พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกเคหสถานโดยไม่มีหมายค้นและเจตนา ผู้ใหญ่บ้านมีความผิดฐานบุกรุก
จำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ได้รับแจ้งจาก บ. ให้ติดตามสืบถามขอคืนไม้ที่หายจากโจทก์ว่า เห็นโจทก์เอาไม้ไป จำเลยกับพวกก็เข้าค้นเรือนโจทก์รื้อข้าวของกระจัดกระจาย ทั้งนี้ โดยไม่มีหมายค้น บิดาโจทก์ห้ามก็ไม่ฟัง ทั้งไม่ได้ความแน่ชัดด้วยว่า ไม้นั้นอยู่ในเรือนโจทก์ ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาบุกรุกเรือนโจทก์แล้ว ไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 92(4)(5) แต่การกระทำของจำเลยเป็นการเข้าไปในเคหสถานในความครอบครองของผู้อื่นโดยไม่มีเหตุอันสมควรเท่านั้น ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยมีเจตนารบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์โดยปกติสุขด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้นบ้านโดยไม่มีหมายค้นและเหตุผลความเร่งด่วนที่ไม่สมควร การกระทำความผิดฐานบุกรุก
จำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้านได้เข้าค้นบ้านโจทก์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้เฝ้าบ้าน และการเข้าค้นโดยไม่มีหมายค้นนี้ กระทำไปโดยไม่มีเหตุแสดงให้เห็นว่ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ ของกลางจะถูกโยกย้ายไปเสียจึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะทำการค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 92(4) การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานบุกรุกตาม กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 329
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 481/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้นในที่รโหฐานต้องมีหมายค้น เว้นแต่ความผิดซึ่งหน้ากำลังกระทำต่อหน้า
ที่อนุญาตให้เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจค้นในที่รโหฐานได้ โดยไม่ต้องมีหมายค้น เพราะปรากฏความผิดซึ่งหน้ากำลังกระทำลงในที่รโหฐาน นั้น มุ่งหมาย เฉพาะกรณีที่ความผิดกำลังกระทำอยู่ต่อหน้าพนักงานผู้จะเข้าค้นนั้นเอง ถ้าเป็นเรื่องที่ได้รับคำบอกเล่าจากผู้อื่นอีกต่อหนึ่งแล้วก็ไม่เข้าในข้อยกเว้นข้อนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 197/2481
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้นบ้านโดยไม่มีหมายค้นและแจ้งความเท็จต่อบุคคลสามัญ
ผู้ใหญ่บ้านและกำนันไปค้นบ้านจำเลยโดยไม่มีหมาย แล้วไต่ถามจำเลยถึงเรื่องที่ไปค้นนั้น จำเลยได้+ผู้ใหญ่บ้านด้วยคำเท็จดัง+ ยังไม่มีผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5568/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจค้น การแสดงหมายค้น และความผิดฐานบุกรุกเคหสถาน เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
เจ้าพนักงานตำรวจเข้าตรวจค้นที่เกิดเหตุโดยมีหมายค้น แต่คนที่อยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุไม่มีใครยอมเปิดประตูให้ การที่เจ้าพนักงานตำรวจงัดกุญแจประตูรั้วบ้าน และเข้าไปดำเนินการตรวจค้นเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและเป็นการกระทำตามสมควรเพื่อให้สามารถเข้าไปในที่เกิดเหตุได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7104/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้นบ้านโดยหมายค้นชอบด้วยกฎหมาย แม้หมายค้นระบุที่อยู่ไม่ตรงกัน และการแจ้งสิทธิของผู้ต้องหาตามกฎหมายที่ใช้บังคับ ณ ขณะนั้น
ปัญหาข้อกฎหมายว่า การค้นและการสอบสวนไม่ชอบ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ดังนี้ แม้หมายค้นจะระบุให้พันตำรวจโท ป. กับพวกมีอำนาจตรวจค้นบ้านเลขที่ 57/7 ข้างหมู่บ้าน ป.ผาสุก ส่วนบ้านจำเลยเป็นเลขที่ 67 ก็ตาม แต่บ้านจำเลยอยู่ข้างหมู่บ้าน ป.ผาสุก และพันตำรวจโท ป. ได้แนบหลักฐานภาพถ่ายจำเลยขณะอยู่ในบ้านประกอบคำขอเพื่อแสดงว่าประสงค์จะขอหมายค้นบ้านจำเลย การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาออกหมายค้นตามขอ จึงเป็นการให้อำนาจพันตำรวจโท ป. ค้นบ้านจำเลยนั่นเอง การตรวจค้นบ้านจำเลยตามหมายค้นจึงชอบด้วยกฎหมาย สิ่งของที่ได้จากการค้นย่อมนำมาใช้เป็นพยานหลักฐานคดีนี้ได้
ตาม พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 37 ให้ยกเลิกความเดิมตามมาตรา 134 และให้ใช้ข้อความใหม่ตามที่จำเลยอ้างแทน แต่มาตรา 2 กำหนดให้พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือ นับตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2547 เป็นต้นไป โดยไม่มีบทบัญญัติให้มีผลย้อนหลัง จึงไม่มีผลกระทบต่อกระบวนพิจารณาความอาญาที่ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้ว ดังนี้ เมื่อจำเลยถูกจับส่งตัวให้พนักงานสอบสวนในวันที่ 15 ธันวาคม 2545 พนักงานสอบสวนได้แจ้งสิทธิและแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบโดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 134 (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะนั้น โดยมิได้แจ้งให้จำเลยทราบถึงข้อเท็จจริงที่กล่าวหาว่าจำเลยได้กระทำผิดก่อน ก็หาทำให้การสอบสวนคดีนี้ไม่ชอบแต่อย่างใดไม่
ตาม พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 37 ให้ยกเลิกความเดิมตามมาตรา 134 และให้ใช้ข้อความใหม่ตามที่จำเลยอ้างแทน แต่มาตรา 2 กำหนดให้พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือ นับตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2547 เป็นต้นไป โดยไม่มีบทบัญญัติให้มีผลย้อนหลัง จึงไม่มีผลกระทบต่อกระบวนพิจารณาความอาญาที่ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้ว ดังนี้ เมื่อจำเลยถูกจับส่งตัวให้พนักงานสอบสวนในวันที่ 15 ธันวาคม 2545 พนักงานสอบสวนได้แจ้งสิทธิและแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบโดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 134 (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะนั้น โดยมิได้แจ้งให้จำเลยทราบถึงข้อเท็จจริงที่กล่าวหาว่าจำเลยได้กระทำผิดก่อน ก็หาทำให้การสอบสวนคดีนี้ไม่ชอบแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11411/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งออกหมายจับ/ค้นในชั้นสอบสวน ไม่เปิดอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ผู้ต้องหาใช้สิทธิฟ้องดำเนินคดีกับผู้ร้องได้
การออกหมายจับและหมายค้นในชั้นสอบสวน เป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งเพื่อให้การสอบสวนดำเนินไปได้ แม้พนักงานสอบสวนจะต้องมาร้องขอต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอให้ออกหมายจับและหมายค้น แต่ก็ยังไม่ใช่เรื่องที่ฟ้องเป็นคดีมาถึงศาล เมื่อศาลชั้นต้นเห็นสมควรสั่งประการใดแล้ว ก็ไม่ใช่เรื่องที่กฎหมายประสงค์จะให้อุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 หากผู้ร้องอ้างข้อมูลอันเป็นเท็จ ผู้ต้องหาก็มีสิทธิ์ที่จะดำเนินการแก่ผู้ร้องตามที่เห็นสมควรเป็นกรณีต่างหากได้ ผู้ต้องหาจึงไม่อาจอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องของผู้ต้องหาที่ให้เพิกถอนหมายจับและหมายค้นในชั้นสอบสวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4958/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจค้นบ้านโดยไม่มีหมายค้นชอบด้วยกฎหมายเมื่อพบเห็นความผิดซึ่งหน้าจากการล่อซื้อ
แม้เจ้าพนักงานตำรวจจะมิได้ดำเนินการขอหมายค้นจากศาลชั้นต้นก่อนเข้าตรวจค้นบ้านจำเลยก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าสายลับล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนที่หน้าบ้านจำเลย และเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมได้แอบซุ่มดูและเห็นเหตุการณ์การล่อซื้อดังกล่าว จึงเข้าตรวจค้นและจับกุมจำเลย เป็นกรณีที่เจ้าพนักงานตำรวจพบเห็นการกระทำความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนและมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอันเป็นความผิดซึ่งหน้า และการตรวจค้นจับกุมได้กระทำต่อเนื่องกัน เจ้าพนักงานตำรวจจึงเข้าตรวจค้นบ้านจำเลยได้โดยไม่จำต้องมีหมายค้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 92 (2) (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะกระทำความผิด