คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หลีกเลี่ยงหนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 57 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4762/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฉ้อฉลเจ้าหนี้โดยการทำนิติกรรมเพื่อหลีกเลี่ยงการชำระหนี้ โจทก์มีสิทธิเพิกถอนนิติกรรมได้
จำเลยที่ 3 รู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ของโจทก์และโจทก์มีสิทธิในตึกแถวพิพาท โดยจำเลยที่ 1 นำสิทธิการเช่าช่วงตึกแถวพิพาทไปให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกันหนี้การที่จำเลยที่ 3 ได้ไปติดต่อกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 แล้วได้ไปทำการจดทะเบียนยกเลิกสัญญาเช่าช่วงตึกแถวพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนให้จำเลยที่ 3 เช่าช่วงโดยจำเลยที่ 4 ให้ความยินยอมนั้น พฤติการณ์ของจำเลยทั้งสี่ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยทั้งสี่กระทำไปทั้งที่รู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 เสียเปรียบ การกระทำของจำเลยทั้งสี่ดังกล่าวเป็นการฉ้อฉลโจทก์ โจทก์มีสิทธิเพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยทั้งสี่กระทำลงไปในนั้นได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2663/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละมรดกเพื่อหลีกเลี่ยงเจ้าหนี้: กรรมสิทธิ์ยังคงอยู่กับผู้สละมรดก เจ้าหนี้ยึดทรัพย์ได้
การที่จำเลยขอกู้เงินโจทก์แล้วในวันเดียวกันนั้นได้แสดงเจตนาสละมรดกให้แก่ผู้ร้องโดยจำเลยไม่มีทรัพย์สินอื่นอีกทั้งผู้ร้องก็เป็นผู้เยาว์ยังอยู่ในอำนาจปกครองของจำเลย พฤติกรรมดังกล่าวแสดงว่าจำเลยเพียงแต่ให้ผู้ร้องถือกรรมสิทธิ์ทรัพย์พิพาทไว้แทนจำเลย ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยทรัพย์พิพาท โจทก์มีสิทธิยึดทรัพย์พิพาทขายทอดตลาดได้โดยไม่ต้องฟ้องขอให้เพิกถอนการสละมรดก ประเด็นมีว่า ทรัพย์พิพาทเป็นของจำเลยหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าการสละมรดกของจำเลยเป็นการแสดงเจตนาลวงตกเป็นโมฆะและการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าผู้ร้องถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทแทนจำเลย เป็นการวินิจฉัยว่าทรัพย์พิพาทยังเป็นของจำเลยอยู่ จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4557/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองที่ดินหลังมีคำพิพากษาไม่ถือเป็นการย้ายทรัพย์เพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350
การที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินซึ่งศาลพิพากษาให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินบางส่วนให้โจทก์ไปจดทะเบียนจำนองแก่จำเลยที่ 2นั้น การจำนองมิใช่เป็นการย้ายไปเสีย หรือเป็นการซ่อนเร้นหรือโอนไปให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ใดตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 350 การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดตามบทมาตราดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 311/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้: จำเลยที่ 2 ไม่มีส่วนรู้เห็น จึงไม่มีความผิด
จำเลยที่ 1 โอนสิทธิการเช่าตึก ซึ่งจำเลยที่ 1 นำมาค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำไว้กับโจทก์ในศาล และโอนทรัพย์สินอื่นที่โจทก์นำยึดไว้ให้จำเลยที่ 2 ทางไต่สวนไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้รู้เห็นในเรื่องที่จำเลยที่ 1 ได้นำสิทธิการเช่าตึกดังกล่าวไปค้ำประกันการชำระหนี้ไว้กับโจทก์ และการที่จำเลยที่ 2ร้องขัดทรัพย์ขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดก็เป็นการใช้สิทธิทางศาลตามกฎหมาย คดีสำหรับจำเลยที่ 2 จึงไม่มีมูล.(ที่มา-เนติ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3527/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับชำระหนี้จากการครอบครองปรปักษ์ ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 350
จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่ดินของตนให้จำเลยที่2 ขณะที่โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยที่ 1 ขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมีโฉนดนั้นให้โดยการครอบครองปรปักษ์ การครอบครองปรปักษ์นั้นมิได้ก่อให้เกิดหนี้แก่จำเลยที่ 1 เป็นเพียงกฎหมายรับรองหรือให้สิทธิโจทก์ทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นเท่านั้น จำเลยที่ 1 ไม่มีหนี้จะต้องชำระแก่โจทก์ทั้งสอง จึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีจำนองโดยอ้อม แม้ไม่มีการจดจำนอง แต่การโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้เป็นเหตุให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ
ม. เจ้าของที่ดินกู้เงินโจทก์โดยนำโฉนดที่ดินพิพาทมาให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกัน โดยระบุไว้ในสัญญากู้ว่าได้นำโฉนดที่พิพาทมาจำนองไว้ภายใน 3 ปี แม้จะไม่มีผลบังคับในทางจำนอง แต่การที่ ม. เอาที่ดินพิพาทไปโอนให้ผู้ร้องโดยเสน่หาหลังจากกู้เงินจากสามีโจทก์ไปเพียง 15 วัน ม. ย่อมรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ การที่โจทก์ลงชื่อในฐานะเจ้าของที่ดินข้างเคียงเมื่อผู้ร้องทั้งสามแยกการครอบครองกันเป็นส่วนสัดและยื่นเรื่องราวขอแบ่งแยกโฉนด ก็เป็นเรื่องปฏิบัติตามกฎหมายเท่านั้น มิใช่เป็นการสละสิทธิที่จะบังคับคดีต่อไปกรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 โจทก์มีสิทธินำยึดที่ดินพิพาทเพื่อขายทอดตลาดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1979/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนหย่าเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สิน: ทรัพย์สินที่ได้มาหลังหย่าถือเป็นสินสมรส
ผู้ร้องและจำเลยที่ 1 จดทะเบียนหย่ากันเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ยึดทรัพย์ตามคำร้องขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้โจทก์ มิได้เจตนาหย่ากันจริงจัง โดยผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 ยังคงอยู่กินฉันสามีภริยาตลอดมา หลังจากจดทะเบียนหย่ากันแล้วดังนั้นทรัพย์สินที่ผู้ร้องซื้อหามาแม้จะโดยเงินของผู้ร้องเอง ก็ต้องถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องและจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของร่วมกัน โจทก์มีสิทธิยึดทรัพย์ตามคำร้องได้ ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของร่วมไม่มีสิทธิที่จะร้องขอให้ปล่อยทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2302/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงการชำระหนี้ประกัน และการทำเอกสารที่ไม่ตรงกับความจริง แม้ไม่ใช่เอกสารปลอม
จำเลยที่ 2 เป็นสารวัตรกำนันปฏิบัติหน้าที่แทนกำนันเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ออกสำเนาทะเบียนบ้านว่าย้ายออกและมีหน้าที่ทำ กรอกข้อความ ลงในมรณบัตรตามอำนาจหน้าที่โดยลงชื่อจำเลยที่ 2 ในช่องนายทะเบียน ผู้รับแจ้ง มรณบัตรและสำเนาทะเบียนบ้านดังกล่าวจึงเป็นเอกสารที่แท้จริงที่ จำเลยที่ 2 ทำขึ้น แม้ข้อความในมรณบัตรและสำเนาทะเบียนบ้านไม่ตรงกับ ความจริง ก็ไม่ทำให้เป็นเอกสารปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา161 แต่เป็นความผิดตาม มาตรา 162
