พบผลลัพธ์ทั้งหมด 931 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2554/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับเนื่องจากคำร้องขยายเวลาไม่ชอบ และฎีกาในข้อเท็จจริงต้องได้รับอนุญาตจากศาล
จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอขยายกำหนดยื่นฎีกา โดยผู้ที่ไม่มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยแต่ละคน จึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบ แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งอนุญาตตามที่ขอก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้รับอนุญาตให้ขยายกำหนดยื่นฎีกาตามคำร้อง เมื่อจำเลยทั้งสองยื่นฎีกาล่วงเลยกำหนดยื่นฎีกาแล้วก็ไม่มีผลย้อนไปทำให้คำร้องขอขยายกำหนดยื่นฎีกาที่ไม่ชอบดังกล่าว ให้เป็นคำร้องที่ชอบ
ในระหว่างพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีการแก้ไขกฎหมายบทความผิดและบทกำหนดโทษ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 เพียงแต่ปรับใช้บทกฎหมายส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 3 และแก้ไขโทษให้เหมาะสมสอดคล้องกับกฎหมายใหม่เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองแต่ละคนไม่เกินกระทงละห้าปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยยื่นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงมาโดยมิได้ร้องขอหรือดำเนินการให้ผู้พิพากษาที่พิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 7 อนุญาตให้ฎีกาได้ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบ ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
ในระหว่างพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีการแก้ไขกฎหมายบทความผิดและบทกำหนดโทษ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 เพียงแต่ปรับใช้บทกฎหมายส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 3 และแก้ไขโทษให้เหมาะสมสอดคล้องกับกฎหมายใหม่เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองแต่ละคนไม่เกินกระทงละห้าปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยยื่นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงมาโดยมิได้ร้องขอหรือดำเนินการให้ผู้พิพากษาที่พิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 7 อนุญาตให้ฎีกาได้ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบ ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 241/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องหลังวันชี้สองสถาน: เหตุผลความจำเป็นและขอบเขตการอนุญาต
สาระสำคัญของการเรียกร้องเงินทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนของโจทก์เพิ่มขึ้นต้องอาศัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเนื้อที่ของที่ดินที่ถูกต้องแน่นอนสำหรับคำนวณเป็นทุนทรัพย์ที่จะเรียกร้อง โจทก์ยื่นฟ้องคดีภายในกำหนดระยะเวลาตามที่กฎหมายบังคับโดยยังไม่ทราบจำนวนเนื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนที่แน่นอน แม้โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งจากจำเลยที่ 1 ว่าได้รังวัดที่ดินแล้วมีเนื้อที่ที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้น แต่ตามคำให้การของจำเลยทั้งสามก็ให้การว่าโจทก์ยังโต้แย้งคัดค้านการรังวัดครั้งดังกล่าวว่าไม่ถูกต้องจึงเป็นการไม่แน่นอนว่าเนื้อที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนจำนวนเท่าใด โจทก์และจำเลยยังโต้แย้งจำนวนเนื้อที่กันอยู่ จำเลยจึงยังมิได้จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินในส่วนที่เหลือแก่โจทก์ เมื่อโจทก์เพิ่งทราบและยอมรับว่าที่ดินสองแปลงของโจทก์ มีเนื้อที่ที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้น 