พบผลลัพธ์ทั้งหมด 346 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3671/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนสามัญและการบังคับคดี: ทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนไม่ใช่ทรัพย์สินส่วนตัวของหุ้นส่วน
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนสามัญแสดงบัญชีกำไรขาดทุนและให้นำเงินค่าเช่ามาแบ่งสรรให้หุ้นส่วนทั้งหลายตามสัดส่วน เมื่อเงินดังกล่าวเป็นรายรับหรือทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนสามัญซึ่งจำเลยเป็นหุ้นส่วนอยู่ด้วย จำเลยย่อมมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งจากเงินจำนวนดังกล่าวตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วย โจทก์จะกล่าวอ้างในชั้นบังคับคดีว่าเงินดังกล่าวไม่เกี่ยวกับกิจการของห้างหุ้นส่วนสามัญเพื่อนำยึดทรัพย์สินของจำเลยมาขายทอดตลาดชำระหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาหาได้ไม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ห้างหุ้นส่วนสามัญ พ.เลิกกัน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1057 (3) และให้โจทก์ จำเลย และผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดช่วยกันจัดทำหรือให้บุคคลอื่นซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนแต่งตั้งขึ้นเป็นผู้จัดทำและชำระบัญชีโดยลำดับตามกฎหมาย กรณีจึงต้องจัดให้มีการชำระบัญชีตามมาตรา 1061 และเป็นหน้าที่ของผู้ชำระบัญชีที่จะต้องดำเนินการเกี่ยวกับหนี้สินและทรัพย์สินของห้างดังกล่าวต่อไปตามป.พ.พ.มาตรา 1062 และ 1063 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงไม่อาจขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยมาขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาแบ่งสรรให้หุ้นส่วนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้ กรณีถือได้ว่าการบังคับคดีส่วนนี้ไม่เปิดช่องให้ทำได้โดยทางเจ้าพนักงานบังคับคดี
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการยึดทรัพย์ของจำเลยเพราะเจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานมาตามหน้าที่ เมื่อไม่เกี่ยวกับจำเลย ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์สั่งให้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ จึงชอบแล้ว แม้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีในชั้นอุทธรณ์ก็ตาม
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ห้างหุ้นส่วนสามัญ พ.เลิกกัน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1057 (3) และให้โจทก์ จำเลย และผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดช่วยกันจัดทำหรือให้บุคคลอื่นซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนแต่งตั้งขึ้นเป็นผู้จัดทำและชำระบัญชีโดยลำดับตามกฎหมาย กรณีจึงต้องจัดให้มีการชำระบัญชีตามมาตรา 1061 และเป็นหน้าที่ของผู้ชำระบัญชีที่จะต้องดำเนินการเกี่ยวกับหนี้สินและทรัพย์สินของห้างดังกล่าวต่อไปตามป.พ.พ.มาตรา 1062 และ 1063 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงไม่อาจขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยมาขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาแบ่งสรรให้หุ้นส่วนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้ กรณีถือได้ว่าการบังคับคดีส่วนนี้ไม่เปิดช่องให้ทำได้โดยทางเจ้าพนักงานบังคับคดี
