พบผลลัพธ์ทั้งหมด 284 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3281/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้คดีหย่าและการไม่รับฟังข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้น
จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยประพฤติตนตามที่โจทก์กล่าวอ้างทั้งสิ้น โจทก์ทำตัวเองไม่เหมาะสมในการเป็นหัวหน้าครอบครัวไปติดพันหญิงอื่น หาเรื่องคอยทุบตีจำเลยอยู่เสมอ ไม่เคยกลับมาให้ความอบอุ่นแก่บุตรและครอบครัว เมื่อผู้บังคับบัญชาหรือเพื่อนฝูงว่ากล่าวตักเตือน โจทก์จึงโกรธและทำร้ายทุบตีจำเลยและหาเหตุที่จะไม่ยอมเข้าบ้าน เห็นได้ว่าจำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์เป็นฝ่ายหาเหตุออกจากบ้านไปเอง จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยยอมรับในประเด็นจงใจละทิ้งร้างโจทก์ดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้หย่าขาดโดยไม่ฟังข้อเท็จจริงตามที่คู่ความนำสืบ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142
ปัญหาว่าคำให้การจำเลยถือว่าเป็นการยอมรับหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างโต้แย้งคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยเองได้
ปัญหาว่าคำให้การจำเลยถือว่าเป็นการยอมรับหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างโต้แย้งคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3281/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหย่าขาดจากกรณีจงใจละทิ้งร้างและการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบตามกฎหมาย
จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยประพฤติตนตามที่โจทก์กล่าวอ้างทั้งสิ้น โจทก์ทำตัวเองไม่เหมาะสมในการเป็นหัวหน้าครอบครัวไปติดพันหญิงอื่น หาเรื่องคอยทุบตีจำเลยอยู่เสมอ ไม่เคยกลับมาให้ความอบอุ่นแก่บุตรและครอบครัวเมื่อผู้บังคับบัญชาหรือเพื่อนฝูงว่ากล่าวตักเตือน โจทก์จึงโกรธและทำร้ายทุบตีจำเลยและหาเหตุที่จะไม่ยอมเข้าบ้านเห็นได้ว่าจำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์เป็นฝ่ายหาเหตุออกจากบ้านไปเองจึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยยอมรับในประเด็นจงใจละทิ้งร้างโจทก์ดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้หย่าขาดโดยไม่ฟังข้อเท็จจริงตามที่คู่ความนำสืบ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
ปัญหาว่าคำให้การจำเลยถือว่าเป็นการยอมรับหรือไม่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างโต้แย้งคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยเองได้
ปัญหาว่าคำให้การจำเลยถือว่าเป็นการยอมรับหรือไม่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างโต้แย้งคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9033/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมหลังหย่า: ทรัพย์สินที่ได้มาหลังหย่าตกเป็นของทั้งสองฝ่าย เจ้าหนี้มีสิทธิยึดได้
ผู้ร้องกับจำเลยเป็นสามีภริยากัน และร่วมกันประกอบกิจการค้าขายต่อมาผู้ร้องกับจำเลยจดทะเบียนหย่ากัน แต่ยังคงอยู่กินฉันสามีภริยาและประกอบกิจการค้าขายร่วมกัน ระหว่างนั้นผู้ร้องได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวพิพาท ผู้ร้องกับจำเลยและบุตรเข้าอยู่ในตึกแถวพิพาทโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินพิพาทเพื่อขายทอดตลาดชำระหนี้แก่โจทก์ ดังนี้แม้ทรัพย์สินพิพาทจะได้มาภายหลังการหย่า ทรัพย์สินดังกล่าวย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์รวมของผู้ร้องกับจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะยึดทรัพย์สินพิพาทเพื่อนำออกขายทอดตลาดได้ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยการยึดทรัพย์สินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8832/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหย่าขาดจากกัน: การแยกกันอยู่ต้องเกิดจากความสมัครใจของผู้ถูกฟ้อง