113 ตารางวา และ 92 ตารางวา ตามที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ไปรังวัดที่ดินกันใหม่ภายหลังจากวันชี้สองสถานตามที่โจทก์ฎีกา กรณีเช่นนี้ ถือได้ว่ามีเหตุอันสมควรที่โจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องได้ก่อนวันชี้สองสถานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 จึงชอบที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1792/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีบุกรุกทิ้งขยะซ้ำกับคดีดำเนินกิจการเก็บขนขยะโดยไม่ได้รับอนุญาต
ระยะเวลาเกิดเหตุและสถานที่เกิดเหตุในความผิดข้อหาดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยไม่ได้รับใบอนุญาต กับความผิดตามฟ้องคดีนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ โดยจำเลยบุกรุกเข้าไปในที่ดินของผู้เสียหาย และนำขยะไปทิ้งในที่ดินดังกล่าวตรงกัน อีกทั้งการกระทำของจำเลยในทั้งสองคดีเป็นครั้งเดียวกัน แม้ฐานความผิดจะต่างกัน ก็เป็นความผิดกรรมเดียว เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยในการกระทำความผิดข้อหาดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจนศาลพิพากษาลงโทษปรับและคดีถึงที่สุดไปแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีก แม้จะไม่อ้างบทลงโทษตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุขฯ ก็เป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบกิจการโรงงานต้องได้รับอนุญาตและแจ้งก่อนเริ่มดำเนินการ การรื้อถอนเพื่อระงับเหตุไม่ถือเป็นทำให้เสียทรัพย์
การตั้งโรงงานหรือประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 3 ผู้ประกอบกิจการโรงงานจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตและต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตเสียก่อน เมื่อได้รับใบอนุญาตดังกล่าวแล้ว หากประสงค์จะเริ่มประกอบกิจการต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบอีกครั้งหนึ่งตาม พ.ร.บ. โรงงาน ฯ มาตรา 12 และ 13 ดังนั้น โจทก์ทั้งสองจะถือเอาวันที่หัวหน้าฝ่ายโรงงานสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานให้ เป็นวันเริ่มประกอบกิจการโรงงานโดยชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่
แม้จะมีคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรมแต่งตั้งจำเลยที่ 1 ซึ่งดำรงตำแหน่งนายอำเภอให้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการตาม พ.ร.บ. โรงงาน ฯ แต่ก็เป็นอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบโรงงานหรือเครื่องจักรเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายเท่านั้น จำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่ต้องสอบถามไปยังสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดว่าโรงงานของโจทก์ทั้งสองได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงงานแล้วหรือไม่ แต่เป็นหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองในฐานะผู้ประกอบกิจการโรงงานที่จะต้องแสดงหลักฐานต่อจำเลยที่ 1 ให้ปรากฏชัดว่าได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแล้วตาม พ.ร.บ. โรงงาน ฯ มาตรา 23
เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ. โรงงาน ฯ และจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจำเลยที่ 1 เข้าไปตรวจสภาพโรงงานและยึดเครื่องจักรอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการโรงงานโดยมีเจตนาเพียงระงับเหตุร้ายและความวุ่นวายของผู้ชุมนุมประท้วงมิให้ลุกลามไป แม้จำเลยทั้งสามจะได้สั่งให้รื้อถอนเครื่องจักรกับอุปกรณ์ในที่เกิดเหตุและทำให้อุปกรณ์เสียหาย ก็ด้วยประสงค์จะระงับการประกอบกิจการและยึดเครื่องจักรกับอุปกรณ์ซึ่งติดตั้งที่พื้นดินซึ่งต้องรื้อถอนไปตามอำนาจหน้าที่ การรื้อสิ่งของที่ติดอยู่กับพื้นดินย่อมทำให้เกิดความชำรุดเสียหายบ้าง ก็เป็นผลธรรมดาของการรื้อถอนที่ต้องเกิดขึ้น สภาพความชำรุดเสียหายมิใช่เกิดขึ้นเพราะกระทำโดยเจตนาให้เสียทรัพย์ การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
