พบผลลัพธ์ทั้งหมด 67 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 365/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ในการขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว แม้พ้นกำหนดตามกฎหมาย
แม้การที่โจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวต้องมีใบสำคัญประจำตัวตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.2493 ไม่ได้ยื่นคำร้องขอใบสำคัญประจำตัวต่อจำเลยภายในกำหนดเวลา 30 วัน นับแต่วันที่ได้รู้หรือควรรู้ว่าโจทก์ได้เสียไปซึ่งสัญชาติไทยตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 ของพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.2493 อันทำให้โจทก์ต้องได้รับโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 21 ของพระราชบัญญัตินั้นแล้วก็ตาม แต่โจทก์ก็ยังมีหน้าที่ต้องดำเนินการเพื่อให้โจทก์มีใบสำคัญประจำตัวต่อไป แม้จะพ้นกำหนด 30 วัน ดังกล่าว มิฉะนั้นแล้วโจทก์ย่อมมีความผิดตามมาตรา 20 ของ พ.ร.บ.ดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิให้จำเลยออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์ได้
(เทียบ ฎ.3455-3458/2536)
(เทียบ ฎ.3455-3458/2536)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2860/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นออกคำสั่งรื้อถอนอาคารที่ขัดต่อกฎหมาย และหน้าที่ของเจ้าของอาคาร
โจทก์ฟ้องอ้างเหตุต่าง ๆ ว่า โจทก์ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย จำเลยไม่มีอำนาจออกคำสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาท จำเลยให้การถึงข้อเท็จจริงต่าง ๆ สรุปได้ว่า อาคารพิพาทปลูกสร้างขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 โจทก์เป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์อาคารหลังจาก พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ใช้บังคับ จึงต้องผูกพันตามกฎหมายดังกล่าว เป็นการแก้ข้อกล่าวหาของโจทก์ทุกข้อชัดแจ้งแล้ว ถือไม่ได้ว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาข้ออ้างต่าง ๆของโจทก์ประกอบกับเหตุผลของเจ้าพนักงานท้องถิ่น เพื่อฟังข้อเท็จจริงให้ได้เป็นข้อสรุปแล้วปรับกับข้อกฎหมายที่มีอยู่ในเรื่องนั้น ๆ เมื่อปรับได้แล้วจึงมีคำสั่งจะถือว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มิใช่คู่กรณี จึงไม่อาจยกเหตุผลของเจ้าพนักงานท้องถิ่นขึ้นมาโต้เถียงแทนเจ้าพนักงานท้องถิ่นหาได้ไม่
การปลูกสร้างอาคารพิพาทขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 76 (3) เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น เห็นว่าเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารพิพาทให้ถูกต้องได้จึงมีอำนาจออกคำสั่งให้รื้อถอน ไม่ว่าอาคารพิพาทจะก่อสร้างเสร็จแล้วหรือไม่
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจตามมาตรา 40 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองรื้อถอนอาคารทั้งหมด หรือแต่บางส่วนได้ ซึ่งมิได้หมายถึงเฉพาะผู้กระทำผิดเท่านั้น เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่แม้ไม่ได้เป็นผู้กระทำการก่อสร้างอาคาร ก็ต้องรับผิดในการกระทำนั้นด้วย
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์เกินกว่ากำหนดสามสิบวัน มีผลให้โจทก์ผู้อุทธรณ์มีอำนาจเสนอคดีต่อศาลได้ทันทีโดยไม่ต้องรอคำวินิจฉัยตามขั้นตอน หาใช่จะทำให้คำวินิจฉัยไม่มีสภาพบังคับแต่ประการใดไม่
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาข้ออ้างต่าง ๆของโจทก์ประกอบกับเหตุผลของเจ้าพนักงานท้องถิ่น เพื่อฟังข้อเท็จจริงให้ได้เป็นข้อสรุปแล้วปรับกับข้อกฎหมายที่มีอยู่ในเรื่องนั้น ๆ เมื่อปรับได้แล้วจึงมีคำสั่งจะถือว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มิใช่คู่กรณี จึงไม่อาจยกเหตุผลของเจ้าพนักงานท้องถิ่นขึ้นมาโต้เถียงแทนเจ้าพนักงานท้องถิ่นหาได้ไม่
การปลูกสร้างอาคารพิพาทขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 76 (3) เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น เห็นว่าเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารพิพาทให้ถูกต้องได้จึงมีอำนาจออกคำสั่งให้รื้อถอน ไม่ว่าอาคารพิพาทจะก่อสร้างเสร็จแล้วหรือไม่
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจตามมาตรา 40 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองรื้อถอนอาคารทั้งหมด หรือแต่บางส่วนได้ ซึ่งมิได้หมายถึงเฉพาะผู้กระทำผิดเท่านั้น เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่แม้ไม่ได้เป็นผู้กระทำการก่อสร้างอาคาร ก็ต้องรับผิดในการกระทำนั้นด้วย
