พบผลลัพธ์ทั้งหมด 55 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 908/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิหักหนี้จากเงินบำเหน็จ-สะสมได้ แม้มีประกันความเสียหายจากจำนอง
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย ในการทำสัญญาจ้างโจทก์ได้จำนองที่ดินแปลงหนึ่งไว้เป็นประกันความเสียหาย ซึ่งย่อมแยกการจำนองกับหนี้ที่เอาทรัพย์สินจำนองเป็นประกันออกจากกันได้ เมื่อโจทก์ทำให้จำเลยเสียหายจำเลยจึงมีสิทธิเลือกฟ้องบังคับชำระหนี้ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือสัญญาจำนองก็ได้เพราะ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 733 ไม่บังคับว่าจำเลยมีสิทธิฟ้องบังคับจำนองเพียงทางเดียว ดังนั้นเมื่อจำเลยไม่ประสงค์จะบังคับชำระหนี้ค่าเสียหายจากที่ดินที่จำนองและจำเลยมีหนี้ต้องชำระเงินสะสมและเงินบำเหน็จจำนวนหนึ่งให้โจทก์ ประกอบกับจำเลยได้ใช้สิทธิขอหักหนี้มาในคำให้การแล้ว จำเลยจึงมีสิทธินำเงินบำเหน็จของโจทก์มาหักกับค่าเสียหายของจำเลยได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 341 โดยไม่จำต้องบังคับเอาจากทรัพย์ที่จำนองเป็นประกันก่อน.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 908/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเลือกฟ้องระหว่างสัญญาจ้างแรงงานและจำนอง การหักหนี้ค่าเสียหาย
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย ในการทำสัญญาจ้างโจทก์ได้จำนองที่ดินแปลงหนึ่งไว้เป็นประกันความเสียหาย การที่โจทก์ได้จำนองที่ดินไว้ดังกล่าวย่อมแยกการจำนองกับหนี้ที่เอาทรัพย์สินจำนองเป็นประกันออกจากกันได้ เมื่อโจทก์ทำให้จำเลยเสียหายจำเลยจึงมีสิทธิที่จะเลือกฟ้องบังคับชำระหนี้ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือตามสัญญาจำนองก็ได้ เพราะว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 733มิได้บังคับว่าจำเลยมีสิทธิฟ้องบังคับจำนองเพียงทางเดียว ดังนั้นเมื่อจำเลยไม่ประสงค์ที่จะบังคับชำระหนี้ค่าเสียหายจากที่ดินที่จำนองและจำเลยมีหนี้ที่จะต้องชำระเงินสะสมและเงินบำเหน็จจำนวนหนึ่งให้โจทก์ประกอบกับจำเลยได้ใช้สิทธิขอหักหนี้มาในคำให้การแล้ว จำเลยจึงมีสิทธินำเงินบำเหน็จของโจทก์มาหักกับค่าเสียหายแก่จำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341โดยหาจำต้องบังคับเอาจากทรัพย์ที่จำนองเป็นประกันก่อนไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4133/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย: สัญญาเป็นโมฆะ, การชำระหนี้โดยไม่มีความผูกพัน, และการหักหนี้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์กำหนดดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีโดยสัญญากู้ระบุว่าดอกเบี้ยตามกฎหมายแต่โจทก์นำสืบว่าขั้นแรกตกลงคิดดอกเบี้ยกันอัตราร้อยละ5ต่อเดือนต่อมาลดลงเหลือร้อยละ3ต่อเดือนจำนวนเงินที่จำเลยชำระมาแล้วเป็นการชำระดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายจำเลยยังมิได้ชำระต้นเงินกู้ทั้งยังค้างชำระดอกเบี้ยอีกสามหมื่นบาทเศษจึงฟ้องเรียกต้นเงินกู้เต็มจำนวนกับดอกเบี้ยตามที่ระบุในสัญญานับตั้งแต่วันกู้ดังนี้เป็นการนำสืบเรื่องรายละเอียดแห่งข้อเท็จจริงในมูลกรณีที่ฟ้องเมื่อได้ความว่าโจทก์เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพุทธศักราช2475มาตรา3ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา654อันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลย่อมมีอำนาจยกขึ้นปรับแก่คดีได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ทั้งการรับฟังพยานบุคคลว่าหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารไม่สมบูรณ์ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยจึงเป็นโมฆะ การที่จำเลยสมยอมชำระดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดแก่โจทก์ถือว่าเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา407จำเลยไม่มีสิทธิเรียกคืนจึงจะให้นำไปหักดอกเบี้ยตามกฎหมายหรือหักจากยอดต้นเงินไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2975/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในเงินค่าใช้สอยและการหักหนี้: เมื่อจำเลยมีสิทธิใช้จ่ายเองและนำหลักฐานมาหักหนี้ได้
เงินค่าใช้สอยที่จำเลยเบิกไปจากโจทก์จำเลยมีสิทธิครอบครองใช้จ่ายได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องขออนุมัติจากโจทก์ทั้งโจทก์มิได้กำหนดการจ่ายไว้เป็นที่แน่นอนสุดแล้วแต่จำเลยจะเห็นสมควรใช้จ่ายอย่างใดแล้วนำหลักฐานมาหักหนี้ในทางบัญชีกับโจทก์ในภายหลังกรรมสิทธิ์ในเงินดังกล่าวจึงตกเป็นของจำเลยตั้งแต่ขณะที่ได้รับไปจากโจทก์หาใช่จำเลยครอบครองเงินดังกล่าวไว้แทนโจทก์หากจำเลยไม่มีหลักฐานมาหักหนี้หรือมีเงินเหลือแล้วไม่ส่งคืนโจทก์ชอบที่จะเรียกร้องทางแพ่งเอาแก่จำเลยกรณีไม่มีมูลเป็นความผิดทางอาญาฐานยักยอก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2453/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักหนี้จากเงินฝากประจำก่อนล้มละลาย: การยินยอมของลูกหนี้และการกระทำที่ไม่เข้าข่ายการเพิกถอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
ธนาคารผู้คัดค้านโอนเงินฝากประจำของลูกหนี้ที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดลูกหนี้ที่ 1 ไปเข้าบัญชีกระแสรายวันของลูกหนี้ที่ 1 เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2522 เป็นการชำระหนี้ที่ลูกหนี้ที่ 1 เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีธนาคารเพื่อหักหนี้ เกิดจากหนังสือค้ำประกันยินยอมการหักบัญชีเงินฝากประจำชำระหนี้ระหว่างลูกหนี้ที่ 2 กับธนาคารผู้คัดค้านเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2520 ก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ทั้งสองล้มละลายเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2522 ธนาคารผู้คัดค้านในฐานเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 2 ในมูลหนี้ค้ำประกัน และเป็นลูกหนี้ของจำเลยที่ 2 ในมูลหนี้เงินฝากประจำที่ธนาคารรับฝากไว้ แม้ว่าจะไม่มีข้อตกลงดังกล่าว ธนาคารผู้คัดค้านก็มีสิทธิที่จะหักลบกลบหนี้ระหว่างหนี้ตามสัญญาค้ำประกันกับมูลหนี้เงินฝากประจำนั้นได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 102 ทั้งตามมาตรา 115 ใช้คำว่าลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำ มุ่งถึงกิริยาที่ยินยอม มิได้ใช้คำว่าผู้อื่นทำด้วยความยินยอมของลูกหนี้ ดังนี้ จึงถือไม่ได้ว่าลูกหนี้ที่ 2 ได้กระทำหรือยินยอมให้ธนาคารผู้คัดค้านกระทำการโอนบัญชีและหักหนี้เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2522 ในระหว่างระยะเวลา 3 เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายโดยมุ่งหมยให้ธนาคารผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นตามมาตรา 115 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขอให้เพิกถอนการโอนดังกล่าวไม่ได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2527)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2527)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1645/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การเรียกเงินคืนจากข้อตกลงหักหนี้เงินยืม แม้เปลี่ยนเหตุอ้างเป็นลาภมิควรได้ ก็ถือเป็นการฟ้องซ้ำ
