คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หลอกลวง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 493 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7050/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงจัดหางานต่างประเทศไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางาน หากไม่มีเจตนาจัดหางานจริง
ในคดีอาญา ปัญหาที่ว่าฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยซึ่งศาลฎีกายกขึ้นเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบด้วย มาตรา 195 วรรคสอง
โจทก์บรรยายฟ้องสรุปได้ว่าจำเลยจัดหางานให้แก่โจทก์ร่วม ซึ่งเป็นคนหางานเพื่อทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยจำเลยหลอกลวงประชาชนทั่วไปด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จด้วยการประกาศโฆษณาและชักชวนว่าจำเลยสามารถจัดส่งคนงานไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นซึ่งจะได้เงินเดือนอัตราสูง และจำเลยจัดส่งคนหางานไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นหลายคนแล้ว แต่ผู้สมัครจะต้องจ่ายเงินค่าบริการและค่าจัดส่งให้จำเลยจำนวนหนึ่ง ความจริงแล้วจำเลยไม่สามารถจัดส่งคนหางานให้ไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นตามที่หลอกลวงไว้ เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอยู่ในตัวว่าจำเลยไม่มีเจตนาจัดหางานให้แก่โจทก์ร่วมและผู้เสียหาย คงมีแต่เจตนาหลอกลวงเพื่อจะได้รับเงินจากโจทก์ร่วมและ ผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง, 82

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7049/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาหลอกลวงเพื่อเอาทรัพย์สินต่างจากการจัดหางาน มิอาจลงโทษฐานจัดหางาน
โจทก์บรรยายฟ้องตอนแรกว่าจำเลยได้จัดหางานให้แก่ ส. ผู้เสียหาย ซึ่งเป็นคนหางานเพื่อไปทำงานที่ประเทศฝรั่งเศส โดยจำเลยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานตามกฎหมาย แต่ตามคำฟ้องของโจทก์ตอนหลังที่ว่าจำเลยได้หลอกลวงผู้เสียหายซึ่งเป็นคนหางานว่าจำเลยสามารถจัดส่งผู้เสียหายไปทำงานที่ประเทศฝรั่งเศสอันเป็นเท็จความจริงแล้วจำเลยมิได้มีความสามารถจัดส่งคนหางานใด ๆ รวมทั้งผู้เสียหายให้ไปทำงานต่างประเทศได้ เพราะจำเลยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานและโดยการหลอกลวงเป็นเหตุให้ผู้เสียหายหลงเชื่อและจ่ายเงินให้แก่จำเลยเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอยู่ในตัวว่าจำเลยไม่มีเจตนาจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายเพียงแต่อ้างการประกอบธุรกิจการจัดหางานมาเป็นข้อหลอกลวงเพื่อให้ได้เงินค่าบริการจากผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานโดยมิได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 30 วรรคหนึ่งประกอบมาตรา 82 แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้ และปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นว่ากล่าว ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
การกระทำผิดของจำเลยเป็นการหลอกลวงเอาทรัพย์สินจำนวนมากจากคนหางานหลายคน สร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนที่ประสงค์จะทำงานหารายได้มาเลี้ยงดูครอบครัวอย่างมาก อีกทั้งจำเลยจัดให้ผู้เสียหายกับพวกเดินทางไปปล่อยทิ้งที่ประเทศเช็กโกสโลวะเกียโดยมิได้ดูแลช่วยเหลือจนผู้เสียหายต้องติดต่อสถานฑูตไทยให้ช่วยเหลือเดินทางกลับประเทศไทย การกระทำของจำเลยเป็นภัยต่อประชาชนผู้ประสงค์หางานทำอย่างยิ่ง นับเป็นพฤติการณ์ร้ายแรง ที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษให้แก่จำเลยนั้นเหมาะสมแก่รูปคดีแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6598/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมและใช้เอกสารสิทธิเพื่อหลอกลวงเอาทรัพย์สิน การกระทำหลายครั้งถือเป็นหลายกรรม
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 มิได้บัญญัติว่าการกระทำความผิดหลายกรรมนั้นจะเกิดขึ้นในวาระเดียวกันไม่ได้ แม้การกระทำความผิดต่างวาระกันจะต้องกระทำความผิดหลายกรรมก็จริง แต่ไม่ได้หมายความว่าในวันเดียวกันหรือวาระเดียวกันหรือต่อเนื่องในคราวเดียวกันจะเป็นความผิดหลายกรรมไม่ได้ จำเลยได้ปลอมใบเสร็จรับเงินค่าไฟฟ้าและใบกำกับภาษีของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอันเป็นเอกสารสิทธิด้วยการแก้ไขตัวเลขจำนวนเงินค่าใช้กระแสไฟฟ้าที่แท้จริงให้เพิ่มขึ้นจำนวน39 ฉบับ ซึ่งใบเสร็จรับเงินค่าไฟฟ้าและใบกำกับภาษีปลอมดังกล่าวเป็นผู้ใช้กระแสไฟฟ้าต่างรายกัน แล้วจำเลยใช้เอกสารที่ทำปลอมขึ้นทั้งหมดไปเรียกเก็บเงินจากผู้ใช้กระแสไฟฟ้าทั้ง 