จำเลยเป็นชาวต่างประเทศอยู่กินร่วมกับโจทก์ผู้เป็นสามี ต้องพึ่งพาอาศัยสามีเป็นสำคัญในการครองชีพ โดยอาศัยเงินที่โจทก์จ่ายให้เดือนละ 20,000 บาท เลี้ยงดูบุตร การที่โจทก์เคยฟ้องหย่าจำเลย และจำเลยตกลงจะยอมหย่าแต่เรียกร้องเงินเป็นจำนวนสูงถึง 40,000,000 บาท ซึ่งเป็นที่คาดหมายได้ว่าโจทก์คงไม่ตกลงด้วยก็น่าจะเป็นเพราะจำเลยไม่ประสงค์จะเลิกร้างไปจากโจทก์หรือสมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์นั่นเอง ทั้งเหตุที่โจทก์จำเลยไม่ได้อยู่ร่วมกันเป็นเวลานานก็เนื่องจากโจทก์ได้แยกออกไปอยู่กับบิดามารดาโจทก์เอง และภายหลังที่จำเลยไปอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ก็เนื่องจากต้องไปดูแลรักษาบุตรที่ป่วยเป็นโรคมะเร็ง ดังนั้น ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์ ตาม ป.พ.พ มาตรา 1516 (4/2) อันเป็นเหตุฟ้องหย่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1762/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหย่าที่ต้องพิสูจน์การแยกกันอยู่โดยสมัครใจตลอด 3 ปี และเหตุผลที่แท้จริงของการแยกกัน
การที่จำเลยไม่ได้อยู่กับโจทก์ฉันสามีภริยาที่ต่างประเทศ เนื่องจากโจทก์ไม่ให้ความยินยอมในการทำหนังสืออนุญาต เข้าประเทศ (วีซ่า) แก่จำเลย ต่อมาเมื่อโจทก์กลับมา รับราชการภายในประเทศไทย โจทก์เป็นฝ่ายแยกไปอยู่ต่างหาก กับน้องสาวของโจทก์เอง ถือว่าโจทก์สมัครใจแยกกันอยู่ กับจำเลยแต่ฝ่ายเดียว แต่จำเลยไม่ได้สมัครใจแยกกันอยู่ กับโจทก์ หาใช่เป็นกรณีที่โจทก์จำเลยสมัครใจแยกกันอยู่ เพราะเหตุไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุข ตลอดมาเกิน 3 ปี อันเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(4/2) แต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6478/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินหลังหย่า: สัญญาเพื่อชำระหนี้ต่อบุตรมีผลผูกพันแม้ไม่ได้จดทะเบียน
ในบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่า กับบันทึกการหย่าซึ่งโจทก์จำเลยได้ทำขึ้นต่างหาก มีข้อความระบุว่าโจทก์จำเลยตกลงยินยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินรวม 7 แปลงให้แก่บุตรทั้งสอง โดยระบุหมายเลขที่ดินทุกแปลงไว้อย่างชัดแจ้งการที่จำเลยทำข้อตกลงดังกล่าวโดยโจทก์เป็นคู่สัญญาจึงเป็นการทำสัญญาเพื่อชำระหนี้แก่บุตรทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 วรรคหนึ่ง แม้จะไม่ได้นำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายย่อมผูกพันจำเลยให้ปฏิบัติตาม ข้อตกลงนั้น กรณีหาใช่การให้หรือคำมั่นว่าจะให้ อสังหาริมทรัพย์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525,526 ไม่ ภายหลังที่โจทก์จำเลยทำบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าแล้ว จำเลยผิดสัญญาไม่ยอมไปโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่บุตรทั้งสอง โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยจัดการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่บุตรทั้งสอง ตามข้อสัญญาแต่จำเลยเพิกเฉย จึงถือว่าโจทก์ในฐานะ คู่สัญญาและได้กระทำการแทนบุตรทั้งสองซึ่งเป็น ผู้เยาว์ได้แสดงเจตนาแก่จำเลยที่จะถือเอาประโยชน์ จากข้อตกลงในสัญญานั้นแล้วจำเลยจะยกเหตุว่า บุตรทั้งสองยังไม่ได้แสดงเจตนามายังจำเลยเพื่อให้ ระงับสิทธินั้นหาได้ไม่ ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 375