คดีแรกโจทก์ฟ้องเรียกเงินเดือนเดือนสุดท้าย เงินสะสมพร้อมดอกเบี้ย และเงินบำเหน็จจากจำเลย อ้างว่าจำเลยไม่คืนเงิน ตามสิทธิให้แก่โจทก์ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิ เรียกเงินจำนวนนี้คืน เพราะโจทก์ตกลงยินยอมให้จำเลยหักเงิน จำนวนนี้ชำระหนี้ที่โจทก์เป็นหนี้เงินยืม จากจำเลยส่วนหนึ่ง คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินจำนวนเดียวกันคืนอีกอ้างว่าเป็นลาภมิควรได้ จำเลยไม่มีสิทธิหักเงินไว้ชำระหนี้เพราะไม่มีหนี้ต่อกันจึงต้องคืนแก่โจทก์ ประเด็นแห่งคดีก็เหมือนกับคดีแรกว่า โจทก์มีสิทธิเรียกเงินจำนวนนี้คืนจากจำเลยได้หรือไม่ โดยจะนำเงินจำนวนนี้ไปหักหนี้ที่ ยืมจากจำเลยไปได้หรือไม่ เป็นการเรียกทรัพย์คืนโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2786/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้ทำให้ อายุความสะดุดหยุด และการหักหนี้ระหว่างโจทก์จำเลย
จำเลยซื้อเครื่องปรับอากาศไปจากโจทก์และค้างชำระราคาอยู่ ต่อมาจำเลยมีหนังสือไปถึงโจทก์มีข้อความว่า "การเก็บบัญชีที่ค้างนั้นมีปัญหาเรื่องการติดตั้งเครื่องปรับอากาศล่าช้ามากทำให้ทางห้างฯ ต้องถูกปรับและเสียหาย กรรมการของห้างฯ ได้ส่งเรื่องให้ที่ปรึกษากำลังพิจารณาอยู่ ได้ผลประการใดจะเรียนให้ทราบต่อไป" หนังสือฉบับนี้เป็นการยอมรับว่าเป็นหนี้อยู่จริง มีข้อโต้เถียงเฉพาะการติดตั้งล่าช้าเท่านั้นไม่มีข้อโต้แย้งว่าไม่เป็นหนี้ หรือมีสิทธิไม่ต้องชำระหนี้ หนังสือนี้จึงเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 293-294/2511)
โจทก์ติดตั้งเครื่องปรับอากาศให้จำเลยล่าช้าอันเป็นการผิดสัญญาจำเลยจึงฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ 5 รายการเป็นเงิน 91,310 บาทเฉพาะรายการที่ถูกปรับ 28,000 บาท การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าเสียหาย เฉพาะที่จำเลยถูกปรับเพียงรายการเดียวเป็นเงิน 51,903 บาท โดยนำคำขอในส่วนอื่น ๆ ที่ศาลได้พิพากษายกฟ้องมาให้แทนในส่วนนี้ ย่อมเป็นการเกินคำขอของจำเลย
เมื่อจำเลยต้องชำระราคาเครื่องปรับอากาศพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ส่วนโจทก์ต้องชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยแก่จำเลย เพื่อความสะดวกในการบังคับตามคำพิพากษา ศาลฎีกาจึงให้หักหนี้กันเสียโดยให้มีผลนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
โจทก์ติดตั้งเครื่องปรับอากาศให้จำเลยล่าช้าอันเป็นการผิดสัญญาจำเลยจึงฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ 5 รายการเป็นเงิน 91,310 บาทเฉพาะรายการที่ถูกปรับ 28,000 บาท การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าเสียหาย เฉพาะที่จำเลยถูกปรับเพียงรายการเดียวเป็นเงิน 51,903 บาท โดยนำคำขอในส่วนอื่น ๆ ที่ศาลได้พิพากษายกฟ้องมาให้แทนในส่วนนี้ ย่อมเป็นการเกินคำขอของจำเลย
เมื่อจำเลยต้องชำระราคาเครื่องปรับอากาศพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ส่วนโจทก์ต้องชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยแก่จำเลย เพื่อความสะดวกในการบังคับตามคำพิพากษา ศาลฎีกาจึงให้หักหนี้กันเสียโดยให้มีผลนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2786/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้ทำให้ขาดอายุความ และศาลหักหนี้ระหว่างโจทก์-จำเลยตามสัญญา
