พบผลลัพธ์ทั้งหมด 230 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7498/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงร่วมลงทุนซื้อที่ดินจัดตั้งเป็นห้างหุ้นส่วน การชำระบัญชีและการฟ้องเรียกเงินจากหุ้นส่วน
ข้อตกลงโครงการซื้อที่ดินระหว่างผู้เริ่มโครงการและผู้ลงทุนระบุว่าเป็นโครงการจัดหาซื้อที่ดินเพื่อขายเอากำไร โดยมีผู้ร่วมดำเนินการคือโจทก์ จำเลยและจำเลยร่วม โจทก์และจำเลยร่วมลงทุนเป็นเงิน ส่วนจำเลยเป็นผู้ดำเนินการจัดซื้อที่ดินและดำเนินการออกโฉนดที่ดินที่ซื้อได้ เมื่อขายที่ดินดังกล่าวได้แล้วให้จ่ายเงินคืนแก่ผู้ออกเงินพร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันชำระเงินซื้อที่ดินจนถึงวันขายที่ดินได้ และจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่าง ๆ หากมีเงินเหลือซึ่งเป็นกำไรก็จะจัดการแบ่งกันในระหว่างผู้ร่วมกันดำเนินการทุกคน ดังนี้ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยและจำเลยที่ 2 จึงเป็นสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน หาใช่เป็นสัญญาร่วมลงทุนไม่ และเมื่อห้างหุ้นส่วนดังกล่าวยังไม่เลิกกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 1055, 1056 และ 1057จึงยังไม่ได้จัดการชำระบัญชีตามมาตรา 1061 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินที่ร่วมลงทุนในห้างหุ้นส่วนจากหุ้นส่วนคนอื่น ๆ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7498/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงซื้อที่ดินเป็นการจัดตั้งห้างหุ้นส่วน สิทธิเรียกร้องเงินลงทุนต้องรอการชำระบัญชี
ข้อตกลงโครงการซื้อที่ดินระหว่างผู้เริ่มโครงการและผู้ลงทุนระบุว่าเป็นโครงการจัดหาซื้อที่ดินเพื่อขายเอากำไร โดยมีผู้ร่วมดำเนินการคือโจทก์ จำเลยและจำเลยร่วม โจทก์และจำเลยร่วมลงทุนเป็นเงิน ส่วนจำเลยเป็นผู้ดำเนินการจัดซื้อที่ดินและดำเนินการออกโฉนดที่ดินที่ซื้อได้ เมื่อขายที่ดินดังกล่าวได้แล้วให้จ่ายเงินคืนแก่ผู้ออกเงินพร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันชำระเงินซื้อที่ดินจนถึงวันขายที่ดินได้ และจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่าง ๆ หากมีเงินเหลือซึ่งเป็นกำไรก็จะจัดการแบ่งกันในระหว่างผู้ร่วมกันดำเนินการทุกคนดังนี้ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยและจำเลยที่ 2 จึงเป็นสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน หาใช่เป็นสัญญาร่วมลงทุนไม่ และเมื่อห้างหุ้นส่วนดังกล่าวยังไม่เลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1055,1056 และ 1057 จึงยังไม่ได้จัดการชำระบัญชีตามมาตรา 1061 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินที่ร่วมลงทุนในห้างหุ้นส่วนจากหุ้นส่วนคนอื่น ๆ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5417/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้สินหลังชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน: ฟ้องเกิน 2 ปี ขาดอายุความ
นายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทได้รับจดทะเบียนเสร็จสิ้นการชำระบัญชีจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2528 ซึ่งในวันนั้นถือว่าเป็นวันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี แต่โจทก์ฟ้องเรียกหนี้สินจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ชำระบัญชี ที่โจทก์อ้างว่าเป็นลูกหนี้ในวันที่ 25 มีนาคม 2535 จึงเกิน 2 ปี ย่อมขาดอายุความ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1272 ไม่ว่าจำเลยที่ 3 จะมีหนังสือส่งคำบอกกล่าวเป็นจดหมายลงทะเบียนแจ้งให้โจทก์ทราบเพื่อให้โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ยื่นคำทวงหนี้แก่จำเลยที่ 3 ตามมาตรา 1253 (2)หรือไม่ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5417/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีหนี้สินหลังการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน/บริษัท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1272
นายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทได้รับจดทะเบียนเสร็จสิ้นการชำระบัญชีจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่21 กุมภาพันธ์ 2528 ซึ่งในวันนั้นถือว่าเป็นวันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี แต่โจทก์ฟ้องเรียกหนี้สินจากจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ชำระบัญชีที่โจทก์อ้างว่าเป็นลูกหนี้ในวันที่ 25 มีนาคม 2535จึงเกิน 2 ปี ย่อมขาดอายุความ ตามที่ บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1272 ไม่ว่าจำเลยที่ 3จะมีหนังสือส่งคำบอกกล่าวเป็นจดหมายลงทะเบียนแจ้งให้โจทก์ทราบเพื่อให้โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ยื่นคำทวงหนี้แก่จำเลยที่ 3 ตามมาตรา 1253(2) หรือไม่ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5351/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงเจตนาเป็นหุ้นส่วนและการรับผิดในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนจำกัด
การที่จำเลยนำสืบและฎีกาว่า อ.น้องภริยาจำเลยต้องการตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยจึงตกลงให้ใช้ชื่อจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ใช้บ้าน อ.เป็นที่ตั้งห้างฯ อ.บริหารกิจการเอง จำเลยเพียงแต่ลงชื่อในเอกสารต่าง ๆของห้างฯ รวมทั้งเช็ค 3 ฉบับ เพื่อให้ อ.นำไปใช้ในกิจการของห้างฯ โดยยังไม่ได้ประทับตราของห้างฯและกรอกข้อความนั้น ถือว่าจำเลยเป็นผู้ที่แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นหุ้นส่วนอยู่ในห้างหุ้นส่วน จึงต้องรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอกในบรรดาหนี้สินของห้างนั้นเสมอเป็นหุ้นส่วนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1054 วรรคหนึ่ง
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า เช็คที่จำเลยในฐานะผู้จัดการห้างหุ้นส่วนลงชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายและประทับตราของห้างฯ เป็นเช็คของห้างหุ้นส่วนจำกัด ค.ซึ่งจำเลยได้ลงชื่อสั่งจ่ายเช็คทั้งสามฉบับดังกล่าวให้ อ.นำไปใช้ในกิจการของห้างฯ เมื่อโจทก์เป็นบุคคลภายนอกไม่ทราบการปฏิบัติระหว่าง อ.กับจำเลย ดังนั้น ในระหว่างคนทั้งสองใครจะเป็นผู้ประทับตราของห้างฯ และกรอกข้อความลงในเช็คทั้งสามฉบับจึงไม่ใช่สาระสำคัญ เช็คทั้งสามฉบับจึงไม่ใช่เช็คปลอม และต้องถือว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ค.ออกเช็คทั้งสามฉบับแลกเงินสดจากโจทก์ เช็คทั้งสามฉบับจึงมีมูลหนี้ จำเลยในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในมูลหนี้ตามเช็คทั้งสามฉบับ
คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยใช้หนี้เงินกู้แก่โจทก์ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทซึ่งได้ระบุจำนวนเงินกู้ 690,000 บาท เท่ากับเงินตามเช็คทั้งสามฉบับและมีข้อความกล่าวถึงเช็คทั้งสามฉบับว่า หากเช็คดังกล่าวสามารถเรียกเก็บเงินได้ครบถ้วนแล้วให้ถือว่าหนี้ตามสัญญากู้เป็นอันระงับในทันที ดังนี้มูลหนี้ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทจึงสืบเนื่องมาจากมูลหนี้ตามเช็คซึ่งจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัวและแม้จำเลยได้ลงชื่อในสัญญากู้โดยไม่ได้ประทับตราของห้างฯ ก็ถือได้ว่าจำเลยได้ทำสัญญากู้กับโจทก์แทนห้างหุ้นส่วนจำกัด ค. จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินจำนวน 690,000 บาท แก่โจทก์ตามสัญญากู้ที่โจทก์ฟ้องพร้อมดอกเบี้ย
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า เช็คที่จำเลยในฐานะผู้จัดการห้างหุ้นส่วนลงชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายและประทับตราของห้างฯ เป็นเช็คของห้างหุ้นส่วนจำกัด ค.ซึ่งจำเลยได้ลงชื่อสั่งจ่ายเช็คทั้งสามฉบับดังกล่าวให้ อ.นำไปใช้ในกิจการของห้างฯ เมื่อโจทก์เป็นบุคคลภายนอกไม่ทราบการปฏิบัติระหว่าง อ.กับจำเลย ดังนั้น ในระหว่างคนทั้งสองใครจะเป็นผู้ประทับตราของห้างฯ และกรอกข้อความลงในเช็คทั้งสามฉบับจึงไม่ใช่สาระสำคัญ เช็คทั้งสามฉบับจึงไม่ใช่เช็คปลอม และต้องถือว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ค.ออกเช็คทั้งสามฉบับแลกเงินสดจากโจทก์ เช็คทั้งสามฉบับจึงมีมูลหนี้ จำเลยในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในมูลหนี้ตามเช็คทั้งสามฉบับ
คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยใช้หนี้เงินกู้แก่โจทก์ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทซึ่งได้ระบุจำนวนเงินกู้ 690,000 บาท เท่ากับเงินตามเช็คทั้งสามฉบับและมีข้อความกล่าวถึงเช็คทั้งสามฉบับว่า หากเช็คดังกล่าวสามารถเรียกเก็บเงินได้ครบถ้วนแล้วให้ถือว่าหนี้ตามสัญญากู้เป็นอันระงับในทันที ดังนี้มูลหนี้ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทจึงสืบเนื่องมาจากมูลหนี้ตามเช็คซึ่งจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัวและแม้จำเลยได้ลงชื่อในสัญญากู้โดยไม่ได้ประทับตราของห้างฯ ก็ถือได้ว่าจำเลยได้ทำสัญญากู้กับโจทก์แทนห้างหุ้นส่วนจำกัด ค. จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินจำนวน 690,000 บาท แก่โจทก์ตามสัญญากู้ที่โจทก์ฟ้องพร้อมดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4293/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนรับผิดร่วมกันในหนี้จากการว่าจ้างช่วง แม้ไม่มีมอบหมายโดยตรง หากเป็นการค้าขายปกติของห้าง
จำเลยทั้งสามเป็นหุ้นส่วนกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันประกอบกิจการรับจ้างถมดิน ทราย และลูกรัง โดยมอบหมายให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับผิดชอบส่งมอบงานและรับค่าจ้างถมดินด้วยและหุ้นส่วนทุกคนจะรับผิดชอบในกิจการดังกล่าวจนแล้วเสร็จการที่จำเลยที่ 1 ว่าจ้างช่วงให้โจทก์ถมดินในที่ดินบางส่วนซึ่งจำเลยที่ 1 ทำสัญญารับจ้างกับผู้ว่าจ้าง แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้รับมอบหมายจากผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นโดยตรง แต่กิจการที่จำเลยที่ 1 ทำไปนั้นก็เพื่อให้สามารถส่งมอบงานให้ผู้ว่าจ้างทันตามสัญญา จึงอยู่ภายในกรอบแห่งวัตถุประสงค์และความมุ่งหมายโดยตรงของการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนอันถือได้ว่าเป็นการจัดทำไปในทางที่เป็นธรรมดาการค้าขายของห้างหุ้นส่วนด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1050 ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนย่อมมีความผูกพันในกิจการที่ว่าจ้างนั้น และต้องรับผิดร่วมกันโดยไม่จำกัดจำนวนในการชำระหนี้อันได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะจัดการไปเช่นนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3999/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขอคืนทุนหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่จดทะเบียน จำเป็นต้องมีการเลิกห้างฯ ก่อน
โจทก์ จำเลย และ ศ.ทำสัญญาตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนโดยไม่มีกำหนดเวลา เพื่อดำเนินกิจการเกี่ยวกับกิจการสนุกเกอร์และตกลงกันให้โจทก์เป็นผู้จัดการงานของห้างหุ้นส่วนดังกล่าว เมื่อโจทก์ จำเลย และ ศ. ยังไม่ได้ตกลงเลิกห้างหุ้นส่วนกันแล้ว โจทก์จะฟ้องขอคืนทุนที่โจทก์จะหุ้นโดยยังไม่มีการเลิกห้างหุ้นส่วนกันหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3999/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนทุนหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่จดทะเบียน ต้องมีการเลิกห้างก่อน จึงจะฟ้องขอคืนทุนได้
โจทก์ จำเลย และ ศ.ทำสัญญาตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนโดยไม่มีกำหนดเวลา เพื่อดำเนินกิจการเกี่ยวกับกิจการสนุกเกอร์และตกลงกันให้โจทก์เป็นผู้จัดการงานของห้างหุ้นส่วนดังกล่าว เมื่อโจทก์ จำเลย และ ศ. ยังไม่ได้ตกลงเลิกห้างหุ้นส่วนกันแล้ว โจทก์จะฟ้องขอคืนทุนที่โจทก์จะหุ้นโดยยังไม่มีการเลิกห้างหุ้นส่วนกันหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3999/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนทุนหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่จดทะเบียน ต้องมีการเลิกห้างก่อน จึงจะฟ้องขอคืนทุนได้
