คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อัตราภาษี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1561/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เชวิงบอร์ดเป็นไม้อัดประเภทหนึ่ง ต้องเสียภาษีการค้าในอัตราเดียวกับไม้อัดตามกฎหมาย
เชวิงบอร์ด (SHAVINGBOARD) มีกรรมวิธีในการผลิตโดยนำเอาเศษไม้ชิ้นเล็กๆ หรือที่เรียกว่าขี้กบ มาผสมกับกาวและขี้ผึ้ง แล้วเข้าเครื่องอัดร้อนทำให้เป็นแผ่นมีความกว้างยาวตามมาตรฐานด้านละ 4 ฟุต ความหนา 6 มิลลิเมตรขึ้นไป ชื่อภาษาไทยเรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษซึ่งแปลว่าแผ่นขี้กบอัด ในทางวิชาการถือว่าเป็นแผ่นชิ้นไม้อัดชนิดหนึ่ง ฉะนั้น ไม่ว่าจะพิจารณาโดยสภาพของสินค้าสำเร็จรูปหรือโดยหลักวิชาการ แผ่นเชวิงบอร์ดย่อมจัดเข้าเป็นสินค้าไม้อัดชนิดหนึ่ง ดุจเดียวกับไม้อัดชนิดพลายวูด (PLYWOOD) ซึ่งใช้ไม้เป็นวัตถุดิบด้วยการผลิตจากการฝานท่อนซุงเป็นแผ่นบางๆ แล้วเข้าเครื่องจักรอัดด้วยกาวเป็นแผ่นเช่นเดียวกัน การตั้งชื่อสินค้าให้แตกต่างกันออกไปย่อมเป็นเรื่องของวิธีการผลิตเท่านั้น แม้เดิมตามพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 15) พ.ศ.2504 บัญชีที่ 1สินค้าอันดับ 37 จะระบุว่า "ไม้อัด ไม้อัดผสมซีเมนต์หรือแอสเบสต๊อสเชวิงบอร์ด" ซึ่งต้องพิกัดอัตราภาษีการค้าสำหรับผู้ผลิตที่มิได้เป็นผู้ส่งออกไว้อัตราร้อยละ 5 ของรายรับ และต่อมาตามพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2509 บัญชีที่ 1 หมวด 4 ว่าด้วยวัสดุก่อสร้างและเครื่องเรือน (1. จะระบุไว้เพียงสั้นๆ ว่า"ไม้อัด ไม้อัดผสมซีเมนต์หรือใยหิน" โดยไม่มีชื่อสินค้าเชวิงบอร์ดเหมือนเดิมก็ตาม แต่เมื่อเชวิงบอร์ดมีคุณลักษณะเป็นไม้อัด ก็ต้องเสียภาษีการค้าอย่างเดียวกับไม้อัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำว่า ‘เครื่องหมาย’ ในป้ายโฆษณาตาม พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ. 2510 ภาพประกอบถือเป็นเครื่องหมาย ทำให้ต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงขึ้น
ตามบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติภาษีป้ายพ.ศ. 2510 ป้ายอาจแสดงด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายเพียงอย่างหนึ่งอย่างใดก็ถือว่าเป็นป้าย ดังนั้นป้ายที่มีอักษรไทยล้วนตามบัญชีอัตราภาษีป้าย ประเภท (1) ย่อมหมายถึงป้ายที่ไม่มีสิ่งอื่นใดเลยนอกจากอักษรไทย
คำว่าเครื่องหมาย นั้น ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. 2493 หมายความว่า สิ่งที่ทำขึ้นแสดงความหมายป้ายโฆษณาภาพยนตร์ที่มีอักษรไทย ภาพดาราภาพยนตร์ ภาพสัตว์และภาพวัตถุอื่น ๆ จึงเป็นป้ายที่มีอักษรไทยปนกับเครื่องหมายตามบัญชีอัตราภาษีป้ายประเภท (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ปูนซิเมนต์ผงไม่ใช่สินค้าสำเร็จรูปตามประมวลรัษฎากรมาตรา 77 ต้องเสียภาษีในอัตราที่แตกต่าง