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6256/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตรหลังหย่า: เปลี่ยนแปลงได้ตามเจตนาบุตรและสถานการณ์ปัจจุบัน
โจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสเป็นสามีภริยากัน ระหว่างอยู่กินด้วยกันมีบุตร 1 คน คือ ส. อายุ 15 ปี 2 เดือน ต่อมาโจทก์จำเลยได้จดทะเบียนหย่ากันและตกลงให้ ส.อยู่ในความปกครองของโจทก์ แม้หลังจากโจทก์จำเลยหย่ากันแล้ว ส.อยู่กับจำเลยและจำเลยเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดู ส. อันเป็นเหตุให้ศาลล่างทั้งสองเพิกถอนอำนาจปกครองของโจทก์เสีย แต่เมื่อ ส.ได้ยื่นคำร้องแนบท้ายฎีกาโจทก์ว่า ขณะที่โจทก์จำเลยพิพาทกัน ส.ไปทำงานที่กรุงเทพมหานคร ไม่ได้อยู่กับโจทก์จำเลย ต่อมา ส.ได้กลับมาทำงานที่จังหวัดหนองคายรับทราบว่าโจทก์จำเลยฟ้องร้องกัน และ ส.ประสงค์จะอยู่ความปกครองของโจทก์ เนื่องจากจำเลยมีสามีใหม่ ศาลชั้นต้นได้สอบ ส.แล้วยืนยันว่าเป็นบุตรของโจทก์จำเลยและประสงค์จะอยู่ในความปกครองของโจทก์ ทั้งปัจจุบันได้อาศัยอยู่กับโจทก์ ปัจจุบัน ส.อาศัยอยู่กับโจทก์และไม่ประสงค์จะอยู่กับจำเลย แม้ข้อเท็จจริงดังกล่าวจะปรากฏขึ้นในภายหลังโดยที่โจทก์มิได้นำสืบในชั้นพิจารณา แต่กรณีนี้ถือได้ว่าเหตุที่จะให้ถอนอำนาจปกครองของโจทก์ได้สิ้นไปแล้ว ศาลฎีกาย่อมที่จะสั่งให้โจทก์มีอำนาจปกครองดังเดิมได้ เมื่อส.อยู่กับจำเลยและจำเลยเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดู ส.ได้หมดสิ้นไปแล้ว กรณีจึงไม่มีเหตุจะถอนอำนาจปกครองของโจทก์อีก สมควรให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองของ ส.ต่อไป ตลอดจนโจทก์ไม่จำต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรให้แก่จำเลยตามที่ศาลล่างทั้งสองได้พิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4135/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความเรื่องหย่า ไม่ถือเป็นความสมัครใจแยกกันอยู่ เหตุฟ้องหย่าไม่สมบูรณ์
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นข้อตกลงมีวัตถุประสงค์เป็นการระงับข้อพิพาทในเรื่องการหย่าโดยตรงโดยเฉพาะข้อตกลงซึ่งระบุว่าโจทก์และจำเลยตกลงที่จะ ไม่ทำการจดทะเบียนหย่าซึ่งกันและกัน และโจทก์ยอมจ่ายเงิน ค่าอุปการะเลี้ยงดูและเงินบำเหน็จหรือบำนาญให้แก่จำเลย ถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 ย่อมทำให้ประเด็นเรื่องการหย่าซึ่งทั้งโจทก์และจำเลยยอมสละระงับสิ้นไปตามมาตรา 852 ในสัญญาประนีประนอมยอมความไม่มีข้อความใดระบุว่าจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์ จึงไม่อาจแปลสัญญาประนีประนอมยอมความนี้เป็นเรื่องจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่ กับโจทก์ แต่กรณีเป็นเรื่องจำเลยมีสิทธิที่จะหย่าโจทก์ได้ เนื่องจากโจทก์มีภริยาอีกคนหนึ่งและทิ้งร้างจำเลยไป การที่ โจทก์ยินยอมทำสัญญาประนีประนอมยอมความจึงเป็นเรื่อง ที่โจทก์ไม่ยินยอมหย่ากับจำเลย และจำเลยสละสิทธิที่จะขอหย่ากับโจทก์โดยจำเลยขอรับค่าอุปการะเลี้ยงดูแทนเท่านั้น แม้จำเลยทราบดีว่าเมื่อทำสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว โจทก์จำเลย ก็ต้องแยกกันไปทำมาหากินเช่นเดิมก็ตาม