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์เกินกว่ากำหนดสามสิบวัน มีผลให้โจทก์ผู้อุทธรณ์มีอำนาจเสนอคดีต่อศาลได้ทันทีโดยไม่ต้องรอคำวินิจฉัยตามขั้นตอน หาใช่จะทำให้คำวินิจฉัยไม่มีสภาพบังคับแต่ประการใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1027/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แม้มีประกันภัย ผู้เสียหายยังเรียกค่าสินไหมจากผู้ละเมิดได้ เพราะจำเลยมีหน้าที่ตามกฎหมาย
แม้บริษัทประกันภัยที่โจทก์เอาประกันภัยไว้จะเป็นผู้จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้แก่โรงพยาบาลแทนโจทก์ไปแล้วอันเป็นสิทธิของโจทก์ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยสัญญาประกันภัย แต่โจทก์ก็ยังมีสิทธิเรียกเอาค่ารักษาพยาบาลจากจำเลยได้อีก เพราะจำเลยมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในมูลละเมิดที่ได้กระทำต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1022/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์ในคดีล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ไม่เป็นการละเมิด
เดิมศาลฎีกามีคำพิพากษาให้จำเลยในคดีทำการแบ่งมรดกให้ ก.9 ใน 21 ส่วน ต่อมาคู่ความได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งทรัพย์มรดกกันใหม่ โดยให้ พ. ผู้มิได้ร่วมทำสัญญาประนีประนอมยอมความไม่มีสิทธิเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินดังกล่าว ต่อมาพ.ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดพ. ให้จำเลยที่ 3 บังคับคดีในทรัพย์มรดกพิพาทตามส่วนของตนที่ศาลฎีกาได้พิพากษาไว้เพื่อนำไปชำระหนี้ของ พ. ซึ่งจำเลยที่ 3 อธิบดีของกรมบังคับคดีจำเลยที่ 2 ได้มอบให้จำเลยที่ 4 เป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของพ.โดยมีจำเลยที่ 5 ทนายความของจำเลยที่ 3 เป็นผู้ช่วยเหลือไปนำยึดที่ดินพิพาทเพื่อรวบรวมทรัพย์สินของ พ. ชำระหนี้เช่นนี้เมื่อที่ดินเป็นทรัพย์มรดกซึ่งตกทอดแก่ทายาท และ พ. เป็นทายาทด้วยผู้หนึ่งต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่า พ. เป็นผู้มีสิทธิในที่พิพาทด้วย กรณีมีเหตุให้จำเลยดำเนินการตามที่เห็นสมควรเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตัวความ การที่จำเลยไปทำการยึดทรัพย์ส่วนที่โจทก์อ้างว่าเป็นของโจทก์จึงฟังไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยจงใจให้โจทก์เสียหาย ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5516/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลสั่งให้ผู้จัดการมรดกส่งเอกสารเพื่อจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด
ระหว่างอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ตั้งผู้ร้องผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของ ส.ร่วมกัน ผู้ร้อง ผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 ย่อมยังคงผูกพันตามคำสั่งศาลชั้นต้นในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ร่วมกันและมีหน้าที่จะต้องลงมือจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 2 จึงชอบที่จะร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านที่ 1 ส่งเอกสารตัวจริงที่เกี่ยวกับทรัพย์มรดกมาไว้ที่ศาล เพื่อจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จตามกำหนดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 549/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแบ่งแยกโฉนดและการแสดงกรรมสิทธิ์จากการครอบครอง: จำเลยไม่มีหน้าที่ต้องแบ่งแยกโฉนด แม้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์จากการครอบครอง
การฟ้องบังคับจำเลยให้แบ่งแยกโฉนดที่ดินพิพาทและโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทแก่โจทก์โดยอ้างว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตามป.พ.พ. มาตรา 1383 นั้น เป็นกรณีที่จำเลยไม่มีหน้าที่ในทางนิติกรรมที่จะต้องไปแบ่งแยกโฉนดที่ดินที่พิพาทและโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ดังนี้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องแต่เมื่อโจทก์มีคำขอให้พิพากษาแสดงกรรมสิทธิ์ที่พิพาทด้วยจึงควรวินิจฉัยข้อนี้ต่อไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 137/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินไม่ทำตามแบบ โมฆะ แต่สิทธิครอบครองเกิดขึ้นได้ แม้จำเลยไม่มีหน้าที่จดทะเบียน
จำเลยขายที่พิพาทซึ่งเป็นที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้โจทก์โดยไม่ได้ทำสัญญาเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคหนึ่ง แต่โจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทหลังจากซื้อจากจำเลย โจทก์จึงได้สิทธิครอบครองจากการโอนตามมาตรา 1377,1378 หาจำต้องทำตามแบบของนิติกรรมไม่แต่จำเลยไม่มีหน้าที่ทางนิติกรรมในอันที่โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยจดทะเบียนแบ่งแยกที่พิพาทให้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3997/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดสิทธิเรียกร้องและการชำระหนี้ตามกฎหมาย แม้มีคดีแรงงานอยู่ระหว่างพิจารณา
จำเลยเป็นลูกหนี้ของโจทก์ที่จะต้องชำระเงินบำเหน็จให้แก่โจทก์เจ้าหนี้ของโจทก์ย่อมมีสิทธิอายัดสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อจำเลยได้ ฉะนั้น ไม่ว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางแล้วหรือไม่ เมื่อจำเลยได้รับหมายอายัดชั่วคราวจากศาลแพ่ง จำเลยย่อมมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามหมายอายัดของศาลแพ่ง การที่จำเลยนำเงินบำเหน็จดังกล่าวไปวางต่อศาลแพ่ง จึงไม่เป็นการกระทำโดยไม่สุจริตแต่ถือว่าเป็นการชำระหนี้ตามกฎหมายแล้ว ข้อความในหมายอายัดที่ว่า ถ้ามีเหตุคัดค้านประการใดให้ยื่นคำคัดค้านภายในกำหนดเวลานั้น หมายความว่า หากจำเลยมีเหตุคัดค้านหมายอายัดในเหตุส่วนตัวของจำเลย เช่น จำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ตามที่ถูกอายัด จำเลยก็อาจจะคัดค้านภายในกำหนดเวลานั้นได้แต่ปรากฏว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์จริง จึงไม่มีเหตุที่จำเลยจะคัดค้าน และแม้จำเลยถูกโจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลแรงงานกลาง จำเลยก็ไม่มีหน้าที่ต้องคัดค้านการอายัดหรือนำเงินบำเหน็จมาวางต่อศาลแรงงานกลางแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1073/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการมรดกมีอำนาจจัดการโดยไม่ต้องยินยอมทายาท แต่ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายและแบ่งมรดกให้ถูกต้อง
ผู้จัดการมรดกอาจกระทำการตามหน้าที่ได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากทายาท คำร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก ผู้คัดค้านอ้างว่าผู้จัดการมรดกไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายและจัดการแบ่งปันมรดกไม่ถูกต้อง เมื่อปรากฏจากบัญชีเครือญาติว่าเจ้ามรดกมีทายาทโดยธรรม9 คน แต่ผู้จัดการมรดกแถลงรับต่อศาลว่าแบ่งมรดกให้ทายาทเพียง8 คน โดยไม่แจ้งเหตุผลว่าเหตุใดจึงไม่แบ่งมรดกให้แก่ทายาทอีกคนหนึ่งศาลต้องไต่สวนให้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า การจัดการมรดกถูกต้องและเป็นการละเลยไม่กระทำการตามหน้าที่หรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดไต่สวน ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 628/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่วางเงิน-หาประกันเพื่ออุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์: ความชอบธรรมของคำสั่งศาล
ในการตรวจอุทธรณ์ที่จำเลยยื่นต่อศาลชั้นต้นนั้น ศาลชั้นต้นอาจตรวจทั้งในข้อที่คดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224,230 รวมตลอดทั้งตรวจอุทธรณ์ เพื่อปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์นั้นในเหตุอื่นตามมาตรา230 วรรคสองและมาตรา 232 ด้วย ศาลชั้นต้นตรวจอุทธรณ์ของจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 232 แล้วมีคำสั่งว่าอุทธรณ์ของจำเลยต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ไม่รับอุทธรณ์ จำเลยอุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้นสั่งว่าผู้อุทธรณ์ไม่วางเงินและหาประกันมาวางเพื่อใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและหนี้ตามคำพิพากษาให้ส่งอุทธรณ์ไปศาลอุทธรณ์ ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 234 บัญญัติว่า ให้ผู้อุทธรณ์นำค่าฤชาธรรมเนียมและเงินที่ต้องชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล เมื่อจำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามบทกฎหมายดังกล่าวแต่ไม่ปฏิบัติ ศาลอุทธรณ์จึงถือว่าคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งนั้นชอบแล้ว จำเลยจะฎีกาโต้แย้งคัดค้านว่าจำเลยไม่จำต้องนำเงินหรือหาประกันตามบทกฎหมายดังกล่าวหาได้ไม่ คำสั่งศาลอุทธรณ์ชอบแล้ว