39 ราย เป็นเหตุให้ผู้ใช้กระแสไฟฟ้าทั้ง 39 ราย หลงเชื่อยอมจ่ายเงินตามจำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยแล้วจำเลยนำส่วนที่เกินไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตนโดยทุจริต แม้จะไม่ได้ระบุว่าการกระทำผิดฐานใดกระทำในวันเวลาใดแต่ทันทีที่จำเลยปลอมใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษีฉบับหนึ่งก็เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิสำเร็จแล้ว เพราะโดยสภาพของการกระทำ การกระทำของจำเลยแยกออกจากกันได้ จึงเป็นความผิดหลายกรรมรวม 39 กระทงเมื่อจำเลยนำใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษีที่ทำปลอมขึ้นดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินจากผู้ใช้กระแสไฟฟ้าทั้ง 39 รายจึงเป็นความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมซึ่งเป็นความผิดหลายกรรมรวม 39 กระทงเช่นกัน เมื่อจำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารสิทธิดังกล่าวแล้วใช้เอกสารสิทธิที่จำเลยปลอมขึ้น จึงต้องลงโทษฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมในแต่ละกระทงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคสอง รวม 39 กระทง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2997-2998/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาหลอกลวงค้าประเวณีเป็นกรรมต่างกัน ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
การที่จำเลยมีเจตนาหลอกลวงผู้เสียหายแต่ละบุคคลไปทำงานค้าประเวณี เป็นเจตนาที่กระทำต่อแต่ละบุคคลไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2297/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำหลอกลวงเพื่อค้าประเวณีถือเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
การที่จำเลยมีเจตนาหลอกลวงผู้เสียหายแต่ละบุคคลไปทำงานค้าประเวณี เป็นเจตนาที่กระทำต่อแต่ละบุคคลไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1497/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเชิดบริษัทเพื่อทำสัญญาหลอกลวง: จำเลยต้องรับผิดเสมือนตัวแทน
เมื่อโจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับบริษัทจำเลย จำเลยได้จัดการให้โจทก์ทำสัญญากับบริษัท ร. เพื่อว่าจ้างบริษัท ร. พัฒนาที่ดินและสร้างสาธารณูปโภคในโครงการของจำเลย และทำสัญญากับบริษัท ม. เพื่อตั้งบริษัท ม. เป็นตัวแทนจัดซื้อวัสดุ โดยทำที่สำนักงานของจำเลย มีกรรมการบริษัทจำเลยร่วมลงลายมือชื่อในฐานะผู้จะขายและในฐานะผู้รับจ้างทั้งสองสัญญา ตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนพาณิชย์ปรากฏว่าจำเลยและบริษัท ร. ล้วนแต่มีกรรมการชุดเดียวกันและพนักงานของบริษัทจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อเป็นพยานในสัญญาทุกฉบับ โจทก์และลูกค้ารายอื่นย่อมมีเหตุผลเชื่อว่าจำเลยกับบริษัท ร. และบริษัท ม. ได้ร่วมประกอบธุรกิจหาผลประโยชน์ในกิจการเดียวกัน ทั้งตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน สัญญาว่าจ้างพัฒนาที่ดินและสร้างสาธารณูปโภค และสัญญาตั้งตัวแทนจัดซื้อวัสดุ มีข้อความระบุว่า หากโจทก์ผิดสัญญาเดียวหรือสองสัญญา ยอมให้จำเลยหรือบริษัท ร. หรือบริษัท ม. ยกเลิกสัญญาได้ทุกสัญญาแต่ฝ่ายเดียวได้ พฤติกรรมของจำเลยรับฟังได้ว่า จำเลยได้เชิดบริษัท ร. และบริษัท ม. เป็นตัวแทนของตนในการทำสัญญาว่าจ้างพัฒนาที่ดินและสร้างสาธารณูปโภคและสัญญาตั้งตัวแทนจัดซื้อวัสดุแทนทำให้โจทก์หลงผิดเข้าทำสัญญากับบริษัท ร. และบริษัท ม. โดยเชื่อว่าบริษัททั้งสองร่วมประกอบธุรกิจกับจำเลย จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนหนึ่งว่าบริษัททั้งสองเป็นตัวแทนของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 821

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7758/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงขอเงินชดเชยภาษีอากร, การโอนบัตรภาษีโดยไม่ชอบ, ความรับผิดร่วมกันของจำเลยในการชดใช้เงินและดอกเบี้ย
ศาลภาษีอากรกลางอ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2541 โจทก์ต้องยื่นอุทธรณ์ภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 24 การนับเวลา ยื่นอุทธรณ์ 1 เดือน ต้องนับวันรุ่งขึ้นเป็นวันแรกตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/3 และสิ้นสุดลงในวันก่อนหน้าจะถึงวันแห่งเดือนสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลานั้น ตามมาตรา 193/5 โจทก์ยื่นอุทธรณ์วันที่ 28 สิงหาคม 2541 จึงเป็นการยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย
จำเลยที่ 1 มิได้ส่งสินค้าตามใบขนสินค้าขาออกและแบบแสดงรายการการค้า 22 ฉบับ ออกไปนอกราชอาณาจักร แต่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการหลอกลวงโจทก์ โดยยื่นคำขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าที่อ้างว่าส่งออกตามใบขนสินค้าขาออกฯ ดังกล่าวจนเป็นเหตุให้โจทก์จ่ายเงินชดเชยในรูปของบัตรภาษีให้แก่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับโอนบัตรภาษีจากจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรในรูปของบัตรภาษีโดยอาศัยสิทธิของจำเลยที่ 1 ที่มิชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรในรูปของ บัตรภาษี จำเลยที่ 3 ผู้รับโอนสิทธิต่อจากจำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้โอน จำเลยที่ 3 จึงได้รับสิทธิตามบัตรภาษีไปจากโจทก์โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ เงินชดเชย ค่าภาษีอากรที่จ่ายในรูปบัตรภาษีจึงเป็นลาภมิควรได้ จำเลยที่ 3 จะต้องคืนบัตรภาษีให้แก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ต้องชดใช้ราคาแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406
จำเลยที่ 3 ให้การว่า สิทธิเรียกร้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 ขาดอายุความ เพราะจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหม ทดแทน โจทก์ทราบเรื่องเมื่อเดือนกรกฎาคม 2534 แต่ฟ้องคดีวันที่ 5 สิงหาคม 2540 สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึง ขาดอายุความ จึงมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยเพียงว่า สิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความตามมูลละเมิดหรือไม่เท่านั้น เมื่อคดีของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 ฟังได้ว่าเป็นเรื่องสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ลาภมิควรได้ การที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่า สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในมูลหนี้ลาภมิควรได้สำหรับจำเลยที่ 3 ขาดอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 419 จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากคำให้การของจำเลยที่ 3 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบ เรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้ง ศาลภาษีอากรฯ มาตรา 17, 29 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
ที่จำเลยที่ 3 แก้อุทธรณ์ว่า เอกสารชุดคำขอที่โจทก์อ้างส่งเป็นเอกสารที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้รับบัตรภาษีและนำบัตรภาษีของโจทก์ไปใช้แล้วนั้น เป็นคำแก้อุทธรณ์ที่ขัดกับคำให้การของจำเลยที่ 3 จึงเป็นข้อที่มิได้ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 29 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 4 และที่ 5 ได้รับสิทธิตามบัตรภาษีไปจากโจทก์โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ เงินชดเชยค่าภาษีอากรที่จำเลยที่ 4 และที่ 5 รับไปจากโจทก์ จึงเป็นลาภมิควรได้ จำเลยที่ 4 และที่ 5 จะต้องคืนบัตรภาษีให้แก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ต้องชดใช้ราคาตามที่กำหนดไว้ในบัตรภาษีให้แก่โจทก์
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ได้สำแดงข้อความอันเป็นเท็จไว้ในใบขนสินค้าขาออกและแบบแสดงรายการการค้าว่าส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร แล้วจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ยื่นคำขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าที่ส่งออกนั้น และโจทก์ได้จ่ายเงินชดเชยเป็นบัตรภาษีให้แก่จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ซึ่งเป็น ผู้รับโอนบัตรภาษีจากจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องคืนบัตรภาษีดังกล่าว หากคืนไม่ได้ก็ต้องชดใช้ราคาและตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีให้แก่โจทก์นับแต่วันที่ทำละเมิดหรือวันที่รับบัตรภาษี
แม้จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ไม่ได้ร่วมกระทำละเมิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 แต่ตามพฤติการณ์รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ได้รับโอนบัตรภาษีมาโดยสุจริต จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 จึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชำระ ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีให้แก่โจทก์นับแต่วันที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 จะต้องคืนทรัพย์สินนั้นหรือเวลาที่โจทก์เรียกคืนบัตรภาษีเพราะมูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องเป็นมูลหนี้ลาภมิควรได้ แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ได้รับหนังสือแจ้งจากโจทก์ให้คืนบัตรภาษีเมื่อใด ถือว่าโจทก์เรียกให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 คืนบัตรภาษีนับแต่วันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6863/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่าจะช่วยไถ่รถยนต์ที่ถูกลัก แต่ไม่เป็นความจริง การกระทำเข้าข่ายความผิดฐานฉ้อโกง
