค์ซึ่งโจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยให้ชำระเงินต้นส่วนที่เหลือพร้อมดอกเบี้ยตามเอกสารท้ายฟ้องอันเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องซึ่งได้ระบุยอดเงินต้นที่ค้างตรงตามฟ้องคำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172พอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีและสามารถต่อสู้คดีได้แล้วส่วนข้อที่ว่ายอดเงินที่จำเลยชำระคืนบางส่วนเป็นเงินเท่าใดเป็นเงินอะไรและมีการชำระเงินเมื่อใดนั้นเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบต่อไปหาจำต้องบรรยายในคำฟ้องไม่จึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์และได้ชำระเงินคืนบางส่วนแล้วจำเลยต้องรับผิดชำระหนี้ที่เหลือให้โจทก์จำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กู้เงินโจทก์และไม่ได้รับเงินตามฟ้องดังนี้การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในคำพิพากษาโดยตั้งประเด็นพิพาทว่าจำเลยกู้เงินโจทก์หรือไม่และจะต้องรับผิดเพียงใดนั้นย่อมมีความหมายทำนองเดียวกับประเด็นเดิมที่ตั้งไว้ในชั้นพิจารณาที่ว่าจำเลยได้ทำสัญญากู้เงินและรับเงินไปตามฟ้องหรือไม่จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องแต่อย่างใดและไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นหรือขยายประเด็นเดิม โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าสัญญากู้เงินตามฟ้องมีมูลหนี้มาจากการซื้อขายหลักทรัพย์จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่จากหนี้ซื้อขายหลักทรัพย์มาเป็นหนี้เงินกู้เป็นการวินิจฉัยถึงที่มาแห่งการทำสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์จำเลยจึงไม่ถือเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องแต่อย่างใด จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์เพื่อนำไปซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ฯจำเลยเป็นหนี้โจทก์3,500,000บาทเศษจำเลยจึงได้ทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ดังนี้การทำสัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นการแปลงหนี้ใหม่อันชอบด้วยกฎหมายจึงบังคับตามสัญญากู้ยืมเงินได้ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินต้น2,760,896.67บาทกับดอกเบี้ยอีก864,221.48บาทศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยให้จำเลยชำระเฉพาะเงินต้นอันเป็นหนี้ส่วนใหญ่ที่จำเลยค้างชำระดังนี้ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมโดยกำหนดค่าทนายความเป็นเงิน10,000บาทแทนโจทก์และศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความในชั้นอุทธรณ์เป็นเงิน6,000บาทจึงเหมาะสมแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1618/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบการชำระหนี้เงินกู้บางส่วนและทั้งหมดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสอง ที่กล่าวว่า 'จะนำสืบการใช้เงินได้' หาได้บัญญัติบังคับเฉพาะเจาะจงเฉพาะนำสืบการใช้ต้นเงินทั้งหมดไม่ ดังนั้น ถ้ามีการชำระต้นเงินเพียงบางส่วน ผู้ยืมจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้น และหากมีการชำระต้นเงินทั้งหมด ผู้ยืมจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3052/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาโอนสิทธิการเช่าเป็นหลักประกันหนี้ ไม่ใช่การแปลงหนี้ใหม่
