พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4437/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหน่วยงานรัฐต่อการกระทำละเมิดของลูกจ้างขณะปฏิบัติหน้าที่ แม้ฝ่าฝืนระเบียบ
การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายตำรวจใช้จำเลยที่ 1 พนักงานขับรถยนต์ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 นำรถออกนอกพื้นที่โดยมิได้ขออนุมัติก่อน แม้จะเป็นการฝ่าฝืนระเบียบที่วางไว้ก็ตาม เมื่อฟังได้ว่าการที่จำเลยที่ 2 สั่งให้จำเลยที่ 1 นำรถออกนอกพื้นที่เป็นการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ราชการมิใช่เป็นการไปทำธุระในเรื่องส่วนตัวของจำเลยที่ 2 ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 1 ไปกระทำละเมิด ก็ต้องถือว่าการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ราชการของจำเลยที่ 2 อันเป็นผลให้กรมตำรวจจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3805/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานจับตัวเรียกค่าไถ่ แม้เงินถูกส่งมอบให้หน่วยงานรัฐก็ยังถือเป็นความผิด
โจทก์ฟ้องจำเลยข้อหาจับคนไปเรียกค่าไถ่และข้อหากรรโชกศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยข้อหาจับคนไปเรียกค่าไถ่ ยกฟ้องข้อหากรรโชก โจทก์มิได้อุทธรณ์ ข้อหากรรโชกจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ไม่ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัย พิพากษาลงโทษจำเลยได้อีก
จำเลยกับพวกเป็นทหารมีอาวุธเข้าไปพูดขู่บังคับให้ผู้เสียหายไปกับจำเลยกับพวก แล้วบอกให้คนในบ้านนำเงิน 3,000 บาท ไปไถ่ตัวผู้เสียหายหาไม่แล้วจะไม่ได้กลับนั้น ย่อมฟังได้ว่าจำเลยกับพวกมีเจตนากระทำผิดและมีเจตนาเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่ในการ เอาตัวผู้เสียหายไปโดยวิธีขู่เข็ญใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรมและ ข่มขืนใจผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 313(2) แล้ว
แม้จำเลยกับพวกจะมิได้เอาเงินค่าไถ่จำนวน 3,000 บาทไว้เป็นประโยชน์แก่ตนแต่ได้มอบให้แก่ทางราชการไปก็ตามก็เป็นการเอาไปจากผู้เสียหายโดยมิชอบ เงินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นค่าไถ่
จำเลยกับพวกเป็นทหารมีอาวุธเข้าไปพูดขู่บังคับให้ผู้เสียหายไปกับจำเลยกับพวก แล้วบอกให้คนในบ้านนำเงิน 3,000 บาท ไปไถ่ตัวผู้เสียหายหาไม่แล้วจะไม่ได้กลับนั้น ย่อมฟังได้ว่าจำเลยกับพวกมีเจตนากระทำผิดและมีเจตนาเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่ในการ เอาตัวผู้เสียหายไปโดยวิธีขู่เข็ญใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรมและ ข่มขืนใจผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 313(2) แล้ว
แม้จำเลยกับพวกจะมิได้เอาเงินค่าไถ่จำนวน 3,000 บาทไว้เป็นประโยชน์แก่ตนแต่ได้มอบให้แก่ทางราชการไปก็ตามก็เป็นการเอาไปจากผู้เสียหายโดยมิชอบ เงินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นค่าไถ่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2552/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหน่วยงานรัฐต่อการกระทำละเมิดของข้าราชการในการปฏิบัติหน้าที่
โจทก์บรรยายฟ้องในเบื้องต้นว่า จำเลยที่ 1 เป็นกรมในรัฐบาลเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย มีหน้าที่พิทักษ์สันติราษฎร์ บำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ราษฎร มีหน้าที่จับกุมผู้กระทำผิดตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 มีหน้าที่ทำงานตามวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ตามคำสั่งของสารวัตรใหญ่สถานีตำรวจภูธรฯซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 คำบรรยายฟ้องในตอนแรกนี้จึงเป็นการบรรยายฟ้องให้เห็นฐานะความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2 ว่ามีความสัมพันธ์กันตามกฎหมาย แม้ต่อมาโจทก์จะบรรยายฟ้องเกินเลยไปว่าจำเลยที่ 1 เป็นนายจ้าง จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างกระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 ก็หาทำให้คำบรรยายฟ้องของโจทก์ตอนแรกเสียไปไม่ ทั้งโจทก์ได้บรรยายมาชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 2 ออกปฏิบัติหน้าที่ตรวจตรารักษาความสงบตามคำสั่งของสารวัตรใหญ่สถานีตำรวจภูธรฯ อันเป็นการออกไปปฏิบัติหน้าที่ราชการตามกฎหมายเมื่อจำเลยที่ 2 ใช้อาวุธปืนที่ทางราชการจำเลยที่ 1 จ่ายให้ใช้ในราชการยิงบุตรโจทก์ถึงแก่ความตายขณะปฏิบัติหน้าที่ราชการอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย อันเป็นการบรรยายฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้บังคับบัญชารับผิดฐานละเมิดร่วมกับจำเลยที่ 2 หาใช่ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะนายจ้างแต่ประการเดียวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1519-1521/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผูกพันตามข้อตกลงของคณะกรรมการปรองดองที่ได้รับการแต่งตั้งจากหน่วยงานของรัฐในการเวนคืน
ความตกลงระหว่างคณะกรรมการปรองดองเพื่อพิจารณาไกล่เกลี่ยค่าทดแทนให้แก่เจ้าของทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษสายดินแดง- ท่าเรือกับเจ้าของผู้ครอบครอง หรือผู้ทรงสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ไม่มีกฎหมายกำหนดว่าจะต้องทำตามแบบอย่างไร การที่คณะกรรมการปรองดองให้ผู้เข้าร่วมประชุมลงชื่อไว้ในบัญชีผู้เข้าประชุมและจดข้อตกลงต่าง ๆ ไว้ในรายงานการประชุมเป็นหลักฐานถูกต้องตามแบบอย่างทางราชการย่อมใช้บังคับกันได้ หาต้องทำเป็นรูปสัญญาใด ๆ อีกไม่ คณะกรรมการดังกล่าวเป็นคณะกรรมการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยผู้มีอำนาจหน้าที่กำกับโดยทั่วไปซึ่งกิจการของจำเลยแต่งตั้งขึ้น เพื่อพิจารณาไกล่เกลี่ยค่าทดแทนให้แก่เจ้าของผู้ครอบครองหรือผู้ทรงสิทธิอื่นในอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน อันเป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลย จึงเป็นตัวแทนของจำเลยในกิจการที่กล่าวนั้นด้วย เมื่อคณะกรรมการดังกล่าวได้ทำความตกลงกับโจทก์ยอมให้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยจึงต้องผูกพันตามนั้น จะอ้างระเบียบภายในว่าความตกลงดังกล่าวต้องได้รับอนุญาตจากผู้ว่าการหรือคณะกรรมการของจำเลยแล้วแต่กรณีก่อนมาปฏิเสธความผูกพันโดยไม่มีข้อความเช่นนั้นเป็นเงื่อนไขในข้อตกลงหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1519-1521/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผูกพันตามข้อตกลงของคณะกรรมการปรองดองที่ได้รับการแต่งตั้งจากหน่วยงานรัฐในการเวนคืนที่ดิน
ความตกลงระหว่างคณะกรรมการปรองดองเพื่อพิจารณาไกล่เกลี่ยค่าทดแทนให้แก่เจ้าของทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษสายดินแดง- ท่าเรือ กับเจ้าของผู้ครอบครอง หรือผู้ทรงสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ไม่มีกฎหมายกำหนดว่าจะต้องทำตามแบบอย่างไร การที่คณะกรรมการปรองดองให้ผู้เข้าร่วมประชุมลงชื่อไว้ในบัญชีผู้เข้าประชุมและจดข้อตกลงต่างๆ ไว้ในรายงานการประชุมเป็นหลักฐานถูกต้องตามแบบอย่างทางราชการย่อมใช้บังคับกันได้ หาต้องทำเป็นรูปสัญญาใดๆอีกไม่ คณะกรรมการดังกล่าวเป็นคณะกรรมการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยผู้มีอำนาจหน้าที่กำกับโดยทั่วไปซึ่งกิจการของจำเลยแต่งตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาไกล่เกลี่ยค่าทดแทนให้แก่เจ้าของผู้ครอบครองหรือผู้ทรงสิทธิอื่นในอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน อันเป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลย จึงเป็นตัวแทนของจำเลยในกิจการที่กล่าวนั้นด้วย เมื่อคณะกรรมการดังกล่าวได้ทำความตกลงกับโจทก์ยอมให้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยจึงต้องผูกพันตามนั้นจะอ้างระเบียบภายในว่าความตกลงดังกล่าวต้องได้รับอนุญาตจากผู้ว่าการหรือคณะกรรมการของจำเลยแล้วแต่กรณีก่อนมาปฏิเสธความผูกพันโดยไม่มีข้อความเช่นนั้นเป็นเงื่อนไขในข้อตกลงหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3729/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกาศกระทรวงมหาดไทยคุ้มครองลูกจ้างทุกประเภท แม้หน่วยงานรัฐก็ต้องจ่ายค่าชดเชย
เมื่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดเวลาทำงานฯ มิได้ระบุยกเว้นไว้ว่านายจ้างไม่รวมถึงนายจ้างที่เป็นหน่วยงานของรัฐ จึงต้องถือว่านายจ้างที่เป็นหน่วยงานของรัฐเป็นนายจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3251/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของหน่วยงานรัฐ, การแปลงหนี้, และข้อจำกัดในการฎีกาเรื่องใหม่ที่ไม่เคยยกขึ้นในศาลล่าง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นกรมในรัฐบาล สังกัดกระทรวงการคลังเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย จำเลยให้การว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลหรือไม่ จำเลยไม่รับรอง ถือไม่ได้ว่าเป็นคำให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้ง จึงรับฟังได้ว่าโจทก์เป็นกรมในรัฐบาล สังกัดกระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นทบวงการเมือง อันเป็นนิติบุคคล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
การที่จำเลยชำระหนี้ให้โจทก์ด้วยเช็ค เป็นการแปลงหนี้ใหม่หรือไม่มิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อมิได้ยกขึ้นว่ามาแล้วในศาลชั้นต้น จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225
จำเลยเพิ่งกล่าวอ้างในชั้นฎีกาว่า โจทก์กระทำการเป็นพ่อค้าขายทรัพย์สินให้จำเลยและฟ้องเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของ จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165(1) โดยมิได้มีการยกขึ้นว่ากันมาในศาลล่างเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้
การที่จำเลยชำระหนี้ให้โจทก์ด้วยเช็ค เป็นการแปลงหนี้ใหม่หรือไม่มิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อมิได้ยกขึ้นว่ามาแล้วในศาลชั้นต้น จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225
จำเลยเพิ่งกล่าวอ้างในชั้นฎีกาว่า โจทก์กระทำการเป็นพ่อค้าขายทรัพย์สินให้จำเลยและฟ้องเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของ จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165(1) โดยมิได้มีการยกขึ้นว่ากันมาในศาลล่างเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1650/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันไม่ติดอากรแสตมป์ใช้เป็นหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ แม้โจทก์เป็นหน่วยงานรัฐ
โจทก์เป็นส่วนราชการของรัฐบาลฟ้องบังคับตามสัญญาค้ำประกันที่ไม่ปิดอากรแสตมป์ เมื่อตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 17 (ก) กำหนดให้ผู้ค้ำประกันเป็นผู้ต้องเสียค่าอากรแสตมป์และขีดฆ่าอากรแสตมป์ หาใช่ฝ่ายที่ต้องเสียอากรเป็นรัฐบาลอันจะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียอากรตามความหมายในมาตรา 121 แห่งประมวลรัษฎากรไม่
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันยอมใช้เงินแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งผิดสัญญาได้รับทุนจากระทรวงกลาโหมโจทก์ไปศึกษาต่างประเทศแล้วกลับมารับราชการไม่ครบกำหนดสัญญา เมื่อสัญญาค้ำประกันมิได้ปิดอากรแสตมป์ให้บริบูรณ์ ย่อมจะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
