คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หุ้น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 721/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดหุ้นที่ราคาต่ำกว่าตลาดอย่างมากถือเป็นการหลงผิดของเจ้าพนักงานบังคับคดี ทำให้การขายนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การขายทอดตลาดหุ้นบริษัท อ. มีผู้เข้าประมูลสู้ราคากันหลายรายรวมทั้งตัวแทนโจทก์ด้วย การดำเนินการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายไม่ส่อพฤติการณ์ทุจริต แต่ปรากฏว่าบริษัท อ. ได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นจากหุ้นละ 100 บาท เป็นหุ้นละ 10 บาท หุ้นของจำเลยจำนวน 1,000 หุ้นจึงแตกออกเป็น 10,000 หุ้น ซึ่งราคาหุ้นที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันขายทอดตลาดมีราคาหุ้นละ 98.50 บาท ฉะนั้นราคาหุ้นพิพาทตามราคาที่ซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในวันที่ขายทอดตลาดเป็นเงิน 985,000 บาท แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายให้ผู้คัดค้านทั้งห้าในราคา 152,000 บาท ซึ่งหากเจ้าพนักงานบังคับคดีทราบราคาหุ้นทั้งหมดก็จะไม่อนุมัติให้ขาย จึงถือว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายหุ้นพิพาทโดยหลงผิด เนื่องจากไม่รู้ราคาที่ซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งการที่ขายทอดตลาดหุ้นพิพาทต่างจากราคาในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมากเช่นนี้ จำเลยย่อมเสียหายต่อการชำระหนี้ จึงให้เพิกถอนการขายทอดตลาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองหุ้นแทนทายาทและการอ้างการครอบครองปรปักษ์ที่มิชอบ
ขณะ ก. มีชีวิตอยู่โจทก์เป็นผู้ครอบครองหุ้นและใบหุ้นแทน ก. เมื่อ ก. ตาย โจทก์มิได้มอบใบหุ้นของ ก. ให้จำเลยซึ่งเป็นทายาท เพื่อนำไปเวนคืนให้บริษัทรับจำเลยลงทะเบียนเป็นผู้ถือหุ้น การที่ศาลมีคำสั่งตั้งโจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ก. จึงต้องถือว่าโจทก์ครอบครองหุ้นและใบหุ้นไว้แทนทายาทของ ก. ต่อไป แม้ระหว่างเป็นผู้จัดการมรดกโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ทำบันทึกข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินกันว่าให้ทรัพย์สินที่อยู่ในนามของ ก. ตกเป็นของโจทก์ก็ตาม แต่ต่อมาศาลฎีกาพิพากษาว่าบันทึกตกลงแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวเป็นโมฆะแล้ว ฉะนั้นการที่โจทก์ยังคงครอบครองหุ้นและใบหุ้นของ ก. ต่อไป ต้องถือว่าครอบครองไว้แทนจำเลยซึ่งเป็นทายาท โจทก์จึงไม่อาจอ้างการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ขึ้นยันจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองหุ้นแทนทายาท & ครอบครองปรปักษ์: ผู้จัดการมรดกไม่มีอำนาจโอนทรัพย์สินให้ตนเอง
ขณะ ก. มีชีวิตอยู่โจทก์เป็นผู้ครอบครองหุ้นและใบหุ้นไว้แทน ก.เมื่อ ก.ผู้ถือหุ้นตายโจทก์ชอบที่จะมอบใบหุ้นของก.แก่จำเลยซึ่งเป็นทายาทเพื่อนำไปเวนคืนให้บริษัทรับจำเลยลงทะเบียนเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทสืบไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1132 แต่โจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามบทกฎหมายดังกล่าว ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งโจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ก.ต้องถือว่าโจทก์ได้ครอบครองใบหุ้นของก.ไว้แทนทายาทของก.ต่อไป บันทึกตกลงแบ่งทรัพย์สินมีข้อความว่า ให้ทรัพย์สินที่อยู่ในนามของก.ตกเป็นของโจทก์ แต่ต่อมาศาลฎีกาได้พิพากษาว่าบันทึกตกลงแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวเป็นโมฆะเพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1722 ไม่มีผลบังคับตามกฎหมายเพราะผู้ทำบันทึกต่างเป็นผู้จัดการมรดกของก.กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกจึงไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ตามกฎหมาย การที่โจทก์ยังคงครอบครองหุ้นและใบหุ้นของก.ไว้ต่อไป ต้องถือว่าได้ครอบครองไว้แทนจำเลยซึ่งเป็นทายาท จึงไม่อาจอ้างการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382ขึ้นยันจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2994/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดหุ้น: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ต้องเปิดเผยรายละเอียดสินทรัพย์/หนี้สิน หากข้อมูลเปิดเผยต่อสาธารณะ
