พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 224/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้จำนองระงับด้วยสัญญาประนีประนอม สิทธิบังคับคดีตามสัญญาใหม่
โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ชำระหนี้จำนอง แล้วโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยยอมชำระหนี้จำนอง ศาลพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ ถือว่าเป็นเพียงฟ้องในมูลหนี้สามัญ และมีผลทำให้หนี้เดิมระงับ เกิดหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ย่อมบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอื่นๆ ของจำเลยรวมทั้งทรัพย์ที่จำนองได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1683/2498,127/2506 และ 989/2506)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1092/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่ต้องมีคำสนอง การทวงหนี้หลังแปลงหนี้แล้วถือเป็นคำเสนอใหม่ และสิทธิเรียกร้องค่าปรับจากสัญญา
การแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้นั้นต้องทำเป็นสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่ เพียงแต่บุคคลภายนอกยื่นหนังสือรับรองชำระหนี้แทนจำเลยต่อโจทก์ แต่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จำเลยมิได้สั่งการอย่างไร เงียบหายไป สัญญาแปลงหนี้ใหม่ยังไม่เกิดขึ้น แม้ต่อมาอีกเกือบ 4 ปีโจทก์จะได้ทวงหนี้ของโจทก์ที่มีต่อจำเลยเอากับบุคคลภายนอกนั้น ก็ไม่ถือว่าโจทก์ได้ยอมรับเอาบุคคลภายนอกนั้นเข้าเป็นลูกหนี้แทนจำเลย เพราะคำเสนอของบุคคลภายนอกต่อโจทก์สิ้นความผูกพันเพราะล่วงเลยเวลาอันควรคาดหมายว่าจะได้รับคำบอกกล่าวสนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 355 หนังสือทวงหนี้ของโจทก์เป็นแต่คำเสนอใหม่เท่านั้น เมื่อหนี้ใหม่ไม่เกิด หนี้เดิมของจำเลยก็ไม่ระงับไปตามมาตรา 351
เงินมัดจำที่ยังมิได้ชำระให้ เมื่อสัญญาเลิกกันแล้ว จะบังคับให้ส่งให้มิได้ เพราะสิ้นความผูกพันตามสัญญาเสียแล้ว เงินมัดจำที่จะริบในกรณีเลิกสัญญาโดยความผิดของฝ่ายวางมัดจำนั้น ต้องได้ให้ไว้แล้ว
เมื่อจำเลยส่งมอบการงานให้โจทก์ไม่ทันตามกำหนดในสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายเท่าจำนวนค่าปรับที่จำเลยสัญญาจะชดใช้ในการที่ชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนดได้ เพราะค่าปรับเป็นค่าเสียหายที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้าอยู่แล้ว(อ้างฎีกาที่ 1078/2496 และ 1364/2503)
เงินมัดจำที่ยังมิได้ชำระให้ เมื่อสัญญาเลิกกันแล้ว จะบังคับให้ส่งให้มิได้ เพราะสิ้นความผูกพันตามสัญญาเสียแล้ว เงินมัดจำที่จะริบในกรณีเลิกสัญญาโดยความผิดของฝ่ายวางมัดจำนั้น ต้องได้ให้ไว้แล้ว
เมื่อจำเลยส่งมอบการงานให้โจทก์ไม่ทันตามกำหนดในสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายเท่าจำนวนค่าปรับที่จำเลยสัญญาจะชดใช้ในการที่ชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนดได้ เพราะค่าปรับเป็นค่าเสียหายที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้าอยู่แล้ว(อ้างฎีกาที่ 1078/2496 และ 1364/2503)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1641/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาค้ำประกันและความรับผิดในหนี้เก่าและหนี้ใหม่ของผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการบริษัทโจทก์ จำเลยที่2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดความรับผิด ต่อมาจำเลยที่ 2 บอกเลิกสัญญาค้ำประกัน บริษัทโจทก์ว่ายังตรวจทรัพย์สินและทำงบดุลยังไม่เสร็จ จะถอนไม่ได้นั้น จำเลยที่ 2 บอกเลิกการค้ำประกันได้โดยไม่ต้องรับผิดในหนี้ภายหลังบอกเลิก ส่วนหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนที่จำเลยที่ 2 บอกเลิกสัญญาจำเลยที่ 2 ก็ยังต้องรับผิดต่อโจทก์อยู่ ฉะนั้น เมื่อโจทก์เรียกร้องจากจำเลยที่ 1 ไม่ได้ โจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันชำระหนี้นั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1197/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง ศาลต้องตัดสินตามประเด็นที่ฟ้องแย้ง แม้มีหนี้เก่า แต่เรียกค่าหนี้ใหม่ไม่ได้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์สั่งซื้อเครื่องสีข้าว(รายใหม่)4 เครื่อง ชำระราคาทั้งหมด 11,700 บาท ให้จำเลยเสร็จแล้ว จำเลยไม่ส่งเครื่องสีข้าวให้ ขอเรียกเงินทั้งหมดนี้คืน
จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์ได้รับเครื่องสีข้าว 4 เครื่อง(รายใหม่)นี้ไปแล้ว และก่อนนั้นโจทก์ได้ซื้อเครื่องสีข้าว(รายเก่า) ไป 8 เครื่อง เมื่อคิดบัญชีกันแล้ว รวมที่โจทก์สั่งซื้อทั้งรายเก่าและรายใหม่ โจทก์ยังค้างชำระอยู่อีก 6,700 บาท ขอให้โจทก์ชำระ
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ยังเป็นลูกหนี้ค่าเครื่องรายเก่าอยู่ 6,700 บาท แต่จำเลยกลับฟ้องแย้งผิดจากความจริงไปว่า โจทก์เป็นหนี้ค่าเครื่องรายเก่าและเครื่องรายใหม่(รายที่โจทก์ฟ้อง) ศาลก็จะต้องชี้ขาดตัดสินไปตามประเด็นในฟ้องแย้ง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 กล่าวคือ จำนวนหนี้ที่ยังค้างชำระกัน 6,700 บาทนั้น ต้องถือตามฟ้องแย้งของจำเลยว่า เป็นค่าเครื่องรายใหม่รวมอยู่ด้วย ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้ และทางพิจารณาได้ความว่าโจทก์ยังไม่ได้รับเครื่องรายใหม่ 4 เครื่องนั้น จำเลยก็เรียกค่าเครื่องรายใหม่จากโจทก์ไม่ได้ เมื่อเรียกไม่ได้แล้วและหนี้ที่ค้างอยู่ 6,700 บาท ก็มีจำนวนไม่ท่วมค่าเครื่องรายใหม่ 4 เครื่อง ตามที่จำเลยนำสืบว่าเป็นเงิน 8,900 บาท เช่นนี้ คดีไม่มีทางที่จะบังคับให้ตามฟ้องแย้งได้
จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์ได้รับเครื่องสีข้าว 4 เครื่อง(รายใหม่)นี้ไปแล้ว และก่อนนั้นโจทก์ได้ซื้อเครื่องสีข้าว(รายเก่า) ไป 8 เครื่อง เมื่อคิดบัญชีกันแล้ว รวมที่โจทก์สั่งซื้อทั้งรายเก่าและรายใหม่ โจทก์ยังค้างชำระอยู่อีก 6,700 บาท ขอให้โจทก์ชำระ
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ยังเป็นลูกหนี้ค่าเครื่องรายเก่าอยู่ 6,700 บาท แต่จำเลยกลับฟ้องแย้งผิดจากความจริงไปว่า โจทก์เป็นหนี้ค่าเครื่องรายเก่าและเครื่องรายใหม่(รายที่โจทก์ฟ้อง) ศาลก็จะต้องชี้ขาดตัดสินไปตามประเด็นในฟ้องแย้ง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 กล่าวคือ จำนวนหนี้ที่ยังค้างชำระกัน 6,700 บาทนั้น ต้องถือตามฟ้องแย้งของจำเลยว่า เป็นค่าเครื่องรายใหม่รวมอยู่ด้วย ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้ และทางพิจารณาได้ความว่าโจทก์ยังไม่ได้รับเครื่องรายใหม่ 4 เครื่องนั้น จำเลยก็เรียกค่าเครื่องรายใหม่จากโจทก์ไม่ได้ เมื่อเรียกไม่ได้แล้วและหนี้ที่ค้างอยู่ 6,700 บาท ก็มีจำนวนไม่ท่วมค่าเครื่องรายใหม่ 4 เครื่อง ตามที่จำเลยนำสืบว่าเป็นเงิน 8,900 บาท เช่นนี้ คดีไม่มีทางที่จะบังคับให้ตามฟ้องแย้งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1402/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้โดยการทำสัญญากู้ใหม่ ย่อมถือว่ามีการยินยอมเป็นหนังสือโดยปริยาย
ในการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ซึ่งกระทำกันโดยลูกหนี้ทำหนังสือสัญญากู้ยืมให้เจ้าหนี้ใหม่นั้นเพียงเท่านี้ก็ถือได้ว่ามีการยินยอมเป็นหนังสืออยู่ในตัวแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1466/2498 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้: หนี้เดิมระงับเมื่อทำสัญญากู้ใหม่แทน
หนี้เดิมเป็นการตกลงซื้อขายที่ดินกัน ฝ่ายจำเลยไม่มีเงินพอจะจ่ายได้ครบตามจำนวนเงินที่ได้ตกลงซื้อขาย จึงตกลงทำสัญญากู้ขึ้นเฉพาะจำนวนเงินที่ยังขาด ถือว่าเป็นการแปลงสาระสำคัญแห่งหนี้ หนี้เดิม(จำนวนเงินที่ยังขาด) จึงเป็นอันระงับสิ้นไปด้วย การแปลงหนี้ใหม่ตาม ป.พ.พ.ม.349
จำเลยจะอาศัยสัญญาชื้อขายที่ดินซึ่งปรากฎว่าโจทก์ได้รับเงินค่าซื้อขายที่ดินไปครบถ้วนแล้ว มาเป็นข้ออ้างให้ไม่ต้องชำระเงินตามสัญญากู้ที่แปลงขึ้นใหม่มาได้ไม่ เพราะหนี้เก่าได้แปลงเป็นหนี้ใหม่แล้ว หนี้เก่าหนี้เดิมเป็นอันระงับสิ้นไปตาม ก.ม.แล้ว แต่มีหนี้ใหม่เข้ามาแทนหาได้ระงับสิ้นไปด้วยไม่
จำเลยจะอาศัยสัญญาชื้อขายที่ดินซึ่งปรากฎว่าโจทก์ได้รับเงินค่าซื้อขายที่ดินไปครบถ้วนแล้ว มาเป็นข้ออ้างให้ไม่ต้องชำระเงินตามสัญญากู้ที่แปลงขึ้นใหม่มาได้ไม่ เพราะหนี้เก่าได้แปลงเป็นหนี้ใหม่แล้ว หนี้เก่าหนี้เดิมเป็นอันระงับสิ้นไปตาม ก.ม.แล้ว แต่มีหนี้ใหม่เข้ามาแทนหาได้ระงับสิ้นไปด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1466/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้: หนี้เดิมระงับสิ้นเมื่อทำสัญญากู้ใหม่แทน
หนี้เดิมเป็นการตกลงซื้อขายที่ดินกัน ฝ่ายจำเลยไม่มีเงินพอจะจ่ายได้ครบตามจำนวนเงินที่ได้ตกลงซื้อขาย จึงตกลงทำสัญญากู้ขึ้นเฉพาะจำนวนเงินที่ยังขาด ถือว่าเป็นการแปลงสาระสำคัญแห่งหนี้ หนี้เดิม(จำนวนเงินที่ยังขาด) จึงเป็นอันระงับสิ้นไปด้วย การแปลงหนี้ใหม่ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349
จำเลยจะอาศัยสัญญาซื้อขายที่ดินซึ่งปรากฏว่าโจทก์ได้รับเงินค่าซื้อขายที่ดินไปครบถ้วนแล้ว มาเป็นข้ออ้างให้ไม่ต้องชำระเงินตามสัญญากู้ที่แปลงขึ้นใหม่หาได้ไม่ เพราะหนี้เก่าได้แปลงเป็นหนี้ใหม่แล้ว หนี้เก่าหรือหนี้เดิมเป็นอันระงับสิ้นไปตาม กฎหมายแล้ว แต่มีหนี้ใหม่เข้ามาแทนหาได้ระงับสิ้นไปด้วยไม่
จำเลยจะอาศัยสัญญาซื้อขายที่ดินซึ่งปรากฏว่าโจทก์ได้รับเงินค่าซื้อขายที่ดินไปครบถ้วนแล้ว มาเป็นข้ออ้างให้ไม่ต้องชำระเงินตามสัญญากู้ที่แปลงขึ้นใหม่หาได้ไม่ เพราะหนี้เก่าได้แปลงเป็นหนี้ใหม่แล้ว หนี้เก่าหรือหนี้เดิมเป็นอันระงับสิ้นไปตาม กฎหมายแล้ว แต่มีหนี้ใหม่เข้ามาแทนหาได้ระงับสิ้นไปด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 961/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้และโอนสิทธิเรียกร้อง: จำเลยต่อสู้ว่ามีการตกลงแปลงหนี้เดิมเป็นหนี้ใหม่และโอนสิทธิเรียกร้องให้พ่อตาโจทก์
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้จากจำเลย จำเลยต่อสู้ว่ากู้เงินโจทก์ตามที่ฟ้องจริง แต่ภายหลังยืมข้าวโจทก์มาอีกจำนวนหนึ่ง แล้วตกลงทำสัญญากู้กันใหม่ โดยเอาจำนวนเงินที่กู้เดิมบวกกับราคาข้าวที่ยืมมาลงเงินเป็นจำนวนกู้ในสัญญากู้ใหม่นี้ และในสัญญากู้ใหม่นี้ตกลงกันให้ลงชื่อพ่อตาโจทก์เป็นผู้ให้กู้ จำเลยเป็นผู้กู้ แล้วจำเลยได้ชำระเงินเท่าจำนวนตามสัญญาใหม่ให้แก่พ่อตาโจทก์แล้ว โจทก์กับพ่อตาสมคบกันเอาสัญญากู้ฉบับเก่ามาฟ้องดังนี้เป็นเรื่องต่อสู้ว่าได้ตกลงแปลงหนี้ใหม่และโอนสิทธิเรียกร้องให้พ่อตาโจทก์ซึ่งถ้าเป็นจริงหนี้เดิมก็ระงับสิ้นไปได้จึงต้องให้จำเลยสืบตามข้อต่อสู้