ก็ไม่อาจถือได้ว่าจำเลย สมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์ แต่พฤติการณ์ที่โจทก์ปฏิบัติต่อจำเลย นับแต่โจทก์ทิ้งร้างจำเลยจนกระทั่งทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ย่อมเป็นที่เข้าใจว่าโจทก์สมัครใจแยกกันอยู่กับจำเลยฝ่ายเดียวเท่านั้น ซึ่งพฤติการณ์ดังกล่าวนั้นย่อมไม่เปิดโอกาสให้จำเลยไปอยู่กับโจทก์ได้ ก็ใช่เป็นเรื่องที่จำเลยมีความสมัครใจที่จะ แยกกันอยู่กับโจทก์ นอกจากนั้นก็ไม่ปรากฏว่าภายหลังทำสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์จำเลยได้ตกลงกันนอกเหนือจากข้อสัญญาในสัญญาประนีประนอมยอมความว่าจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์ เหตุที่โจทก์จำเลยแยกกันอยู่มาเกิน 3 ปี นับแต่ วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความจึงมิได้เกิดขึ้นด้วยความสมัครใจ ของจำเลยเพราะเหตุไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้ โดยปกติสุขแต่เป็นความสมัครใจของโจทก์ฝ่ายเดียวเท่านั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยโดยอาศัยเหตุฟ้องหย่าตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(4/2) ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 865/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจดทะเบียนหย่ามีเงื่อนไขบังคับก่อน หากยังไม่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ สัญญาจดทะเบียนหย่ายังไม่มีผล
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยระบุว่า ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะไปจดทะเบียนหย่าในวันที่ระบุ หลังจากที่ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลที่โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยไว้ก่อนแล้ว ถือว่าข้อตกลงนี้มีเงื่อนไขบังคับก่อน ดังนั้นเมื่อยังมิได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันที่ศาลซึ่งมิใช่เป็นเพราะจำเลยไม่ปฏิบัติตาม ข้อตกลงเรื่องจดทะเบียนการหย่าจึงยังไม่มีผลใช้บังคับ โจทก์จะบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนการหย่ากับโจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 859/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหย่าที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง แต่ศาลชั้นต้นให้หย่าได้ โดยประเด็นคือการยินยอมหรือไม่ยินยอมให้มีภรรยาอีกคน
ตามประเด็นแรกที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ว่าโจทก์ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจให้จำเลยอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องนางย.เป็นภรรยาหรือไม่อันจะนำมาพิจารณาเป็นเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1516(1)ประเด็นดังกล่าวโจทก์จำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านจนกระทั่งได้มีการสืบพยานเสร็จแล้วประเด็นที่ศาลชั้นต้นตั้งไว้แต่แรกดังกล่าวจึงชอบแล้วการที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นขึ้นใหม่ว่าโจทก์มีเหตุฟ้องหย่าจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1516หรือไม่ประเด็นที่กำหนดใหม่นี้ได้รวมถึงเหตุหย่าทุกข้อตามมาตรา1516และครอบคลุมไปถึงประเด็นเดิมด้วยทั้งจำเลยก็ได้อุทธรณ์ในประเด็นดังกล่าวดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไปตามประเด็นที่่กำหนดไว้จากข้อเท็จจริงในสำนวนโดยโจทก์มิได้โต้แย้งข้อเท็จจริงดังกล่าวว่าไม่ชอบอย่างไรคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงชอบแล้ว