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการยึดทรัพย์ของจำเลยเพราะเจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานมาตามหน้าที่ เมื่อไม่เกี่ยวกับจำเลย ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์สั่งให้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ จึงชอบแล้ว แม้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีในชั้นอุทธรณ์ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3312/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจตัวแทน-หุ้นส่วนที่มิได้เปิดเผยชื่อ: สิทธิในชั้นบังคับคดี
ตามที่ปรากฏในสำนวนจำเลยไม่เคยกล่าวถึงการเป็นหุ้นส่วนกับผู้ร้องหรือการเป็นตัวแทนของผู้ร้อง ผู้ร้องเป็นตัวการซึ่งมิได้เปิดเผยชื่อ จึงไม่อาจจะทำให้เสื่อมเสียถึงสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอันมีต่อตัวแทนก่อนที่จะรู้ว่าผู้ร้องเป็นตัวแทนนั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 806 และในเรื่องหุ้นส่วนผู้ร้องผู้เป็นหุ้นส่วนจะถือเอาสิทธิใด ๆ แก่บุคคลภายนอกในกิจการค้าขายซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตนนั้นหาได้ไม่ตามมาตรา 1049 เช่นกัน สิทธิของผู้ร้องที่อาจมีอยู่หรือได้มาก็โดยอาศัยสิทธิของจำเลยที่มีอยู่และแสดงออกต่อบุคคลภายนอกหรือโจทก์เท่านั้นเสมือนหนึ่งเป็นบุคคลคนเดียวกันกับจำเลยหรือเป็นบริวารของจำเลย ดังนั้น ในชั้นบังคับคดีผู้ร้องย่อมไม่อาจอ้างอำนาจพิเศษตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 จัตวา(3) มาใช้ยันแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3312/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจพิเศษในการบังคับคดี: สิทธิของผู้ที่อ้างเป็นหุ้นส่วนหรือตัวแทนที่ไม่เปิดเผยชื่อ
ตามที่ปรากฏในสำนวนจำเลยไม่เคยกล่าวถึงการเป็น หุ้นส่วนกับผู้ร้องหรือการเป็นตัวแทนของผู้ร้อง ผู้ร้องเป็นตัวการซึ่งมิได้เปิดเผยชื่อ จึงไม่อาจจะทำให้เสื่อมเสียถึงสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอันมีต่อตัวแทนก่อนที่จะรู้ว่าผู้ร้องเป็นตัวแทนนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 806 และในเรื่องหุ้นส่วนผู้ร้องผู้เป็นหุ้นส่วนจะถือเอาสิทธิใด ๆ แก่บุคคลภายนอกในกิจการค้าขายซึ่งไม่ปรากฏ ชื่อของตนนั้นหาได้ไม่ตามมาตรา 1049 เช่นกัน สิทธิของผู้ร้อง ที่อาจมีอยู่หรือได้มาก็โดยอาศัยสิทธิของจำเลยที่มีอยู่และ แสดงออกต่อบุคคลภายนอกหรือโจทก์เท่านั้นเสมือนหนึ่ง เป็นบุคคลคนเดียวกันกับจำเลยหรือเป็นบริวารของจำเลย ดังนั้น ในชั้นบังคับคดีผู้ร้องย่อมไม่อาจอ้างอำนาจพิเศษตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา(3) มาใช้ยันแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 840/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอม โดยร่วมกันทำเอกสารสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติมที่มีลายมือชื่อปลอม
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ในข้อหาร่วมกันปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอม โดยได้บรรยายฟ้องว่า "...จำเลยทั้งสี่ได้บังอาจร่วมกันทำปลอมหนังสือสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติมของห้างหุ้นส่วนจำกัดกิจ พ. ซึ่งมี ส.ผู้เสียหาย จำเลยที่ 1 และที่ 4 เป็นหุ้นส่วนของห้างดังกล่าว โดยจำเลยทั้งสี่ร่วมกันลงลายมือชื่อปลอมของผู้เสียหายในเอกสารสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติมซึ่งมีข้อความว่าให้ผู้เสียหายออกจากการเป็นหุ้นส่วน โดยโอนเงินลงหุ้นจำนวน200,000 บาท ให้แก่จำเลยที่ 1 โอนเงินลงหุ้นจำนวน 50,000 บาท ให้แก่จำเลยที่ 2 และโอนเงินลงหุ้นจำนวน 150,000 บาท ให้แก่จำเลยที่ 3...ทั้งนี้เพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่า เอกสารที่จำเลยทั้งสี่ทำปลอมขึ้นทั้งฉบับนั้นเป็นเอกสารที่แท้จริง..." ฟ้องโจทก์ดังกล่าวได้ระบุชัดแล้วว่า จำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมในเอกสารสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติมพร้อมทั้งระบุข้อความที่ปลอมนั้นด้วย จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5) แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายฟ้องให้ละเอียดว่าจำเลยคนใดร่วมกันปลอมเอกสารดังกล่าวอย่างไรก็เป็นเพียงรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาได้
จำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันมอบหมายให้ ส.นำเอกสารสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติมไปยื่นต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดเพื่อจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมจนเป็นเหตุให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนให้ โดยจำเลยทั้งสี่ร่วมกันทำเอกสารดังกล่าว ซึ่งมีข้อความอันเป็นเท็จและลงลายมือชื่อของโจทก์ร่วมปลอมในเอกสารนั้น การกระทำของจำเลยทั้งสี่ดังกล่าวเป็นการร่วมกันทำเอกสารปลอมเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเอกสารนั้นทั้งฉบับเป็นเอกสารที่แท้จริงและจำเลยทั้งสี่ได้ใช้เอกสารปลอมดังกล่าวนี้ซึ่งเป็นเอกสารสิทธิในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน จำเลยทั้งสี่จึงมีความผิดฐานร่วมกันปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอม
จำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันมอบหมายให้ ส.นำเอกสารสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติมไปยื่นต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดเพื่อจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมจนเป็นเหตุให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนให้ โดยจำเลยทั้งสี่ร่วมกันทำเอกสารดังกล่าว ซึ่งมีข้อความอันเป็นเท็จและลงลายมือชื่อของโจทก์ร่วมปลอมในเอกสารนั้น การกระทำของจำเลยทั้งสี่ดังกล่าวเป็นการร่วมกันทำเอกสารปลอมเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเอกสารนั้นทั้งฉบับเป็นเอกสารที่แท้จริงและจำเลยทั้งสี่ได้ใช้เอกสารปลอมดังกล่าวนี้ซึ่งเป็นเอกสารสิทธิในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน จำเลยทั้งสี่จึงมีความผิดฐานร่วมกันปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7124/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงการถอนหุ้นส่วนและภาระผูกพันตามสัญญา
โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญากันในเรื่องการเข้าเป็นหุ้นส่วนในการทำอุตสาหกรรมน้ำดื่มร่วมกัน โดยสัญญาระบุว่า หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสมัครใจที่จะถอนหุ้นตามนิติกรรมสัญญาฉบับนี้ ยินดีที่จะให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งดำเนินกิจการต่อไปแต่ฝ่ายเดียวโดยคู่สัญญาฝ่ายที่จะดำเนินการต่อไปจะต้องจ่ายเงินในวงเงิน 250,000 บาท คืนแก่คู่สัญญาที่จะถอนหุ้นทันทีโดยไม่มีข้อแม้แต่ประการใด ดังนี้ เมื่อโจทก์เลิกการเป็นหุ้นส่วนแม้จำเลยได้ทำกิจการน้ำดื่มต่อมา เป็นเวลาเพียง 1 เดือน ก็ตาม จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว โดยจ่ายเงิน 250,000 บาท แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7124/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงการถอนหุ้นส่วนและการจ่ายเงินชดเชย แม้จะดำเนินกิจการต่อเพียงสั้น ๆ ก็ตาม
โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญากันในเรื่องการเข้าเป็นหุ้นส่วนในการทำอุตสาหกรรมน้ำดื่มร่วมกัน โดยสัญญาระบุว่า หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสมัครใจที่จะถอนหุ้นตามนิติกรรมสัญญาฉบับนี้ ยินดีที่จะให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งดำเนินกิจการต่อไปแต่ฝ่ายเดียวโดยคู่สัญญาฝ่ายที่จะดำเนินการต่อไปจะต้องจ่ายเงินในวงเงิน 250,000 บาทคืนแก่คู่สัญญาที่จะถอนหุ้นทันทีโดยไม่มีข้อแม้แต่ประการใด ดังนี้ เมื่อโจทก์เลิกการเป็นหุ้นส่วนแม้จำเลยได้ทำกิจการน้ำดื่มต่อมา เป็นเวลาเพียง 1 เดือน ก็ตาม จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว โดยจ่ายเงิน 250,000 บาท แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7124/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงการถอนหุ้นส่วนและชำระเงินคืน: แม้จะทำกิจการต่อเพียงสั้น ๆ ก็ต้องปฏิบัติตามสัญญา
โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญากันในเรื่องการเข้าเป็นหุ้นส่วนในการทำอุตสาหกรรมน้ำดื่มร่วมกัน โดยสัญญาระบุว่า หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสมัครใจที่จะถอนหุ้นตามนิติกรรมสัญญาฉบับนี้ ยินดีที่จะให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งดำเนินกิจการต่อไปแต่ฝ่ายเดียวโดยคู่สัญญาฝ่ายที่จะดำเนินการต่อไปจะต้องจ่ายเงินในวงเงิน 250,000 บาทคืนแก่คู่สัญญาที่จะถอนหุ้นทันทีโดยไม่มีข้อแม้แต่ประการใด ดังนี้ เมื่อโจทก์เลิกการเป็นหุ้นส่วนแม้จำเลยได้ทำกิจการน้ำดื่มต่อมา เป็นเวลาเพียง 1 เดือน ก็ตาม จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว โดยจ่ายเงิน 250,000 บาท แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6400/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทซื้อขายผ้า, อายุความ, การร่วมรับผิดของหุ้นส่วน, และการหักหนี้
อุทธรณ์ของโจทก์มีใจความว่าเมื่อจำเลยที่ 1 ให้การรับว่าเป็นหนี้โจทก์จำนวน 1,889,967.75 บาท แล้ว จึงฟังเป็นยุติได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้จำนวนนี้จริงจะนำข้อต่อสู้เรื่องอายุความมาตัดทอนจำนวนหนี้ที่รับกันหาได้ไม่ ที่ศาลชั้นต้นหักค่าผ้าเป็นเงิน 198,864.80 บาท ออกจากจำนวนหนี้ที่รับฟังเป็นยุติแล้ว จึงคลาดเคลื่อนต่อกฎหมายและการซื้อขายผ้าตามฟ้องจำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้ชำระเป็นเงินสดแสดงว่าเป็นการซื้อขายระบบสินเชื่อมีระยะเวลา 90 วัน ตามที่โจทก์นำสืบ เช่นนี้ถือได้ว่า โจทก์ได้อุทธรณ์เรื่องอายุความ เกี่ยวกับสินค้าที่โจทก์ได้ส่งให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว การซื้อขายผ้าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่มีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1 จะต้องชำระราคาภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับผ้า โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระราคาผ้านับแต่วันส่งมอบผ้า โจทก์ส่งผ้าตามฟ้องให้แก่จำเลยที่ 1เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2528 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2528โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 30 เมษายน 2530 ค่าผ้าที่โจทก์ส่งให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2528 รวม 2 รายการเป็นเงิน 198,864.80 บาท จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)(เดิม) จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดในยอดหนี้จำนวนดังกล่าว การหักกลบลบหนี้เป็นเรื่องบุคคลสองฝ่ายต่างมีความผูกพันเป็นหนี้กัน และหนี้ซึ่งผูกพันกันอยู่อันจะเกิดการหักกลบลบหนี้กันได้นี้ต้องเป็นหนี้สองรายหรือต่างรายกัน แต่ความรับผิดของจำเลยที่จะต้องชำระราคาผ้ากับความรับผิดของโจทก์ใน การรับคืนผ้าที่ขายเพราะเหตุชำรุดบกพร่องนี้เกิดจากสัญญาซื้อขายผ้ารายเดียวกัน ซึ่งต่างฝ่ายต่างผูกพันในหนี้อันเดียวกัน ดังนั้น การหักราคาผ้าที่โจทก์รับคืนเพราะเหตุชำรุดบกพร่องออกจากราคาผ้าที่โจทก์ขายไป จึงไม่ใช่ เรื่องหักกลบลบหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341 นับตั้งแต่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำการค้าระหว่างกันจนกระทั่งฟ้องร้องคดีนี้ไม่เคยมีการหักทอนบัญชีแต่อย่างใดเนื่องจากมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับตัวเลขแสดงว่ามิได้มีการตกลงกำหนดเวลาให้มีการหักทอนบัญชีในกิจการค้าระหว่างโจทก์กับ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสาระสำคัญข้อหนึ่งเกี่ยวกับสัญญา บัญชีเดินสะพัด แม้กฎหมายจะไม่บังคับว่าการจดแจ้งทางบัญชี จะต้องทำอย่างไรและจะต้องถูกต้องตามหลักการทำบัญชีก็ตาม แต่พฤติการณ์ของโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ปฏิบัติต่อกันดังที่ นำสืบมานั้นเป็นเรื่องซื้อขายผ้ากันธรรมดา ถือไม่ได้ว่า กิจการค้าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เข้าลักษณะเป็น สัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 จำเลยทั้งสี่ฎีกาอ้างว่าผ้าที่โจทก์ต้องรับคืนตามฟ้องแย้ง ไม่ใช่ผ้าชำรุดบกพร่อง หากแต่เป็นผ้าที่ไม่อาจใช้งานของ จำเลยที่ 1 ได้ แต่นำไปใช้งานอย่างอื่นได้ กรณีไม่ใช่เป็น การเรียกเอาค่าสินค้าที่เกิดจากความชำรุดบกพร่อง ฟ้องแย้ง จึงไม่ขาดอายุความนั้น ข้ออ้างตามฎีกาจำเลยทั้งสี่ดังกล่าว ขัดกับคำให้การและฟ้องแย้งที่ว่า ผ้าที่โจทก์ส่งแก่จำเลย ที่ 1 หากเกิดชำรุดบกพร่องโดยการทอก็ดี การฟอกย้อมก็ดี และหรือเหตุอื่นใดก็ดี เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ไม่อาจ ใช้ประโยชน์ตามมุ่งหมายแห่งสัญญา โจทก์ยอมรับคืน ซึ่งหมายความ ว่าหากผ้าที่โจทก์ส่งให้แก่จำเลยที่ 1 มีลักษณะดังกล่าว ข้างต้น แม้จะสามารถนำไปใช้งานอย่างอื่นได้ก็ให้ถือว่า เป็นผ้าที่ชำรุดบกพร่องในการที่โจทก์จะต้องรับคืนจากจำเลย ที่ 1 นั่นเอง ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 474 ได้บัญญัติในเหตุที่ว่านี้ให้ฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่ พบเห็นความบกพร่อง เมื่อปรากฎว่าโจทก์ส่งผ้าให้แก่ จำเลยที่ 1 ปี 2528 จึงเชื่อว่าฝ่ายจำเลยย่อมจะพบเห็น ความชำรุดบกพร่องของผ้าดังกล่าวตั้งแต่ปีดังกล่าวแล้วการที่จำเลยทั้งสี่มาฟ้องแย้งโจทก์ในปี 2530 จึงเกิน 1 ปีนับแต่ที่ได้พบเห็นความชำรุดบกพร่องฟ้องแย้งจึงขาดอายุความ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ร่วมรับผิดกับห้าง จำเลยที่ 1 ในหนี้ค่าผ้าทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะ หุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 ซึ่งหมายถึงในฐานะที่ เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดด้วย เพราะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1087 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ต้องให้แต่เฉพาะผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด เท่านั้นเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างจำเลยที่ 1 มาก่อน ย่อมแสดงว่าจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัด ความรับผิด แม้ต่อมาในขณะฟ้องจำเลยที่ 2 จะไม่ได้เป็น หุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 แต่ก็ไม่ปรากฏว่าได้ เปลี่ยนแปลงเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด จึงถือว่า จำเลยที่ 2 ยังเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดอยู่ ส่วนจำเลยที่ 