การกระทำของจำเลยที่กล่าวอ้างต่อผู้เสียหายว่าจะติดต่อให้ผู้เสียหายไถ่รถยนต์กระบะคืนจากคนร้าย และเรียกร้องเงินโดยอ้างเป็นค่าใช้จ่าย ในการดำเนินการจำนวน 3,500 บาท กับอ้างว่าคนร้ายต้องการค่าไถ่จำนวน50,000 บาท แต่ก็ไม่เกิดผลตามที่จำเลยอ้าง แม้เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยและให้จำเลยนำไปบ้านของผู้มีชื่อที่อ้างว่าเป็นที่ซ่อนรถยนต์กระบะก็ไม่พบ ยังไม่เพียงพอให้รับฟังได้ว่าเป็นการช่วยจำหน่ายรถยนต์กระบะของผู้เสียหายซึ่งถูกคนร้ายลักไปอันจะทำให้จำเลยต้องมีความผิดฐานรับของโจรแต่พยานหลักฐานดังกล่าวรับฟังได้ว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หลอกลวงผู้เสียหายเพื่อให้เงินแก่จำเลยและได้รับไปแล้ว จำนวน3,500 บาท การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4340/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สำเนาเอกสารราชการปลอมเพื่อหลอกลวง ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 และ 268
สำเนาหนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินที่จำเลยนำไปใช้ เป็นภาพถ่ายจากต้นฉบับเอกสารราชการเพียงแต่แตกต่างกันในตัวเลขเกี่ยวกับราคาประเมินเท่านั้น กล่าวคือ เอกสารที่แท้จริงซึ่งเป็นต้นฉบับระบุราคาประเมินที่ดินจำนวน 28,000 บาท แต่ตามภาพถ่ายสำเนาหนังสือรับรองราคาประเมินระบุราคาประเมินที่ดินจำนวน 828,000 บาทดังนั้น สำเนาหนังสือรับรองราคาประเมินจึงเป็นการแก้ไขตัวเลขอันเป็นการทำปลอมขึ้นจากหนังสือรับรองราคาประเมินซึ่งเป็นเอกสารราชการที่แท้จริงแม้จะเป็นการทำปลอมในสำเนาเอกสารราชการก็ต้องถือว่าเป็นการปลอมเอกสารราชการ เมื่อจำเลยได้นำสำเนาหนังสือรับรองราคาประเมินไปใช้แสดงต่อโจทก์ร่วมเพื่อให้หลงเชื่อว่าเป็นภาพถ่ายจากเอกสารที่แท้จริง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม
ตามฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 265,268 ซึ่งมีโทษจำคุกหกเดือนถึงห้าปี จึงเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้น แม้ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วจะได้ความว่า การกระทำของจำเลยเป็นเพียงความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งมีอัตราโทษอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงก็ไม่ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์เปลี่ยนแปลงไป ศาลชั้นต้นยังคงมีอำนาจที่จะพิพากษาคดีต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3309/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำที่อ้างการจัดหางานหลอกลวงผู้อื่น ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางาน แต่เข้าข่ายฉ้อโกง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยจัดหางานให้แก่ผู้เสียหาย ซึ่งเป็นคนหางานให้ไปทำงานในประเทศญี่ปุ่น และเรียกค่าบริการจากผู้เสียหาย โดยจำเลยมิได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 4, 30 และมาตรา 82แต่การจะเป็นผู้กระทำความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ต้องเป็นผู้ประกอบธุรกิจจัดหางานก่อน เมื่อจำเลยเป็นบุคคลธรรมดา และจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้จัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ รวมทั้งไม่ได้เป็นตัวแทนหรือลูกจ้างของบริษัทจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ การกระทำของจำเลย นอกจากไม่ต้องด้วยคำจำกัดความของคำว่า "จัดหางาน" ตามมาตรา 4วรรคหนึ่งแล้ว จำเลยยังมิได้มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่คนหางานหรือจัดหาลูกจ้างให้แก่นายจ้าง แต่เป็นเรื่องที่จำเลยอ้างเอาเรื่องการจัดหางานขึ้นมาเป็นเหตุหลอกลวงเอาเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ถูกหลอกลวงอันอาจเป็นความผิดตามพ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91 ตรี และความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา 341 หรือ 342 การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 4วรรคหนึ่ง, 30 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 82
ปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความจะมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นศาลฎีกายกขึ้นเองได้
of 50