คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ห้างหุ้นส่วนจำกัด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 83 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5562/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นในห้างหุ้นส่วนจำกัด: สิทธิของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดไม่ต้องได้รับความยินยอม
ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด จะโอนหุ้นของตนให้บุคคลภายนอกโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้เป็น หุ้นส่วนอื่นไม่ได้ แต่สำหรับผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดอาจโอนหุ้นให้แก่บุคคลภายนอกได้โดยลำพังไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1091

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5562/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นในห้างหุ้นส่วนจำกัด: สิทธิของหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด และหน้าที่ของหุ้นส่วนผู้จัดการ
บทบัญญัติตามมาตรา 1080 และมาตรา 1040แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนสามัญจะโอนหุ้นของตนให้บุคคลภายนอกหรือชักนำบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นหุ้นส่วน โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นทั้งหมดไม่ได้ ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวย่อมนำมาใช้กับห้างหุ้นส่วนจำกัดด้วยโดยอนุโลมสำหรับผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดที่จะโอนหุ้นของตนให้บุคคลภายนอกโดยไม่ได้รับความยินยอมจาก ผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นไม่ได้ แต่สำหรับผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดนั้นอาจโอนหุ้นให้แก่บุคคลภายนอกได้โดยลำพัง ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นตามที่มาตรา 1091 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติไว้ ซึ่งเป็นกรณีเฉพาะเรื่องการโอนหุ้นเท่านั้นเพราะผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดมีสิทธิอำนาจหน้าที่และความรับผิดจำกัด และเนื่องจากมีสิทธิอำนาจหน้าที่ และความรับผิดจำกัดนี้เองคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้าเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดจึงมิใช่สาระสำคัญ และการเป็นหุ้นส่วนจำพวกดังกล่าวไม่เป็นการเฉพาะตัว ทั้งการโอนหุ้นดังกล่าวก็หาใช่การเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาเดิม แห่งห้างหุ้นส่วนหรือประเภทแห่งกิจการตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1032 ไม่ เมื่อการโอนหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1091 โดยปราศจากความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นก็อาจโอนได้ คำเบิกความของ ว. ที่ว่า จำเลยที่ 2หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1ไม่อาจโอนหุ้นได้โดยขาดความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นย่อมเป็นเพียงความเห็นของพยาน จึงหาจำต้องหยิบยกคำเบิกความของ ว. มาวินิจฉัยให้โดยเฉพาะอีกไม่เพราะที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ที่ 1 เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดจะโอนหุ้นของตนโดยปราศจากความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นก็โอนได้ เท่ากับศาลอุทธรณ์ ได้วินิจฉัยปัญหานี้โดยไม่เห็นด้วยกับคำเบิกความของ ว. ดังกล่าวอยู่ในตัวแล้ว ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ที่จะต้องดำเนินการขอจดทะเบียน แก้ไขเพิ่มเติมรายชื่อผู้ถือหุ้นให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 420/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดร่วมรับผิดชอบหนี้สินของห้าง หากห้างล้มละลาย หุ้นส่วนผู้จัดการก็มีสิทธิถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
โจทก์ฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่1โดยมีจำเลยที่2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างจำเลยที่1ซึ่งต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้สินของห้างโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1070,1077(2),1080ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่1เด็ดขาดคดีถึงที่สุดจำเลยที่2ซึ่งต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ต่อโจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาโต้เถียงว่าตนมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3434/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องสัญญาเช่าซื้อ ห้างหุ้นส่วนจำกัด โดยไม่ประทับตราสำคัญ
หนังสือรับรองการจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทข้อ3ระบุว่า ข.เป็น หุ้นส่วนผู้จัดการ ข้อ4ระบุว่าข้อจำกัดอำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการไม่มีแสดงว่ามิได้บังคับว่าเมื่อหุ้นส่วนผู้จัดการลงชื่อแล้วต้องมีตราสำคัญของโจทก์ประทับไว้ด้วยจึงจะกระทำการแทนได้ สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์ซึ่ง ข.ลงลายมือชื่อแทนโจทก์โดยมิได้ ประทับตราสำคัญของโจทก์จำเลยทั้งสองจึงเป็นสัญญาที่ชอบด้วยกฎหมายโจทก์มี อำนาจฟ้องตามสัญญา เช่าซื้อดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 930/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด: หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดไม่มีอำนาจฟ้องแทน
โจทก์ทั้งสามเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด อ.จำเลยที่ 1 โอนทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. แก่จำเลยที่ 3 และโอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแก่จำเลยที่ 2 โดยสมรู้กัน ทำให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดอ.เสียหาย โจทก์ทั้งสามจึงฟ้องขอให้เพิกถอนหรือระงับการโอนและเรียกค่าเสียหายดังนี้ การกระทำของโจทก์ทั้งสามเป็นการฟ้องคดีแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดหามีอำนาจกระทำไม่ โจทก์ทั้งสามจึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 930/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดไม่มีอำนาจฟ้องแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด การจัดการกิจการเป็นอำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการเท่านั้น
