พบผลลัพธ์ทั้งหมด 51 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2355/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธินายจ้างหักค่าชดเชยจากเงินบำเหน็จและดอกเบี้ยตามระเบียบการทำงาน
เงินบำเหน็จเป็นผลประโยชน์นอกเหนือไปจากค่าชดเชยซึ่งกฎหมายกำหนดให้นายจ้างจ่ายเมื่อเลิกจ้าง นายจ้างจึงย่อมมีสิทธิที่จะกำหนดวิธีการจ่ายเงินบำเหน็จได้ตามที่เห็นสมควร ดังนั้นข้อบังคับของนายจ้างที่ให้หักค่าชดเชยออกจากเงินบำเหน็จ จึงหาขัดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงานไม่ แต่เมื่อข้อบังคับของนายจ้างมิได้กำหนดให้นายจ้างมีสิทธิหักดอกเบี้ยของค่าชดเชยไว้ด้วยนายจ้างจึงไม่มีสิทธิหักดอกเบี้ยของค่าชดเชยออกจากเงินบำเหน็จ
เมื่อไม่ปรากฏว่าลูกจ้างได้ทวงถามให้นายจ้างชำระสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและเงินบำเหน็จแก่ลูกจ้างเมื่อใด จะถือว่านายจ้างผิดนัดแล้วหาได้ไม่ ลูกจ้างมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากต้นเงินทั้งสองจำนวนดังกล่าวตั้งแต่วันฟ้อง.
เมื่อไม่ปรากฏว่าลูกจ้างได้ทวงถามให้นายจ้างชำระสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและเงินบำเหน็จแก่ลูกจ้างเมื่อใด จะถือว่านายจ้างผิดนัดแล้วหาได้ไม่ ลูกจ้างมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากต้นเงินทั้งสองจำนวนดังกล่าวตั้งแต่วันฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2383/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกโดยทายาทร่วม การหักเงินที่ได้รับไปแล้วออกจากส่วนแบ่ง และผลของการตกลงด้วยวาจา
โจทก์และจำเลยทั้งเจ็ดเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตายซึ่งไม่มีภริยาและบุตรส่วนบิดามารดาก็ถึงแก่ความตายไปก่อนแล้วโจทก์และจำเลยทั้งเจ็ดจึงต่างเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งทรัพย์มรดกเท่ากัน นอกจากทรัพย์มรดกพิพาทคดีนี้แล้วผู้ตายยังมีทองนากเงินเพชรและพลอยแต่โจทก์กับจำเลยทั้งเจ็ดได้ตกลงแบ่งทรัพย์ดังกล่าวกันไปแล้วโดยโจทก์ได้รับคิดเป็นเงิน222,000บาทและโจทก์ขอสละสิทธิในทรัพย์มรดกพิพาทที่ยังไม่ได้แบ่งปันกันส่วนจำเลยทั้งเจ็ดได้รับคิดเป็นเงินคนละ25,500บาทเท่ากันเมื่อปรากฏว่าข้อตกลงดังกล่าวไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อโจทก์เป็นสำคัญย่อมไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกพิพาทคดีนี้อีกและไม่ถือว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ได้รับแบ่งปันทรัพย์มรดกที่เป็นทองนากเงินเพชรและพลอยไปแล้วคิดเป็นเงิน222,000บาทส่วนจำเลยทั้งเจ็ดได้รับเป็นเงินคนละ25,500บาททรัพย์มรดกที่แบ่งปันกันไปแล้วจึงมีราคารวมทั้งสิ้นเป็นเงิน400,500บาทถ้าแบ่งตามสิทธิคนละ1ใน8ส่วนเท่าๆกันจะได้รับเป็นเงินคนละ50,062บาท50สตางค์โจทก์จึงได้รับแบ่งปันมากกว่าส่วนที่โจทก์จะได้ไปเป็นจำนวนเงิน171,937บาท50สตางค์จึงต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวหักออกจากส่วนแบ่งทรัพย์มรดกพิพาทของโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4193/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมให้หักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำเพื่อชำระหนี้ แม้ต่อมาจะแจ้งยกเลิกอำนาจถอนเงิน ไม่ถือเป็นการละเมิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2523 ถึงวันที่ 3 ตุลาคม 2523 จำเลยทั้งสามรู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 พ้นจากตำแหน่งกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์แล้ว ได้ร่วมกันลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์ในใบถอนเงินฝากประจำทำการถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของโจทก์ แล้วโอนไปเข้าบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของจำเลยที่ 3 อันเป็นการทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับและเป็นการยักยอกทรัพย์สินของโจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์เสียหายต้องสูญเสียเงินฝากประจำขาดดอกเบี้ยที่จะได้รับ และต้องเสียชื่อเสียงในการดำเนินกิจการ ขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์คำฟ้องดังกล่าวได้แสดงโดยแจ้งชัด ซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว จึงไม่เคลือบคลุมกรรมการและกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์รู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำใบถอนเงินฝากประจำของโจทก์โดยมิได้ลงวันถอนมอบให้จำเลยที่1 ยึดถือไว้เป็นประกันการชำระหนี้อันเกิดจากการขายลดตั๋วเงินของจำเลยที่ 3 เมื่อจำเลยที่งวันเดือนปีในใบถอนเงินแล้วใช้หักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของโจทก์โอนไปเข้าบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของจำเลยที่ 3 เพื่อชำระหนี้ แม้จะกระทำภายหลังที่โจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 ขอยกเลิกลายเซ็นของจำเลยที่ 2 และที่ 3 แล้วก็ตามถือได้ว่าโจทก์ยินยอมหรือสมัครใจให้ทำเช่นนั้น จึงไม่เป็นการทำละเมิด
โจทก์ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อค้ำประกันหนี้ผู้อื่น การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ ทำใบถอนเงินฝากประจำของโจทก์มอบให้จำเลยที่ 1 ยึดถือไว้เป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 3 เป็นการกระทำนอกขอบวัตถุประสงค์ของโจทก์ จึงไม่ผูกพันโจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิหักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของโจทก์ได้
โจทก์ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อค้ำประกันหนี้ผู้อื่น การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ ทำใบถอนเงินฝากประจำของโจทก์มอบให้จำเลยที่ 1 ยึดถือไว้เป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 3 เป็นการกระทำนอกขอบวัตถุประสงค์ของโจทก์ จึงไม่ผูกพันโจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิหักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3964/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ค่าชดเชย ฐานคำนวณ และการหักเงินที่จ่ายไปแล้ว
