พบผลลัพธ์ทั้งหมด 109 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีความผิดอันยอมความได้ต้องมีคำร้องทุกข์ หากไม่มีคำร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนและอัยการไม่มีอำนาจ
ในคดีความผิดอันยอมความได้ ถ้าโจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้ด้วยว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ตามระเบียบแล้ว หากจำเลยมิได้ยกข้อตอ่สู้ให้เป็นประเด็นขึ้นมาว่าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ โจทก์ก็ไม่มีข้อที่จะต้องนำสืบว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ระเบียบแล้ว แต่ถ้าโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์แล้ว ก็ไม่ทำให้ฟ้องนั้นไม่เป็นฟ้อง เพราะความข้อนี้มิใช่เป็นข้อความซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 บัญญัติให้โจทก์ต้องบรรยายมาในฟ้อง เมื่อโจทก์นำสืบว่าคดีได้มีการร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ศาลก็พิจารณาพิพากษาลงโทษจำเลยได้
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดหลายข้อหา เป็นความผิดอาญาแผ่นดินกับความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ แต่คำฟ้องของโจทก์มิได้กล่าวว่าข้อหาความผิดอันยอมความได้นี้ได้มีการร้องทุกข์ตามระเบียบแล้ว และตามคำเบิกความของผู้เสียหาย ตำรวจผู้จับกุมจำเลยและพนักงานสอบสวนก็ไม่ปรากฏว่าได้มีการร้องทุกข์ของผู้เสียหายแต่ประการใด เมื่อไม่มีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ พนักงานสอบสวนก็ไม่มีอำนาจทำการสอบสวนและพนักงานอัยการโจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดหลายข้อหา เป็นความผิดอาญาแผ่นดินกับความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ แต่คำฟ้องของโจทก์มิได้กล่าวว่าข้อหาความผิดอันยอมความได้นี้ได้มีการร้องทุกข์ตามระเบียบแล้ว และตามคำเบิกความของผู้เสียหาย ตำรวจผู้จับกุมจำเลยและพนักงานสอบสวนก็ไม่ปรากฏว่าได้มีการร้องทุกข์ของผู้เสียหายแต่ประการใด เมื่อไม่มีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ พนักงานสอบสวนก็ไม่มีอำนาจทำการสอบสวนและพนักงานอัยการโจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดอันยอมความได้ต้องมีการร้องทุกข์ หากไม่มี พนักงานสอบสวนและอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง
ในคดีความผิดอันยอมความได้ ถ้าโจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้ด้วยว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ตามระเบียบแล้ว หากจำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้ให้เป็นประเด็นขึ้นมาว่าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ โจทก์ก็ไม่มีข้อที่จะต้องนำสืบว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ตามระเบียบแล้ว แต่ถ้าโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์แล้ว ก็ไม่ทำให้ฟ้องนั้นไม่เป็นฟ้อง เพราะความข้อนี้มิใช่เป็นข้อความซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 บัญญัติให้โจทก์ต้องบรรยายมาในฟ้อง เมื่อโจทก์นำสืบว่าคดีได้มีการร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ศาลก็พิจารณาพิพากษาลงโทษจำเลยได้