จำเลยกล่าวอ้างว่าการประกาศขายทอดตลาดหุ้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้แจ้งให้ผู้พบเห็นทราบว่าบริษัทผู้ออกหุ้นมีหุ้นอยู่ทั้งหมดเท่าใด มีสินทรัพย์และหนี้สินเท่าใด ผู้ที่ประมูลซื้อคงมีเฉพาะผู้ที่ทราบสินทรัพย์และหนี้สินของบริษัทเท่านั้นการขายทอดตลาดย่อมต้องมีการสมยอมกัน เป็นการไม่ชอบ จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยจะต้องนำสืบให้เห็นดังที่กล่าวอ้าง ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับจำนวนหุ้นและมูลค่าหุ้นแต่ละหุ้นของบริษัทจำกัดย่อมปรากฏในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นและหนังสือบริคณห์สนธิที่ได้จดทะเบียนไว้ต่อนายทะเบียน และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับฐานะ ทางการเงินของบริษัทจำกัดคือสินทรัพย์และหนี้สิน ย่อมปรากฏอยู่ในบัญชีงบดุลซึ่งได้ส่งไว้ต่อนายทะเบียนเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี เอกสารเหล่านี้บุคคลทั่วไปตลอดจนผู้จะเข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาดหุ้นสามารถตรวจสอบก่อนที่จะมีการขายทอดตลาดได้อยู่แล้ว แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้แจ้งข้อเท็จจริงดังกล่าวในประกาศขายทอดตลาด ก็ไม่เป็นเหตุให้การขายทอดตลาดไม่ชอบด้วยกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 848/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้นที่แสดงเจตนาลวงเป็นโมฆะ ผู้รับโอนหุ้นต้องรับผิดมูลค่าหุ้นค้างชำระ
การขายหุ้นพิพาทเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันในระหว่างผู้โอนกับผู้รับโอน สัญญาซื้อขายหุ้นจึงเป็นโมฆะ และการที่ผู้ร้องรับโอนหุ้นพิพาทจากผู้ถือหุ้นเดิมผู้โอน โดยบริษัทจำเลยไม่รู้เห็นด้วยกับการแสดงเจตนาลวง ถือว่าบริษัทจำเลยรับจดแจ้งการโอนหุ้นโดยสุจริต ทำให้บริษัทจำเลยไม่อาจฟ้องเรียกมูลค่าหุ้นในส่วนที่ขาดจากผู้โอนได้ เป็นความเสียหายของบริษัทจำเลยอันเกิดแต่การแสดงเจตนาลวงนั้น การแสดงเจตนาลวงที่ทำให้สัญญาซื้อขายเป็นโมฆะนี้จึงไม่อาจยกขึ้นต่อสู้บริษัทจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 118 วรรคแรก ผู้ร้องต้องรับผิดในมูลค่าหุ้นที่ค้างชำระ บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับรองขึ้นอันถือได้ว่าเป็นเอกสารมหาชน ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เป็นหน้าที่ของผู้ร้องต้องนำสืบว่ามีการชำระมูลค่าของหุ้นพิพาทเต็มแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 695/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นโดยมิได้รับความยินยอม และการครอบครองปรปักษ์ที่ไม่สมบูรณ์
ม. กรรมการผู้จัดการของนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดได้ทำรายงานการประชุมโดยไม่มีการประชุมว่า เจ้าของหุ้นโอนหุ้นให้แก่ ม. และได้โอนหุ้น เป็นชื่อ ม. แล้ว และได้ส่งรายงานการประชุมไปเก็บไว้ที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัด โดยไม่มีผู้ถือหุ้นรายใดทราบถึงเรื่องราวในรายงานการประชุมดังกล่าว ดังนี้การที่ ม. ได้ครอบครองหุ้นดังกล่าวไว้จึงเป็นการกระทำโดยปิดบังซ่อนเร้น ไม่เปิดเผย ไม่ครบเกณฑ์ที่จะทำให้ ม. ได้กรรมสิทธิ์ในหุ้นโดยการครอบครองปรปักษ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 คำแก้ฎีกาของโจทก์ที่ขอให้ศาลฎีกาพิพากษานอกเหนือจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์นั้น ต้องกระทำโดยยื่นคำฟ้องฎีกา จะเพียงแต่ขอมาในคำแก้ฎีกาหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2744/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องค่าหุ้นขาดทุน: สัญญาซื้อขายหุ้นและการทดรองเงิน