ข้อที่โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยไม่อุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการปิโตรเลียมตามกฎหมายเพื่อช่วยเหลือโจทก์ที่ถูกเพิกถอน ใบอนุญาตทำงานนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องอ้างเหตุที่ทำให้การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ว่า โจทก์ได้ทำการถูกต้องตามคำสั่งของจำเลยจำเลยจึงไม่อาจยกเอา เหตุที่กรมทรัพยากรธรณีเพิกถอนใบอนุญาตทำงานของโจทก์มาเป็นเหตุ เลิกจ้าง โจทก์หาได้อ้างพฤติการณ์ของจำเลยที่ไม่ช่วยเหลือโจทก์ ดังที่ยกขึ้นอุทธรณ์เป็นเหตุสนับสนุนข้อหาตามฟ้องไม่ อุทธรณ์ของโจทก์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง ต้องห้ามอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31 จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยระบุว่าเพราะโจทก์ถูกเพิกถอนการอนุญาต ให้พำนักอยู่ในประเทศไทย หาใช่เนื่องจากโจทก์กล่าวคำดูหมิ่นเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ อันเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน เป็นกรณีที่ร้ายแรงไม่ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกเลิกจ้างในกรณีฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ตามข้อ 47(3) แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ จำเลยต้องจ่าย ค่าชดเชยแก่โจทก์ จำเลยจ่ายค่าทำงานนอกประเทศ ค่าครองชีพและค่าบริการให้แก่โจทก์ เป็นประจำทุกเดือน มีจำนวนแน่นอนเช่นเดียวกับค่าจ้างหรือเงินเดือน ค่าทำงานนอกประเทศ ค่าครองชีพและค่าบริการดังกล่าวจึงเป็นค่าจ้าง ต้องนำมาเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยด้วย ส่วนค่าที่พักอาศัยนั้น เป็นการจ่ายเพื่อช่วยเหลือค่าเช่าบ้านแก่ลูกจ้าง มีลักษณะเป็นสวัสดิการ ในเรื่องที่พักอาศัย มิใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานจึงไม่เป็นค่าจ้างค่าภาษีตามแบบเสมอภาคและค่าเบี้ยประกันภัยเป็นค่าใช้จ่ายที่หักจาก รายได้ของโจทก์ มิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างย่อมไม่เป็นค่าจ้าง เช่นเดียวกัน ภายหลังที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้ว จำเลยได้จ่ายเงินจำนวนหนึ่ง แก่โจทก์ โดยเงินจำนวนนี้มีค่าเลิกจ้างจำนวนหนึ่งรวมอยู่ด้วยค่าเลิกจ้าง เป็นเงินที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายให้แก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง โดยไม่ปรากฏว่าเป็นเงินประเภทอื่นที่จำเลยตกลงจ่ายให้แก่โจทก์ ย่อมถือได้ว่าเป็นค่าชดเชย ต้องนำเงินจำนวนนี้มาหักออกจากค่าชดเชย ที่จำเลยต้องจ่ายแก่โจทก์ การที่โจทก์ถูกถอนใบอนุญาตทำงานและถูกสั่งให้ออกนอกประเทศ เนื่องจากโจทก์กล่าวคำผรุสวาทต่อเจ้าพนักงานนั้นหาทำให้สัญญาจ้างแรงงาน ระหว่างโจทก์จำเลยกลายเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้ง โดยกฎหมายไม่ แต่เป็นเรื่องโจทก์ไม่อาจทำงานให้จำเลยได้ต่อไป การชำระหนี้ของฝ่ายโจทก์กลายเป็นพ้นวิสัยด้วยเหตุอันจะโทษโจทก์ได้ จำเลยมีสิทธิเลิกสัญญาโดยเลิกจ้างโจทก์ได้ แต่จำเลยก็ต้องจ่ายเงินเดือน ค่าครองชีพ จนถึงวันเลิกจ้าง และจ่ายค่าชดเชยเมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับเงิน ดังกล่าวและได้รับเงินเดือนค่าครองชีพกับค่าชดเชยบางส่วน จึงมิใช่รับไว้ โดยไม่มีมูลที่จะอ้างตามกฎหมายได้จึงไม่ต้องคืนให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 311/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิหักเงินจากใบรับฝากเพื่อชำระหนี้หลังล้มละลาย: ข้อตกลงที่ไม่สมบูรณ์และการเพิกถอนสิทธิ