แม้จะมีคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรมแต่งตั้งจำเลยที่ 1 ซึ่งดำรงตำแหน่งนายอำเภอให้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการตาม พ.ร.บ. โรงงาน ฯ แต่ก็เป็นอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบโรงงานหรือเครื่องจักรเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายเท่านั้น จำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่ต้องสอบถามไปยังสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดว่าโรงงานของโจทก์ทั้งสองได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงงานแล้วหรือไม่ แต่เป็นหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองในฐานะผู้ประกอบกิจการโรงงานที่จะต้องแสดงหลักฐานต่อจำเลยที่ 1 ให้ปรากฏชัดว่าได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแล้วตาม พ.ร.บ. โรงงาน ฯ มาตรา 23
เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ. โรงงาน ฯ และจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจำเลยที่ 1 เข้าไปตรวจสภาพโรงงานและยึดเครื่องจักรอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการโรงงานโดยมีเจตนาเพียงระงับเหตุร้ายและความวุ่นวายของผู้ชุมนุมประท้วงมิให้ลุกลามไป แม้จำเลยทั้งสามจะได้สั่งให้รื้อถอนเครื่องจักรกับอุปกรณ์ในที่เกิดเหตุและทำให้อุปกรณ์เสียหาย ก็ด้วยประสงค์จะระงับการประกอบกิจการและยึดเครื่องจักรกับอุปกรณ์ซึ่งติดตั้งที่พื้นดินซึ่งต้องรื้อถอนไปตามอำนาจหน้าที่ การรื้อสิ่งของที่ติดอยู่กับพื้นดินย่อมทำให้เกิดความชำรุดเสียหายบ้าง ก็เป็นผลธรรมดาของการรื้อถอนที่ต้องเกิดขึ้น สภาพความชำรุดเสียหายมิใช่เกิดขึ้นเพราะกระทำโดยเจตนาให้เสียทรัพย์ การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งโรงงานต้องได้รับอนุญาตก่อน และการรื้อถอนเครื่องจักรเพื่อระงับเหตุชุมนุมไม่ถือเป็นทำให้เสียทรัพย์
พระราชบัญญัติโรงงานฯ มาตรา 12 และ 13 กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 3 ต้องได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาต โดยห้ามมิให้ตั้งโรงงานก่อนได้รับใบอนุญาตและหากได้รับใบอนุญาตแล้วถ้าประสงค์จะเริ่มประกอบกิจการโรงงานส่วนหนึ่งส่วนใดต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบไม่น้อยกว่า 15 วัน ก่อนเริ่มประกอบกิจการ ดังนั้นวันที่ออกใบอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงงานจึงมิใช่วันเริ่มประกอบกิจการดังกล่าว
แม้กระทรวงอุตสาหกรรมจะแต่งตั้งจำเลยที่ 1 ให้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติโรงงานฯ ก็ตาม แต่ก็เป็นอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบโรงงานหรือเครื่องจักรเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าว หาใช่เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องสอบถามไปยังสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดว่าโรงงานที่ตั้งในเขตท้องที่ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของตนนั้นได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแล้วหรือไม่ แต่เป็นหน้าที่ของโจทก์ในฐานะผู้ประกอบกิจการโรงงานที่จะต้องแสดงหลักฐานต่อจำเลยที่ 1 ว่าได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแล้ว
เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน การตั้งโรงงานตลอดจนการประกอบกิจการโรงงานทำนาเกลือสินเธาว์ของโจทก์จึงฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติโรงงานฯ มาตรา 12 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงาน กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาและปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจเข้าไปตรวจสภาพโรงงานสถานที่ สภาพเครื่องจักร ตลอดจนตรวจยึดสิ่งใด ๆ ที่เกี่ยวข้องในการประกอบกิจการของโจทก์ได้ หาเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและบุกรุกไม่
เหตุแห่งการที่จำเลยทั้งสามเข้าไปตรวจสภาพโรงงานและยึดเครื่องจักรอุปกรณ์ต่าง ๆ ของโจทก์ เนื่องจากรับแจ้งว่ามีราษฎรประมาณ 100 คน มาชุมนุมแสดงความไม่เห็นด้วยในการทำนาเกลือของโจทก์ การที่จำเลยทั้งสามสั่งให้อุดท่อ พีวีซี และให้รื้อถอนเครื่องจักรในที่เกิดเหตุก็ด้วยเจตนาเพียงระงับเหตุร้ายและความวุ่นวายของผู้ชุมนุมประท้วงมิให้ลุกลามไป ทั้งเป็นการรื้อถอนตามอำนาจหน้าที่ซึ่งย่อมทำให้เกิดความชำรุดเสียหายบ้างอันเป็นผลธรรมดาของการรื้อถอนที่ต้องเกิดขึ้น สภาพความชำรุดเสียหายจึงมิใช่เกิดขึ้นเพราะกระทำโดยเจตนาให้เสียทรัพย์การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
แม้กระทรวงอุตสาหกรรมจะแต่งตั้งจำเลยที่ 1 ให้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติโรงงานฯ ก็ตาม แต่ก็เป็นอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบโรงงานหรือเครื่องจักรเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าว หาใช่เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องสอบถามไปยังสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดว่าโรงงานที่ตั้งในเขตท้องที่ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของตนนั้นได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแล้วหรือไม่ แต่เป็นหน้าที่ของโจทก์ในฐานะผู้ประกอบกิจการโรงงานที่จะต้องแสดงหลักฐานต่อจำเลยที่ 1 ว่าได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแล้ว
เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน การตั้งโรงงานตลอดจนการประกอบกิจการโรงงานทำนาเกลือสินเธาว์ของโจทก์จึงฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติโรงงานฯ มาตรา 12 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงาน กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาและปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจเข้าไปตรวจสภาพโรงงานสถานที่ สภาพเครื่องจักร ตลอดจนตรวจยึดสิ่งใด ๆ ที่เกี่ยวข้องในการประกอบกิจการของโจทก์ได้ หาเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและบุกรุกไม่
เหตุแห่งการที่จำเลยทั้งสามเข้าไปตรวจสภาพโรงงานและยึดเครื่องจักรอุปกรณ์ต่าง ๆ ของโจทก์ เนื่องจากรับแจ้งว่ามีราษฎรประมาณ 100 คน มาชุมนุมแสดงความไม่เห็นด้วยในการทำนาเกลือของโจทก์ การที่จำเลยทั้งสามสั่งให้อุดท่อ พีวีซี และให้รื้อถอนเครื่องจักรในที่เกิดเหตุก็ด้วยเจตนาเพียงระงับเหตุร้ายและความวุ่นวายของผู้ชุมนุมประท้วงมิให้ลุกลามไป ทั้งเป็นการรื้อถอนตามอำนาจหน้าที่ซึ่งย่อมทำให้เกิดความชำรุดเสียหายบ้างอันเป็นผลธรรมดาของการรื้อถอนที่ต้องเกิดขึ้น สภาพความชำรุดเสียหายจึงมิใช่เกิดขึ้นเพราะกระทำโดยเจตนาให้เสียทรัพย์การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต และอำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานในการตรวจสอบและยึดเครื่องจักร
พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 มาตรา 12 และมาตรา 13 กำหนดไว้ชัดเจนว่าไม่ว่าจะเป็นการตั้งโรงงานหรือประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 3 ผู้ประกอบกิจการโรงงานจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตและต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตเสียก่อนและเมื่อได้รับใบอนุญาตดังกล่าวแล้ว หากประสงค์จะเริ่มประกอบกิจการต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบอีกครั้งหนึ่ง จะถือวันที่การออกใบอนุญาตประกอบกิจการเป็นวันเริ่มประกอบกิจการโรงงานโดยชอบด้วยกฎหมายไม่ได้
การที่มีคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรมแต่งตั้งจำเลยที่ 1 ซึ่งดำรงตำแหน่งนายอำเภอให้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ก็เป็นอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบโรงงานหรือเครื่องจักรเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535เท่านั้น มิใช่ว่าเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องเป็นผู้สอบถามไปยังสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดว่าโรงงานที่ตั้งในเขตท้องที่ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของตนนั้น ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแล้วหรือไม่ แต่เป็นหน้าที่ของโจทก์ในฐานะผู้ประกอบกิจการโรงงานที่จะต้องแสดงหลักฐานต่อจำเลยที่ 1 ให้ปรากฏชัดว่าได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแล้ว
โจทก์ยังไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน การตั้งโรงงานตลอดจนการประกอบกิจการโรงงานทำนาเกลือสินเธาว์ของโจทก์จึงฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติโรงงานพ.ศ. 2535 มาตรา 12 จำเลยที่ 1 รวมทั้งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 และปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 ย่อมมีอำนาจเข้าไปตรวจสภาพโรงงาน สถานที่ สภาพเครื่องจักร ตลอดจนตรวจยึดสิ่งใด ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ การที่จำเลยทั้งสามเข้าไปในที่ดินของโจทก์และยึดเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการประกอบกิจการนาเกลือสินเธาว์ของโจทก์ จึงไม่เป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและความผิดฐานบุกรุก
การที่จำเลยทั้งสามเข้าไปตรวจสภาพโรงงานและยึดเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการโรงงานเนื่องจากได้รับแจ้งว่ามีราษฎรประมาณ 100 คนมาชุมนุมแสดงความไม่เห็นด้วยในการทำนาเกลือสินเธาว์ของโจทก์จำเลยทั้งสามจึงมีเจตนาเพียงระงับเหตุร้ายและความวุ่นวายมิให้ลุกลามไปแม้การที่จะระงับการประกอบกิจการนาเกลือสินเธาว์นั้น จำเลยทั้งสามได้สั่งให้อุดท่อพีวีซี ตลอดจนสั่งให้รื้อถอนเครื่องจักรและอุปกรณ์ในที่เกิดเหตุ ก็ด้วยประสงค์จะยึดเครื่องจักรและอุปกรณ์ซึ่งติดตั้งที่พื้นดินโดยต้องรื้อถอนไปตามอำนาจหน้าที่ การรื้อสิ่งของที่ติดอยู่กับพื้นดินย่อมทำให้เกิดความชำรุดเสียหายบ้าง ซึ่งเป็นผลธรรมดาของการรื้อถอนที่ต้องเกิดขึ้น มิใช่เกิดขึ้นเพราะกระทำโดยเจตนาให้เสียทรัพย์
การที่มีคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรมแต่งตั้งจำเลยที่ 1 ซึ่งดำรงตำแหน่งนายอำเภอให้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ก็เป็นอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบโรงงานหรือเครื่องจักรเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535เท่านั้น มิใช่ว่าเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องเป็นผู้สอบถามไปยังสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดว่าโรงงานที่ตั้งในเขตท้องที่ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของตนนั้น ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแล้วหรือไม่ แต่เป็นหน้าที่ของโจทก์ในฐานะผู้ประกอบกิจการโรงงานที่จะต้องแสดงหลักฐานต่อจำเลยที่ 1 ให้ปรากฏชัดว่าได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแล้ว