3 และที่ 4 ปรากฏว่าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้าง จำเลยที่ 1 จึงเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด เช่นกัน ดังนั้น แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะมิได้ซื้อผ้า จากโจทก์เป็นการส่วนตัวก็ตาม จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ก็ต้อง รับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัด จำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077(2) ด้วย ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ร่วมรับผิด กับจำเลยที่ 1 ตามบทกฎหมายดังกล่าว จึงไม่เกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6220/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนและกรรมการผู้มีอำนาจในหนี้จากการสั่งซื้อน้ำมันของบริษัท
แม้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนของจำเลยที่ 1 และเป็นมารดาของ ก. จะได้ทำหนังสือรับใช้หนี้ให้แก่โจทก์แทน ก. โดยระบุไว้ในหนังสือฉบับดังกล่าวทำนองว่า เป็นการรับชดใช้หนี้ที่ ก. มีต่อโจทก์ ก็ตาม แต่โดยที่ ก.เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ทำสัญญาเช่าสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงมาจากโจทก์ และเป็นผู้เดียวซึ่งรับผิดชอบดำเนินกิจการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวเช่นนี้ หนี้ตามหนังสือรับใช้หนี้แทนซึ่งจำเลยที่ 2 ทำไว้ย่อมหมายความถึงหนี้ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งจำเลยที่ 1โดย ก. สั่งซื้อมาจากโจทก์แล้วยังมิได้ชำระราคา ดังนั้นจำเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1รับผิดชำระหนี้ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 537/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญาสินค้าไม่ได้มาตรฐาน: คืนราคาสินค้า & ความรับผิดของหุ้นส่วน
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าสินค้าคืนจากจำเลยทั้งสามโดยอ้างว่าได้ส่งสินค้าคืนจำเลยทั้งสามแล้ว แม้โจทก์บรรยายในคำฟ้องว่า สินค้าของจำเลยไม่ได้มาตรฐานตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดและไม่ผ่านการทดสอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และจำเลยให้การว่าไม่เคยมีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ ซึ่งศาลชั้นต้นได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทว่า สินค้าของจำเลยชำรุดบกพร่องหรือไม่ ทั้งได้มีการหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยตลอดมาถึงศาลอุทธรณ์ก็ตาม แต่เมื่อได้ความว่าโจทก์นำสินค้าไปคืนจำเลยโดยอ้างว่าสินค้าไม่ได้มาตรฐานและจำเลยที่ 1 ก็ยินยอมรับสินค้าคืนจากโจทก์ โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสามยินยอมรับคืนโดยมีเงื่อนไขอย่างไร ย่อมฟังได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยาย เมื่อสัญญาเลิกกันแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 กล่าวคือ เมื่อจำเลยที่ 1 ได้รับสินค้าคืนจากโจทก์แล้วจึงจำต้องคืนราคาสินค้าแก่โจทก์ด้วย กรณีมิใช่พิพาทกันในเรื่องความรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องในตัวทรัพย์ที่ซื้อขายกัน
โจทก์ซื้อสินค้าจากจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 3,164,684 บาทแต่ในการชำระราคา เมื่อโจทก์ทราบว่าสายไฟฟ้าที่ซื้อจากจำเลยที่ 1 มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐานจึงสั่งอายัดเช็คจำนวน 350,000 บาท และโจทก์ยังค้างชำระราคาสินค้าจำนวน 350,000 บาท ดังนั้น จึงต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวมาหักออกจากราคาสินค้าทั้งหมดก่อน คงเหลือราคาสินค้าที่จำเลยที่ 1 ต้องคืนแก่โจทก์จำนวน2,814,684 บาท จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด แต่ในการเจรจาติดต่อนำสินค้าไปคืนแก่จำเลยที่ 1 รวมทั้งการทวงถามค่าสินค้าคืนจากจำเลยที่ 1โจทก์ได้ติดต่อโดยตรงกับจำเลยที่ 3 ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์