จำเลยซื้อเครื่องปรับอากาศไปจากโจทก์และค้างชำระราคาอยู่ ต่อมาจำเลยมีหนังสือไปถึงโจทก์มีข้อความว่า "การเก็บบัญชีที่ค้างนั้นมีปัญหาเรื่องการติดตั้งเครื่องปรับอากาศล่าช้ามาก ทำให้ทางห้างฯ ต้องถูกปรับและเสียหาย กรรมการของห้างฯ ได้ส่งเรื่องให้ที่ปรึกษากำลังพิจารณาอยู่ ได้ผลประการใดจะเรียนให้ทราบต่อไป" หนังสือฉบับนี้เป็นการยอมรับว่าเป็นหนี้อยู่จริง มีข้อโต้เถียงเฉพาะการติดตั้งล่าช้าเท่านั้น ไม่มีข้อโต้แย้งว่าไม่เป็นหนี้ หรือมีสิทธิไม่ต้องชำระหนี้หนังสือนี้จึงเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 293-294/2511)
โจทก์ติดตั้งเครื่องปรับอากาศให้จำเลยล่าช้าอันเป็นการผิดสัญญา จำเลยจึงฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ 5รายการเป็นเงิน 91,310 บาท เฉพาะรายการที่ถูกปรับ 28,000 บาท การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าเสียหาย เฉพาะที่จำเลยถูกปรับเพียงรายการเดียวเป็นเงิน 51,903บาท โดยนำคำขอในส่วนอื่นๆที่ศาลได้พิพากษายกฟ้องมาให้แทนในส่วนนี้ ย่อมเป็นการเกินคำขอของจำเลย
เมื่อจำเลยต้องชำระราคาเครื่องปรับอากาศพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ส่วนโจทก์ต้องชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยแก่จำเลย เพื่อความสะดวกในการบังคับตามคำพิพากษา ศาลฎีกาจึงให้หักหนี้กันเสียโดยให้มีผลนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
โจทก์ติดตั้งเครื่องปรับอากาศให้จำเลยล่าช้าอันเป็นการผิดสัญญา จำเลยจึงฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ 5รายการเป็นเงิน 91,310 บาท เฉพาะรายการที่ถูกปรับ 28,000 บาท การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าเสียหาย เฉพาะที่จำเลยถูกปรับเพียงรายการเดียวเป็นเงิน 51,903บาท โดยนำคำขอในส่วนอื่นๆที่ศาลได้พิพากษายกฟ้องมาให้แทนในส่วนนี้ ย่อมเป็นการเกินคำขอของจำเลย
เมื่อจำเลยต้องชำระราคาเครื่องปรับอากาศพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ส่วนโจทก์ต้องชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยแก่จำเลย เพื่อความสะดวกในการบังคับตามคำพิพากษา ศาลฎีกาจึงให้หักหนี้กันเสียโดยให้มีผลนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2157/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัสต์รีซีทกับการโอนกรรมสิทธิ์สินค้าเพื่อชำระหนี้: การหักหนี้ที่ถูกต้องตามสัญญา
จำเลยทำสัญญาทรัสต์รีซีท (ใบรับสินค้าเชื่อ) ให้ไว้กับโจทก์เพื่อรับเอกสารการส่งสินค้าไปออกสินค้าจากท่าเรือเพื่อนำไปจำหน่ายแก่ผู้ซื้อ ดังนี้ การทำสัญญาทรัสต์รีซีทนั้น เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าหรือเงินค่าขายสินค้าไปเป็นของโจทก์ เพื่อชำระหนี้ค่าสินค้าตามตั๋วแลกเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตและตามสัญญาทรัสต์รีซีท แม้จำเลยจะเป็นผู้ครอบครองสินค้าหรือเงินค่าขายสินค้าไว้ ก็เป็นการครอบครองหรือยึดไว้แทนโจทก์เพื่อชำระหนี้ดังกล่าวเท่านั้นเงินที่ขายได้ต้องหักชำระหนี้ค่าสินค้าและอุปกรณ์แก่โจทก์ เงินเหลือคืนให้จำเลย โจทก์ไม่มีสิทธิเอาเงินที่ขายสินค้าได้ไปหักกับหนี้รายอื่นที่ไม่เกี่ยวกับเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1619/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อโคด้วยเงินยืมและหักหนี้ด้วยใบเสร็จรับเงิน: จำเลยไม่ต้องรับผิด
จำเลยทำใบยืมเงินไปซื้อโคให้โจทก์ จะนำใบสำคัญคู่จ่ายส่งคืนภายหลัง จำเลยได้ซื้อโคตามที่ได้รับมอบหมายในวัตถุประสงค์ของโจทก์มีใบรับเงินของผู้ขายแล้ว จำเลยไม่ต้องรับผิดในเหตุที่โจทก์ได้รับชำระหนี้จากบุคคลภายนอกไม่ครบ