ผู้ร้องได้ตกลงสั่งซื้อหุ้นกับบริษัทลูกหนี้โดยวิธีผู้ร้องออกตั๋วสัญญาใช้เงินนำไปวางเป็นประกัน ผู้ร้องมีสิทธิสั่งซื้อหุ้นได้เป็นเงินไม่เกิน 3 เท่าของจำนวนเงินที่วางประกัน เมื่อซื้อหุ้นได้แล้วบริษัทลูกหนี้จะออกเงินทดรองค่าซื้อหุ้นให้ผู้ร้องก่อนโดยทำเป็นหนังสือว่าผู้ร้องได้กู้เงินของบริษัทลูกหนี้ไป ต่อมาถ้ามีการขายหุ้นดังกล่าว ก็จะมีการหักทอนบัญชีกัน ถ้า ได้กำไรก็จะนำเข้าบัญชีให้ผู้ร้องแต่ถ้า ขาดทุนจะเรียกให้ผู้ร้องชำระ กรณีจึงเป็นเรื่องตัวแทนเรียกร้องเอาเงินที่ได้ทดรองจ่ายไปในกิจการอันตัวการมอบหมายแก่ตนจากตัวการ ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164ไม่ใช่กรณีที่บริษัทลูกหนี้เป็นผู้ค้าในการรับทำการงานต่าง ๆเรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไปจากผู้ร้อง ตามมาตรา 165(7).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 776/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกหุ้น: สิทธิทายาท, อำนาจปกครอง, และการคุ้มครองประโยชน์ผู้เยาว์
โจทก์ที่ 1 เป็นภริยา โจทก์ที่ 2 เป็นบุตรผู้เยาว์ของผู้ตายโจทก์ทั้งสองต่างเป็นทายาทโดยธรรม ซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกเป็นส่วนแบ่งหุ้นของผู้ตายในบริษัทจำเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1599,1600,1629(1),1629 วรรคท้าย และ 1635(1) การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยลงทะเบียนให้โจทก์ที่ 1 เป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดแต่ผู้เดียวไม่แบ่งหุ้นมรดกให้แก่โจทก์ที่ 2 ถือได้ว่าโจทก์ที่ 1มารดาผู้ใช้อำนาจปกครองเอาประโยชน์จากกิจการและประโยชน์นั้นขัดกับประโยชน์ของโจทก์ที่ 2 ผู้เยาว์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574,1575 ตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1118หมายถึงหุ้นจำนวนหุ้นเดียวจะแบ่งแยกไม่ได้ ถ้ามีหลายคนเป็นเจ้าของหุ้นหุ้นเดียว ต้องให้คนใดคนหนึ่งใช้สิทธิแต่คนเดียวในฐานะผู้ถือหุ้น แต่กรณีที่หุ้นมรดกมีจำนวน 500 หุ้น จึงอาจแบ่งระหว่างโจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 แยกกันถือหุ้นได้ โจทก์ที่ 1จึงจะอ้างสิทธิตามมาตรานี้โดยขอใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้นเพียงผู้เดียวในหุ้นทั้งหมดไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 632/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้และส่งมอบหุ้นเป็นหลักประกัน: สิทธิในการรับเงินชำระหนี้ขึ้นอยู่กับการส่งมอบหุ้นตามคำพิพากษา
ศาลฎีกาพิพากษาว่า เมื่อจำเลยทั้งสองชำระเงินให้โจทก์แล้วให้จำเลยทั้งสองรับใบหุ้นจำนวน 2,000 หุ้นที่สั่งให้โจทก์ซื้อไว้ไปจากโจทก์ด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวโดยนำเงินมาวางไว้ต่อศาลแล้ว โจทก์ต้องนำใบหุ้นจำนวนดังกล่าวมาวางต่อศาลเสียก่อนจึงจะมีสิทธิรับเงินที่จำเลยที่ 1 นำมาวางไว้ไปจากศาลได้ ส่วนที่โจทก์อ้างว่าโจทก์ตีราคาหุ้นดังกล่าวซึ่งเป็นหลักประกันหักกับหนี้ของจำเลยที่ 2 ในคดีล้มละลายแล้วนั้นไม่เกี่ยวข้องกับคดีนี้ หากโจทก์มีข้ออ้างที่จะไม่ต้องชำระหนี้แก่จำเลยทั้งสองอย่างไร ก็ชอบที่จะไปว่ากล่าวกันเป็นคดีใหม่ต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3501/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกโดยไม่มีพินัยกรรม: สิทธิทายาทในหุ้นและทรัพย์สิน, วิธีการประมูล/ขายทอดตลาด
ผู้ตายถึงแก่ความตายโดยมิได้ทำพินัยกรรม หุ้นที่ดินและบ้านในส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายย่อมตกเป็นของทายาทในทันทีการโอนหุ้นอันเป็นทรัพย์มรดกนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1129 มาตรา 1132 และข้อบังคับของบริษัทฯ มิได้ห้ามโอนไว้จำเลยซึ่งเป็นภริยาผู้ตายและเป็นผู้จัดการมรดกจึงต้องโอนหุ้นให้โจทก์บิดาผู้ตายในฐานะทายาทโดยธรรมตามส่วน จำเลยจะขอให้โจทก์รับหุ้นที่เป็นตัวเงินตามมูลค่าหุ้นหาได้ไม่ ส่วนการแบ่งทรัพย์มรดกที่เป็นที่ดินและบ้าน ชอบที่จะให้ทายาทประมูลกันเองก่อน ได้เงินสุทธิเท่าใดก็แบ่งให้โจทก์ตามส่วนหากไม่อาจประมูลกันได้ในระหว่างทายาทให้นำออกขายทอดตลาดแล้วแบ่งเงินให้โจทก์ตามส่วนดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364,1745
of 8