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดหลายข้อหา เป็นความผิดอาญาแผ่นดินกับความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ แต่คำฟ้องของโจทก์มิได้กล่าวว่าข้อหาความผิดอันยอมความได้นี้ได้มีการร้องทุกข์ตามระเบียบแล้ว และตามคำเบิกความของผู้เสียหาย ตำรวจผู้จับกุมจำเลยและพนักงานสอบสวนก็ไม่ปรากฏว่าได้มีการร้องทุกข์ของผู้เสียหายแต่ประการใด เมื่อไม่มีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ พนักงานสอบสวนก็ไม่มีอำนาจทำการสอบสวนและพนักงานอัยการโจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดหลายข้อหา เป็นความผิดอาญาแผ่นดินกับความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ แต่คำฟ้องของโจทก์มิได้กล่าวว่าข้อหาความผิดอันยอมความได้นี้ได้มีการร้องทุกข์ตามระเบียบแล้ว และตามคำเบิกความของผู้เสียหาย ตำรวจผู้จับกุมจำเลยและพนักงานสอบสวนก็ไม่ปรากฏว่าได้มีการร้องทุกข์ของผู้เสียหายแต่ประการใด เมื่อไม่มีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ พนักงานสอบสวนก็ไม่มีอำนาจทำการสอบสวนและพนักงานอัยการโจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1251/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าฤชาธรรมเนียมในคดีที่จำเลยเป็นข้าราชการและแต่งตั้งอัยการเป็นทนาย
จำเลยถูกฟ้องเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการ และได้แต่งตั้งพนักงานอัยการให้เป็นทนายความแก้ต่างตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 61 เมื่อจำเลยชนะคดี ศาลมีอำนาจที่จะให้โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงรวมทั้งค่าทนายความตามตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ให้แก่จำเลยได้ตามมาตรา 161 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1251/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งอัยการเป็นทนายความในคดีราชการ และสิทธิในการเรียกร้องค่าฤชาธรรมเนียมจากฝ่ายแพ้
จำเลยถูกฟ้องเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการ และได้แต่งตั้งพนักงานอัยการให้เป็นทนายความแก้ต่างตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 61 เมื่อจำเลยชนะคดี ศาลมีอำนาจที่จะให้โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงรวมทั้งค่าทนายความตามตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ให้แก่จำเลยได้ตามมาตรา 161 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 707/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องเพื่อเข้าร่วมเป็นโจทก์ร่วมกับอัยการ และความผิดฐานฉ้อโกงที่ต้องมีเจตนาหลอกลวง
ผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องจำเลยฐานฉ้อโกงไว้แล้ว ต่อมาพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องจำเลยด้วยเรื่องเดียวกันนั้นเป็นคดีใหม่ ผู้เสียหายจึงถอนฟ้องคดีที่ผู้เสียหายได้ฟ้องไว้แล้วขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีที่พนักงานอัยการฟ้อง เห็นได้ว่าการที่ผู้เสียหายถอนฟ้องดังกล่าวก็เพื่อจะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีที่พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องจำเลยนั่นเอง มิใช่เป็นการถอนฟ้องเด็ดขาดตามความหมายในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36 พนักงานอัยการจึงยังมีอำนาจฟ้องจำเลยและสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของผู้เสียหายจึงไม่ระงับไป จึงมีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ
จำเลยเอาเงินของผู้เสียหายไป อ้างว่าเพื่อนำไปซื้อเบี้ยเลี้ยงตำรวจและจะให้ผลประโยชน์แก่ผู้เสียหาย เป็นเรื่องที่จำเลยยืมเงินไปโดยให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินนั้นเพื่อกิจการของจำเลยเองในโอกาสข้างหน้า มิได้เอาความเท็จมากล่าวหรือแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริงซึ่งมีอยู่แล้วในขณะนั้น แม้จำเลยไม่เอาเงินนั้นไปซื้อเบี้ยเลี้ยงตำรวจ ก็เป็นเรื่องผิดคำมั่นสัญญาเท่านั้น ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง
จำเลยเอาเงินของผู้เสียหายไป อ้างว่าเพื่อนำไปซื้อเบี้ยเลี้ยงตำรวจและจะให้ผลประโยชน์แก่ผู้เสียหาย เป็นเรื่องที่จำเลยยืมเงินไปโดยให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินนั้นเพื่อกิจการของจำเลยเองในโอกาสข้างหน้า มิได้เอาความเท็จมากล่าวหรือแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริงซึ่งมีอยู่แล้วในขณะนั้น แม้จำเลยไม่เอาเงินนั้นไปซื้อเบี้ยเลี้ยงตำรวจ ก็เป็นเรื่องผิดคำมั่นสัญญาเท่านั้น ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีอาญาโดยผู้เสียหายเพื่อร่วมเป็นโจทก์กับอัยการ ไม่ตัดสิทธิอัยการในการฟ้องคดีใหม่
การถอนฟ้องของผู้เสียหายในคดีความผิดต่อส่วนตัวที่จะเป็นการตัดสิทธิพนักงานอัยการที่ยื่นฟ้องคดีใหม่นั้น ต้องเป็นการถอนฟ้องเด็ดขาด
ผู้เสียหายถอนฟ้องคดีความผิดต่อส่วนตัว เพื่อไปเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการในสำนวนคดีเรื่องเดียวกัน หาใช่เป็นการถอนฟ้องเด็ดขาดตามความหมายในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36 ไม่ จึงไม่ตัดสิทธิพนักงานอัยการที่จะยื่นฟ้องคดีใหม่
ผู้เสียหายถอนฟ้องคดีความผิดต่อส่วนตัว เพื่อไปเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการในสำนวนคดีเรื่องเดียวกัน หาใช่เป็นการถอนฟ้องเด็ดขาดตามความหมายในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36 ไม่ จึงไม่ตัดสิทธิพนักงานอัยการที่จะยื่นฟ้องคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีอาญาเพื่อเป็นโจทก์ร่วม ไม่ตัดสิทธิอัยการฟ้องคดีซ้ำ
ผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องคดีซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวแล้วได้ถอนฟ้องเสีย การถอนฟ้องนี้จะตัดสิทธิพนักงานอัยการที่จะยื่นฟ้องคดีนั้นใหม่ต่อเมื่อเป็นการถอนฟ้องไปเป็นการเด็ดขาดถ้าถอนฟ้องเพื่อจะเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการเมื่อพนักงานอัยการฟ้องจำเลยในคดีเรื่องเดียวกันนั้น ไม่เป็นการถอนฟ้องตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36(3) พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องคดีนั้นใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของอัยการและขอบเขตการคุ้มครองผลประโยชน์มรดก
เดิมพนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่โดย ป.ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัดเชียงใหม่เป็นโจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกมีพินัยกรรมของ ค.จากจำเลยซึ่งเป็นบุพพการีของ บ.โดยอาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534. ต่อมาป.ย้ายไปรับราชการประจำกรมอัยการ ดังนี้ เห็นว่าป.เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะพนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่ มิได้ฟ้องเป็นส่วนตัว โดยได้รับมอบอำนาจจากบรรดาทายาท. ฉะนั้น ในการดำเนินคดี หากป.ไม่อยู่หรือถูกย้ายไปพนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่คนอื่นๆ ก็มีอำนาจดำเนินคดีแทนป.ได้โดยไม่ต้องได้รับมอบอำนาจจากป.อีก.
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาบังคับจำเลยแบ่งที่นาพิพาทให้แก่บรรดาทายาทตามพินัยกรรมของค.. จำเลยต่อสู้ว่าที่นาพิพาททั้งหมดเป็นของจำเลย มิใช่มรดกของค.. ดังนี้คำฟ้องและคำขอของโจทก์เพียงขอให้แบ่งที่นาพิพาทบางส่วนแก่ทายาทตามพินัยกรรมของค.เท่านั้น มิได้ฟ้องและมีคำขอให้ใช้ค่าเสียหายในการที่บรรดาทายาทมิได้รับประโยชน์จากที่นาพิพาทในระหว่างคดี. ฉะนั้น การที่โจทก์ร้องขอให้ตั้งผู้จัดการผลประโยชน์ที่นาพิพาทเพื่อรวบรวมผลประโยชน์ในระหว่างคดีแบ่งให้แก่ทายาท จึงเป็นการนอกฟ้องและเกินคำขอ.
