คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อากรขาเข้า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5201/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินอากรขาเข้าเพิ่มเติมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้เสียภาษีมีสิทธิเรียกเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนด
จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินในส่วนของภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลพร้อมเงินเพิ่มต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ตามที่กำหนดในประมวลรัษฎากร มาตรา 30 ภาษีส่วนนี้จึงยุติตามที่ได้ประเมินจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง เงินประกันค่าอากรขาเข้าที่ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระแทนจำเลยให้แก่โจทก์นั้นเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่โจทก์วางไว้ กรณีมิใช่เรื่องที่โจทก์ได้ทรัพย์มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้การฟ้องแย้งเรียกค่าอากรขาเข้าคืนจึงมิใช่การฟ้องเรียกคืนฐานลาภมิควรได้ ไม่ต้องห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้น 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 การที่จำเลยเรียกคืนเงินอากรขาเข้าที่ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระแทนจำเลยไปตามที่โจทก์ประเมินและแจ้งให้ชำระเพิ่มนั้น มิใช่กรณีใช้สิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรขาเข้าเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงก่อนนำของออกไปจากอารักขาของศุลกากร ซึ่งสิทธิเรียกร้องจะสิ้นไปเมื่อครบกำหนด 2 ปี นับจากวันที่นำของเข้า ตามที่บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคสุดท้าย แต่เป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ประเมินและแจ้งให้จำเลยชำระค่าอากรขาเข้าเพิ่มเติมภายหลังจากนำของออกไปจากอารักขาของศุลกากรแล้ว และธนาคารผู้ค้ำประกันได้ชำระแทนจำเลย ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 เดิม (มาตรา 193/30 ใหม่) และการนับอายุความนั้นให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจจะบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปอายุความสิทธิเรียกร้องเงินค่าอากรขาเข้าคืนของจำเลยจึงเริ่มนับแต่วันที่ 7 เมษายน 2532 ที่ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระเงินให้แก่โจทก์ จำเลยนำคดีมาฟ้องแย้งเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2535ยังไม่พ้น 10 ปี จึงไม่ขาดอายุความ และจำเลยมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าอากรขาเข้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์เรียกเก็บไปในอัตราร้อยละ 0.625 ต่อเดือน ตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 112 จัตวา วรรคสุดท้าย โดยไม่ต้องพิจารณาว่าจำเลยได้ทวงถามและโจทก์ผิดนัดหรือไม่ แต่จำเลยขอดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จึงให้ดอกเบี้ยตามอัตราที่ขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3148/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินอากรขาเข้าที่มิชอบ และสิทธิในการขอคืนเงินอากรที่ชำระเกิน
พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยไม่พอใจราคาสินค้าที่โจทก์สำแดงจึงให้โจทก์ชำระอากรตามสำแดงและให้วางประกันเงินค่าอากรอีกส่วนหนึ่ง ได้มีการส่งมอบสินค้าให้โจทก์รับไปแล้ว ต่อมาพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินให้โจทก์ชำระอากรขาเข้าเพิ่ม โจทก์ได้ชำระอากรเพิ่มตามที่ได้รับแบบแจ้งการประเมิน การชำระเงินค่าอากรเพิ่มเป็นการชำระหลังจากได้รับมอบสินค้าแล้ว จึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคห้า แม้โจทก์มิได้สงวนสิทธิในการฟ้องร้องหรือเรียกร้องเงินจำนวนนี้คืนและมิได้บอกกล่าวให้จำเลยคืนเงินตามฟ้องก่อนนั้น ก็มิได้ตัดสิทธิในการฟ้องคดี
เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิอย่างใดในเงินอากรขาเข้าที่เรียกเก็บตามฟ้องนั้น จำเลยย่อมมีหน้าที่จะต้องคืนเงินจำนวนเท่าที่โจทก์ชำระไปให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.625 ต่อเดือนของจำนวนที่ต้องคืนโดยไม่คิดทบต้น นับแต่วันที่ได้ชำระค่าอากรหรือวางประกันค่าอากรครั้งสุดท้ายตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวาวรรคท้าย ซึ่งคดีนี้โจทก์ขอเรียกดอกเบี้ยมาในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของจำนวนเงินที่เจ้าพนักงานของจำเลยเรียกไว้เกินจำนวนอันจะพึงต้องเสียนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จเท่านั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การประเมินภาษีอากรขาเข้าจะชอบหรือไม่ต้องพิจารณาว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของราคาสินค้าเป็นจำนวนเท่าใด เมื่อข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบฟังได้ว่าโจทก์ได้สำแดงราคาสินค้าพิพาทเท่าที่โจทก์ซื้ออันอนุมานได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้อง-ตลาด ที่จำเลยอ้างว่าต่ำกว่าราคาประเมินที่จำเลยกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ พนักงานเจ้า-หน้าที่ของจำเลยจึงประเมินภาษีอากรขาเข้าตามคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 47/2531ข้อ 1.8 ที่ใช้ราคานำเข้าสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาไม่เกิน 6 เดือนนั้น จำเลยไม่ได้นำสืบให้ประจักษ์ว่าสินค้าพิพาทมีราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเป็นจำนวนเท่าใด หลักฐานที่ว่ามีผู้นำเข้ารายอื่นในช่วง 6 เดือนดังกล่าวไม่มีในเอกสารที่ส่ง จึงเป็นการไม่แน่นอนว่าจะเป็นสินค้าชนิดและประเภทเดียวกับสินค้าพิพาทหรือไม่ ยังฟังไม่ได้ว่าราคาที่เจ้า-พนักงานของจำเลยประเมินเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด การประเมินราคาสินค้าพิพาท และประเมินภาษีอากรขาเข้าของจำเลยจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3822/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินและเรียกเก็บอากรขาเข้าหลังเลิกกิจการ การหักค่าเสื่อมราคา และการคำนวณเงินเพิ่มอากร
จำเลยเลิกกิจการเพราะขาดทุนซึ่งตาม พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 มาตรา 56 มิได้กล่าวถึงการเลิกกิจการอันจะถือว่าสิทธิประโยชน์ตามบัตรส่งเสริมถูกเพิกถอนและมิได้บัญญัติให้เรียกเก็บภาษีอากรอย่างไร เมื่อสิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากรที่จำเลยได้รับตามบัตรส่งเสริมถูกยกเลิกเพราะการเลิกกิจการจึงต้องบังคับตาม พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503มาตรา 10 วรรคแรก โดยถือราคาและอัตราอากรที่เป็นอยู่ในวันที่สิทธิได้รับยกเว้นอากรของผู้ได้รับบัตรส่งเสริมสิ้นสุดลงเป็นเกณฑ์ในการคำนวณอากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2704/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินอากรขาเข้า: แม้ใช้แบบพิมพ์ผิด แต่หากปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่นครบถ้วน กรมศุลกากรต้องคืนเงินให้
การยื่นคำร้องขอคืนเงินอากรตามมาตรา 19แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482ก่อนถูกยกเลิกโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 329 นั้นผู้นำเข้าจะต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนถูกต้องตามข้อบังคับที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดไว้ หากไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนกฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าห้ามมิให้รับพิจารณาคำร้องขอคืนเงินอากร แต่มาตรา 19 วรรคท้าย ที่บัญญัติขึ้นใหม่โดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 329 ข้อ 18 มิได้มีบทบัญญัติห้ามมิให้พิจารณาคำขอคืนเงินอากรในกรณีที่มิได้ปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนไว้ แสดงว่าการขอคืนเงินอากรตามมาตรา 19ที่บัญญัติขึ้นใหม่นี้กฎหมายมิได้ถือเอาการปฏิบัติตามข้อบังคับของอธิบดีกรมศุลกากรโดยถูกต้องครบถ้วนเป็นเงื่อนไขหนึ่งในการพิจารณาคืนเงินอากรให้แก่ผู้นำเข้าเหมือนที่เคยบัญญัติไว้เดิม ดังนั้น หากโจทก์ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในมาตรา 19(ก)ถึง(ง) แล้ว จำเลยจะยกเอาเหตุที่โจทก์ยื่นคำขอคืนเงินอากรโดยใช้แบบพิมพ์ผิดไปจากแบบที่อธิบดีของจำเลยได้กำหนดไว้มาเป็นข้ออ้างในการปฏิเสธไม่คืนเงินอากรให้แก่โจทก์หาได้ไม่ แม้โจทก์ยื่นคำขอคืนเงินอากรตามแบบที่ 226 ง. ซึ่งเป็นแบบที่ใช้ขอคืนเงินอากรตามมาตรา 19 ทวิแห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 แทนที่จะยื่นคำขอคืนเงินอากรตามแบบที่ 226 แต่โจทก์ก็ยื่นคำขอดังกล่าวภายในหกเดือนนับแต่วันที่ส่งของนั้นกลับออกไปยังเมืองต่างประเทศ ถือได้ว่าโจทก์ได้ขอคืนเงินอากรภายในกำหนดเวลาตามเงื่อนไขในมาตรา 19(ง) แล้ว จำเลยจึงต้องคืนเงินภาษีอากรตามฟ้องให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3148/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการขอคืนอากรขาเข้า: การประเมินราคาและกำหนดเวลาฟ้องร้อง
การที่พนักงานเจ้าหน้าที่กองพิธีการและประเมินอากรของจำเลยในฐานะเจ้าพนักงานประเมินตามประกาศกระทรวงการคลัง ฯ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่25 ตุลาคม 2513 สั่งให้โจทก์แก้ไขเพิ่มราคาสินค้าในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้านั้น ถือได้ว่าเป็นการแจ้งการประเมินให้โจทก์ต้องชำระอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล ตามฐานราคาสินค้าที่สั่งให้โจทก์แก้นั่นเองโจทก์จึงต้องอุทธรณ์การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน จึงจะมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา30 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528มาตรา 8
สิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรขาเข้าเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงตามมาตรา 10 วรรคห้า แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากรพ.ศ.2469 นั้น ไม่ว่าจะเป็นเพราะเสียไว้เกินโดยไม่มีข้อโต้แย้งใด ๆ หรือเป็นเพราะยังมีข้อโต้แย้งกันเกี่ยวกับราคาแห่งของที่นำเข้านั้นก็ตาม จะต้องใช้สิทธิเรียกร้องขอคืนภายในกำหนดสองปี นับจากวันนำของเข้าทั้งสิ้น แต่ในกรณีที่เสียไว้เกินเพราะเหตุอันเกี่ยวกับราคาแห่งของที่นำเข้านั้น นอกจากจะต้องใช้สิทธิเรียกร้องขอคืนภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ผู้นำเข้ายังต้องแจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบ หรือเป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พึงต้องรู้อยู่ก่อนส่งมอบว่าอากรที่ชำระไว้นั้นเกินจำนวนที่พึงต้องเสียสำหรับของที่ส่งมอบอีกด้วยจึงจะมีสิทธิขอคืนเงินอากรได้
การที่เจ้าพนักงานประเมินอากรของจำเลยสั่งให้โจทก์เพิ่มราคาของให้สูงขึ้น โจทก์ยอมปฏิบัติตามและเสียอากรตามราคาของที่เพิ่มขึ้น แล้วมาฟ้องเรียกอากรในส่วนที่เสียเพิ่มขึ้น โดยอ้างว่าราคาของที่เจ้าพนักงานประเมินสั่งให้โจทก์เพิ่มสูงขึ้นนั้นไม่ใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จำนวนอากรที่โจทก์เสียเพิ่มขึ้นตามราคาของจึงไม่ถูกต้อง จำเลยต้องคืนให้แก่โจทก์นั้น ถือได้ว่าเป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียโดยมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับราคาของตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 10 วรรคห้า เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ค่าอากรที่โจทก์เรียกคืนตามใบขนสินค้าขาเข้านั้น โจทก์นำเข้าเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2530 และวันที่ 24 กันยายน2530 แต่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าอากรคืนเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2532 เกินกำหนดสองปีนับแต่วันนำเข้า คดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 112/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินอากรขาเข้า: ราคา CIF เป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดได้ แม้ราคาจะต่ำกว่าผู้นำเข้ารายอื่น