โจทก์จำเลยและศ.ทำสัญญาตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนโดยไม่มีกำหนดเวลาเพื่อดำเนินกิจการเกี่ยวกับกิจการสนุกเกอร์และตกลงกันให้โจทก์เป็นผู้จัดการงานของห้างหุ้นส่วนดังกล่าวเมื่อโจทก์จำเลยและศ. ยังไม่ได้ตกลงเลิกห้างหุ้นส่วนกันแล้วโจทก์จะฟ้องขอคืนทุนที่โจทก์จะหุ้นโดยยังไม่มีการเลิกห้างหุ้นส่วนกันหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1635/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้, สัญญาค้ำประกัน, และความรับผิดของหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วน
จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งความประสงค์ขอเข้าซ่อมแซมอาคารที่ชำรุด เป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมรับผิดในความชำรุดบกพร่องตามที่โจทก์เรียกร้อง ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ได้ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องนั้นอันเป็นการรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ตามสิทธิเรียกร้องนั้นแล้ว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 172เดิม อายุความย่อมสะดุดหยุดลง
จำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารเสร็จและส่งมอบให้โจทก์แล้วโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่จำเลยที่ 1 ทำชำรุดบกพร่อง หาใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหายเมื่อจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารไม่เสร็จแล้วโจทก์บอกเลิกสัญญาตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องโดยไม่ต้องบอกเลิกสัญญาก่อน
จำเลยที่ 2 ทำหนังสือค้ำประกันยอมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์เป็นเงินไม่เกิน 84,400 บาท หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1ได้ จำเลยที่ 2 ยอมชำระเงินแทนในทันทีโดยมิต้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระก่อนดังนี้เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันด้วย ส่วนข้อตกลงเรื่องการเรียกหลักประกันใหม่ตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างอาคารซึ่งเป็นสิทธิของโจทก์ที่มีต่อจำเลยที่ 1 ตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างอาคาร ไม่มีผลกระทบต่อความรับผิดของจำเลยที่ 2 ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 มีต่อโจทก์
จำเลยร่วมเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนไม่มีจำกัดจำนวน ตาม ป.พ.พ.มาตรา1077 ประกอบมาตรา 1087 แต่ตามคำขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี โจทก์ขอให้ร่วมรับผิดเพียงในยอดเงินที่หักเงิน 84,400 บาท ที่จำเลยที่ 2 มีหนังสือค้ำประกันออก ดังนี้ต้องนำเงิน 84,400 บาท หักออกจากจำนวนเงินค่าเสียหายทั้งหมดก่อน
จำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารเสร็จและส่งมอบให้โจทก์แล้วโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่จำเลยที่ 1 ทำชำรุดบกพร่อง หาใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหายเมื่อจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารไม่เสร็จแล้วโจทก์บอกเลิกสัญญาตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องโดยไม่ต้องบอกเลิกสัญญาก่อน
จำเลยที่ 2 ทำหนังสือค้ำประกันยอมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์เป็นเงินไม่เกิน 84,400 บาท หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1ได้ จำเลยที่ 2 ยอมชำระเงินแทนในทันทีโดยมิต้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระก่อนดังนี้เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันด้วย ส่วนข้อตกลงเรื่องการเรียกหลักประกันใหม่ตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างอาคารซึ่งเป็นสิทธิของโจทก์ที่มีต่อจำเลยที่ 1 ตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างอาคาร ไม่มีผลกระทบต่อความรับผิดของจำเลยที่ 2 ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 มีต่อโจทก์
จำเลยร่วมเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนไม่มีจำกัดจำนวน ตาม ป.พ.พ.มาตรา1077 ประกอบมาตรา 1087 แต่ตามคำขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี โจทก์ขอให้ร่วมรับผิดเพียงในยอดเงินที่หักเงิน 84,400 บาท ที่จำเลยที่ 2 มีหนังสือค้ำประกันออก ดังนี้ต้องนำเงิน 84,400 บาท หักออกจากจำนวนเงินค่าเสียหายทั้งหมดก่อน