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77 สินค้าสำเร็จรูปหมายถึงสิ่งใดๆก็ตามที่อาจใช้อุปโภค (ใช้สอย) หรือบริโภค (กิน) ได้ทันที. โดยไม่ต้องเอาของสิ่งนั้นไปปรุงแต่งเปลี่ยนแปลง หรือผสมกับสิ่งใดอีก. เช่น เป็นของกินก็อาจกินได้ทันที หรือถ้าเป็นของใช้ก็อาจใช้ได้ทันที. แต่การพิจารณาว่าสิ่งใดอาจใช้ได้ทันทีหรือไม่. จำต้องพิจารณาจากการใช้ในสภาพปกติ. เพราะวัตถุไม่สำเร็จรูปก็อาจนำมาใช้ได้ทันที เช่นเดียวกับวัตถุสำเร็จรูป. เช่น นำวัตถุไม่สำเร็จรูปไปผสมกับสิ่งอื่นเพื่อผลิตสินค้าอย่างอื่นก็อาจเรียกได้ว่าวัตถุไม่สำเร็จรูปนั้นใช้ได้ทันทีเหมือนกัน. แต่ก็มิใช่เป็นการใช้ในสภาพของวัตถุสำเร็จรูป.หากเป็นการใช้ในสภาพของวัตถุไม่สำเร็จรูปหรือวัตถุดิบคือ.ต้องมีการเปลี่ยนแปลง หรือผสมกับสิ่งอื่นเสียก่อน จนวัตถุสิ่งนั้นเปลี่ยนจากสภาพปกติหรือสภาพเดิม. จึงถือไม่ได้ว่าสิ่งนั้นเป็นสินค้าสำเร็จรูป.
สภาพปกติของปูนซิเมนต์ผง มิใช่สิ่งที่จะนำไปใช้สอยได้ทันทีโดยมิต้องเปลี่ยนแปลงหรือผสมกับสิ่งหนึ่งสิ่งใด.การใช้สอยปูนซิเมนต์ผงตามสภาพปกตินั้น ใช้สำหรับเป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้าหรือสิ่งของอื่น. มิใช่สิ่งที่ตามปกติย่อมนำไปใช้ได้ในสภาพเดิมโดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงหรือผสมสิ่งอื่น.(คือยังคงรูปเป็นปูนซิเมนต์ผงอยู่).ปูนซิเมนต์ผงจึงมิใช่สินค้าสำเร็จรูป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีการค้าสำหรับสินค้ามือสอง: การพิจารณาประเภทการค้าและผู้ประกอบการ
คำว่า "ของเก่า" ตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พ.ศ.2474 มาตรา 3 นั้นหมายความว่า ทรัพย์ที่เสนอขายแลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายโดยประการอื่นอย่างทรัพย์ที่ใช้แล้ว ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องเป็นของที่ใช้แล้วเสมอไป
ผู้ประกอบการค้ารายใดจะต้องเสียภาษีการค้าในอัตราภาษีร้อยละเท่าใดของรายรับ จะต้องพิจารณาถึงประเภทการค้าที่ผู้นั้นกระทำ และรายการที่ประกอบการค้าตลอดจนตัวผู้ประกอบการค้าที่มีหน้าที่เสียภาษีประมวลเข้าด้วยกัน จะพิจารณาเพียงแต่ชนิดของรายการที่ประกอบการค้าหรือบุคคลผู้ประกอบการค้าอย่างใดอย่างหนึ่งหาได้ไม่
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าประเภทการค้า 1 การขายของ รายการประกอบการค้าชนิดหนึ่ง 1(ก) มีหน้าที่เสียภาษีการค้าในฐานะผู้นำเข้าหรือผู้ผลิตในอัตราร้อยละ 5 ของรายรับ แม้โจทก์จะสั่งสินค้ารถยนต์บรรทุกและเครื่องอะไหล่ซึ่งเป็นของเก่าใช้แล้วจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย แต่เมื่อโจทก์มิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานให้เป็นผู้ค้าของเก่าตามกฎหมาย ก็หาได้ชื่อว่า โจทก์เป็นผู้ขายทุกทอด ประเภทการค้า 1 การขายของชนิด 7(ค) ของเก่าตามกฎหมายว่าด้วยการค้าของเก่าไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1606/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีจากสินค้าที่นำเข้าเพื่อใช้ในการผลิตของตนเอง ไม่ถือเป็นผู้ประกอบการค้า ต้องเสียภาษีตามอัตราที่กฎหมายกำหนด
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีการค้าต้องเป็น "ผู้ประกอบการค้า" ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77 ซึ่งได้แก่ผู้ประกอบการค้า 2 ประเภท คือ ผู้ที่บัญชีอัตราภาษีการค้าได้กำหนดประเภทการค้าและรายการที่ประกอบการค้าไว้ประการหนึ่ง ซึ่งต้องเสียภาษีการค้าตามอัตราที่ระบุไว้ในบัญชีนั้น ตามมาตรา 78 วรรคหนึ่ง กับผู้ที่บัญญัติในหมวด 4 ที่ให้ถือว่าเป็นผู้ประกอบการค้าด้วยอีกประการหนึ่ง ประเภทหลังนี้คือผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง ซึ่งต้องเสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง (1) และ (2)
สำหรับผู้ประกอบการค้าประเภทหลังตามมาตรา 78 วรรคสอง อธิบดีกรมสรรพากร (โดยอนุมัติรัฐมนตรี) มีอำนาจประกาศให้บุคคล 4 จำพวกเท่านั้น ซึ่งได้แก่ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก และผู้ขายทอดใดทอดหนึ่งหรือหลายทอด ซึ่งสินค้าตามที่กำหนดไว้ในประกาศ (ซึ่งไม่เป็นผู้ที่บัญชีอัตราภาษีการค้าได้ระบุไว้โดยเฉพาะ) มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าซึ่งสินค้าใด ๆ ตามที่จะกำหนดไว้ในประกาศ แต่อธิบดี ๆ ไม่มีอำนาจกำหนดอัตราภาษีการค้าที่บุคคลเหล่านี้จะต้องเสียให้นอกเหนือเกินเลยไปจากอัตราภาษีการค้าตามที่มาตรา 78 วรรคสอง (1) และ (2) ได้บัญญัติไว้แล้ว
โจทก์สั่งหินสำลีซึ่งเป็นสินค้าที่มิใช่สินค้าสำเร็จรูปเข้ามาผลิตเพื่อขายเป็นสินค้าอื่น มิใช่ส่งเข้ามาเพื่อขายให้แก่โรงงานอื่นหรือผู้อื่น โจทก์จึงมิใช่ผู้ประกอบการค้าหินสำลี และจึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีการค้าสำหรับหินสำลีในฐานะผู้นำเข้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ฉะนั้น มาตรา 78 วรรคสองและประกาศอธิบดี ๆ (ฉบับที่ 2) ข้อ 3 รวมตลอดทั้งประกาศอธิบดี ฯ (ฉบับที่ 3) ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 79(6) ซึ่งให้ถือว่าโจทก์ได้ขายหินสำลีในวันนำเข้าในราชอาณาจักร จึงนำมาใช้บังคับไม่ได้ เพราะโจทก์มิใช่ผู้ประกอบการค้าทั้งสองประเภทตามมาตรา 78 วรรคหนึ่ง และมาตรา 78 วรรคสอง ดังกล่าว
คำว่า "ผลิตเพื่อขาย" ตามมาตรา 78 ทวิ (1) ต้องอ่านประกอบกับประโยคหน้าและจึงควรหมายความว่า "โดยมิใช่ผลิตเพื่อขาย" ด้วย จึงจะถูกต้องตามความมุ่งหมายของมาตรา 79 ทวิ วรรคแรก กล่าวคือการนำเข้ามาโดยมิใช่นำมาขายก็ดี การนำเข้ามาโดยมิใช่นำมาผลิตเพื่อขายก็ดี กฎหมายให้ถือว่าเป็นการขายสินค้าตามวรรคแรกแห่งมาตรานี้ เพราะการผลิตเพื่อขายย่อมอยู่ในความหมายของคำว่า "มิใช่นำมาขาย" ในตอนต้นของมาตรา 79 ทวิ (1) อยู่แล้ว ไม่มีความจำเป็นอันใดจะต้องใส่คำว่า "ผลิตเพื่อขาย" ลงไปอีก และโดยเฉพาะถ้าไม่อ่านประกอบประโยคหน้าดังกล่าวเช่นนั้นแล้ว ก็จะไม่มีทางใช้ข้อยกเว้นตามข้อ (ก) ของมาตรา 79 ทวิ (1) ซึ่งบัญญัติยกเว้นในกรณีที่นำเข้ามาใช้ส่วนตัวตามปกติดและตามสมควรได้เลย ส่วนการนำเข้าซึ่งสินค้าตามประเภทการค้า 1 ชนิดอื่นอีก 8 ชนิดนั้น มาตรา 79 ทวิ วรรคแรก ให้ถือเป็นการขายสินค้าทั้งสิ้น
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1764/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดภาษีศุลกากรต้องเป็นไปตามอัตราที่ใช้ ณ เวลาเสียภาษี แม้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราในภายหลัง และสิทธิเรียกร้องเงินประกันค่าภาษี
การคิดค่าภาษีศุลกากรต้องคิดตามอัตราในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาเสียภาษี ซึ่งเจ้าพนักงานออกใบขน แม้ต่อมาประกาศใช้พิกัดอัตราใหม่โดยยังไม่ส่งของออก ก็คิดภาษีตามพิกัดใหม่ไม่ได้.
เจ้าพนักงานศุลกากรเรียกเงินประกันค่าภาษีจากผู้ขนส่งที่จะเรียกภาษีเพิ่มจากผู้ส่งของ ความจริงจะเรียกภาษีเพิ่มไม่ได้ เมื่อผู้สั่งของรับโอนสิทธิเรียกร้องในเงินนั้นและแจ้งให้กรมศุลกากรทราบแล้ว ผู้ส่งของย่อมฟ้องเรียกเงินนั้นได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1764/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีศุลกากรต้องคิดตามอัตรากฎหมายที่ใช้ ณ เวลาเสียภาษี แม้มีกฎหมายใหม่ใช้บังคับภายหลัง และสิทธิเรียกร้องเงินประกัน
การคิดค่าภาษีศุลกากรต้องคิดตามอัตราในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาเสียภาษีซึ่งเจ้าพนักงานออกใบขน แม้ต่อมาประกาศใช้พิกัดอัตราใหม่โดยยังไม่ส่งของออกก็คิดภาษีตามพิกัดใหม่ไม่ได้
เจ้าพนักงานศุลกากรเรียกเงินประกันค่าภาษีจากผู้ขนส่งที่จะเรียกภาษีเพิ่มจากผู้ส่งของ ความจริงจะเรียกภาษีเพิ่มไม่ได้ เมื่อผู้สั่งของรับโอนสิทธิเรียกร้องในเงินนั้นและแจ้งให้กรมศุลกากรทราบแล้ว ผู้ส่งของย่อมฟ้องเรียกเงินนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1393-1394/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระภาษีขาออกสำเร็จเด็ดขาดเมื่อออกใบขนสินค้า แม้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีภายหลัง
ตามพระราชบัญญัติศุลกากร 2486 มาตรา 10 กำหนดเวลาชำระหนี้ค่าภาษีของผู้ส่งของออกต้องถือว่าตกอยู่ในขณะที่พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบขนสินค้าให้
(อ้างฎีกา 476/2492)
ใบขนสินค้านั้น กรมศุลกากรออกให้แก่ผู้ขนส่งสินค้าเมื่อชำระค่าภาษี วิธีการต่อมาก็เป็นแต่เพียงการที่โจทก์ต้องนำใบขนไปให้เจ้าพนักงานของกรมศุลกากรตรวจสอบกับสินค้าว่าตรงตามใบขนนั้นหรือไม่ แล้วควบคุมสินค้านั้นไปจนถึงท่าออกเรือ เพื่อป้องกันการสับเปลี่ยนเพิ่มเติมสินค้านั้นเท่านั้น กรมศุลกากรหามีอำนาจที่จะเพิกถอนใบขนที่ได้ออกให้แล้วนั้นไม่.
โจทก์ผู้ขนส่งสินค้าลงนามในบันทึกหลังใบขนสินค้าขาออกว่า "ถ้าคำนวณตามพิกัดอัตราที่ใช้อยู่ในวันที่ 7/5/89 ข้าพเจ้าได้ชำระเงินเพิ่มเติมอีก" นั้นหาใช่เป็นการรับสภาพหนี้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1393-1394/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระภาษีศุลกากรเสร็จเด็ดขาดเมื่อออกใบขนสินค้า แม้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีภายหลัง
ตามพระราชบัญญัติศุลกากร 2486 มาตรา 10 กำหนดเวลาชำระหนี้ค่าภาษีของผู้ส่งของออกต้องถือว่าตกอยู่ในขณะที่พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบขนสินค้าให้ (อ้างฎีกา 476/2492)
ใบขนสินค้านั้น กรมศุลกากรออกให้แก่ผู้ขนส่งสินค้าเมื่อชำระค่าภาษี วิธีการต่อมาก็เป็นแต่เพียงการที่โจทก์ต้องนำใบขนไปให้เจ้าพนักงานของกรมศุลกากรตรวจสอบกับสินค้าว่าตรงตามใบขนนั้นหรือไม่ แล้วควบคุมสินค้านั้นไปจนถึงท่าออกเรือ เพื่อป้องกันการสับเปลี่ยนเพิ่มเติมสินค้านั้นเท่านั้น กรมศุลกากรหามีอำนาจที่จะเพิกถอนใบขนที่ได้ออกให้แล้วนั้นไม่
โจทก์ผู้ขนส่งสินค้าลงนามในบันทึกหลังใบขนสินค้าขาออกว่า"ถ้าคำนวณตามพิกัดอัตราที่ใช้อยู่ในวันที่ 7/5/89ข้าพเจ้าได้ชำระเงินเพิ่มเติมอีก" นั้นหาใช่เป็นการรับสภาพหนี้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 304/2478

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีไม้ขีดไฟ: เจ้าพนักงานมีอำนาจเรียกเก็บตามอัตราใหม่ แม้จะเสียภาษีเก่าแล้ว หากยังไม่ได้นำออกจากโรงงาน
ซึ่งทำในพระราชอาณาเขตต์แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2475 คำสั่งอธิบดีกรมสรรพสามิตต์ ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2474 แลวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2475 กฎหมายใหม่กับกฎหมายเก่าขัดกัน ไม้ขีดไฟที่ได้เสียภาษีแล้วตามอัตราในพระราชบัญญัติเก่าในวันที่ใช้พระราชบัญญัติใหม่แล้ว และยังมิได้นำไม้ขีดไฟออกจากโรงอุตสาหกรรม เจ้าพนักงานมีอำนาจเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมตามอัตราในกฎหมายใหม่ได้
of 4