พบผลลัพธ์ทั้งหมด 91 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3155/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างต่อเนื่องและการหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าชดเชยโดยการทำสัญญาใหม่ซ้ำๆ
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ฉบับแรกไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างต่อมาได้ทำสัญญาจ้างฉบับที่ 2 และที่ 3 โดยไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างเช่นเดียวกัน และสัญญาจ้างฉบับหลังไม่มีข้อความให้ยกเลิกสัญญาจ้าง ฉบับแรก เมื่อโจทก์ได้ทำงานกับจำเลยติดต่อกันตลอดมา ตามพฤติการณ์ดังกล่าวย่อมแสดงว่า จำเลยได้ทำสัญญาจ้างโจทก์รวมสามฉบับเพื่อประสงค์ที่จะให้อายุการทำงานของโจทก์น้อยลงโดยไม่นับอายุงานติดต่อกัน เพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยหรือจ่ายให้น้อยลง อันเป็นการหลีกเลี่ยงประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน กรณีของโจทก์ถือได้ว่าโจทก์ได้ทำงานติดต่อกันตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว ข้อ 46 แล้ว
จำเลยจ่ายค่าอาหารกลางวันให้เฉพาะลูกจ้างที่มาทำงานในวันทำงานปกติ ส่วนลูกจ้างซึ่งมิได้มาทำงานหรือในวันหยุด จำเลยไม่จ่ายให้ ค่าอาหารกลางวันจึงมีลักษณะเป็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้างอย่างหนึ่ง ไม่ใช่ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2
จำเลยจ่ายค่าอาหารกลางวันให้เฉพาะลูกจ้างที่มาทำงานในวันทำงานปกติ ส่วนลูกจ้างซึ่งมิได้มาทำงานหรือในวันหยุด จำเลยไม่จ่ายให้ ค่าอาหารกลางวันจึงมีลักษณะเป็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้างอย่างหนึ่ง ไม่ใช่ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3155/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างต่อเนื่องและการหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าชดเชย: ศาลพิจารณาอายุงานต่อเนื่องจากสัญญาจ้างหลายฉบับ
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ฉบับแรกไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างต่อมาได้ทำสัญญาจ้างฉบับที่ 2 และที่ 3 โดยไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างเช่นเดียวกัน และสัญญาจ้างฉบับหลังไม่มีข้อความให้ยกเลิกสัญญาจ้าง ฉบับแรก เมื่อโจทก์ได้ทำงานกับจำเลยติดต่อกันตลอดมา ตามพฤติการณ์ดังกล่าวย่อมแสดงว่า จำเลยได้ทำสัญญาจ้างโจทก์รวมสามฉบับเพื่อประสงค์ที่จะให้อายุการทำงานของโจทก์น้อยลงโดยไม่นับอายุงานติดต่อกัน เพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยหรือจ่ายให้น้อยลง อันเป็นการหลีกเลี่ยงประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน กรณีของโจทก์ถือได้ว่าโจทก์ได้ทำงานติดต่อกันตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว ข้อ 46 แล้ว จำเลยจ่ายค่าอาหารกลางวันให้เฉพาะลูกจ้างที่มาทำงานในวันทำงานปกติ ส่วนลูกจ้างซึ่งมิได้มาทำงานหรือในวันหยุด จำเลยไม่จ่ายให้ ค่าอาหารกลางวันจึงมีลักษณะเป็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้างอย่างหนึ่ง ไม่ใช่ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5916/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการยึดทรัพย์: ไม่เป็นการเอื้อประโยชน์เจ้าหนี้รายอื่น
จำเลยยอมชำระหนี้ตามเช็คจำนวน 70,000 บาท ให้แก่ผู้คัดค้านเพราะถูกผู้คัดค้านในฐานะเจ้าหนี้ยื่นฟ้องต่อศาล อันเป็นผลบังคับให้จำเลยยอมทำสัญญาประนีประนอมกับผู้คัดค้าน ยอมชำระหนี้จำนวนดังกล่าว มิฉะนั้นจำเลยไม่อาจทำนิติกรรมขายบ้านของตนให้กับบุคคลภายนอกได้ เนื่องจากผู้คัดค้านใช้มาตราการทางกฎหมายขอให้ศาลทำการไต่สวนฉุกเฉินและยึดบ้านหลังนี้ไว้ก่อน อันเป็นวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา จึงมิใช่กรณีที่จำเลยมุ่งประสงค์ให้ผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้รายอื่น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจขอให้ศาลเพิกถอนการชำระหนี้ดังกล่าวได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 657/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถ, การหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวาง, และความรับผิดทางละเมิดร่วมกัน
ถนนที่เกิดเหตุเป็นทางตรง จำเลยที่ 2 เห็นก้อนหินขนาดใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 12 ซม. ขวางถนนอยู่ในช่องทางเดินรถของตน จำเลยที่ 2 ได้ขับรถหลบก้อนหินเข้ามาในช่องทางเดินรถของโจทก์เพียงเล็กน้อย คนขับรถของโจทก์เห็นรถที่จำเลยที่ 2 ขับหลบก้อนหินเข้ามาในช่องทางเดินรถของตน แต่คนขับรถของโจทก์มิได้ชะลอความเร็วลงหรือขับรถหลบไปทางซ้ายมือซึ่งผิวจราจรหรือไหล่ถนนตรงนั้นกว้างพอที่จะแล่นหลบไปได้โดยไม่ตกถนนและรถทั้งสองคันก็จะไม่ชนกัน ดังนี้ ถือได้ว่าความเสียหายที่เกิดจากรถยนต์สองคันชนกันนั้นเกิดจากการขับรถโดยประมาทของจำเลยที่ 2 ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยและ คนขับรถของโจทก์ละเลยไม่บำบัดปัดป้องหรือบรรเทาความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นด้วย ตามพฤติการณ์ดังกล่าวจำเลยควรรับผิดเพื่อความเสียหายสองในสามส่วนของความเสียหายที่โจทก์ได้รับ.