โจทก์ยังไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน การตั้งโรงงานตลอดจนการประกอบกิจการโรงงานทำนาเกลือสินเธาว์ของโจทก์จึงฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติโรงงานพ.ศ. 2535 มาตรา 12 จำเลยที่ 1 รวมทั้งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 และปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 ย่อมมีอำนาจเข้าไปตรวจสภาพโรงงาน สถานที่ สภาพเครื่องจักร ตลอดจนตรวจยึดสิ่งใด ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ การที่จำเลยทั้งสามเข้าไปในที่ดินของโจทก์และยึดเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการประกอบกิจการนาเกลือสินเธาว์ของโจทก์ จึงไม่เป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและความผิดฐานบุกรุก
การที่จำเลยทั้งสามเข้าไปตรวจสภาพโรงงานและยึดเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการโรงงานเนื่องจากได้รับแจ้งว่ามีราษฎรประมาณ 100 คนมาชุมนุมแสดงความไม่เห็นด้วยในการทำนาเกลือสินเธาว์ของโจทก์จำเลยทั้งสามจึงมีเจตนาเพียงระงับเหตุร้ายและความวุ่นวายมิให้ลุกลามไปแม้การที่จะระงับการประกอบกิจการนาเกลือสินเธาว์นั้น จำเลยทั้งสามได้สั่งให้อุดท่อพีวีซี ตลอดจนสั่งให้รื้อถอนเครื่องจักรและอุปกรณ์ในที่เกิดเหตุ ก็ด้วยประสงค์จะยึดเครื่องจักรและอุปกรณ์ซึ่งติดตั้งที่พื้นดินโดยต้องรื้อถอนไปตามอำนาจหน้าที่ การรื้อสิ่งของที่ติดอยู่กับพื้นดินย่อมทำให้เกิดความชำรุดเสียหายบ้าง ซึ่งเป็นผลธรรมดาของการรื้อถอนที่ต้องเกิดขึ้น มิใช่เกิดขึ้นเพราะกระทำโดยเจตนาให้เสียทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 469/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนอุทธรณ์: ดุลพินิจศาลและการไม่ถือเป็นการดำเนินกระบวนการที่ไม่สุจริต
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มิได้มีบทบัญญัติว่าด้วยการถอนอุทธรณ์ไว้โดยเฉพาะ แต่มาตรา 246 ของลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์บัญญัติให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีในศาลชั้นต้นมาใช้บังคับแก่การพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นอุทธรณ์ได้โดยอนุโลมคำฟ้องอุทธรณ์จึงเป็นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(3)กรณีต้องนำเรื่องการถอนฟ้องตามมาตรา 175 มาใช้บังคับกับการถอนคำฟ้องอุทธรณ์โดยอนุโลม โดยมาตรา 175(1) บังคับเพียงว่า ห้ามไม่ให้ศาลอนุญาตโดยมิได้ฟังจำเลยหรือผู้ร้องสอดหากมีก่อน แม้จะมีการคัดค้านการขอถอนคำฟ้องก็อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะสั่งอนุญาตได้ ทั้งการขอถอนคำฟ้องก็เป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย ถือไม่ได้ว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่สุจริตเพื่อเอาเปรียบในเชิงคดี ดังนั้น เมื่อคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 จำเลยขอถอนอุทธรณ์ ก็ย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ที่จะอนุญาตให้จำเลยถอนอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 246 ประกอบด้วยมาตรา 175 ส่วนการที่โจทก์อ้างว่าจะทำให้ตนเสียเปรียบเพราะทำให้โจทก์เสียหายไม่สามารถยื่นฟ้องใหม่ได้ภายในกำหนดอายุความนั้น ก็มิใช่เงื่อนไขที่เกี่ยวกับการอนุญาตให้ถอนอุทธรณ์แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3863/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานประกอบกิจการและดำเนินการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต มีลักษณะการกระทำและเจตนาต่างกันเป็นความผิดหลายกรรม