โจทก์ติดต่อซื้อสายไฟฟ้าจากจำเลยที่ 1 โดยติดต่อผ่าน ส.โดยไม่ระบุยี่ห้อ และไม่มีข้อตกลงกำหนดมาตรฐานคุณภาพของสินค้าไว้ โดยการสั่งซื้อ โจทก์ไม่ได้ระบุว่าสินค้าจะผลิตจากโรงงานใด โจทก์เพียงแต่ระบุขนาดของสายไฟฟ้าที่จะใช้เท่านั้น นอกจากนี้ก็เป็นความผิดของโจทก์เองที่นำสายไฟฟ้าไปติดตั้งก่อนโดยไม่ผ่านการทดสอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ดังนี้ ค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าใหม่จึงเป็นความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษซึ่งจำเลยไม่อาจคาดเห็นได้ล่วงหน้า จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้แก่โจทก์
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้ร่วมรับผิดคืนราคาสินค้าและให้ชดใช้ค่าเสียหายอีกส่วนหนึ่งแก่โจทก์ มิได้พิพาทกันเกี่ยวกับความรับผิดในการรอนสิทธิ ที่จำเลยให้การว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ ก็ไม่ได้ความชัดแจ้งว่าขาดอายุความในเรื่องใด อย่างไร ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสองคดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ด้วยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ซื้อสินค้าจากจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 3,164,684 บาทแต่ในการชำระราคา เมื่อโจทก์ทราบว่าสายไฟฟ้าที่ซื้อจากจำเลยที่ 1 มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐานจึงสั่งอายัดเช็คจำนวน 350,000 บาท และโจทก์ยังค้างชำระราคาสินค้าจำนวน 350,000 บาท ดังนั้น จึงต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวมาหักออกจากราคาสินค้าทั้งหมดก่อน คงเหลือราคาสินค้าที่จำเลยที่ 1 ต้องคืนแก่โจทก์จำนวน2,814,684 บาท จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด แต่ในการเจรจาติดต่อนำสินค้าไปคืนแก่จำเลยที่ 1 รวมทั้งการทวงถามค่าสินค้าคืนจากจำเลยที่ 1โจทก์ได้ติดต่อโดยตรงกับจำเลยที่ 3 ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์
โจทก์ติดต่อซื้อสายไฟฟ้าจากจำเลยที่ 1 โดยติดต่อผ่าน ส.โดยไม่ระบุยี่ห้อ และไม่มีข้อตกลงกำหนดมาตรฐานคุณภาพของสินค้าไว้ โดยการสั่งซื้อ โจทก์ไม่ได้ระบุว่าสินค้าจะผลิตจากโรงงานใด โจทก์เพียงแต่ระบุขนาดของสายไฟฟ้าที่จะใช้เท่านั้น นอกจากนี้ก็เป็นความผิดของโจทก์เองที่นำสายไฟฟ้าไปติดตั้งก่อนโดยไม่ผ่านการทดสอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ดังนี้ ค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าใหม่จึงเป็นความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษซึ่งจำเลยไม่อาจคาดเห็นได้ล่วงหน้า จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้แก่โจทก์
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้ร่วมรับผิดคืนราคาสินค้าและให้ชดใช้ค่าเสียหายอีกส่วนหนึ่งแก่โจทก์ มิได้พิพาทกันเกี่ยวกับความรับผิดในการรอนสิทธิ ที่จำเลยให้การว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ ก็ไม่ได้ความชัดแจ้งว่าขาดอายุความในเรื่องใด อย่างไร ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสองคดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ด้วยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย