คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อนุญาตศาล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2170/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์เกิน 3 ปี โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลเป็นโมฆะ การยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นอุทธรณ์/ฎีกาต้องห้าม
บิดาทำสัญญาต่างตอบแทนให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ของบุตรผู้เยาว์ตลอดชีวิตผู้เช่า โดยมิได้รับอนุญาตจากศาล เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 การให้เช่ามีผลผูกพันบุตรผู้เยาว์เพียง 3 ปี
จำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์ไม่เคยบอกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลยแต่เมื่อศาลชั้นต้นชี้สองสถานและสั่งกำหนดประเด็นนำสืบ ไม่ได้กำหนดประเด็นนำสืบข้อนี้ไว้ และจำเลยก็ไม่ได้โต้แย้งคำสั่งนั้น ดังนี้จำเลยจะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ ฎีกาไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226, 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1987/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าอสังหาริมทรัพย์โดยผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ ต้องได้รับอนุญาตจากศาล หากเกิน 3 ปี เป็นโมฆะ
การที่บิดาผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ได้ตกลงให้จำเลยเช่าอาคารพิพาทของโจทก์ในขณะที่โจทก์ทั้งสี่ยังเป็นผู้เยาว์ โดยมิได้รับอนุญาตจากศาลนั้น ย่อมให้เช่าได้เพียงไม่เกิน 3 ปีเท่านั้นคดีได้ความว่าจำเลยเช่ามาเกิน 3 ปีแล้ว ฉะนั้น การให้เช่าอาคารพิพาทต่อไปเกินจาก 3 ปี จึงกระทำมิได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546(2) ถึงแม้บิดาโจทก์จะได้ตกลงให้จำเลยเช่าอาคารพิพาทไปจนตลอดชีวิตจำเลยก็ตาม ก็ไม่มีผลผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ จึงไม่จำเป็นต้องสืบพยานดังที่จำเลยฎีกามา
ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ได้บรรลุนิติภาวะแล้วโจทก์ทั้งสองได้แสดงเจตนายินยอมให้จำเลยเช่าอาคารพิพาทต่อไปการกระทำของโจทก์ทั้งสองจึงผูกพันโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1550 นั้น เห็นว่า ปัญหาข้อนี้จำเลยมิได้ยกเป็นประเด็นขึ้นว่ามาในศาลชั้นต้น และมิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย จึงเป็นฎีกาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1903/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนเด็กผู้เยาว์ ต้องได้รับอนุญาตจากศาล
กรณีเด็กผู้เยาว์ถูกทำละเมิด อันมีผลให้เด็กมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนจากผู้ทำละเมิดนั้น เป็นการที่เด็กจะได้มาซึ่งทรัพย์สินอย่างหนึ่ง หากมีการประนีประนอมยอมความกัน ซึ่งผู้ใช้อำนาจปกครองจะต้องทำสัญญาแทนเด็กผู้ใช้อำนาจปกครอง จะต้องขออนุญาตศาลเสียก่อน เพราะเป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความอันเกี่ยวแก่ทรัพย์สินของเด็ก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1903/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนีประนอมยอมความแทนเด็กผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตศาล มิฉะนั้นสัญญาเป็นโมฆะและเด็กยังมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้
กรณีเด็กผู้เยาว์ถูกทำละเมิด อันมีผลให้เด็กมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนจากผู้ทำละเมิดนั้น เป็นการที่เด็กจะได้มาซึ่งทรัพย์สินอย่างหนึ่ง หากมีการประนีประนอมยอมความกัน ซึ่งผู้ใช้อำนาจปกครองจะต้องทำสัญญาแทนเด็กผู้ใช้อำนาจปกครองจะต้องขออนุญาตศาลเสียก่อน เพราะเป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความอันเกี่ยวแก่ทรัพย์สินของเด็ก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 313/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสืบพยานบุคคลแทนเอกสารที่หายในคดีแพ่ง การขออนุญาตศาล และการพิจารณาตามรูปคดี
โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่จำเลยกู้ไปจากโจทก์ จำเลยได้ต่อสู้ว่าจำเลยได้ชำระต้นเงินให้โจทก์ครบแล้ว โจทก์ออกใบเสร็จให้แก่จำเลยไว้เป็นหลักฐาน ฉะนั้นการที่จำเลยขอสืบพยานบุคคลในข้อที่ว่า ใบเสร็จรับเงินที่โจทก์ออกให้แก่จำเลยหายไป 6 ฉบับ จึงไม่ใช่ประเด็นแห่งคดี เพราะประเด็นแห่งคดีมีว่า จำเลยได้ชำระต้นเงินให้แก่โจทก์ครบตามคำให้การโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ซึ่งจำเลยได้ให้การไว้แล้วหรือไม่ จำเลยจึงไม่ต้องยกข้อเท็จจริงที่ว่า ใบเสร็จที่โจทก์ออกให้แก่จำเลยได้หายไปไว้ในคำให้การ เพราะเป็นวิธีการนำสืบพยานบุคคลแทนเอกสารที่หายตามกฎหมายวิธีสบัญญัติ เมื่อหลักฐานที่ต่อสู้ได้หายไป จำเลยมีสิทธิขออนุญาตศาลนำพยานบุคคลมาสืบแทนเอกสารที่หายไปได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2) โดยกฎหมายไม่ได้บัญญัติว่า จำเลยจะต้องขออนุญาตศาลเมื่อใด คดีนี้ เมื่อศาลสืบตัวจำเลยแล้ว จำเลยแถลงขอสืบพยานจำเลยต่อไปในเรื่องใบเสร็จรับเงินที่โจทก์ออกให้แก่จำเลยไว้หายไป 6 ฉบับ ถือได้ว่าจำเลยขออนุญาตสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสารที่หายไปตามกฎหมายดังกล่าวแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1319/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมรดกของผู้เยาว์: โมฆะหากไม่มีคำอนุญาตจากศาล และผลกระทบของอายุความมรดก
ผู้เยาว์อายุ 18 ปีมีภริยา. แต่มิได้จดทะเบียนสมรส.ย่อมยังไม่บรรลุนิติภาวะ
ผู้เยาว์ลงนามทำสัญญาโดยมีผู้แทนโดยชอบธรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือเป็นพยานในเอกสารสัญญานั้นถือได้ว่า.ผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมแล้ว.
ทายาททุกคนทำสัญญาแบ่งปันมรดกซึ่งไม่มีพินัยกรรม. เป็นการระงับข้อพิพาทแห่งกองมรดกที่จะมีขึ้น. จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ.
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546(4)ผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวแก่ทรัพย์สินของผู้เยาว์มิได้. เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ดังนั้น เมื่อยังมิได้รับอนุญาตจากศาล. ผู้ใช้อำนาจปกครองในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมจึงไม่อาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งปันมรดก.
สัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งปันมรดกซึ่งผู้เยาว์ทำและผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมโดยมิได้รับอนุญาตจากศาล.ย่อมตกเป็นโมฆะ แม้สัญญาประนีประนอมยอมความนั้นทำขึ้นระหว่างผู้เยาว์กับทายาทอื่นอีกหลายคน. แต่จำนวนทายาทหรือจำนวนทรัพย์มรดกที่จะได้รับส่วนแบ่งเป็นสิ่งที่เกี่ยวพัน. ไม่อาจแบ่งแยกออกจากกันได้. ย่อมตกเป็นโมฆะด้วยกันทั้งสิ้น.
การแบ่งปันทรัพย์มรดกนั้น อาจทำได้โดยทายาทต่างครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัด. เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย. ทายาทผู้ใดครอบครองมรดกส่วนไหนก็ย่อมมีสิทธิเฉพาะส่วนนั้น. ส่วนอื่นที่ตนมิได้เกี่ยวข้อง. ย่อมขาดอายุความมรดก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1660/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความของผู้ใช้อำนาจปกครองเด็ก ต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนจึงมีผลผูกพัน
ศาลพิพากษาคดีถึงที่สุดให้แบ่งทรัพย์มรดกแก่ทายาทคนละครึ่ง หากแบ่งไม่ตกลงให้ประมูลหรือขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งกันตามส่วน นั้นย่อมหมายความว่า มรดกทุกชิ้นนั้น ถ้าเป็นทรัพย์แบ่งได้ก็ให้เอามากแบ่งกันคนละครึ่งเป็นชิ้น ๆ ไป ถ้าตกลงในการแบ่งเช่นนี้ไม่ได้ ก็ให้ประมูลระหว่างกันหรือขายทอดตลาดเอาเงินแบ่งกันหากทายาททั้งสองตกลงแบ่งทรัพย์มรดกกันนอกศาลเป็นอย่างอื่น ก็ถือว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ เพราะเป็นการยอมผ่อนผันให้แก่กันเพื่อระงับข้อพิพาท
ผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความนอกศาล โดยมิได้ขออนุญาตศาลก่อนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1660/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยผู้ใช้อำนาจปกครองเด็ก ต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน จึงมีผลผูกพัน
ศาลพิพากษาคดีถึงที่สุดให้แบ่งทรัพย์มรดกแก่ทายาทคนละครึ่งหากแบ่งไม่ตกลงให้ประมูลหรือขายทอดตลาดเอาเงินแบ่งกันตามส่วน นั้น ย่อมหมายความว่า มรดกทุกชิ้นนั้นถ้าเป็นทรัพย์แบ่งได้ ก็ให้เอามาแบ่งกันคนละครึ่งเป็นชิ้นๆไป ถ้าตกลงในการแบ่งเช่นนี้ไม่ได้ ก็ให้ประมูลระหว่างกัน หรือขายทอดตลาดเอาเงินแบ่งกัน หากทายาททั้งสองตกลงแบ่งทรัพย์มรดกกันนอกศาลเป็นอย่างอื่น ก็ถือว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ เพราะเป็นการยอมผ่อนผันให้แก่กันเพื่อระงับข้อพิพาท
ผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความนอกศาลโดยมิได้ ขออนุญาตศาลก่อน หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1617/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดินของเด็กต้องได้รับอนุญาตจากศาล สัญญาจึงผูกพัน เมื่อยังไม่ผูกพันเด็ก ผู้รับมรดกก็ไม่อาจถูกบังคับตามสัญญาได้
บิดาในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตร ได้ทำสัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดินของบุตร กับที่ดินของโจทก์แต่ยังไม่ทันได้ร้องขออนุญาตต่อศาล บุตรก็ตายลงเสียก่อน ที่ดินของบุตรจึงตกเป็นมรดกได้แก่บิดา ดังนี้ โจทก์จะฟ้องบิดาให้โอนที่ดินนั้นให้แก่โจทก์ตามสัญญาย่อมไม่ได้ เพราะบิดาเป็นแต่เพียงผู้ทำสัญญาแทนเด็กและเมื่อสัญญายังไม่ผูกพันเด็ก ก็ย่อมไม่ผูกพันบิดา ผู้ซึ่งเป็นผู้รับมรดกด้วย
(ประชุมใหญ่) ครั้งที่ 9/2494

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำสัญญาประนีประนอมยอมความของผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาล และการประเมินค่าเสียหายกรณีสูญเสียการมองเห็น
เมื่อมีผู้กระทำละเมิดต่อผู้เยาว์อันมีผลให้ผู้เยาว์มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนนั้น เป็นการที่ผู้เยาว์จะได้มาซึ่งทรัพย์สินอย่างหนึ่ง หากมีการประนีประนอมยอมความกัน ซึ่งผู้ใช้อำนาจปกครองจะต้องทำสัญญาแทนผู้เยาว์ ผู้ใช้อำนาจปกครองในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมก็ชอบที่จะต้องขอนุญาตศาลเสียก่อน เพราะเป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ตามที่บังคับไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1574(12) เมื่อ ช.บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์กับจำเลยได้ทำข้อตกลงเรื่องค่าเสียหายและค่ารักษาพยาบาลของโจทก์กับของ ช. โดยไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ ทั้งทางแพ่งและทางอาญาจากจำเลยอีก เป็นการระงับข้อพิพาทในมูลละเมิด จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ การที่ ช.ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยตามลำพัง โดยมิได้รับอนุญาตจากศาลย่อมเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะและไม่มีผลผูกพันโจทก์แต่ประการใด สิทธินำคดีมาฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนของโจทก์จึงไม่ระงับไป
เมื่อโจทก์ต้องเสียความสามารถในการมองเห็น เนื่องจากโจทก์เสียตาข้างซ้ายทำให้ไม่สามารถมองภาพได้ละเอียดและกว้างเท่าคนปกติถือว่าเป็นค่าเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 446 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.พ.พ.ผู้ทำละเมิดจึงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายดังกล่าว หาใช่ต้องกำหนดเป็นค่ารักษาพยาบาลไม่ และค่าเสียหายที่โจทก์ต้องเสื่อมสุขภาพอนามัย ต้องเสียโฉม ได้รับความเจ็บปวดทรมานเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงิน โจทก์มีสิทธิเรียกได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 446 วรรคหนึ่ง
of 4