โจทก์ทั้งสามเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. จำเลยที่ 1 โอนทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. แก่จำเลยที่ 3 และโอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแก่จำเลยที่ 2 โดยสมรู้กัน ทำให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดอ.เสียหาย โจทก์ทั้งสามจึงฟ้องขอให้เพิกถอนหรือระงับการโอนและเรียกค่าเสียหาย ดังนี้ การกระทำของโจทก์ทั้งสามเป็นการฟ้องคดีแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดหามีอำนาจกระทำไม่ โจทก์ทั้งสามจึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1908/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้นส่วนและกิจการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ผู้จัดการมรดกไม่มีอำนาจจดทะเบียนแต่งตั้งผู้จัดการใหม่
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายทำสัญญาซื้อขายกิจการและหุ้นส่วนของผู้ตายให้แก่จำเลย โดยในสัญญาดังกล่าวไม่มีข้อตกลงให้โจทก์ต้องไปจดทะเบียนโอนส่วนของผู้ตายให้กับจำเลยและแต่งตั้งจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแทนผู้ตาย จำเลยจึงจะหยิบยกข้ออ้างดังกล่าวมาปฏิเสธความรับผิดตามสัญญาไม่ได้ เพราะเมื่อหุ้นส่วนผู้จัดการตาย ห้างหุ้นส่วนจำกัดอาจจะเลิกกันหรือหุ้นส่วนอาจตกลงกันให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดดำเนินต่อไปโดยให้ผู้อื่นเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการหรือให้ผู้อื่นเข้าเป็นหุ้นส่วนแทนผู้ตายก็ได้ มิใช่เป็นเรื่องที่ผู้จัดการมรดกจะจดทะเบียนให้จำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการในห้างหุ้นส่วนจำกัดได้ ฉะนั้น เมื่อจำเลยรับโอนกิจการและหุ้นส่วนของผู้ตายไปแล้ว จำเลยจึงต้องชำระเงินตามสัญญาซื้อขายกิจการที่ค้างชำระให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7348/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด และการพิสูจน์สถานะผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องให้จำเลยทั้งสองล้มละลายเป็นหนี้ตามคำพิพากษา ซึ่งสืบเนื่องจากห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ก่อขึ้นในขณะที่จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่จำกัดความรับผิด ต้องรับผิดในหนี้สินแทนจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1070และ 1077 โดยไม่จำกัดจำนวน จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจต่อสู้หรือนำสืบว่าตนมีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 หรือมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3312/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันจากการค้าปุ๋ยนอกวัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วนจำกัด และการส่งมอบสินค้าไม่ครบ
จำเลยที่ 3 เป็นผู้ดำเนินกิจการแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรตลอดมาและไม่มีหุ้นอยู่ในห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3ได้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 ให้เป็นผู้มีอำนาจลงชื่อสั่งจ่ายเช็คของจำเลยที่ 1 ในการดำเนินกิจการของจำเลยที่ 1 ได้ การที่จำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ร่วมกันแสดงออกต่อโจทก์และบุคคลทั่วไปว่าได้ร่วมกันประกอบกิจการค้าปุ๋ย ถือว่าจำเลยทั้ง 3 ได้ร่วมกันประกอบกิจการ เมื่อจำเลยที่ 3 ส่งปุ๋ยให้โจทก์ไม่ครบจำนวนตามที่โจทก์สั่งซื้อจำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิด ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มิได้มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการค้าขายปุ๋ยด้วย แต่การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ได้ร่วมประกอบกิจการค้าปุ๋ยกับจำเลยที่ 3แม้จะเป็นกิจการนอกขอบวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ก็ตาม จำเลยที่ 1ก็ได้รับประโยชน์ด้วยโดยการรับเงินค่าปุ๋ยมาจากโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ส่งปุ๋ยให้โจทก์ไม่ครบตามราคาซึ่งจำเลยที่ 1ได้รับไว้ จำเลยที่ 1 จึงไม่พ้นความรับผิดที่จะต้องคืนเงินค่าปุ๋ยที่เหลือให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1583/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดหนี้สินของห้างหุ้นส่วนจำกัด แม้สั่งจ่ายเช็คในนามห้างฯ และการยกข้อต่อสู้เรื่องมูลหนี้ต้องพิสูจน์การโอนเช็คโดยฉ้อฉล
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077(2) และมาตรา 1087ผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วน จำกัด เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด หุ้นส่วนผู้จัดการจึงต้องรับผิดในบรรดาหนี้สินของห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น โดยไม่จำกัดจำนวน เมื่อจำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท แม้จำเลยจะสั่งจ่ายเช็คในนามของห้างหุ้นส่วนจำกัด ก.จำเลยก็ต้องรับผิดตามเช็คนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1077(2),900 วรรคแรก การที่จำเลยให้การว่า จำเลยในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดพ. เป็นการตอบแทนในการที่ห้างหุ้นส่วนดังกล่าวจะไม่ยื่นซองประมูลงานแข่งกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. มูลหนี้ตามเช็คพิพาทจึงขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายยกข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันเฉพาะบุคคลระหว่างผู้สั่งจ่ายคือจำเลยกับผู้ทรงคนก่อน คือห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.ในกรณีเช่นนี้ จำเลยจะยกเป็นข้อต่อสู้โจทก์ ซึ่งเป็นผู้ทรงได้ต่อเมื่อได้ความว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. หรือผู้ทรงคนถัดไปโอนเช็คพิพาทให้แก่โจทก์โดยคบคิดกันฉ้อฉลตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916เท่านั้น จำเลยไม่ได้ต่อสู้ว่ามีการโอนเช็คพิพาทให้โจทก์โดยคบคิดกันฉ้อฉล จำเลยจึงยกข้อต่อสู้ว่าเช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้ต่อกันขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้
of 9