คำวินิจฉัยชี้ขาดเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้นั้นศาลฎีกาพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้เป็นคู่ความในชั้นอุทธรณ์ฎีกาด้วย
คำวินิจฉัยชี้ขาดเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้นั้นศาลฎีกาพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้เป็นคู่ความในชั้นอุทธรณ์ฎีกาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3700/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสนอค่าปรับเพื่อหลีกเลี่ยงการดำเนินคดีในชั้นศาล ไม่ถือเป็นความผิดฐานให้สินบน
ข้อความในจดหมายที่จำเลยเขียนถึงบ.พนักงานสอบสวนมีลักษณะขอร้องให้บ.ช่วยเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาให้คดีเสร็จเด็ดขาดไปในชั้นสถานีตำรวจโดยไม่ต้องให้คดีถึงศาลเท่านั้นเพื่อทั้งฝ่ายผู้ต้องหาและฝ่ายเจ้าพนักงานตำรวจจะได้ไม่เสียเวลาและเป็นการประหยัดเพราะจำเลยมีความเห็นว่าไม่ว่าจะชั้นศาลหรือชั้นสถานีตำรวจก็ถูกลงโทษปรับเหมือนกันจึงไม่พอแปลความหมายได้ว่าจำเลยขอให้หรือรับว่าจะให้เงินทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่บ.เพื่อจูงใจไม่ให้ดำเนินคดีแก่ผู้ต้องหาดังกล่าวอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา144,167.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1136/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ป้องกันตัว: การยิงเพื่อป้องกันการทำร้ายร่างกายเมื่อถูกรุมทำร้ายและพยายามหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง
ผู้เสียหายกับพวก4-5คนกำลังดื่มสุราอยู่ในซอยเห็นจำเลยเดินมาหาว่าจำเลยถอดเสื้ออวดรอยสักได้เรียกจำเลยเข้าไปถามและช่วยกันรุมทำร้ายจำเลยจำเลยวิ่งหนีผู้เสียหายกับพวกได้วิ่งไล่ตามจำเลยวิ่งหนีมาถึงทางสามแยกหนีต่อไปไม่ทันจึงได้หันกลับมาและยกปืนขึ้นขู่ผู้เสียหายว่าอย่าเข้ามาถ้าเข้ามาจะยิงผู้เสียหายก็ไม่เชื่อยังทำท่าจะวิ่งเข้ามาทำร้ายจำเลยอีกจำเลยจึงใช้ปืนยิงผู้เสียหายเห็นได้ว่าผู้เสียหายเป็นฝ่ายก่อเหตุทำร้ายจำเลยก่อนและจำเลยได้พยายามหลีกเลี่ยงการต่อสู้จนถึงที่สุดแล้วขณะเกิดเหตุทางฝ่ายจำเลยก็มีแต่ตัวจำเลยคนเดียวหากผู้เสียหายกับพวกวิ่งเข้ามาถึงตัวอาจทำร้ายจำเลยถึงตายได้การที่จำเลยใช้ปืนยิงผู้เสียหาย1นัดในขณะนั้นจึงเป็นการป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4573/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชนสี่แยก: ผู้ขับขี่ทางเอกต้องหลีกเลี่ยงเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินกระชั้นชิด แม้ใช้ความเร็วตามกฎหมาย
ที่เกิดเหตุเป็นสี่แยก จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์ตามถนน ซึ่งเป็นทางเอกเข้ามาในทางร่วมก่อน แล้วรถยนต์เก๋งที่จำเลยที่ 3 ขับตามถนนซึ่งเป็นทางโทแล่นเจ้ามาในทางร่วมชนรถจักรยานยนต์ บริเวณท้ายรถรถจักรยานยนต์แฉลบเข้าไปในช่องทางเดินรถยนต์โดยสาร ที่จำเลยที่ 2 ขับสวนทางมาเป็นเหตุกระทันหันกระชั้นชิด แม้จำเลยที่ 2 จะใช้ความเร็วตามกฎหมาย ก็ไม่อาจห้ามล้อลดความเร็วหลีกเลี่ยง การชนรถจักรยานยนต์ได้ การที่เกิดชนกันขึ้นทำให้ผู้เสียหายซึ่งนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ได้รับอันตรายสาหัส จึงมิใช่เพราะความประมาท ของจำเลยที่ 1 และที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1731/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งออกทองคำโดยไม่ได้รับอนุญาตและพยายามหลีกเลี่ยงการตรวจค้น ถือเป็นความผิดตามกฎหมายศุลกากร
จำเลยนำสร้อยคอทองคำของกลาง 6 เส้น มีน้ำหนักถึง317.5189 กรัมราคา 113,921.55 บาท ใส่ในกระเป๋าเสื้อนอกด้านในเพื่อนำออกนอกราชอาณาจักรทั้งที่จำเลยมีสร้อยคอทองคำสวมอยู่ที่คอแล้วเส้นหนึ่ง สร้อยคอของกลางจึงมิใช่เป็นของใช้ส่วนตัวและตามสมควรแก่ฐานานุรูป ตามความหมายของประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ 17 ธันวาคม 2514
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2468/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุฉุกเฉินบนท้องถนน ไม่ถือเป็นการประมาท หากไม่มีเวลาตัดสินใจ
ขณะที่ อ. ลูกจ้างของจำเลยขับรถยนต์มาตามถนนตามปกติได้มีผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ออกจากซอยด้านซ้ายมือตัดหน้ารถยนต์ที่ อ.ขับโดยกระชั้นชิด อ.จึงหักหลบเป็นเหตุให้ชนกับรถยนต์ที่โจทก์ขับสวนทางมา ดังนี้ถือไม่ได้ว่า อ.ขับรถด้วยความประมาท เพราะ อ.ไม่มีโอกาสที่ทันได้คิดหรือตัดสินใจว่าจะหักหลบไปทางซ้ายหรือทางขวา เหตุที่เกิดขึ้นจึงมิใช่เพราะความประมาทของ อ.จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างของ อ.จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 814-815/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินผลประโยชน์กองทุนฯ หักค่าชดเชยได้ ไม่ถือเป็นการหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย
โจทก์ออกจากงานได้รับเงินผลประโยชน์ ซึ่งคำนวณตามกฎข้อบังคับว่าด้วยโครงการกองทุนผลประโยชน์ เมื่อออกจากงานของจำเลยข้อ 12(3)ไปแล้ว โดยต้องหักด้วยจำนวนเงินเท่ากับค่าชดเชยตามกฎหมายออกเสียก่อน ตามข้อ 15(1)(ข) เหลือเท่าใดจึงจ่ายให้แก่ลูกจ้างผู้เป็นสมาชิกตามข้อ 12(1) เช่นนี้ เงินผลประโยชน์ที่โจทก์รับไปนั้นจึงมีค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานรวมอยู่ด้วยครบถ้วนแล้ว หาใช่มีเพียงเงินผลประโยชน์เพียงประเภทเดียวไม่
การที่นายจ้างกับลูกจ้างตกลงกันว่า จำนวนเงินผลประโยชน์ที่ลูกจ้างจะได้รับให้หักด้วยจำนวนเงินเท่ากับค่าชดเชยตามกฎหมายออกเสียก่อน เป็นการตกลงกันในเรื่องเงินผลประโยชน์โดยเฉพาะ ไม่เป็นการหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าชดเชย ข้อตกลงดังกล่าวจึงใช้บังคับได้
การที่นายจ้างกับลูกจ้างตกลงกันว่า จำนวนเงินผลประโยชน์ที่ลูกจ้างจะได้รับให้หักด้วยจำนวนเงินเท่ากับค่าชดเชยตามกฎหมายออกเสียก่อน เป็นการตกลงกันในเรื่องเงินผลประโยชน์โดยเฉพาะ ไม่เป็นการหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าชดเชย ข้อตกลงดังกล่าวจึงใช้บังคับได้