คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หมั้น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1217/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสู่ขอและเหยียบเรือนตามประเพณีถือเป็นการตกลงหมั้นและสมรสโดยสมบูรณ์ ฝ่ายชายผิดสัญญาต้องรับผิดชอบ
ฝ่ายชายได้ดำเนินการสู่ขอฝ่ายหญิงจนได้มีการเหยียบเรือนตามประเพณีท้องถิ่นแล้ว คือฝ่ายชายได้นำหมากพลูและผ้าขาวไปเคารพฝ่ายหญิง และได้กำหนดนัดวันทำพิธีสมรสแล้ว เช่นนี้ย่อมถือได้ว่าเป็นการตกลงโดยสมบูรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยการหมั้น และการตกลงทำการสมรสแล้วทุกประการเมื่อถึงวันกำหนดแต่งงานฝ่ายชายไม่มาตามกำหนด ฝ่ายหญิงย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมั้นและการจดทะเบียนสมรส: สิทธิและหน้าที่ของคู่สมรสและบิดามารดา
การจะจดทะเบียนสมรสหรือไม่นั้น เป็นหน้าที่ของชายหญิงคู่สมรสเอง บิดามารดาของหญิงมีแต่จะให้ความยินยอมในกรณีจำเป็น ฉะนั้นเมื่อไม่ปรากฎว่าบิดามารดาของหญิงได้ขัดขวางไม่ให้บุตรสาวไปจดทะเบียนกับชาย หรือไม่ให้ความยินยอมอนุญาตแต่ประการใดแล้ว ชายจะฟ้องขอให้บิดามารดาหญิง ใช้ค่าเสียหายแก่ตนในการที่ตนไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับหญิง ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 640/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธการสมรสและการเรียกคืนหมั้นเนื่องจากทำร้ายร่างกาย และการแบ่งทรัพย์สินจากการลงทุนร่วม
ชายหญิงทำพิธีแต่งงานกันตามประเพณี แต่หญิงไม่ยอมหลับนอนร่วมประเวณีกับชายฉันท์สามีภริยาโดยแยกไปนอนเสียคนละห้องกับชายอยู่มาประมาณ 10 วัน มารดาของหญิงบอกให้ชายพาหญิงเข้าห้องเอาเอง ชายจึงเข้าไปจับเอวหญิงออกมาจากห้องที่หญิงนอน หญิงฉวยแจกันตีศีร์ษะชายแตก โลหิตออกแจกันหักแล้วยังใช้แจกันตีชายถูกโหนกแก้มเป็นบาดแผลต้องเย็บถึง 7 เข็มชายจึงกลับบ้านและไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับหญิง ดังนี้ถือว่าการกระทำของหญิงเป็นเหตุผลสำคัญอันพอที่จะทำให้ชายปฏิเสธไม่ยอมสมรสด้วยหญิงตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1441 ได้ ชายจึงมีสิทธิเรียกของหมั้นคืนจากหญิงได้
โจทก์จำเลยร่วมกันนำสัมภาระและลงทุนปลูกสร้างเรือนขึ้น 1 หลัง แต่ไม่ได้ความพอจะชี้ได้ว่าสัมภาระชิ้นใดเป็นของผู้ใดได้ทุกชิ้น ทั้งไม่ได้ความว่าแต่ละฝ่ายได้มีส่วนเป็นเจ้าของอยู่เกินกว่าครึ่ง ดังนี้ต้องถือว่า โจทก์และจำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของเรือนรายนี้เท่า ๆ กัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 384/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมั้นและการแต่งงานไม่จดทะเบียน: สิทธิในการเรียกคืนสินสอดและเงินกองทุน
ชายหญิงสมรสกันโดยไม่สนใจเรื่องจดทะเบียนสมรสชายจะฟ้องเรียกสินสอดของหมั้นคืนไม่ได้ เพราะฝ่ายชายสืบไม่สมฟ้องว่า หญิงผิดสัญญาไม่ยอมจดทะเบียนสมรสด้วย (ฎีกาที่ 659/2487) และจะเรียกค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรสตาม ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 1439 (2) ก็ไม่ได้ เพราะหญิงมิได้กระทำผิดสัญญาหมั้น
ส่วนเงินกองทุนที่ชายเอามากองทุนในการแต่งงานนั้น ยังคงเป็นทรัพย์สินของชาย เมื่อไม่ข้อสัญญาผูกพันให้หญิงยึดเอาไว้ได้ ชายก็มีสิทธิเรียกคืนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1586/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินหมั้นและค่าทดแทนจากการไม่จดทะเบียนสมรส แม้มีการหลับนอนตามประเพณี
ชายหญิงทำพิธีสมรสกันตามประเพณีแล้ว แต่ฝ่ายหญิงกลับไม่ยอมจดทะเบียนสมรสทำให้การสมรสไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายดังนี้ ชายย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกของหมั้นคืนจากหญิงได้ ส่วนค่าทดแทนเช่นค่าใช้จ่ายที่ต้องทำตามประเพณีนั้น แม้การสมรสจะมิได้สำเร็จไปโดยชอบ แต่เมื่อชายได้หลับนอนกับหญิงตามประเพณีแล้ว ค่าใช้จ่ายที่ต้องทำตามประเพณีจึงไม่ใช่ค่าเสียหายอันควรคิดเอาแก่กัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1198/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ของหมั้นไม่จำต้องเป็นกรรมสิทธิ์ชายคู่หมั้น การหมั้นสมบูรณ์เมื่อสมรสแล้ว
ของหมั้นไม่จำต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของชายคู่หมั้น แม้จะเป็นของคนอื่นก็อาจเป็นของหมั้นและตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่หญิงในเมื่อสมรสแล้วได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1436 ก็ใช้คำว่า ฝ่ายชาย มิได้ใช้คำว่า ชายเฉยๆ
พ.สามีจำเลยกับจำเลยได้ไปทำการหมั้นโจทก์ให้แก่จ.ซึ่งเป็นบุตรของ พ. โดยใช้แหวนเป็นของหมั้น แหวนนี้จะเป็นเพียงจำเลยให้ยืมโดย พ. ทราบด้วยหรือไม่ทราบก็ตาม เมื่อปรากฏว่าทางฝ่ายโจทก์และบิดามารดาโจทก์หาได้ทราบความข้อนี้ด้วยไม่ จึงจะเอาข้อตกลงระหว่าง จ. กับจำเลยตลอดจนความไม่รู้ของ พ. หากเป็นความจริงไปผูกมัดโจทก์ไม่ได้
การที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้กำหนดค่าฤชาธรรมเนียมให้โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายชนะนั้น โจทก์อาจฎีกาได้ตามมาตรา168 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แต่โจทก์ไม่ได้ฎีกา เป็นแต่เพียงแถลงมาในคำแก้ฎีกานั้นย่อมไม่ได้ แต่เนื่องจากเวลาพิพากษาศาลฎีกามีอำนาจสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตลอดไปถึงของศาลล่างด้วยโดยอาศัยอำนาจนี้ ศาลฎีกาอาจวินิจฉัยเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมนี้ให้ได้ในเมื่อเห็นสมควร
เมื่อพ้นกำหนดยื่นคำแก้อุทธรณ์ตามมาตรา 237 วรรคต้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแล้ว จำเลยจะยื่นคำแก้อุทธรณ์ไม่ได้ จะยื่นได้ก็แต่ในฐานะคำแถลงการณ์ตามมาตรา246,186 วรรคสอง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ก็รับไว้หากยื่นคำแก้อุทธรณ์ภายหลังกำหนดและศาลรับไว้ในฐานะเป็นคำแถลงการณ์เท่านั้น ซึ่งมีผลว่าจำเลยจะตั้งประเด็นในศาลอุทธรณ์ไม่ได้ เพราะเป็นแต่เพียงคำแถลงการณ์ ไม่ใช่คำแก้อุทธรณ์ซึ่งเป็นคำคู่ความที่จำเลยอาจตั้งประเด็นได้
การยื่นคำแก้อุทธรณ์ภายหลังกำหนดอันถือได้ว่าเป็นการยื่นคำแถลงการณ์นี้ ก็ถือได้ว่าทนายของจำเลยอุทธรณ์ได้ว่าคดีในชั้นศาลอุทธรณ์เหมือนกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 314/2489 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่จดทะเบียนสมรสหลังหมั้นและผลต่อการเรียกคืนทรัพย์สิน: โจทก์มีส่วนผิดทำให้สิทธิเรียกร้องเป็นโมฆะ
หญิงชายแต่งงานกันแล้วชายไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรสชายจะฟ้องเรียกสินสอดของหมั้น ค่าเรือน และของรับไหว้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 314/2489

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่จดทะเบียนสมรสหลังหมั้น ศาลยกฟ้องเรียกทรัพย์คืน เหตุโจทก์มีส่วนทำให้การสมรสไม่สมบูรณ์
หญิงชายแต่งงานกันแล้วชายไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรส ชายจะฟ้องเรียกสินสอด ของหมั้น ค่าเรือน และของรับไหว้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 496/2483

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะสมรส/หมั้น: การไม่จดทะเบียนสมรสและข้อพิพาทเรื่องของหมั้น
ได้แต่งงานกันตามประเพณีแล้วแต่ยังไม่ได้จดทะเบียนก็ถือได้หเพียงว่าเป็นสัญญาจะสมรสหรือหมั้นเท่านั้นในกรณีเช่นนี้ถ้าชายฟ้องเรียกของหมั้นจะต้องพิจารณาว่าฝ่ายใดเป็นผู้ผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 629/2480

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ปราณีประนอมทางแพ่ง: สัญญาไม่เป็นหนังสือ ไม่ห้ามยกเป็นข้อต่อสู้, การยินยอมในการหมั้น
สัญญาปราณีประนอมซึ่งไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น ห้ามมิให้ฟ้องร้องบังคับคดีเท่านั้น มิได้ห้ามยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้กัน หญิงมิได้ยืนยอมด้วยในการที่บิดามารดารับหมั้น เมือหญิงตามชายอื่นไป หญิงและชายนั้นไม่ต้องรับผิดอย่างใดต่อชายผู้หมั้น
of 4