คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อาคารชุด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 105 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 32/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาคารชุด & หน้าที่ชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลาง แม้บริการไม่ครบถ้วน
พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 มาตรา 35กำหนดให้นิติบุคคลอาคารชุดมีผู้จัดการคนหนึ่ง ซึ่งจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ ในกรณีที่เป็นนิติบุคคลให้นิติบุคคลนั้นแต่งตั้งบุคคลธรรมดาเป็นผู้ดำเนินการแทนนิติบุคคลในฐานะผู้จัดการ เมื่อบริษัท ย. เป็นผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดโจทก์ โดยมี บ. เป็นผู้ดำเนินการแทนบริษัท ย.บ. จึงเป็นผู้จัดการของโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีซึ่งเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ในการจัดการดูแลทรัพย์ส่วนกลาง แก่เจ้าของร่วมแทนโจทก์ตามข้อบังคับของโจทก์ได้ พระราชบัญญัติอาคารชุดฯ มาตรา 18 กำหนดให้เจ้าของร่วมต้องร่วมกันออกค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการบริการส่วนรวมและที่เกิดจากเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันตามส่วนแห่งประโยชน์ที่มีต่อห้องชุด และมาตรา 17ระบุให้การจัดการและการใช้ทรัพย์ส่วนกลางให้เป็น ไปตามกฎหมายดังกล่าวและตามข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุด ดังนั้น จำเลยจึงมีหน้าที่ตามกฎหมายต้องชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางมิใช่เป็นเรื่องสัญญาต่างตอบแทนเมื่อไม่ปรากฏข้อยกเว้นการชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางไว้เป็นพิเศษ จำเลยจึงต้องชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลาง จะอ้างว่าโจทก์ไม่เปิดไฟฟ้าและเครื่องปรับอากาศส่วนกลางในชั้นที่จำเลยอาศัยอยู่มาเป็นข้ออ้างไม่ชำระค่าใช้จ่ายไม่ได้ หากจำเลยเห็นว่าโจทก์ปฏิบัติผิดหน้าที่อย่างใด จำเลยต้องไปว่ากล่าวเป็นอีกกรณีหนึ่งต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1463/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณรายได้จากสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด และการจำหน่ายเครื่องเรือนประกอบอาคารชุดภายใต้กฎหมายภาษีอากร
ตามสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดที่โจทก์ทำไว้กับผู้จะซื้อมีข้อตกลงให้ผู้จะซื้อจะต้องชำระราคาเป็นงวด ข้อตกลงดังกล่าว เป็นเรื่องของการกำหนดราคาค่าห้องชุดว่ามีราคาเท่าใด และจะชำระราคาห้องชุดกันอย่างไร ซึ่งเงินที่ผู้จะซื้อ ชำระให้แก่โจทก์ในฐานะผู้จะขายนั้นไม่ว่าจะเป็นเงินที่ชำระ ในวันทำสัญญาเป็นรายงวดหรือวันโอนกรรมสิทธิ์ก็ตาม เงินจำนวนดังกล่าวก็เป็นส่วนหนึ่งของราคาห้องชุดตามที่ ตกลงกันไว้แต่แรก หาใช่เงินมัดจำที่ผู้จะซื้อวางไว้ในการ เข้าทำสัญญาไม่ เมื่อโจทก์ใช้ระบบบัญชีเกณฑ์สิทธิในการ คำนวณกำไรสุทธิ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำค่าห้องชุดที่ ผู้จะซื้อชำระให้แก่โจทก์ในฐานะผู้จะขาย ไม่ว่าจะชำระ ในวันทำสัญญาหรือชำระเป็นรายงวดมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเพราะเป็นรายได้ของโจทก์ที่เกิดขึ้นแล้วในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 วรรคสอง โจทก์ไม่ได้บังคับผู้จะซื้อให้ต้องซื้อห้องชุดพร้อมกับเครื่องเรือน ซึ่งในการทำสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวโจทก์ได้แยกราคาห้องชุดและราคาของเครื่องเรือนออกจากกัน ชัดแจ้ง ดังนั้น เครื่องเรือนที่ขายไปพร้อมห้องชุดจึงมี ลักษณะซื้อมาขายไปและมีสภาพแยกออกจากกันกับห้องชุด ถือไม่ได้ว่าการจำหน่ายเครื่องเรือนในลักษณะเช่นนั้นเป็นการ ขายอสังหาริมทรัพย์ด้วย โจทก์จึงไม่จำต้องนำรายรับในการจำหน่ายเครื่องเรือนที่จำหน่ายพร้อมกับห้องชุดไปรวมคำนวณเสียภาษีการค้า ประมวลรัษฎากร มาตรา 77 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นได้นิยามคำว่า "ขาย" ไว้ว่าหมายความรวมถึงสัญญาจะขายขายฝาก แลกเปลี่ยน ให้เช่าซื้อ หรือจำหน่ายจ่ายโอนโดยมีประโยชน์ตอบแทนด้วย การที่โจทก์ให้ลูกค้าซึ่งเป็น ชาวต่างประเทศได้ใช้สอยและใช้ประโยชน์ในห้องชุดเป็นเพียง การมอบการครอบครองให้ใช้สอยและจัดการห้องชุดแก่ชาวต่างประเทศ ในฐานะที่โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เท่านั้น หาใช่เป็นการขายตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ไม่ แม้โจทก์จะได้ค่าตอบแทนจากการให้ใช้สอยก็ตาม ค่าตอบแทนที่โจทก์ได้รับดังกล่าวจึงมิใช่รายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเสียภาษีการค้าประเภทการค้า 11

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1439/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ห้องชุดเป็นสำนักงาน: การยินยอมโดยปริยายและข้อยกเว้นข้อบังคับอาคารชุด
ข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุดของโจทก์ ข้อ 7 ระบุว่า"การใช้ทรัพย์ส่วนบุคคลเจ้าของห้องชุดมีสิทธิที่จะใช้ห้องชุดและทรัพย์ส่วนบุคคลของตนได้ ภายใต้ระเบียบข้อบังคับ สำหรับการพักอาศัยเท่านั้น และจะไม่ใช้ห้องชุด ไปประกอบกิจการอื่นใดที่จะเป็นการน่ารังเกียจรบกวนต่อ บุคคลอื่นหรือเป็นการเสียหายต่อนิติบุคคลอาคารชุดเว้นแต่ว่าห้องชุดดังกล่าวทางนิติบุคคลอาคารชุดได้จัดหาไว้เป็นพิเศษเพื่อใช้ประกอบกิจการอื่นได้ ทั้งนี้ การประกอบกิจการจะต้องได้รับอนุญาตจากทางนิติบุคคลอาคารชุด และไม่เป็นที่น่ารังเกียจ รบกวนต่อผู้อื่น หรือเป็นการเสียหาย ต่อนิติบุคคลอาคารชุด" การที่บริษัทจำเลยนำถังแกลลอนแบบใส่น้ำมันเครื่องยนต์ ซึ่งบรรจุสินค้าของจำเลยโดยที่ฝาของถังแกลลอนมีซีลกระดาษตะกั่วปิดอยู่ และสินค้าของจำเลย ไม่มีกลิ่นเคมีภัณฑ์ นอกจากนั้นถังแกลลอนที่บรรจุสินค้าของจำเลยก็มีขนาดกะทัด รัดไม่กินเนื้อที่มาก ประกอบกับการขนถ่ายสินค้าของจำเลยโดยใช้รถยนต์บรรทุกขนาดเล็กก็ไม่เป็นที่รบกวนและกีดขวางเจ้าของร่วมคนอื่น ทั้งห้องชุดพิพาทมีห้องของโจทก์ จำเลย และบุคคลอีกคนหนึ่ง ซึ่งอยู่ที่ชั้น 3 เท่านั้น ดังนั้น ถ้าโจทก์อ้างว่า การขนถ่ายสินค้าของจำเลยเป็นการรบกวนต่อผู้อื่นแล้ว ก็น่าที่จะนำผู้ที่พักอาศัยในห้องชุดชั้นที่ 3 มาเบิกความ สนับสนุนคำกล่าวอ้างด้วย แต่โจทก์หาได้นำมาไม่ พยานหลักฐาน ของโจทก์จึงขาดน้ำหนัก ไม่อาจรับฟังได้ว่าการขนถ่ายสินค้า ของจำเลยเป็นการรบกวนผู้อื่น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุดของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1138/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายอาคารชุด: การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ส่วนกลาง (สวนหย่อม) ไม่ถือเป็นผิดสัญญา หากผู้ซื้อทราบและยินยอมโดยปริยาย
แม้จำเลยจะได้แสดงสวนหย่อมไว้ในใบโฆษณาและอาคารจำลองก็ตาม แต่เมื่อปรากฎว่าอาคารทุกหลังในโครงการที่จำเลยเสนอขายนี้ได้ตอกเสาเข็มไว้แล้วก่อนเปิดขาย มีเสาเข็มหลังละประมาณ 200 ต้น แต่ละต้นเหลือส่วนบนโผล่พ้นดินประมาณ 2 เมตร และโจทก์รู้เห็นว่าจะมีการก่อสร้างอาคารตรงที่ระบุว่าเป็นสวนหย่อม ทั้งโจทก์รับมอบห้องชุดจากจำเลยหลังทำสัญญาจะซื้อจะขาย 2 ปีเศษอาคารชุดที่พิพาทก่อสร้างไปได้ 3 ชั้นแล้ว การที่โจทก์รู้เห็นการก่อสร้างอาคารชุดที่พิพาทมาโดยตลอด แต่โจทก์ก็ยังคงเข้าทำสัญญาและติดต่อปฏิบัติตามสัญญาตลอดมาแสดงว่าโจทก์หาได้ถือว่า การจะมีสวนหย่อมหน้าอาคารชุดหลังที่โจทก์จะซื้อห้องชุดหรือไม่ ย่อมไม่เป็นสาระสำคัญ เมื่อจำเลยมิได้ผิดสัญญา โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6474/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทน อาคารชุด ผู้ขายผิดสัญญาหยุดก่อสร้าง ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญา
โดยที่สัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดระบุว่าผู้จะซื้อต้องชำระเงินในระหว่างการก่อสร้างตามเวลาที่กำหนดไว้และว่าผู้จะขายสัญญาว่าจะทำการก่อสร้างให้เสร็จโดยเร็ว แสดงว่าสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้จะขายอาคารชุดหยุดการก่อสร้างในระหว่างที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จะซื้อผ่อนชำระราคา เป็นเวลาถึง 1 ปีเศษกรณีต้องถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์อาคารชุด ทำให้โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญากับจำเลยได้ จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่าโจทก์มิได้บอกเลิกสัญญาโดยมิได้ให้การว่าการบอกเลิกสัญญาของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังนั้นต้องถือว่าฎีกาของจำเลยในข้อนี้มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้ว โดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 519/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายอาคารชุด: จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบจัดหาแหล่งเงินกู้ หรือสร้างไม่เสร็จหากไม่มีข้อตกลงในสัญญา
ตามสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่มีข้อสัญญาใดระบุหน้าที่จำเลยว่าเป็นผู้จัดหาแหล่งเงินกู้ ให้โจทก์ การที่สำนักงานขายจำเลยมีโฆษณาของสถาบันการเงินต่าง ๆชักชวนให้ลูกค้าจำเลยไปกู้ยืมเงินถือเป็นเรื่องของสถาบันการเงินที่จะโฆษณาหาลูกค้า หามีผลผูกพันให้จำเลยต้องจัดหาสถาบันการเงินให้แก่โจทก์ไม่ แม้พนักงานของจำเลยจะเรียกหลักฐาน จากโจทก์เพื่อติดต่อสถาบันการเงินให้โจทก์ ก็เป็นเรื่องให้ความสะดวกแก่โจทก์เพื่อประโยชน์แก่การขายอาคารชุดของจำเลยมากกว่าที่จำเลยจะผูกพันในรูปสัญญาจะจัดหางานแหล่งเงินกู้ให้โจทก์ส่วนเอกสารที่สถาบันการเงินมีถึงจำเลยแสดงความยินดีสนับสนุนลูกค้าที่ซื้ออาคารชุดจำเลย ก็ไม่ใช่เอกสารที่ผูกพันอันจะฟังได้ว่าจำเลยมีสัญญาจัดหาแหล่งเงินกู้ให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5093/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายอาคารชุด: จำเลยผิดสัญญาเนื่องจากไม่สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกตามที่โฆษณา ทำให้โจทก์บอกเลิกสัญญาได้
โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าจำเลยมีหนังสือให้โจทก์ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดตามสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์ไปตรวจสอบสภาพการก่อสร้างตามโครงการแล้ว ปรากฏว่าจำเลยยังไม่ได้สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกตามที่โฆษณาไว้กล่าวคือ ยังไม่ได้ติดตั้งโทรศัพท์สายตรงที่ห้องชุด ระบบโทรทัศน์วงจรปิดเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง และสระว่ายน้ำ โจทก์ให้จำเลยดำเนินการจัดสร้างให้ครบถ้วนโดยเร็ว แต่จำเลยเพิกเฉยถือว่าจำเลยผิดสัญญา โจทก์จึงให้ทนายความมีหนังสือบอกเลิกสัญญา จำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธข้อกล่าวอ้างของโจทก์ดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยรับในข้อเท็จจริงว่า จำเลยไม่ได้สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกที่ได้โฆษณาไว้ตามฟ้องโจทก์ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง การที่จำเลยมีหนังสือให้โจทก์ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพร้อมทั้งชำระราคาส่วนที่เหลือตามสัญญาในขณะที่จำเลยยังไม่อยู่ในฐานะที่จะเรียกโจทก์มารับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดตามสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่รับโอนกรรมสิทธิ์ในห้องชุดตามที่จำเลยเสนอและไม่ชำระราคาส่วนที่เหลือได้ โจทก์จึงไม่ใช่เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยดำเนินการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกตามที่โฆษณาให้แล้วเสร็จก่อน แล้วโจทก์พร้อมที่จะรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพร้อมชำระราคาส่วนที่เหลือตามสัญญาแต่ระยะเวลาผ่านไปนานถึง 2 ปี จำเลยก็มิได้ดำเนินการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้ครบถ้วนตามที่โฆษณาไว้ ถือได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะบอกเลิกสัญญาได้และคู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยจึงต้องคืนเงินมัดจำและเงินที่โจทก์ผ่อนชำระแก่จำเลยไว้พร้อมดอกเบี้ย ทั้งนี้เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369,387 และ 391 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะเรียกเงินมัดจำและเงินที่ผ่อนชำระคืนเกิดขึ้นเมื่อได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยคือวันอันเป็นวันที่จำเลยรับหนังสือบอกเลิกสัญญาจากโจทก์ อายุความจึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าวซึ่งเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ในอาคารชุดของจำเลยให้แก่บริษัท ส. โดยกล่าวอ้างว่าจำเลยโอนอาคารชุดของจำเลยให้แก่บริษัท ส. ทำให้จำเลยไม่มีทรัพย์สินอื่นใดเหลืออยู่พอที่จะชำระหนี้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในอันที่จะบังคับให้จำเลยชำระหนี้เงินมัดจำและเงินผ่อนชำระคืนแก่โจทก์ แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เงินมัดจำและเงินผ่อนชำระคืนแก่โจทก์จึงเป็นกรณีคนละเรื่องกัน แม้โจทก์ฟ้องคดีทั้งสองสำนวนโดยอาศัยมูลคดีที่โจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายอาคารชุดและโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้วอย่างเดียวกัน แต่คดีก่อนโจทก์ยังต้องนำสืบให้เห็นว่าจำเลยโอนอาคารชุดให้แก่ผู้อื่นทำให้จำเลยไม่มีทรัพย์อื่นเหลือพอที่จะชำระหนี้แก่โจทก์ ทำให้โจทก์เสียเปรียบไม่อาจบังคับจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ได้ อันเป็นข้อสำคัญในคดีที่แตกต่างไปจากคดีนี้ คดีทั้งสองสำนวนของโจทก์จึงไม่ เป็นการฟ้องซ้อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4416/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็นและผลผูกพันตามคำพิพากษา รวมถึงขอบเขตการบังคับใช้ข้อบังคับอาคารชุด
ทางจำเป็นเกิดขึ้นโดยอำนาจของกฎหมายและเป็นทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ต้องจดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ทางจำเป็นจึงเป็นสิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินและสามารถใช้ยันแก่บุคคลทั่วไป
ทางจำเป็นรายพิพาทเจ้าของเดิมในที่ดินโฉนดเลขที่ 5854มีสิทธิใช้ผ่านออกไปสู่ทางสาธารณะได้ และโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่5853 ซึ่งล้อมอยู่ได้รับเงินค่าใช้ทางจำเป็นจากเจ้าของที่ดินที่ใช้ทางจำเป็นไปแล้วโดยโจทก์ตกลงจะไม่เรียกร้องค่าใช้ทางจำเป็นจากเจ้าของที่ดินเดิมหรือจากผู้ที่อยู่อาศัยในบ้านซึ่งปลูกในที่ดินโฉนดเลขที่ 5854 อีกตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลมีคำพิพากษาตามยอมแล้ว กรณีเช่นนี้จำเลยผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่5854 ย่อมได้มาซึ่งทรัพยสิทธิทางจำเป็น จึงรับโอนทั้งสิทธิและหน้าที่จากเจ้าของที่ดินเดิม แม้จำเลยในคดีนี้ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีก่อน แต่เมื่อจำเลยได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 5854 มาจากจำเลยในคดีเดิม จำเลยจึงมิใช่บุคคลภายนอก โจทก์และจำเลยจึงต้องผูกพันโดยคำพิพากษาในคดีก่อนด้วยกัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าใช้ทางจำเป็นจากจำเลยอีก
ข้อบังคับของอาคารชุดโจทก์ระบุให้เจ้าของบ้านและบริวารหรือผู้มีสิทธิอยู่อาศัยในบ้านซึ่งตั้งอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 5854 มีสิทธิใช้ทางเข้าออกซึ่งเป็นทรัพย์ส่วนกลางร่วมกับเจ้าของรวม แต่ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายและค่าบำรุงรักษาในการใช้ประโยชน์ในทรัพย์ส่วนกลางดังกล่าวด้วย แม้จำเลยเป็นเจ้าของบ้านพร้อมที่ดินโฉนดเลขที่ 5854 แต่จำเลยเป็นบุคคลภายนอก มิใช่เจ้าของรวมในอาคารชุดโจทก์ ทั้งการใช้ทางจำเป็นของจำเลยก็เป็นไปโดยอำนาจของกฎหมาย จำเลยจึงไม่ต้องผูกพันปฏิบัติตามข้อบังคับดังกล่าวข้างต้นของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1143/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาคารชุดของผู้จัดการ และหน้าที่ชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางตามกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดเจนว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลอาคารชุดโดยมีบริษัท ย. ซึ่งมี บ. เป็นผู้ดำเนินการแทนบริษัทในฐานะผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดซึ่งตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 บัญญัติให้นิติบุคคลอาคารชุดมีผู้จัดการคนหนึ่ง ซึ่งจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ในกรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้จัดการ ให้นิติบุคคลนั้นแต่งตั้งบุคคลธรรมดาคนหนึ่งเป็นผู้ดำเนินการแทนนิติบุคคลในฐานะผู้จัดการ ดังนั้น บ. จึงเป็นผู้จัดการของโจทก์ไม่ใช่เป็นเพียงผู้ดำเนินการแทนโจทก์ บ. ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้ตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับของโจทก์ที่ให้บ. มีอำนาจกระทำการต่าง ๆ ทั้งปวงเพื่อประโยชน์ในการจัดการและดูแลทรัพย์ส่วนกลางทั้งนี้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าของร่วม และการฟ้องคดีต้องถือว่าเป็นการกระทำการอย่างหนึ่งซึ่งอยู่ในวัตถุประสงค์ของโจทก์ จำเลยค้างชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางตั้งแต่วันที่ 28มกราคม 2537 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2537 และโจทก์ไม่ได้เปิดไฟฟ้าส่วนกลางและเครื่องปรับอากาศบริเวณส่วนกลางของชั้นที่ 24 ซึ่งเป็นชั้นที่สำนักงานของจำเลยตั้งอยู่ในช่วงระยะเวลานั้น เมื่อพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522มาตรา 18 บัญญัติให้เจ้าของร่วมต้องร่วมกันออกค่าใช้จ่ายที่เกิดจากบริการส่วนรวมและที่เกิดจากเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน ตามส่วนแห่งประโยชน์ที่มีต่อห้องชุด ทั้งนี้ ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ และความในมาตรา 17บัญญัติว่า การจัดการและการใช้ทรัพย์ส่วนกลางให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ และตามข้อบังคับ เพราะฉะนั้นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางจึงเป็นหน้าที่โดยกฎหมายบัญญัติ มิใช่หน้าที่ที่เกิดจากสัญญา จึงมิใช่เรื่องสัญญาต่างตอบแทน เมื่อไม่ปรากฏสัญญามีผลยกเว้นความรับผิดเป็นพิเศษไว้ จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามสัญญาคือไม่เปิดไฟฟ้าส่วนกลางและเครื่องปรับอากาศบริเวณส่วนกลางของชั้นที่ 24 ซึ่งเป็นชั้นที่สำนักงานของจำเลยตั้งอยู่จำเลยจึงมีสิทธิไม่ชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางตามลักษณะสัญญาต่างตอบแทนหาได้ไม่ หากโจทก์ปฏิบัติผิดหน้าที่อย่างไรก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องไปว่ากล่าวเป็นอีกกรณีหนึ่งต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6621/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการสืบพยาน, สัญญาซื้อขายอาคารชุด, และผลของการบอกเลิกสัญญาที่มีต่อเช็คพิพาท
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานจำเลยมาแล้ว 8 นัด แต่จำเลยนำพยานมาสืบเพียง 2 นัด และสืบพยานจำเลยได้เพียง 1 ปาก นอกนั้นจำเลยเป็นฝ่ายขอเลื่อนคดี 3 นัด และคู่ความทั้งสองฝ่ายขอเลื่อนคดีเพื่อเจรจาตกลงกันอีก 3 นัดครั้นถึงวันนัดสืบพยานจำเลยนัดที่ 9 จำเลยขอเลื่อนคดีอีก ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนไปสืบพยานจำเลยนัดต่อไป และกำชับให้จำเลยนำพยานมาสืบให้เสร็จภายใน 2 นัดต่อมาเมื่อสืบพยานจำเลยนัดแรกแล้ว ครั้นถึงนัดที่สองเลื่อนไป ทนายโจทก์อ้างเหตุเจ็บป่วยขอเลื่อน ทนายจำเลยไม่ค้านและแถลงว่าจะนำพยานมาสืบให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ศาลชั้นต้นจึงอนุญาตให้เลื่อนไปสืบพยานจำเลยอีก 2 นัด และกำชับให้จำเลยนำพยานมาสืบให้เสร็จตามที่นัดไว้โดยจะไม่ให้เลื่อนคดีอีก ครั้นสืบพยานจำเลยครบ 2 นัดแล้ว จำเลยแถลงจะขอสืบพยานอีก 4 ปาก โดยเฉพาะพยานบางปากจำเลยยังมิได้ระบุบัญชีพยานจำเลยเพิ่มเติม อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามรายงานกระบวนพิจารณาและไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคสอง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยจึงชอบแล้ว
จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทชำระหนี้ค่าส่งเสริมพัฒนาโครงการให้แก่โจทก์ ระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับ โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบ การที่จำเลยเป็นผู้ซื้ออาคารชุดต่อจาก ศ. ซึ่งข้อตกลงโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายร้านค้าอาคารชุดระหว่างจำเลยและ ศ.ไลต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ เมื่อปรากฎว่า ศ.และจำเลยได้ทำหนังสือโอนสิทธิร้านค้าอาคารชุดและโจทก์ได้บันทึกในหนังสือฉบับนี้อนุมัติให้เปลี่ยนสัญญาได้ จำเลยย่อมถือหนังสือโอนสิทธิร้านค้าอาคารชุดฉบับนี้ต่อเนื่องกับสัญญาจะซื้อจะขายฉบับเดิมได้โดยถือว่าจำเลยเป็นคู่สัญญากับโจทก์แทนที่ ศ. โจทก์ไม่จำต้องทำหนังสือสัญญาฉบับใหม่มอบให้จำเลยอีกการที่โจทก์ไม่ยอมทำและมอบหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายและสัญญาส่งเสริมพัฒนาโครงการฉบับใหม่ให้แก่จำเลย กรณีก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา ดังนั้นเมื่อจำเลยไม่ชำระค่าส่งเสริมพัฒนาโครงการให้แก่โจทก์ตามสัญญา จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและนำอาคารชุดไปขายให้แก่ผู้อื่นได้
สำหรับเช็คพิพาทที่จำเลยได้ชำระเป็นค่าส่งเสริมพัฒนาโครงการก่อนมีการบอกเลิกสัญญานั้น เช็คดังกล่าวถือได้ว่าเป็นค่าส่งเสริมพัฒนาโครงการที่โจทก์ได้รับชำระไว้แล้ว แม้ต่อมาโจทก์จะได้บอกเลิกสัญญาแล้วก็ตาม แต่เมื่อตามสัญญาส่งเสริมพัฒนาโครงการได้ให้สิทธิโจทก์ที่จะริบเงินทั้งหมดที่ได้รับชำระไว้แล้วเช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่มีมูลหนี้ต่อกัน เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการใช้เงิน จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คให้แก่โจทก์
of 11