คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อนุญาตฎีกา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2065/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีซ้ำ และการอนุญาตฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
คดีอาญาเรื่องเดียวกันเดิมจำเลยถูกฟ้องด้วยวาจาตามบทบัญญัติของวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงโดยศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง เพราะโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยด้วยวาจา ซึ่งศาลยังมิได้พิจารณาเรื่องที่ได้ฟ้องแต่ประการใด จึงถือไม่ได้ว่าศาลได้พิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่โจทก์ฟ้อง โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยใหม่ได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)
คดีอาญาที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นผู้มีอำนาจอนุญาตให้ฎีกาบันทึกว่า "มีเหตุอันควรรับรองให้ฎีกาได้" นั้นเป็นการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2065/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาในคดีอาญาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และการฟ้องคดีซ้ำหลังศาลยกฟ้อง
คดีอาญาเรื่องเดียวกันเดิมจำเลยถูกฟ้องด้วยวาจาตามบทบัญญัติของวิธีพิจารณาความอาญาในแขวงโดยศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง เพราะโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยด้วยวาจา ซึ่งศาลยังมิได้พิจารณาเรื่องที่ได้ฟ้องแต่ประการใด จึงถือไม่ได้ว่าศาลได้พิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่โจทก์ฟ้อง โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยใหม่ได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)
คดีอาญาที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นผู้มีอำนาจอนุญาตให้ฎีกาบันทึกว่า "มีเหตุอันควรรับรองให้ฎีกาได้" นั้นเป็นการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 221 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 32/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตฎีกาต้องเป็นกรณีที่ศาลเห็นว่ามีปัญหาสำคัญเกี่ยวกับพยานหลักฐาน ไม่ใช่แค่การโต้แย้งดุลพินิจการลงโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลย 3 เดือน โดยไม่รอการลงโทษให้จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ ให้รอการลงโทษจำคุกมีกำหนด 2 ปี โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำคุกโดยไม่รอการลงโทษ และร้องขอให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาศาลชั้นต้นโดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีนี้เห็นว่า ฎีกาของโจทก์มีเหตุอันสมควรที่จะได้รับการวินิจฉัยจากศาลสูงเพราะเป็นปัญหาสำคัญในภาวะปัจจุบัน จึงอนุญาตให้ฎีกาได้ ดังนี้ เป็นการอนุญาตให้โจทก์ฎีกาเพื่อศาลฎีกาจะใช้ดุลพินิจว่าควรรอการลงโทษจำคุกจำเลยหรือไม่เท่านั้น มิใช่เป็นการฎีกาและอนุญาตให้ฎีกาเพื่อศาลฎีกาจะได้วินิจฉัยว่าพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ ฎีกาของโจทก์จึงไม่เป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุด ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ฎีกานั้น ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 462/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฎีกาและการอนุญาตให้ฎีกา: เหตุผลของผู้พิพากษาส่วนต่างและความสำคัญของปัญหาข้อกฎหมาย
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่มีความเห็นแย้งบันทึกไว้ในฎีกาว่า 'สภาพที่ฝ่ายหนึ่งตายไป ฝ่ายจำเลยน่าจะแสดงให้เห็นว่าเป็นการป้องกันตัว ซึ่งเป็นภาระพิสูจน์อันเป็นทฤษฎีที่โต้เถียงกัน ควรส่งให้ศาลสูงพิจารณาจึงรับฎีกานี้' บันทึกนี้มิได้แสดงว่าข้อความที่ตัดสินมาเป็นปัญหาสำคัญมิได้แสดงว่าผู้พิพากษาผู้ทำความเห็นแย้งอนุญาตให้ฎีกา ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 จึงรับฎีกาไว้พิจารณาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา, การพิสูจน์หลักฐาน, และการอนุญาตฎีกาของผู้พิพากษา
ผู้พิพากษาซึ่งเคยนั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น แม้จะถูกย้ายไปอยู่ศาลอื่นก็ตาม ถ้าหากยังคงเป็นผู้พิพากษาอยู่ ก็ย่อมอนุญาตให้คู่ความในคดีนั้นฎีกาได้ตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา221.