ลูกหนี้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคารผู้คัดค้าน โดยจำนำใบฝากเงินประจำเพื่อเป็นประกัน พร้อมกับทำหนังสือยินยอม ให้ผู้คัดค้านมีสิทธิหักเงินฝากประจำตามใบรับฝากนั้นชำระหนี้ ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีได้ ก่อนมีการฟ้องให้ลูกหนี้ล้มละลาย 9 เดือนเศษ ผู้คัดค้านใช้สิทธิตามหนังสือยินยอมหักเงินตาม ใบรับฝากเงินประจำชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีภายหลังที่ลูกหนี้ถูกฟ้องล้มละลายแล้ว จึงเป็นการใช้สิทธิตามข้อตกลงของลูกหนี้ ซึ่งยังมีผลบังคับอยู่ตลอดมาถึงวันหักเงินนั่นเอง
การที่ลูกหนี้จำนำใบรับฝากเงินประจำ ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้ มีประกันก็มีเพียงสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันคือใบรับฝาก ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 95 ซึ่งผู้คัดค้านมีแต่เพียง สิทธิที่จะฟ้องร้องบังคับคดีเอาแก่ใบรับฝากโดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เท่านั้น ไม่อาจใช้สิทธิหักเงินตามใบรับฝาก เพื่อชำระหนี้แก่ผู้คัดค้านได้ ทั้งเป็นข้อตกลงที่ให้สิทธิแก่ผู้รับจำนำ จัดการแก่ทรัพย์สินที่จำนำเป็นประการอื่น นอกจากบทบัญญัติทั้งหลาย ว่าด้วยการบังคับจำนำ ข้อตกลงย่อมไม่สมบูรณ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 756. ข้อตกลงจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายผู้คัดค้านไม่มีสิทธิหักเงินตามใบรับฝากไว้ชำระหนี้ได้ ถือได้ว่า ข้อตกลงดังกล่าว เป็นการกระทำที่ลูกหนี้มุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบ เจ้าหนี้อื่น ชอบที่ศาลจะเพิกถอนการใช้สิทธิหักเงินตามใบรับฝาก ที่ได้กระทำไปนั้นได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 115
การขอให้ผู้คัดค้านชำระหนี้ตามใบรับฝากดังกล่าวแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นกรณีนอกเหนือบทบัญญัติมาตรา 115เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องดำเนินการเป็นกรณีต่างหากจากคดีนี้
การที่ลูกหนี้จำนำใบรับฝากเงินประจำ ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้ มีประกันก็มีเพียงสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันคือใบรับฝาก ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 95 ซึ่งผู้คัดค้านมีแต่เพียง สิทธิที่จะฟ้องร้องบังคับคดีเอาแก่ใบรับฝากโดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เท่านั้น ไม่อาจใช้สิทธิหักเงินตามใบรับฝาก เพื่อชำระหนี้แก่ผู้คัดค้านได้ ทั้งเป็นข้อตกลงที่ให้สิทธิแก่ผู้รับจำนำ จัดการแก่ทรัพย์สินที่จำนำเป็นประการอื่น นอกจากบทบัญญัติทั้งหลาย ว่าด้วยการบังคับจำนำ ข้อตกลงย่อมไม่สมบูรณ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 756. ข้อตกลงจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายผู้คัดค้านไม่มีสิทธิหักเงินตามใบรับฝากไว้ชำระหนี้ได้ ถือได้ว่า ข้อตกลงดังกล่าว เป็นการกระทำที่ลูกหนี้มุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบ เจ้าหนี้อื่น ชอบที่ศาลจะเพิกถอนการใช้สิทธิหักเงินตามใบรับฝาก ที่ได้กระทำไปนั้นได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 115