พระราชบัญญัติสถานพยาบาลฯ ได้บัญญัติการกระทำอันเป็นความผิดฐานประกอบกิจการสถานพยาบาลกับฐานดำเนินการสถานพยาบาลไว้แยกจากกัน คือ ห้ามมิให้บุคคลใดประกอบกิจการสถานพยาบาล เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตตามมาตรา 16 วรรคหนึ่ง กรณีหนึ่ง และห้ามมิให้บุคคลใดดำเนินการสถานพยาบาลเว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตตามมาตรา 24 วรรคหนึ่ง อีกกรณีหนึ่ง โดยหลักเกณฑ์การขอรับใบอนุญาตในสองกรณีก็แตกต่างกัน แสดงให้เห็นได้ชัดว่า ในแต่ละฐานความผิดดังกล่าวต่างมีสภาพและลักษณะของการกระทำประกอบด้วยเจตนาต่างกัน สามารถแยกเป็นคนละส่วนต่างหากจากกันได้ แม้จะมีบทลงโทษอยู่ในมาตรา 57 ด้วยกัน หากมีการกระทำฝ่าฝืนก็จะต้องถูกลงโทษเป็นแต่ละกรณีไปการกระทำของจำเลยทั้งสองกรณีจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3770/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดสิทธิบัตร: การผลิตภายใต้สิทธิที่ได้รับจากผู้ทรงสิทธิบัตร ไม่ถือเป็นการละเมิด
โจทก์ที่ 1 ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ช. เป็นผู้มีอำนาจในการปกป้องรวมทั้งการฟ้องคดีในศาลไทยเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิบัตรของโจทก์ที่ 1 และตามคำฟ้องก็บรรยายว่า ช. กระทำการในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ที่ 1 และในฐานะกรรมการบริษัทผู้มีอำนาจของโจทก์ที่ 2 ประกอบกับท้ายคำฟ้อง ช. ได้ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์ที่ 2 ระบุว่าโจทก์ทั้งสองและในใบแต่งทนายความก็ได้ระบุว่าลงลายมือชื่อในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ที่ 1 กับในฐานะกรรมการบริษัทผู้มีอำนาจของโจทก์ที่ 2 ถือได้ว่า ช. ลงลายมือชื่อในคำฟ้องในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ที่ 1 และในฐานะกรรมการบริษัทผู้มีอำนาจของโจทก์ที่ 2 แล้ว คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(7)
ที่ประชุมบริษัทโจทก์มีมติให้แต่งตั้ง ป. เป็นผู้ชำระบัญชีบริษัทโจทก์ตามกฎหมายของประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2540 บริษัทโจทก์จึงยังคงตั้งอยู่เพื่อให้ ป. ดำเนินการชำระบัญชี เป็นผู้แทนของโจทก์สำหรับสิทธิทุกอย่างการดำเนินการและความรับผิดชอบทั้งหมด ดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของบริษัทโจทก์อย่างต่อเนื่องในช่วงที่ภารกิจในการยกเลิกกิจการของโจทก์ยังคงดำเนินอยู่และเป็นผู้แทนของโจทก์ในการดำเนินการเกี่ยวกับการยกเลิกกิจการของโจทก์ตามขั้นตอนของกฎหมายโดยไม่มีกำหนดเวลา บริษัทโจทก์จึงหาได้สิ้นสภาพเป็นนิติบุคคลไปไม่เมื่อ ป. ซึ่งเป็นผู้แทนของโจทก์และมีอำนาจดำเนินการทุกเรื่องแทนโจทก์ตั้งแต่วันที่31 มกราคม 2540 ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ช. เป็นผู้ดำเนินคดีนี้แทนโจทก์เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2540 ช. ผู้รับมอบอำนาจจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
สิทธิบัตรไทยของโจทก์เป็นสิทธิบัตรกรรมวิธี จึงได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตรฯ เฉพาะกรรมวิธีการผลิตข้อต่อแบบเชิงกลของแท่งเหล็กเส้นเสริมแรงสำหรับคอนกรีตตามข้อถือสิทธิในสิทธิบัตรนั้นเท่านั้น ไม่ได้รับความคุ้มครองสำหรับกรรมวิธีการเชื่อมต่อแท่งเหล็กเส้นเสริมแรงเข้าด้วยกันด้วยวิธีขึ้นรูปโดยใช้ความร้อนหรือวิธีขึ้นรูปแบบกึ่งร้อนกึ่งเย็น เมื่อจำเลยร่วมกันผลิตข้อต่อของแท่งเหล็กเส้นตามสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ข้อต่อเหล็กเส้นเสริมแรงคอนกรีตโดยการขยายปลายเหล็กเส้นเสริมแรงให้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่ขึ้นโดยการตีขึ้นรูป สิทธิบัตรผลิตภัณฑ์นี้จึงครอบคลุมถึงการเชื่อมต่อแท่งเหล็กเส้นเสริมแรงโดยมีการทำให้ปลายเหล็กเส้นเสริมแรงขยายใหญ่ขึ้น ก่อนทำเกลียวด้วยกรรมวิธีการตีขึ้นรูปทุกกรรมวิธี ไม่ว่าจะเป็นการตีขึ้นรูปแบบเย็นแบบร้อน หรือแบบกึ่งร้อนกึ่งเย็นซึ่งครอบคลุมถึงกรรมวิธีการผลิตตามสิทธิบัตรกรรมวิธีของโจทก์ตามสิทธิที่ได้รับมาแม้มีกรรมวิธีการผลิตเช่นเดียวกับกรรมวิธีตามสิทธิบัตรของโจทก์ ก็ไม่อาจรับฟังได้ว่าเป็นการกระทำโดยจำเลยมีเจตนากระทำความผิดฐานละเมิดสิทธิบัตรของโจทก์การกระทำของจำเลยดังกล่าว จึงไม่เป็นความผิดฐานละเมิดสิทธิบัตรของผู้อื่นตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตรฯ มาตรา 85 ประกอบด้วยมาตรา 36 วรรคหนึ่ง(2)