คดีของโจทก์มีพะยานเอกสารมากมาย เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าพะยานบุคคลรับฟังไม่ได้ แม้มีพะยานเอกสารสารมาเจือสมก็ไม่มีผลดีแก่คดีของโจทก์แล้ว ศาลอุทธรณ์จะไม่พิจารณาพะยานเอกสารนั้น ๆ ต่อไปก็ได้ ไม่เป็นการผิดกฎหมาย
คดีลักทรัพย์ ถ้าปรากฎว่าจำเลยได้กระทำผิดก่อนเจ้าทรัพย์ถึงแก่กรรม ทายาทหรือผู้จัดการมฤดกของเจ้าทรัพย์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องร้อง เพราะไม่ใช่ผู้เสียหาย
ฟ้องโจทก์ได้กล่าวหาว่าจำเลยปลอมหนังสือสัญญากู้และกระทำพะยานหลักฐานเท็จตั้งแต่ระยะเวลาก่อนผู้เสียหายถึงแก่กรรมตลอดมาจนภายหลังถึงแก่กรรม คดีไม่อาจชี้ได้ว่าจำเลยกระทำผิดในระยะใด คดีไม่มีทางที่จะรู้ได้ว่าโจทก์จะมีอำนาจฟ้องได้หรือไม่ เช่นนี้ในชั้นฎีกาก็ไม่จำเป็นต้องพิจารณาข้อเท็จจริงต่อไป
ในข้อหาที่ว่าจำเลยอ้างหลักฐานเท็จในคดีแพ่ง คือหาว่าจำเลยอ้างสัญญากู้ที่จำเลยทำปลอมขึ้นโดยเจตนาจะใช้แทนสัญญากู้ฉะบับที่จำเลยกู้เงินจากผู้ตาย ดังนี้เมื่อเป็นคดีที่จำเลยฟ้องร้องกันเองในคดีแพ่ง โจทก์ซึ่งเป็นทายาทหรือผู้จัดการมฤดกของผู้ตาย ย่อมไม่ใช่เป็นผู้เสียหายในคดีนั้น จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาในข้อหาฐานอ้างหลักฐานเท็จ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9060/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 กรณีโจทก์ร่วมฎีกาโดยไม่ได้รับอนุญาต
ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 เฉพาะในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 199 ประกอบมาตรา 83 เพียงข้อเดียว ข้อหาอื่นนอกจากนี้ให้ยก โจทก์และโจทก์ร่วมอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน จึงมีผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 ต่างพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 83 ดังกล่าว โดยอาศัยข้อเท็จจริง โจทก์ร่วมฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 83 อีกไม่ได้ เพราะต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 เว้นแต่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณา หรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิเคราะห์แล้วเห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกา หรืออธิบดีกรมอัยการลงลายมือชื่อรับรองในฎีกาว่ามีเหตุอันควรที่ศาลสูงสุดจะได้วินิจฉัย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 แต่โจทก์ร่วมฎีกาโดยไม่ปรากฏว่ามีผู้อนุญาตหรือรับรองให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ฎีกาของโจทก์ร่วมจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4827/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด หากพ้นกำหนดคำสั่งรับฎีกาเป็นโมฆะ
ขั้นตอนในการขออนุญาตฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 มิได้มีบัญญัติไว้โดยเฉพาะใน ป.วิ.อ. จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคท้าย มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 กล่าวคือ จำเลยต้องยื่นคำร้องพร้อมคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้นขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 4 อนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงภายในกำหนดเวลายื่นฎีกา แต่จำเลยยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2555 พ้นกำหนดเวลายื่นฎีกาซึ่งครบกำหนดวันที่ 27 ธันวาคม 2554 การยื่นคำร้องดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงเป็นการไม่ชอบ ไม่มีผลทำให้ฎีกาของจำเลยขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 คำสั่งของศาลชั้นต้นที่รับฎีกาของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. อันว่าด้วยฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นอ้างได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9932/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากโจทก์ไม่ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานเสพเมทแอมเฟตามีน กับฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส และฐานเป็นผู้ขับขี่รถในขณะมึนเมายาเสพติดให้โทษเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสซึ่งเป็นกรรมเดียวกับฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส ฐานทำให้เสียทรัพย์ของผู้อื่น และฐานทำให้เสียหายซึ่งทรัพย์สินที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณะประโยชน์ จึงเป็นคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และคดีที่ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษอยู่ด้วย จึงอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง
ดังนี้ เมื่อโจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยฐานเสพเมทแอมเฟตามีน กับฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสและฐานเป็นผู้ขับขี่รถในขณะมึนเมายาเสพติดให้โทษเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสโดยไม่ได้ ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องไปพร้อมกับฎีกาต่อศาลฎีกาเพื่อขอให้พิจารณารับฎีกาไว้วินิจฉัยตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1142-1143/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบเมื่อไม่ขออนุญาตฎีกาตามพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค ศาลชั้นต้นรับฎีกาไม่ได้
คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 5 แผนกคดีผู้บริโภคย่อมเป็นที่สุดตามพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 49 วรรคสอง และหากคู่ความประสงค์ยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 แผนกคดีผู้บริโภคจำต้องทำเป็นคำร้องเพื่อขออนุญาตฎีกาและยื่นมาพร้อมกับฎีกาต่อศาลชั้นต้น แล้วให้ศาลชั้นต้นส่งคำร้องพร้อมฎีกาไปยังศาลฎีกาเพื่อพิจารณาสั่งต่อไปตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 51 แต่คดีนี้จำเลยไม่ได้ยื่นคำร้องเพื่อขออนุญาตฎีกามาพร้อมกับฎีกาด้วย เป็นการขัดต่อบทบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ อีกทั้งบทบัญญัติอันว่าด้วยการฎีกาตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 เป็นบทบัญญัติพิเศษที่กำหนดให้ศาลฎีกาเท่านั้นที่มีอำนาจพิจารณาสั่งอนุญาตให้ฎีกาและรับฎีกา การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ต้องยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่รับฎีกาและมีคำสั่งใหม่ให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1831/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกานี้วินิจฉัยว่าการอนุญาตให้ฎีกาโดยตรงต่อศาลฎีกาในคดีผู้บริโภคขัดกับเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค
แม้ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 7 จะบัญญัติให้นำบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลมก็ตาม แต่การอนุญาตให้อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ นั้น ขัดกับหลักการและเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 52 ในเรื่องการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ฎีกาในคดีที่จะขึ้นมาสู่ศาลฎีกา โดยให้ศาลฎีกาเป็นผู้พิจารณาและมีคำสั่งอนุญาตให้ฎีกาเท่านั้น คดีจึงจะขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกาได้ จึงไม่นำบทบัญญัติตาม ป.วิ.พ. ดังกล่าวมาปรับใช้ในคดีผู้บริโภค การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. จึงเป็นการไม่ชอบ
of 4