การขอให้ผู้คัดค้านชำระหนี้ตามใบรับฝากดังกล่าวแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นกรณีนอกเหนือบทบัญญัติมาตรา 115เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องดำเนินการเป็นกรณีต่างหากจากคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2791/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชย vs. เงินบำเหน็จ: การหักเงินบำเหน็จออกจากค่าชดเชย และการนับระยะเวลาทำงาน
สิทธิของลูกจ้างที่จะได้รับเงินบำเหน็จเป็นสิทธิที่เกิด ขึ้นโดยระเบียบเดิม เจตนาของโจทก์จำเลยในการทำข้อตกลงเปลี่ยนแปลงแก้ไขหลักการในการจ่ายเงินบำเหน็จจากระเบียบเดิมโดยให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จตัดตอนเป็นรายปีให้แก่ลูกจ้างก็เพื่อให้โจทก์ได้รับเงินบำเหน็จไปใช้ประโยชน์ก่อน เป็นการเปลี่ยนแปลงระเบียบเดิมเฉพาะระยะเวลาการจ่ายเงินบำเหน็จเท่านั้น ส่วนสาระสำคัญอื่น ๆ เป็นไปตามเดิมการที่ระเบียบเดิมกำหนดว่า ถ้าเงินบำเหน็จมากกว่าค่าชดเชยให้ตัดเงินบำเหน็จเท่ากับจำนวนเงินชดเชย ถ้าเงินบำเหน็จน้อยกว่าค่าชดเชยก็ให้ได้รับแต่ค่าชดเชยอย่างเดียวมิได้เกี่ยวกับระยะเวลาการจ่ายเงินบำเหน็จจำเลยมีสิทธินำระเบียบดังกล่าวมาใช้บังคับแก่โจทก์ได้
โจทก์เป็นลูกจ้างของบริษัทสุรามหาคุณจำกัด ก่อนเป็นลูกจ้างจำเลยโดยมิได้นับระยะเวลาทำงานติดต่อกัน ถือได้ว่า บริษัทสุรามหาคุณ จำกัดกับจำเลยมิได้โอนการจ้างแก่กัน การนับระยะเวลาการทำงานของโจทก์เพื่อคำนวณค่าชดเชยที่โจทก์จะได้รับจากจำเลยต้องนับแต่วันที่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย เงินบำเหน็จที่จะถือว่าเป็นค่าชดเชยที่จำเลยจ่ายไปแล้วก็คือเงินบำเหน็จที่จำเลยจ่ายไปตั้งแต่ปีที่โจทก์เข้าเป็นลูกจ้างจำเลย ส่วนเงินบำเหน็จที่บริษัทสุรามหาคุณจำกัด จ่ายไปก่อนหน้านั้นเป็นการจ่ายเงินบำเหน็จตัดตอนของบริษัทสุรามหาคุณ จำกัดเองจะนำระยะเวลาที่โจทก์ทำงานกับบริษัทสุรามหาคุณ จำกัด มาคำนวณเป็นค่าชดเชยรวมกับระยะเวลาที่โจทก์ทำงานกับจำเลยหาได้ไม่
โจทก์เป็นลูกจ้างของบริษัทสุรามหาคุณจำกัด ก่อนเป็นลูกจ้างจำเลยโดยมิได้นับระยะเวลาทำงานติดต่อกัน ถือได้ว่า บริษัทสุรามหาคุณ จำกัดกับจำเลยมิได้โอนการจ้างแก่กัน การนับระยะเวลาการทำงานของโจทก์เพื่อคำนวณค่าชดเชยที่โจทก์จะได้รับจากจำเลยต้องนับแต่วันที่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย เงินบำเหน็จที่จะถือว่าเป็นค่าชดเชยที่จำเลยจ่ายไปแล้วก็คือเงินบำเหน็จที่จำเลยจ่ายไปตั้งแต่ปีที่โจทก์เข้าเป็นลูกจ้างจำเลย ส่วนเงินบำเหน็จที่บริษัทสุรามหาคุณจำกัด จ่ายไปก่อนหน้านั้นเป็นการจ่ายเงินบำเหน็จตัดตอนของบริษัทสุรามหาคุณ จำกัดเองจะนำระยะเวลาที่โจทก์ทำงานกับบริษัทสุรามหาคุณ จำกัด มาคำนวณเป็นค่าชดเชยรวมกับระยะเวลาที่โจทก์ทำงานกับจำเลยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1898-1899/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คผิดเงื่อนไข ธนาคารมีสิทธิหักเงินจากบัญชีผู้ออกเช็คได้ แม้ผู้สั่งจ่ายไม่เสียหาย
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้แก่ธนาคารจำเลยเช็คพิพาทเป็นของห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ซึ่งผู้สั่งจ่ายได้ลงลายมือชื่ออันแม้จริงของตนไว้ มิใช่ลายมือปลอม รายการในเช็คก็ถูกต้องสมบูรณ์ตามกฎหมาย เพียงแต่ผิดเงื่อนไขที่ตกลงไว้แก่ธนาคารจำเลยลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายไม่มีลายมือชื่อเป็นภาษาอังกฤษด้วย เมื่อธนาคารจำเลยจ่ายเงินไปตามเช็คดังกล่าวโดยมิได้รับความเสียหายจากการที่ธนาคารจำเลยจ่ายเงินไปตามเช็คนั้น ธนาคารจำเลยย่อมมีสิทธิหักเงินจากบัญชีเงินฝากหรือเพิ่มยอมจำนวนหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2526)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2526)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1307/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความยินยอมลูกจ้างให้หักเงินชดใช้ค่าเสียหาย แม้ไม่มีการลงชื่อคู่สัญญา ก็มีผลผูกพันได้ หากแสดงเจตนาชัดเจน
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยได้ยินยอมลงชื่อในเอกสารที่มีใจความว่าโจทก์สัญญาว่าจะไม่ประพฤติการต่าง ๆ ให้เป็นที่เสียหายต่อจำเลยหากทำให้จำเลยเสียหายยอมให้จำเลยหักเอาจากเงินที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากจำเลยได้ไม่มีข้อความตอนใดที่แสดงว่าโจทก์จะเรียกร้องสิ่งใดจากจำเลยได้บ้างและไม่มีกฎหมายบังคับว่าความยินยอมของลูกจ้างเช่นนี้จะต้องทำตามแบบอย่างไรดังนั้นเพียงแต่โจทก์แสดงเจตนาฝ่ายเดียวก็เป็นการเพียงพอที่จะทำให้จำเลยมีสิทธิหักเงินเดือนของโจทก์มาชดใช้เงินค่าอาหารและค่าอุปกรณ์การเรียนของบุตรที่โจทก์เบิกไปโดยไม่มีสิทธิได้โดยจำเลยไม่จำเป็นต้องลงชื่อในเอกสารดังกล่าวด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2840/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมให้หักเงินชดใช้หนี้ ไม่ถือเป็นการบังคับคดียึดหรืออายัด
โจทก์ได้ตกลงยินยอมให้จำเลยหักเงินเดือนเดือนสุดท้าย เงินสะสมพร้อมดอกเบี้ย และเงินบำเหน็จของโจทก์เพื่อชดใช้หนี้เงินยืมที่โจทก์ยืมจากจำเลย ตามระเบียบขององค์การผลิดอาหารสำเร็จรูปว่าด้วยเงินสะสมของผู้อำนวยการและพนักงาน อสร. พ.ศ. 2516 การหักเงินดังกล่าวหาใช่เป็นการบังคับคดียึดหรืออายัดเงินดังกล่าวของลูกหนี้แต่ประการใดไม่ กรณีจึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286 มาใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2840/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมให้หักเงินชำระหนี้ ไม่เป็นการบังคับคดี ยึดหรืออายัดทรัพย์
โจทก์ได้ตกลงยินยอมให้จำเลยหักเงินเดือนเดือนสุดท้ายเงินสะสมพร้อมดอกเบี้ย และเงินบำเหน็จของโจทก์เพื่อชดใช้หนี้เงินยืมที่โจทก์ยืมจากจำเลย ตามระเบียบขององค์การผลิตอาหารสำเร็จรูปว่าด้วยเงินสะสมของผู้อำนวยการและพนักงานอสร. พ.ศ.2516 การหักเงินดังกล่าวหาใช่เป็นการบังคับคดียึดหรืออายัดเงินดังกล่าวของลูกหนี้แต่ประการใดไม่ กรณีจึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 286 มาใช้บังคับได้