ที่ประชุมบริษัทโจทก์มีมติให้แต่งตั้ง ป. เป็นผู้ชำระบัญชีบริษัทโจทก์ตามกฎหมายของประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2540 บริษัทโจทก์จึงยังคงตั้งอยู่เพื่อให้ ป. ดำเนินการชำระบัญชี เป็นผู้แทนของโจทก์สำหรับสิทธิทุกอย่างการดำเนินการและความรับผิดชอบทั้งหมด ดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของบริษัทโจทก์อย่างต่อเนื่องในช่วงที่ภารกิจในการยกเลิกกิจการของโจทก์ยังคงดำเนินอยู่และเป็นผู้แทนของโจทก์ในการดำเนินการเกี่ยวกับการยกเลิกกิจการของโจทก์ตามขั้นตอนของกฎหมายโดยไม่มีกำหนดเวลา บริษัทโจทก์จึงหาได้สิ้นสภาพเป็นนิติบุคคลไปไม่เมื่อ ป. ซึ่งเป็นผู้แทนของโจทก์และมีอำนาจดำเนินการทุกเรื่องแทนโจทก์ตั้งแต่วันที่31 มกราคม 2540 ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ช. เป็นผู้ดำเนินคดีนี้แทนโจทก์เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2540 ช. ผู้รับมอบอำนาจจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
สิทธิบัตรไทยของโจทก์เป็นสิทธิบัตรกรรมวิธี จึงได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตรฯ เฉพาะกรรมวิธีการผลิตข้อต่อแบบเชิงกลของแท่งเหล็กเส้นเสริมแรงสำหรับคอนกรีตตามข้อถือสิทธิในสิทธิบัตรนั้นเท่านั้น ไม่ได้รับความคุ้มครองสำหรับกรรมวิธีการเชื่อมต่อแท่งเหล็กเส้นเสริมแรงเข้าด้วยกันด้วยวิธีขึ้นรูปโดยใช้ความร้อนหรือวิธีขึ้นรูปแบบกึ่งร้อนกึ่งเย็น เมื่อจำเลยร่วมกันผลิตข้อต่อของแท่งเหล็กเส้นตามสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ข้อต่อเหล็กเส้นเสริมแรงคอนกรีตโดยการขยายปลายเหล็กเส้นเสริมแรงให้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่ขึ้นโดยการตีขึ้นรูป สิทธิบัตรผลิตภัณฑ์นี้จึงครอบคลุมถึงการเชื่อมต่อแท่งเหล็กเส้นเสริมแรงโดยมีการทำให้ปลายเหล็กเส้นเสริมแรงขยายใหญ่ขึ้น ก่อนทำเกลียวด้วยกรรมวิธีการตีขึ้นรูปทุกกรรมวิธี ไม่ว่าจะเป็นการตีขึ้นรูปแบบเย็นแบบร้อน หรือแบบกึ่งร้อนกึ่งเย็นซึ่งครอบคลุมถึงกรรมวิธีการผลิตตามสิทธิบัตรกรรมวิธีของโจทก์ตามสิทธิที่ได้รับมาแม้มีกรรมวิธีการผลิตเช่นเดียวกับกรรมวิธีตามสิทธิบัตรของโจทก์ ก็ไม่อาจรับฟังได้ว่าเป็นการกระทำโดยจำเลยมีเจตนากระทำความผิดฐานละเมิดสิทธิบัตรของโจทก์การกระทำของจำเลยดังกล่าว จึงไม่เป็นความผิดฐานละเมิดสิทธิบัตรของผู้อื่นตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตรฯ มาตรา 85 ประกอบด้วยมาตรา 36 วรรคหนึ่ง(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 250/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีอาวุธปืนของผู้อื่นที่ได้รับอนุญาตโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และความผิดฐานขู่เข็ญ
แม้ผู้ตรวจพิสูจน์จะตรวจพบรอยขูดลบเปลี่ยนแปลงเครื่องหมายทะเบียนที่อาวุธปืนของกลาง แต่ก็ไม่อาจยืนยันได้ว่าเครื่องหมายทะเบียนเดิมเป็นเลขใด ประกอบกับได้ความในชั้นสอบสวนว่าจำเลยไม่เคยได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน จึงต้องรับฟังว่าอาวุธปืนของกลางเป็นอาวุธปืนมีเครื่องหมายทะเบียนของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยมีอาวุธปืนของผู้อื่นดังกล่าวไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคสาม