คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หลักเกณฑ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 105 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4276/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขอคืนภาษีธุรกิจเฉพาะต้องยื่นคำร้องตามหลักเกณฑ์ก่อนฟ้อง หากไม่ปฏิบัติตามไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับให้กรมสรรพากรจำเลยที่ 2 คืนภาษีธุรกิจเฉพาะให้โจทก์พร้อมดอกเบี้ย อ้างว่าโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีดังกล่าว แต่โจทก์มิได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์จึงไม่อาจนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องฎีกาไม่จำเป็นต้องบรรยายเนื้อหาคำฟ้องเดิม คำให้การ และคำพิพากษาศาลชั้นต้น หากมีรายละเอียดครบถ้วนตามหลักเกณฑ์
แม้คำฟ้องฎีกาเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 1(3) ซึ่งอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ที่ผู้ฎีกาจะต้องบรรยายคำฟ้องฎีกาให้แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 172 วรรคสองและมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่คำฟ้องฎีกาไม่จำเป็นต้องบรรยายเนื้อหาแห่งคำฟ้องเดิมคำให้การ และคำพิพากษาศาลชั้นต้น เพราะทั้งคำฟ้องเดิม คำให้การ และคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีปรากฏอยู่ในสำนวนของศาลแล้ว คำฟ้องฎีกาเพียงแต่บรรยายคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ชัดแจ้งโดยแสดงเหตุผลแห่งคำคัดค้านให้ปรากฏ ทั้งระบุคำขอท้ายคำฟ้องฎีกามาให้ชัดเจน ก็เป็นคำฟ้องฎีกาที่สมบูรณ์แล้ว โจทก์บรรยายคำฟ้องฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในเรื่องเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนแต่ละแปลงมาโดยชัดแจ้ง และมีคำขอบังคับให้ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้เงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มกับให้ร่วมกันชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลมาท้ายคำฟ้องฎีกาครบถ้วนแล้ว แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายเนื้อหาแห่งคำฟ้องเดิม คำให้การ และคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาด้วย คำฟ้องฎีกาของโจทก์ก็เป็นคำฟ้องฎีกาที่สมบูรณ์ ชอบที่ศาลจะรับคำฟ้องฎีกาของโจทก์ไว้วินิจฉัย (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3/2542)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8835/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองลิขสิทธิ์งานจากต่างประเทศ: ฟ้องชอบด้วยกฎหมายแม้ไม่ระบุหลักเกณฑ์คุ้มครองของประเทศนั้น
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำละเมิดลิขสิทธิ์และขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 61 โดยกล่าวในฟ้องว่างานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์ตามคำฟ้องเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของเมืองฮ่องกง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นประเทศภาคแห่งอนุสัญญากรุงเบอร์ว่าด้วยการคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องกำหนดรายชื่อประเทศภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์หรืออนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของนักแสดง ลงวันที่ 15พฤษภาคม 2539 จึงได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2537 ถือได้ว่าโจทก์ได้บรรยายข้อเท็จจริงในคำฟ้องครบถ้วนตามบทบัญญัติมาตรา 61 แห่งกฎหมายดังกล่าวแล้ว แม้โจทก์จะไม่ได้กล่าวในคำฟ้องว่า กฎหมายของเมืองฮ่องกงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศไทยซึ่งเป็นภาคีอยู่ด้วยก็ตาม ฟ้องของโจทก์ก็ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดที่ต้องบรรยายในคำฟ้องตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 42ซึ่งถูกเลิกโดยพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ส่วนมาตรา 61แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติให้ข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศอีกต่อไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานวัตถุ-เอกสารประกอบคดี-การขายยาเสพติด: หลักเกณฑ์การนำสืบและการพิสูจน์ความผิด
ธนบัตรของกลางเป็นพยานวัตถุที่เจ้าพนักงานตำรวจใช้ล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลย แม้จะมิได้ลงบันทึกประจำวันไว้ โจทก์ก็อ้างเป็นพยานเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 226 เพราะไม่มีกฎหมายห้าม
แผนที่เกิดเหตุเป็นเพียงพยานเอกสารจำลองถึงที่เกิดเหตุตามที่พนักงานสอบสวนได้จัดทำขึ้น แม้จะมีระเบียบให้พนักงานสอบสวนจัดทำขึ้นเพื่อประกอบคดีแต่ถ้าพนักงานสอบสวนมิได้จัดทำ ก็หาทำให้พยานหลักฐานอื่นที่โจทก์นำสืบเสียไปแต่อย่างใดไม่ หากพยานโจทก์ฟังได้ว่า จำเลยกระทำผิดตามฟ้อง ศาลก็ลงโทษจำเลยได้โดยไม่จำต้องมีแผนที่เกิดเหตุ
การที่จำเลยเอาเมทแอมเฟตามีนมาขายให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อแม้สายลับจะไม่มีเจตนาซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยมาเพื่อเสพหรือแสวงหาประโยชน์อื่นใดจากเมทแอมเฟตามีน ก็ถือว่าจำเลยได้ขายเมทแอมเฟตามีนตามบทนิยามคำว่าขายที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ 2518มาตรา 4 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2444/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การในคดีมโนสาเร่ ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์คดีสามัญ แม้ศาลยังไม่ได้เปลี่ยนกระบวนพิจารณา
แม้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นคดีมโนสาเร่และยังไม่เปลี่ยนแปลงคำสั่งขณะจำเลยยื่นคำร้อง แต่จำเลย ยื่นคำให้การเป็นหนังสือไว้แล้วก่อนหน้านั้น เมื่อไม่มี บทบัญญัติกฎหมายกำหนดโดยเฉพาะในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ลักษณะ 2 หมวดที่ 1 ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ ก็ไม่ใช่ว่าจะมีสิทธิแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำให้การเป็นอย่างใด หรือเมื่อไรก็ได้ตามต้องการ แต่ต้องนำบทบัญญัติในคดีสามัญมาใช้บังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 195 คือการแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การในกรณีนี้อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 179(3),180 เมื่อคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวโดยยื่นในวันเดียวกันกับวันสืบพยานโจทก์ทั้งไม่ปรากฏเหตุที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนหรือเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อยแต่อย่างใด คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตและยกคำร้องจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2444/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การในคดีมโนสาเร่ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์คดีสามัญ หากไม่ปฏิบัติตามศาลมีสิทธิไม่อนุญาต
แม้ศาลชั้นต้นจะดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นคดีมโนสาเร่และยังไม่เปลี่ยนแปลงคำสั่งขณะจำเลยยื่นคำร้องแต่จำเลยยื่นคำให้การเป็นหนังสือไว้แล้วก่อนหน้านั้นเมื่อไม่มีบทบัญญัติกฎหมายกำหนดโดยเฉพาะในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ลักษณะ 2 หมวดที่ 1ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ จึงต้องนำบทบัญญัติในคดีสามัญมาใช้บังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 195 คือการแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 179(3),180 เมื่อคำร้องขอแก้ไข เพิ่มเติมคำให้การของจำเลยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ แห่งกฎหมายดังกล่าว โดยยื่นในวันเดียวกันกับวันสืบพยานโจทก์ทั้งไม่ปรากฏเหตุที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อน หรือเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อย คำสั่ง ศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตและยกคำร้องจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8124/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกโฉนดที่ดิน: การโต้แย้งสิทธิและการพิจารณาหลักเกณฑ์การครอบครองก่อนกฎหมายหวงห้าม
โจทก์ยื่นคำขอรังวัดเพื่อออกโฉนดที่ดินต่อจำเลย จำเลยเห็นว่าที่ดินของโจทก์เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมายที่จะออกโฉนดที่ดินให้ได้จึงประกาศจะแจกโฉนดที่ดินให้โจทก์ตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2524 โดยกำหนดว่าถ้าผู้ใดจะคัดค้านให้ยื่นคำคัดค้านภายใน 30 วัน นับแต่วันประกาศ หากกระทรวงการคลังได้รับแจ้งจากจำเลยตั้งแต่ปี 2526 แล้วมิได้คัดค้านอย่างใดจนบัดนี้ต้องถือว่าไม่ติดใจคัดค้านเพราะเนิ่นนานเกินสมควรแล้ว ดังนั้น การที่จำเลยปฏิเสธไม่ยอมแจกโฉนดที่ดินให้โจทก์โดยอ้างว่ากระทรวงการคลังยังไม่ตอบไม่ขัดข้องและอ้างหนังสือสั่งการของกรมที่ดินแจ้งทางปฏิบัติเกี่ยวกับการออกโฉนดที่ดินซึ่งเป็นเรื่องภายใน ถือได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6988/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างระบุโบนัส 4 เดือน มีผลผูกพัน แม้ระเบียบบริษัทจะกำหนดหลักเกณฑ์อื่น
จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้าง และตกลงจ่ายเงินโบนัสประจำปีให้โจทก์ 4 เดือน จึงมีผลผูกพันให้โจทก์และจำเลยต้องปฏิบัติตามสัญญาจ้างดังกล่าวตลอดเวลาที่โจทก์และจำเลยยังเป็นลูกจ้างและนายจ้างกันอยู่ ตามสัญญาจ้างดังกล่าวมิได้ระบุกำหนดข้อยกเว้นในกรณีที่จะไม่จ่ายเงินโบนัสประจำปีลดเงินโบนัสประจำปีหรือจำกัดการจ่ายเงินโบนัสประจำปีให้โจทก์ไว้ ดังนี้ เมื่อโจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยตลอดทั้งปี จำเลยจะต้องจ่ายเงินโบนัสประจำปีให้โจทก์ตามจำนวนที่ระบุในสัญญาจ้าง แม้ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยจะกำหนดว่า การจ่ายโบนัส จำเลยจะพิจารณาจากผลการปฏิบัติงาน สถิติการมาทำงาน ความประพฤติ การปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับในการทำงานหรือคำสั่งของผู้บังคับบัญชาในรอบปี ที่ผ่านมา การจ่ายเงินโบนัสตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าว ไม่แน่นอนว่าลูกจ้างแต่ละคนจะได้เงินโบนัสประจำปีจำนวนเท่าใด ทั้งแต่ละคนอาจจะได้ไม่เท่ากันซึ่งถ้านำมาใช้แก่กรณีของโจทก์ โจทก์อาจจะได้เงินโบนัสประจำปีในแต่ละปีไม่แน่นอนและอาจ จะได้ไม่ถึงปีละ 4 เดือน ตามที่ตกลงไว้ในสัญญาจ้าง และถ้า โจทก์จำเลยมีเจตนาให้โจทก์ได้รับเงินโบนัสประจำปีมากน้อยตาม ผลการปฏิบัติงาน การมาทำงานความประพฤติ และการปฏิบัติ ตามระเบียบข้อบังคับเช่นลูกจ้างคนอื่น ๆ ก็สามารถนำ ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวมาใช้บังคับ แก่โจทก์ เช่นลูกจ้างคนอื่น ๆ ได้อยู่แล้ว หากจำต้องตกลง จ่ายเงินโบนัสไว้โดยเฉพาะในสัญญาจ้างให้ผิดแผก ไปจากที่กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอีกไม่ การที่โจทก์จำเลยตกลงการจ่ายเงินโบนัสประจำปีไว้ โดยเฉพาะในสัญญาจ้างเช่นนี้ จึงเป็นการชี้ชัดว่า โจทก์จำเลยมีเจตนาให้ผูกพันกันในกรณีการจ่ายเงินโบนัส ประจำปีให้โจทก์ผิดแผกแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าว สัญญาจ้างระบุไว้เพียงว่า จำเลยตกลงจ่ายเงินโบนัสประจำปี 4 เดือน โดยมิได้ระบุว่าจำเลยตกลงจ่ายให้เฉพาะปีแรก เมื่อปรากฏว่าผลการปฏิบัติงานในปีที่เกิดกรณีพิพาท โจทก์ มีสิทธิได้รับเงินโบนัสประจำปี 4 เดือน จำเลยจึงมี ความผูกพันต้องจ่ายเงินโบนัสประจำปีตามที่ตกลงกันตามสัญญาจ้างนั้นให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6676/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษี: การโต้แย้งสิทธิขอคืนภาษีอากรและการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตามกฎหมาย
โจทก์ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรจากจำเลย ต่อมาจำเลยได้ออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนพบว่า โจทก์ได้รับค่าภาษีอากรเกินไปจำนวน5,497,022.41 บาท จึงได้มีหนังสือแจ้งให้ส่งคืนภาษีอากรผิดพลาดดังกล่าว แม้หนังสือแจ้งให้ส่งคืนเงินภาษีอากรผิดพลาดจะไม่ใช่หนังสือแจ้งการประเมิน แต่กรณีเป็นเรื่องพิพาทเกี่ยวกับการขอคืนค่าภาษีอากรตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 (3)แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากร ฯ โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีอากรตามแบบค.10 โดยจำเลยได้ทำการพิจารณาคำร้องของโจทก์ดังกล่าวจนมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ส่งเงินภาษีอากรส่วนที่เกินคืน อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในการขอคืนเงินภาษีอากรแล้ว เมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้ดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528 มาตรา 9 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4393/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาของระเบียบสวัสดิการพนักงาน: การสมทบและมอบเงินต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ไม่ใช่ดุลพินิจ
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดว่าพนักงานที่มีอายุงานครบ 10 ปี หรือ 10 ปี ขึ้นไป จำเลยจะสมทบให้อีกร้อยละร้อยของเงินสะสมพร้อมดอกเบี้ยเมื่อลาออก และพนักงานที่มีอายุงานเกิน 15 ปี ขึ้นไปเมื่อลาออก จำเลยจะพิจารณามอบเงินให้อีกอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 180 วัน ของรายได้ครั้งสุดท้ายที่ได้รับ เมื่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยว่าด้วยสวัสดิการพนักงาน มีข้อความว่า บริษัทจำเลยได้ตระหนักถึงความมั่นคงและความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานทุกคนที่ทำงานอยู่กับบริษัท บริษัทจึงได้จัดให้มีสวัสดิการต่าง ๆ ขึ้น ให้แก่พนักงานเพื่อเป็นการบำรุงขวัญและกำลังใจ ตลอดจนให้พนักงานมีความรู้สึกที่มั่นคงในการทำงานกับบริษัท ซึ่งบริษัทถือว่าเป็นเรื่องสำคัญจึงได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับสวัสดิการของพนักงานขึ้น และในระเบียบว่าด้วยเงินสะสมพนักงาน มีข้อความว่า เพื่อให้พนักงานมีหลักประกันว่า จะได้รับเงินจำนวนหนึ่งเมื่อสิ้นสุดการเป็นพนักงานของบริษัทไม่ว่าเพราะลาออกหรือเกษียณอายุ ซึ่งไม่ใช่การพ้นสภาพเป็นพนักงานเนื่องจากการกระทำความผิด บริษัทจึงได้ตระหนักถึงความมั่นคงในอนาคตของพนักงาน จึงได้กำหนดหลักเกณฑ์เงินสะสมของพนักงานไว้ ดังนี้ แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยว่าที่ได้วางระเบียบข้อบังคับดังกล่าวไว้ก็เพื่อให้พนักงานได้รับเงินจำนวนหนึ่งเป็นสวัสดิการคือเงินสะสม ซึ่งเป็นของพนักงานที่จำเลยหักเก็บไว้ให้คืนพร้อมดอกเบี้ย และจำเลยจะสมทบตอบแทนให้อีกจำนวนหนึ่งรวมทั้งหากพนักงานที่มีอายุงานเกิน 15 ปีขึ้นไป ลาออกก็จะได้รับเงินจากจำเลยอีกไม่ต่ำกว่า 180 วันของรายได้ครั้งสุดท้ายที่ได้รับ ฉะนั้น จำเลยจะหยิบยกคำว่า "จะสมทบให้" หรือคำว่า "จะพิจารณามอบเงินให้" ก็ดี มาแปลความหมายว่าเป็นดุลพินิจของจำเลยที่จะจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์หรือไม่ก็ได้
of 11