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาบังคับจำเลยแบ่งที่นาพิพาทให้แก่บรรดาทายาทตามพินัยกรรมของค.. จำเลยต่อสู้ว่าที่นาพิพาททั้งหมดเป็นของจำเลย มิใช่มรดกของค.. ดังนี้คำฟ้องและคำขอของโจทก์เพียงขอให้แบ่งที่นาพิพาทบางส่วนแก่ทายาทตามพินัยกรรมของค.เท่านั้น มิได้ฟ้องและมีคำขอให้ใช้ค่าเสียหายในการที่บรรดาทายาทมิได้รับประโยชน์จากที่นาพิพาทในระหว่างคดี. ฉะนั้น การที่โจทก์ร้องขอให้ตั้งผู้จัดการผลประโยชน์ที่นาพิพาทเพื่อรวบรวมผลประโยชน์ในระหว่างคดีแบ่งให้แก่ทายาท จึงเป็นการนอกฟ้องและเกินคำขอ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ศาลในการรับรองอุทธรณ์และการส่งสำนวนไปยังอธิบดีอัยการ: ผู้ต้องดำเนินการเอง
การอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่ส่งสำนวนและอุทธรณ์ไปให้อธิบดีกรมอัยการพิจารณารับรองตามคำร้องของโจทก์ร่วมนั้น ผู้อุทธรณ์ต้องทำเป็นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 และชอบที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยโดยทำเป็นคำพิพากษามิใช่ทำเป็นคำสั่ง แต่โดยที่ศาลอุทธรณ์ได้ทำคำสั่งโดยผู้พิพากษาสองนาย เพียงแต่ผิดแบบเฉพาะการทำเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งจึงไม่จำเป็นที่จะให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ (อ้างฎีกาที่ 1244/2503)
การที่จะให้อธิบดีกรมอัยการรับรองอุทธรณ์นั้น กฎหมายมิได้บัญญัติให้ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ต้องส่งอุทธรณ์ไปให้อธิบดีกรมอัยการรับรอง การรับรองอุทธรณ์เป็นประโยชน์แก่ผู้อุทธรณ์เอง ผู้อุทธรณ์จึงต้องขวนขวายขอร้องไปยังอธิบดีกรมอัยการเอง หาใช่อาศัยศาลเป็นเครื่องมือส่งต่อไปยังอธิบดีกรมอัยการไม่ (อ้างฎีกาที่ 656/2506)
การที่จะให้อธิบดีกรมอัยการรับรองอุทธรณ์นั้น กฎหมายมิได้บัญญัติให้ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ต้องส่งอุทธรณ์ไปให้อธิบดีกรมอัยการรับรอง การรับรองอุทธรณ์เป็นประโยชน์แก่ผู้อุทธรณ์เอง ผู้อุทธรณ์จึงต้องขวนขวายขอร้องไปยังอธิบดีกรมอัยการเอง หาใช่อาศัยศาลเป็นเครื่องมือส่งต่อไปยังอธิบดีกรมอัยการไม่ (อ้างฎีกาที่ 656/2506)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ศาลในการรับรองอุทธรณ์และการส่งเรื่องให้อธิบดีอัยการ ผู้ต้องดำเนินการเอง
การอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่ส่งสำนวนและอุทธรณ์ไปให้อธิบดีกรมอัยการพิจารณารับรองตามคำร้องของโจทก์ร่วมนั้นผู้อุทธรณ์ต้องทำเป็นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 และชอบที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยโดยทำเป็นคำพิพากษามิใช่ทำเป็นคำสั่งแต่โดยที่ศาลอุทธรณ์ได้ทำคำสั่งโดยผู้พิพากษาสองนาย เพียงแต่ผิดแบบเฉพาะการทำเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งจึงไม่จำเป็นที่จะให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่(อ้างฎีกาที่ 1244/2503)
การที่จะให้อธิบดีกรมอัยการรับรองอุทธรณ์นั้น กฎหมายมิได้บัญญัติให้ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ต้องส่งอุทธรณ์ไปให้อธิบดีกรมอัยการรับรองการรับรองอุทธรณ์เป็นประโยชน์แก่ผู้อุทธรณ์เองผู้อุทธรณ์จึงต้องขวนขวายขอร้องไปยังอธิบดีกรมอัยการเองหาใช่อาศัยศาลเป็นเครื่องมือส่งต่อไปยังอธิบดีกรมอัยการไม่ (อ้างฎีกาที่ 656/2506)
การที่จะให้อธิบดีกรมอัยการรับรองอุทธรณ์นั้น กฎหมายมิได้บัญญัติให้ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ต้องส่งอุทธรณ์ไปให้อธิบดีกรมอัยการรับรองการรับรองอุทธรณ์เป็นประโยชน์แก่ผู้อุทธรณ์เองผู้อุทธรณ์จึงต้องขวนขวายขอร้องไปยังอธิบดีกรมอัยการเองหาใช่อาศัยศาลเป็นเครื่องมือส่งต่อไปยังอธิบดีกรมอัยการไม่ (อ้างฎีกาที่ 656/2506)