หลักเกณฑ์การประเมินอากรตามคำสั่งเฉพาะกรมศุลกากร ที่14/2524 กับคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 8/2530 สำหรับประเมินอากรที่โจทก์จะต้องชำระในกรณีที่เจ้าพนักงานของจำเลยเห็นว่าราคาที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าต่ำกว่าราคาที่เคยมีผู้นำเข้าก่อนหน้านั้น ที่ให้ใช้ราคานำเข้าสูงสุดที่มีผู้นำเข้าภายในระยะ3 เดือน ก่อนที่โจทก์นำเข้าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดนั้นถือไม่ได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด สินค้าที่โจทก์นำเข้าเป็นผลิตภัณฑ์อันเกิดจากผลพลอยได้ในการผลิตน้ำมัน และราคาน้ำมันในท้องตลาดมีขึ้นลงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอทำให้ผลิตภัณฑ์พลอยได้จากน้ำมันขึ้นลงตามไปด้วย ราคาสูงและต่ำในการนำเข้าแต่ละครั้งจึงเป็นราคาสินค้าขาเข้าซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาและสถานที่ที่ของนำเข้าโดยไม่มีหักทอนและลดหย่อนราคา ถือได้ว่าราคาที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าตามราคา ซี.ไอ.เอฟ.เป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3847/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อากรขาเข้า-ภาษีการค้า น้ำมันปาล์ม ร.บ.ดี. ไม่พึงบริโภค โจทก์ต้องเสียอากรในอัตราที่ถูกต้อง
แม้ว่าทนายจำเลยจะไม่ได้แถลงเพื่อขอให้ศาลดำเนินการอย่างไรในการส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ตามคำสั่งศาลชั้นต้นก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าทนายจำเลยได้วางเงินค่านำหมาย มีการดำเนินการและจัดส่งสำเนาฎีกาให้แก่โจทก์เรียบร้อยแล้ว กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะจำหน่ายฎีกาของจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2) ประกอบด้วยมาตรา 132(1) น้ำมันปาล์มอาร์.บี.ดี. ที่โจทก์นำเข้า ประชาชนไม่นิยมบริโภคเพราะจะทำให้ไขมันในเส้นเลือดสูง ทำให้เส้นเลือดอุดตัน เป็นโรคหัวใจได้ง่าย โดยจะทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดหล่อเลี้ยงและทำให้หัวใจวายถึงแก่ความตายได้ จึงเป็นน้ำมันปาล์มชนิดที่ไม่พึงบริโภค ซึ่งตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503จัดอยู่ในพิกัดอัตราประเภทที่ 15.07 ค. ในอัตราน้ำมันปาล์มชนิดที่ไม่พึงบริโภค โจทก์จึงต้องเสียอากรขาเข้าในอัตราลิตรละ 1.32 บาทมิใช่ลิตรละ 2 บาท ซึ่งเป็นน้ำมันปาล์มชนิดที่พึงบริโภค แม้ว่าน้ำมันปาล์มอาร์.บี.ดี.ที่โจทก์นำเข้าจะเป็นน้ำมันปาล์มชนิดที่ไม่พึงบริโภค แต่โดยสภาพยังเป็นน้ำมันปรุงอาหารอยู่การที่โจทก์ต้องนำไปทำการผลิตโดยกรรมวิธีใหม่เพื่อแยกส่วนข้นออกจากส่วนใส ก็เป็นเพียงเพื่อให้เป็นที่นิยมของผู้บริโภคจะได้จำหน่ายได้มากขึ้น อันเป็นนโยบายทางด้านการค้าของโจทก์ไม่ทำให้น้ำมันปาล์มอาร์.บี.ดี.เปลี่ยนสภาพไปเป็นน้ำมันที่ไม่ใช้ปรุงอาหารแต่อย่างใด เมื่อน้ำมันปาล์มอาร์.บี.ดี. พิพาท เป็นน้ำมันปรุงอาหารตามที่ระบุไว้ในบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 บัญชีที่ 1 หมวด 1(5) และเป็นสินค้าที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรมิใช่เป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักรและส่งออกนอกราชอาณาจักรโดยผู้ผลิตเป็นผู้ส่งออก โจทก์จึงไม่ได้รับการลดอัตราภาษีการค้าตามมาตรา 7(1) และ (4) แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2368/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกเก็บเงินเพิ่มค่าอากรขาเข้าและดอกเบี้ยจากผู้ประกอบการที่ผิดนัดชำระภาษีอากร
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยผู้นำสินค้าเข้าชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนของอากรขาเข้าจำนวน 1,050,684.10 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแต่ในคำฟ้องของโจทก์และตามทางนำสืบของโจทก์มิได้สืบให้เห็นว่าเงินค่าอากรขาเข้าที่ค้างชำระโดยไม่รวมเงินเพิ่มจำนวนเท่าใด เมื่อไม่ทราบจำนวนเงินอากรขาเข้าที่จะใช้เป็นฐานในการกำหนดเงินเพิ่มได้เช่นนี้แล้ว ก็ย่อมไม่อาจให้จำเลยชำระเงินเพิ่มจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จตามที่โจทก์ขอได้ ประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิ บัญญัติถึงความรับผิดของผู้เสียภาษีที่ผิดนัดไม่ชำระค่าภาษีอากรไว้โดยเฉพาะแล้ว หากผู้ประกอบการค้าไม่ชำระภาษีภายในกำหนดต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1 ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ เมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้รับผิดไว้โดยเฉพาะเช่นนี้แล้ว จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเรื่องดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดใน ป.พ.พ. อันเป็นบทบัญญัติทั่วไปมาใช้บังคับอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3761/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินอากรขาเข้าผิดพลาดจากความคลาดเคลื่อนในการแปลและสินค้าที่ส่งมอบไม่ตรงตามสั่งซื้อ ศาลฎีกาแก้ไขดอกเบี้ยตามคำฟ้อง
โจทก์สำแดงรายการสินค้าในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าเป็นภาษาไทยว่าสินค้าที่โจทก์นำเข้าคืออุปกรณ์ของปากกา ยี่ห้อ เรโนลด์ ชนิด 094 ความจริงสินค้าที่โจทก์นำเข้าคือปากกาลูกลื่น ยี่ห้อเรโนลด์ ชนิด 093 เมื่อปรากฏว่าเหตุที่ระบุว่าเป็นอุปกรณ์ของปากกาเป็นเพราะผู้ทำใบขนแปลเป็นภาษาไทยผิดพลาด และที่เป็นปากกาลูกลื่นชนิด 093 เพราะผู้ขายส่งมาให้ผิดไปจากที่โจทก์สั่งซื้อ ดังนี้ เมื่อปากกาทั้งสองชนิดมีราคาเท่ากัน การที่ผู้ขายส่งปากกาชนิด 093 มาให้ก็ไม่ทำให้อากรขาเข้าเปลี่ยนแปลงไป การที่จำเลยประเมินให้โจทก์ชำระอากรขาเข้าเพิ่มขึ้น จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำฟ้องของโจทก์ขอให้จำเลยคืนอากรขาเข้าพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องคือวันที่ 23 พฤษภาคม 2531 การที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยคืนอากรขาเข้าพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 30 กรกฎาคม 2529 จึงเป็นการพิพากษาให้จำเลยชำระเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องปัญหานี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3761/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินอากรขาเข้าผิดพลาดจากความคลาดเคลื่อนในการระบุชนิดสินค้า แม้สินค้าไม่ตรงตามที่สั่งซื้อแต่ราคาเท่ากัน อากรไม่เปลี่ยนแปลง
โจทก์สำแดงรายการสินค้าในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าเป็นภาษาไทยว่าสินค้าที่โจทก์นำเข้าคืออุปกรณ์ของปากกายี่ห้อเรโนลด์ชนิด 094 ความจริงสินค้าที่โจทก์นำเข้าคือปากกาลูกลื่นยี่ห้อเรโนลด์ชนิด 093 เหตุที่ระบุว่าเป็นอุปกรณ์ของปากกาเป็นเพราะผู้ทำใบขนแปลเป็นภาษาไทยผิดพลาด และที่ปากกาลูกลื่นชนิด 093มิใช่ปากกาลูกลื่นชนิด 094 เป็นเพราะผู้ขายส่งมาให้ผิดจากที่โจทก์สั่งซื้อ ดังนี้ แม้จะเป็นสินค้าคนละชนิดกับที่โจทก์สั่งซื้อแต่เมื่อปากกาทั้งสองชนิดมีราคาเท่ากัน การที่ผู้ขายส่งปากกาชนิด 093 มาให้ก็ไม่ทำให้อากรขาเข้าเปลี่ยนแปลงไปที่จำเลยประเมินให้โจทก์ชำระอากรขาเข้าเพิ่มขึ้นจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำฟ้องของโจทก์ขอให้จำเลยคืนอากรขาเข้าพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง คือวันที่ 23 พฤษภาคม 2531 การที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยคืนอากรขาเข้าพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 30 กรกฎาคม 2529จึงเป็นการพิพากษาให้จำเลยชำระเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
of 5