คำร้องขอให้ปล่อยจำเลยชั่วคราวจะต้องยื่นต่อศาลชั้นต้นที่ชำระคดี คำว่า 'ศาล' หมายถึงผู้พิพากษาที่มีอำนาจทำการอันเกี่ยวกับคดีอาญา ผู้พิพากษาจึงมีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยสั่งคำร้องขอให้ปล่อยจำเลยชั่วคราว ตลอดจนการบังคับตามสัญญาประกันในกรณีที่ผิดสัญญา จึงเป็น เจ้าพนักงานตามกฎหมาย การที่จำเลยยื่นคำร้องเท็จว่า ส. ถึงแก่กรรมเป็นการร้องเพื่อให้พ้นจากความผิดตามสัญญาประกัน จึงเป็นการแจ้ง ความเท็จต่อเจ้าพนักงาน
ศาลลงโทษจำเลยฐานละเมิดอำนาจศาล เพราะประพฤติตน ไม่ เรียบร้อยในบริเวณศาล เป็นการลงโทษตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 31(1),33 โดยไม่มีโจทก์ฟ้อง สิทธินำคดีมาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลย ในข้อหาฐานแจ้งความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 123/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้: ไม่เข้าข่ายโกงเจ้าหนี้หากยังไม่ได้บังคับคดี
จำเลยที่ 1 ออกเช็ค 18 ฉบับรวมเป็นเงิน 640,000 บาท สั่งจ่ายเงินโดยไม่ลงวันที่สั่งจ่ายเงินทุกฉบับ บางฉบับออกก่อนและบางฉบับออกภายหลังที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินและบ้านให้จำเลยที่ 2 โดยตกลงกันว่า ถ้าโจทก์ต้องการใช้เงินให้บอกให้ จำเลยที่ 1 ทราบ เพื่อโจทก์นำเช็คเข้าบัญชีโจทก์เรียกเก็บเงิน ภายหลังจากจำเลยที่1 โอนที่ดินและบ้านให้จำเลยที่ 2 แล้ว จำเลยที่1 ออกเช็คชำระหนี้ โจทก์ก็ยอมรับไว้และนำเช็คทั้งหมดมาลงวันที่นำไปเข้าบัญชีโจทก์เรียกเก็บเงิน เช็คทั้ง18 ฉบับ ถึงกำหนดชำระเงินภายหลังจากจำเลยที่ 1 โอนที่ดินและบ้านให้จำเลยที่ 2 ดังนี้ ยังฟังไม่ได้ว่า โจทก์ได้ใช้สิทธิหรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แล้ว จำเลยที่ 1 จึงโอนที่ดินและบ้านให้ให้จำเลยที่ 2 เพื่อมิให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ และการที่ตกลงกันว่า ถ้าโจทก์ต้องการใช้เงินให้บอกให้จำเลยที่ 1 ทราบ เพื่อโจทก์นำเช็คเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินนั้น เป็นการแสดงว่าโจทก์ยังจะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ คดีไม่มีมูลความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1928/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฉ้อฉลเจ้าหนี้โดยการจดทะเบียนหย่าและแบ่งทรัพย์สิน เพื่อหลีกเลี่ยงการชำระหนี้
จำเลยที่ 1 ปลอมใบมอบอำนาจของจำเลยที่ 2 สามี นำโฉนดที่ดินจำเลยที่ 2 ไปทำนิติกรรมขายฝากโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงฟ้องขอเพิกถอนการขายฝาก ศาลฎีกาพิพากษาให้เพิกถอน ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาข้อหาปลอมเอกสารและฉ้อโกงเกี่ยวกับการขายฝากนั้นย่อมเห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 จะต้องถูกโจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าขายฝากที่ดินคืนและจำเลยที่ 2 จะต้องถูกโจทก์ฟ้องขอให้แยกสินสมรสออกเป็นส่วนของจำเลยที่ 1 เพื่อชำระหนี้ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีทรัพย์สินอื่นอีกดังนี้ การที่จำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนการหย่าหลังจากศาลฎีกาพิพากษาเพิกถอนการขายฝากเพียง 20 วันเศษ และบันทึกระบุเรื่องทรัพย์สินระหว่างจำเลยทั้งสองว่าให้ตกเป็นของจำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียวหลังจากโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาดังกล่าวเพียง 7 วันจึงเห็นได้ชัดว่าเป็นการกระทำที่จำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้โจทก์ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าเป็นทางทำให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบเหตุนี้จึงเป็นการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237
of 6