แม้จำเลยที่ 2 จะขาดนัด โจทก์ก็ยังมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชอบสัญญาค้ำประกันจริง เมื่อเอกสารสัญญาค้ำประกันใช้เป็นหลักฐานในคดีมิได้คดีย่อมไม่มีทางที่จะให้จำที่ 2 รับผิดตามฟ้องโจทก์ได้
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันยอมใช้เงินแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งผิดสัญญาได้รับทุนจากระทรวงกลาโหมโจทก์ไปศึกษาต่างประเทศแล้วกลับมารับราชการไม่ครบกำหนดสัญญา เมื่อสัญญาค้ำประกันมิได้ปิดอากรแสตมป์ให้บริบูรณ์ ย่อมจะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
แม้จำเลยที่ 2 จะขาดนัด โจทก์ก็ยังมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชอบสัญญาค้ำประกันจริง เมื่อเอกสารสัญญาค้ำประกันใช้เป็นหลักฐานในคดีมิได้คดีย่อมไม่มีทางที่จะให้จำที่ 2 รับผิดตามฟ้องโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1650/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันไม่ปิดอากรแสตมป์ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ แม้โจทก์เป็นหน่วยงานรัฐ
โจทก์เป็นส่วนราชการของรัฐบาลฟ้องบังคับตามสัญญาค้ำประกันที่ไม่ปิดอากรแสตมป์ เมื่อตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 17(ก) กำหนดให้ผู้ค้ำประกันเป็นผู้ต้องเสียค่าอากรแสตมป์และขีดฆ่าอากรแสตมป์ หาใช่ฝ่ายที่ต้องเสียอากรเป็นรัฐบาลอันจะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียอากรตามความหมายในมาตรา 121 แห่งประมวลรัษฎากรไม่
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันยอมใช้เงินแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งผิดสัญญาได้รับทุนจากกระทรวงกลาโหมโจทก์ไปศึกษาต่างประเทศแล้วกลับมารับราชการไม่ครบกำหนดตามสัญญา เมื่อสัญญาค้ำประกันมิได้ปิดอากรแสตมป์ให้บริบูรณ์ ย่อมจะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
แม้จำเลยที่ 2 จะขาดนัด โจทก์ก็ยังมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันจริงเมื่อเอกสารสัญญาค้ำประกันใช้เป็นหลักฐานในคดีมิได้คดีย่อมไม่มีทางที่จะให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามฟ้องโจทก์ได้
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันยอมใช้เงินแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งผิดสัญญาได้รับทุนจากกระทรวงกลาโหมโจทก์ไปศึกษาต่างประเทศแล้วกลับมารับราชการไม่ครบกำหนดตามสัญญา เมื่อสัญญาค้ำประกันมิได้ปิดอากรแสตมป์ให้บริบูรณ์ ย่อมจะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
แม้จำเลยที่ 2 จะขาดนัด โจทก์ก็ยังมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันจริงเมื่อเอกสารสัญญาค้ำประกันใช้เป็นหลักฐานในคดีมิได้คดีย่อมไม่มีทางที่จะให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามฟ้องโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 371/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเช่าที่ดิน, การเปลี่ยนแปลงนิติบุคคลของหน่วยงานรัฐ, และการประวิงคดี
การที่จำเลยเช่าที่ดินบริเวณสวนลุมพินีกับเทศบาลนครกรุงเทพโจทก์คราวละ 1 ปีนั้น เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้ หากเช่าเกินกว่า 1 ปี ต้องได้รับอนุมัติจากกระทรวงมหาดไทยก่อน เช่นนี้ เป็นการแสดงอยู่ในตัวแล้วว่ากระทรวงมหาดไทยให้โจทก์มีอำนาจให้เช่าที่พิพาทได้คราวละ 1 ปี โจทก์จึงมีสิทธิให้จำเลยเช่าที่พิพาทได้ เมื่อโจทก์มีสิทธิให้เช่าแล้ว โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้เช่าตามสัญญาได้
เดิมเทศบาลนครกรุงเทพเป็นโจทก์ฟ้องจำเลย แต่ในระหว่างพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 25 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2514 ให้รวมเทศบาลนครกรุงเทพและเทศบาลนครธนบุรี จัดตั้งเป็นเทศบาลนครหลวงประกาศของคณะปฏิวัติมีสภาพเป็นกฎหมายและตามประกาศฉบับนี้ ข้อ 6 ให้เทศบาลนครหลวงมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาล และข้อ 13 ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยเทศบาล กฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งเกี่ยวกับเทศบาลมาใช้บังคับแก่เทศบาลนครหลวงโดยอนุโลมเท่าที่ไม่ขัดแย้งกับประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ และคำว่าเทศบาลในกฎหมายดังกล่าวให้หมายรวมถึงเทศบาลนครหลวงด้วย เช่นนี้ตามข้อบัญญัติแห่งประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวย่อมแปลได้ว่าเทศบาลนครหลวงเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 เมื่อรวมเทศบาลนครกรุงเทพ เทศบาลนครธนบุรี เป็นเทศบาลนครหลวงแล้วสิทธิและหน้าที่ของเทศบาลนครกรุงเทพที่ได้ทำไว้แต่เดิมจึงเปลี่ยนมาเป็นของเทศบาลนครหลวงเทศบาลนครหลวงจึงมีสิทธิดำเนินคดีต่อจากเทศบาลนครกรุงเทพได้ อนึ่ง ปรากฏต่อมาว่าขณะที่คดีนี้ยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เทศบาลนครหลวงได้ถูกยุบยกเลิกไปโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 335 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 โดยได้มีการจัดระเบียบบริหารใหม่ให้เป็นกรุงเทพมหานคร และให้ถือเป็นจังหวัดตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ข้อ 48 มีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยให้โอนกิจการ ทรัพย์สิน หนี้ฯลฯ ของเทศบาลนครหลวงไปเป็นของกรุงเทพมหานครซึ่งมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารตามนโยบายของรัฐบาล ฯลฯ จึงถือได้ว่ากรุงเทพมหานครเป็นนิติบุคคล กรุงเทพมหานครโดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงมีสิทธิดำเนินคดีต่อจากเทศบาลนครหลวงได้
เดิมเทศบาลนครกรุงเทพเป็นโจทก์ฟ้องจำเลย แต่ในระหว่างพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 25 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2514 ให้รวมเทศบาลนครกรุงเทพและเทศบาลนครธนบุรี จัดตั้งเป็นเทศบาลนครหลวงประกาศของคณะปฏิวัติมีสภาพเป็นกฎหมายและตามประกาศฉบับนี้ ข้อ 6 ให้เทศบาลนครหลวงมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาล และข้อ 13 ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยเทศบาล กฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งเกี่ยวกับเทศบาลมาใช้บังคับแก่เทศบาลนครหลวงโดยอนุโลมเท่าที่ไม่ขัดแย้งกับประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ และคำว่าเทศบาลในกฎหมายดังกล่าวให้หมายรวมถึงเทศบาลนครหลวงด้วย เช่นนี้ตามข้อบัญญัติแห่งประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวย่อมแปลได้ว่าเทศบาลนครหลวงเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 เมื่อรวมเทศบาลนครกรุงเทพ เทศบาลนครธนบุรี เป็นเทศบาลนครหลวงแล้วสิทธิและหน้าที่ของเทศบาลนครกรุงเทพที่ได้ทำไว้แต่เดิมจึงเปลี่ยนมาเป็นของเทศบาลนครหลวงเทศบาลนครหลวงจึงมีสิทธิดำเนินคดีต่อจากเทศบาลนครกรุงเทพได้ อนึ่ง ปรากฏต่อมาว่าขณะที่คดีนี้ยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เทศบาลนครหลวงได้ถูกยุบยกเลิกไปโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 335 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 โดยได้มีการจัดระเบียบบริหารใหม่ให้เป็นกรุงเทพมหานคร และให้ถือเป็นจังหวัดตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ข้อ 48 มีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยให้โอนกิจการ ทรัพย์สิน หนี้ฯลฯ ของเทศบาลนครหลวงไปเป็นของกรุงเทพมหานครซึ่งมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารตามนโยบายของรัฐบาล ฯลฯ จึงถือได้ว่ากรุงเทพมหานครเป็นนิติบุคคล กรุงเทพมหานครโดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงมีสิทธิดำเนินคดีต่อจากเทศบาลนครหลวงได้