จำเลยได้ทำสัญญากู้เงินไปจากโจทก์ ต่อมาจำเลยได้ทำสัญญาโอนสิทธิการเช่าอาคารพาณิชย์กับโจทก์มีข้อความว่า ตามที่จำเลยทำสัญญากู้เงินโจทก์ จำเลยตกลงโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์และโจทก์ตกลงรับโอนภายใต้เงื่อนไขบังคับก่อนว่า การโอนสิทธิการเช่ารายนี้จะบังเกิดผลสมบูรณ์ตามกฎหมายก็ต่อเมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญากู้เงิน ในการโอนสิทธิการเช่ารายนี้เมื่อผู้รับโอนตีราคาสิทธิการเช่าตามราคาทรัพย์ในท้องตลาดตามนัยแห่ง มาตรา 656 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในเวลาและสถานที่ส่งมอบแล้ว หากได้เงินไม่พอชำระหนี้จำเลยยินยอมชำระหนี้ส่วนที่ขาดแก่โจทก์จนครบ และปรากฏต่อมาว่าจำเลยผิดนัดชำระเงินกู้ตามสัญญา ดังนี้ หนี้เงินกู้เดิมซึ่งเป็นหนี้ประธานมีอยู่อย่างไรก็คงมีอยู่อย่างนั้น มิได้มีการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญอันจะทำให้หนี้นั้นเป็นอันระงับสิ้นไป เพราะเมื่อตีราคาสิทธิการเช่าตามราคาทรัพย์ในท้องตลาดตามนัยแห่ง มาตรา 656 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในเวลาและสถานที่ส่งมอบแล้ว หากได้เงินไม่พอชำระหนี้ จำเลยยินยอมชำระหนี้ส่วนที่ขาดจนครบ สัญญาโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวจึงเป็นเพียงหลักประกันการชำระหนี้เงินกู้ เพื่อให้โจทก์สามารถบังคับเอาชำระหนี้เงินกู้ได้เท่านั้น หาเป็นการแปลงหนี้ใหม่ไม่ เมื่อโจทก์ไม่สามารถรับโอนสิทธิการเช่าตามสัญญาเนื่องจากจำเลยอ้างว่ายังมิได้ผิดสัญญา จำเลยก็ต้องรับผิดชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2830/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์มูลหนี้จากเช็คและการเรียกร้องหนี้ในคดีล้มละลาย
คำขอรับชำระหนี้ระบุว่าลูกหนี้เป็นหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้40,000 บาทเป็นค่าเงินกู้ดังปรากฏตามเช็คและใบคืนเช็คที่ยื่นพร้อมกับคำขอแม้จะระบุว่าเป็นค่าเงินกู้ก็พอเข้าใจได้ว่าเป็นการกล่าวอ้างถึงมูลหนี้เดิมที่ผู้ขอรับชำระหนี้ได้รับเช็คมาเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าลูกหนี้สั่งจ่ายเช็คให้ผู้ขอรับชำระหนี้เพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมอันเป็นการสั่งจ่ายเช็คโดยมีมูลหนี้ต่อกันผู้ขอรับชำระหนี้จึงเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบเมื่อเช็คนั้นเรียกเก็บเงินจากธนาคารไม่ได้ผู้ขอรับชำระหนี้ย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2245/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้เงินกู้และจำนอง: อายุความ, การรับผิดของทายาท, ฟ้องเคลือบคลุม, และดอกเบี้ยผิดนัด
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะทายาทผู้รับมรดกให้ชำระหนี้เงินกู้และไถ่ถอนจำนอง เป็นหนี้เหนือบุคคล มิใช่ คดีเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์หรือเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว เมื่อคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน 20,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
ฟ้องทายาทให้ไถ่ถอนจำนองที่ผู้ตายได้ทำไว้ หลังจากผู้ตายถึงแก่กรรมเกิน 1 ปีคดีขาดอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม แล้วก็ตาม แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็ยกเว้นมิให้บังคับในกรณีสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ตาม มาตรา189 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยเพื่อบังคับชำระหนี้ให้โจทก์จาก ทรัพย์สินที่จำนองได้
สัญญาจำนองระบุว่าให้ส่งดอกเบี้ยเดือนละ 1 ครั้ง ย่อม เป็นที่เข้าใจว่าระหว่างผู้ตายมีชีวิตอยู่อาจจะชำระดอกเบี้ยไปบ้างแล้วก็ได้ เมื่อฟ้องโจทก์ไม่ยืนยันว่าตั้งแต่ทำสัญญาจำนองแล้ว ผู้ตายไม่ได้ชำระดอกเบี้ยเลยหรือ ผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ยตั้งแต่เมื่อใด ไม่สามารถคำนวณดอกเบี้ยได้ถูกต้อง ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับดอกเบี้ยจึงไม่ชัดแจ้ง เป็นฟ้องเคลือบคลุม โจทก์จะเรียกให้จำเลยชำระดอกเบี้ยที่ค้างไม่ได้
ฟ้องทายาทให้ไถ่ถอนจำนองที่ผู้ตายได้ทำไว้ หลังจากผู้ตายถึงแก่กรรมเกิน 1 ปีคดีขาดอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม แล้วก็ตาม แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็ยกเว้นมิให้บังคับในกรณีสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ตาม มาตรา189 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยเพื่อบังคับชำระหนี้ให้โจทก์จาก ทรัพย์สินที่จำนองได้
สัญญาจำนองระบุว่าให้ส่งดอกเบี้ยเดือนละ 1 ครั้ง ย่อม เป็นที่เข้าใจว่าระหว่างผู้ตายมีชีวิตอยู่อาจจะชำระดอกเบี้ยไปบ้างแล้วก็ได้ เมื่อฟ้องโจทก์ไม่ยืนยันว่าตั้งแต่ทำสัญญาจำนองแล้ว ผู้ตายไม่ได้ชำระดอกเบี้ยเลยหรือ ผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ยตั้งแต่เมื่อใด ไม่สามารถคำนวณดอกเบี้ยได้ถูกต้อง ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับดอกเบี้ยจึงไม่ชัดแจ้ง เป็นฟ้องเคลือบคลุม โจทก์จะเรียกให้จำเลยชำระดอกเบี้ยที่ค้างไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 199/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ค่าชดเชยกับหนี้เงินกู้ และการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 หมวด 5 ค่าชดเชย มิได้ห้ามการหักกลบลบหนี้ไว้ ดังนั้น นายจ้างย่อมมีสิทธิหักค่าชดเชยที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เพื่อชำระหนี้เงินกู้ที่ลูกจ้างยืมไปจากนายจ้างได้
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเพราะลูกจ้างกระทำผิดระเบียบของนายจ้าง มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง ลูกจ้างไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากนายจ้าง
เมื่อการกระทำของลูกจ้างมิใช่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างที่ร้ายแรง นายจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง
คำให้การแก้ฟ้องแย้งโจทก์ต่อสู้แต่เพียงว่า จำเลยไม่อาจหักกลบลบหนี้ได้มิได้ปฏิเสธหนี้เงินกู้แต่ประการใด ดังนี้ จำเลยจะส่งสำเนากู้ยืมให้โจทก์หรือไม่ก็ฟังได้ว่าโจทก์เป็นลูกหนี้จำเลยตามสัญญากู้ที่จำเลยฟ้องแย้ง
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเพราะลูกจ้างกระทำผิดระเบียบของนายจ้าง มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง ลูกจ้างไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากนายจ้าง
เมื่อการกระทำของลูกจ้างมิใช่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างที่ร้ายแรง นายจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง
คำให้การแก้ฟ้องแย้งโจทก์ต่อสู้แต่เพียงว่า จำเลยไม่อาจหักกลบลบหนี้ได้มิได้ปฏิเสธหนี้เงินกู้แต่ประการใด ดังนี้ จำเลยจะส่งสำเนากู้ยืมให้โจทก์หรือไม่ก็ฟังได้ว่าโจทก์เป็นลูกหนี้จำเลยตามสัญญากู้ที่จำเลยฟ้องแย้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 489/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้และการไม่มีอำนาจฟ้อง: ศาลฎีกายืนว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดหนี้ของผู้อื่นที่นำมารวมกับหนี้เงินกู้
หนี้ตามฟ้องเป็นหนี้สองประเภท คือมูลหนี้ค่าซื้อขายรถยนต์ ซึ่งผู้อื่นเป็นหนี้กับหนี้ที่จำเลยเคยยืมเงินโจทก์ค้างชำระอยู่เดิม นำมารวมทำไว้เป็นสัญญากู้ฉบับเดียวกันให้จำเลยเป็นลูกหนี้ทั้งหมด แม้ทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นว่าหนี้ที่รวมทำไว้เป็นสัญญากู้สมบูรณ์เฉพาะหนี้ส่วนที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ หนี้อีกประเภทหนึ่งโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย จึงเป็นการแก้มาก โจทก์ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 192/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการฟ้องหนี้เงินกู้รายเดือน: การผ่อนชำระเป็นงวดๆ มีอายุความ 5 ปี
ในสัญญากู้ที่โจทก์อาศัยเป็นหลักฐานฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ต้นเงินกู้นั้นได้มีข้อตกลงให้จำเลยผ่อนส่งได้เป็นรายเดือน ๆ ละ 500 บาท และต่อมาจำเลยยังได้นำเอาหมูตีใช้หนี้ไปแล้วคิดเป็นเงิน 3,500 บาท คงค้างชำระอีก9,000 บาท ดังนี้ การฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชำระต้นเงินตามสัญญากู้ตามฟ้องจึงถือได้ว่า เรียกเอาจำนวนเงินอันพึงส่งนอกจากดอกเบี้ยเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ อันมีกำหนดอายุความห้าปี ตามนัยที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166