พบผลลัพธ์ทั้งหมด 100 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1942/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาลักทรัพย์เป็นสาระสำคัญของการปล้นทรัพย์ การข่มขืนใจต่างหากที่เข้าข่ายความผิดฐานข่มขืนใจ
จำเลยและพวกกับผู้เสียหายทั้งสี่เป็นนักศึกษาต่างสถาบันซึ่งมีเรื่องยกพวกทำร้ายร่างกายกันเป็นประจำในขณะที่สวมเครื่องแบบนักศึกษาแม้ไม่เคยรู้จักกันจำเลยกับพวกมีอาวุธปืนมีดและก้อนหินขู่บังคับผู้เสียหายทั้งสี่ให้ถอดเสื้อฝึกงานและหัวเข็มขัดซึ่งมีราคาเพียงเล็กน้อยที่ผู้เสียหายทั้งสี่สวมใส่อยู่ให้จำเลยและพวกผู้เสียหายทั้งสี่กลัวจึงยอมทำตามโดยเสื้อฝึกงานและหัวเข็มขัดดังกล่าวเป็นของใช้สำหรับนักศึกษาในสถานศึกษาของผู้เสียหายทั้งสี่ใช้เท่านั้นจำเลยและพวกย่อมไม่สามารถนำเสื้อฝึกงานและหัวเข็มขัดดังกล่าวไปใช้หรือแสวงหาประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินได้จึงเป็นการกระทำโดยมิได้มุ่งประสงค์ต่อผลในการจะแสวงหาประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าวโดยแท้จริงมิได้มีเจตนาเอาทรัพย์สินดังกล่าวไปเป็นของตนเองหรือผู้อื่นหากแต่เป็นการแสดงอำนาจบาตรใหญ่ทำไปด้วยความคะนองตามนิสัยวัยรุ่นที่ความประพฤติไม่เรียบร้อยเพื่อหยามศักดิ์ศรีของนักศึกษาต่างสถานศึกษาเท่านั้นเป็นการกระทำที่ขาดเจตนา ลักทรัพย์จึงไม่เป็นความผิดฐาน ปล้นทรัพย์ แต่เป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายทั้งสี่ให้กระทำตามที่จำเลยและพวกประสงค์โดยทำให้กลัวว่าจะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายของผู้เสียหายทั้งสี่อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา309วรรคสองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความผิดฐานปล้นทรัพย์จึงต้องลงโทษจำเลยตามที่พิจารณาได้ความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1473/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้แรงงานเด็ก: นายจ้างต้องรู้ถึงอายุที่แท้จริงจึงมีความผิด
ความผิดฐานรับเด็กอายุต่ำกว่า13ปีบริบูรณ์เป็นลูกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่12)ข้อ20ซึ่งออกตามความในข้อ2(3)แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่103นั้นโจทก์ต้องนำสืบให้เห็นว่าบุคคลที่เป็นนายจ้างรู้ว่าเด็กที่ตนรับเป็นลูกจ้างนั้นมีอายุต่ำกว่า13ปีบริบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7044/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบ พ.ร.บ.ประดิทิน พ.ศ.2483 ต่อการคำนวณอายุ และการเลิกจ้างก่อนเกษียณ
ตาม พ.ร.บ.ปีประดิทิน พ.ศ.2483 เปลี่ยนระยะเวลาสิบสองเดือนของปีประดิทินจากเดือนเมษายนถึงเดือนมีนาคมมาเป็นเดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคมของแต่ละปี โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2484 และบัญญัติให้เดือนมกราคมกุมภาพันธ์ และมีนาคม ของปี 2483 เป็นเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ และมีนาคมของปี 2484 โดยบทบัญญัติดังกล่าว สำหรับบุคคลที่เกิดก่อนวันที่ 1 มกราคม 2484หากเกิดในเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ หรือมีนาคม อายุจริงของบุคคลนั้นจะน้อยกว่าอายุที่นัยตามประดิทิน 1 ปี เพราะอายุที่นับตามประดิทินต้องนับอายุของปี 2483ที่ตัดออกไปเข้าไปด้วยทั้งปี ดังเช่นกรณีของโจทก์ซึ่งเกิดวันที่ 9 มีนาคม 2480 ในวันที่ 9 มีนาคม 2484 ถ้านับตามประดิทินโจทก์มีอายุ 4 ปีบริบูรณ์ ทั้ง ๆ ที่ตามความเป็นจริงในวันดังกล่าวโจทก์มีอายุเพียง 3 ปีบริบูรณ์เท่านั้น เพราะวันที่ 9มีนาคม 2484 นั้น ถ้าไม่มี พ.ร.บ.ประดิทิน พ.ศ.2483 ออกใช้บังคับ ก็เป็นวันที่9 มีนาคม 2483 นั่นเอง ดังนั้นการนับอายุจริงสำหรับบุคคลที่เกิดก่อนวันที่ 1มกราคม 2484 และเกิดในเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ หรือมีนาคม จึงต้องนำอายุตามประดิทินมาบวกอีก 1 ปี โจทก์ซึ่งเกิดเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2480 มีอายุครบ55 ปี ตามประดิทินในปี 2535 เมื่อบวกอีก 1 ปี โจทก์จึงมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 9 มีนาคม 2536 ซึ่งตามระเบียบของจำเลย โจทก์จะต้องเกษียณอายุในวันที่ 31 ธันวาคม 2536 การเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างก่อนเกษียณอายุและเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7044/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบ พ.ร.บ. ปีประดิทิน ต่อการคำนวณอายุเกษียณ: กรณีเลิกจ้างก่อนเกษียณไม่เป็นธรรม
พระราชบัญญัติปีประดิทิน พ.ศ. 2483 เปลี่ยนระยะเวลาสิบสองเดือนของปีประดิทินจากเดือนเมษายนถึงเดือนมีนาคมมาเป็นเดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคมของแต่ละปี โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2484 และบัญญัติให้เดือนมกราคม กุมภาพันธ์และมีนาคมของปี 2483 เป็นเดือนมกราคมกุมภาพันธ์ และมีนาคม ของปี 2484 โดยบทบัญญัติดังกล่าว สำหรับบุคคลที่เกิดก่อนวันที่ 1 มกราคม 2484 หากเกิดในเดือนมกราคมกุมภาพันธ์ หรือมีนาคม อายุจริงของบุคคลนั้นจะน้อยกว่าอายุที่นับตามประดิทิน1ปีเพราะอายุที่นับตามประดิทินต้องนับอายุของปี 2483ที่ตัดออกไปเข้าไปด้วยทั้งปี โจทก์เกิดวันที่ 9 มีนาคม 2480ในวันที่ 9 มีนาคม 2484 ถ้านับตามประดิทินโจทก์มีอายุ 4 ปีบริบูรณ์ทั้ง ๆ ที่ตามความเป็นจริงในวันดังกล่าวโจทก์มีอายุเพียง3 ปีบริบูรณ์เท่านั้น เพราะวันที่ 9 มีนาคม 2484 นั้น ถ้าไม่มีพระราชบัญญัติปีประดิทิน พ.ศ. 2483 ออกใช้บังคับ ก็เป็นวันที่9 มีนาคม 2583 นั่นเอง ดังนั้นการนับอายุจริงสำหรับบุคคลที่เกิดก่อนวันที่ 1 มกราคม 2484 และเกิดในเดือนมกราคม กุมภาพันธ์หรือมีนาคม จึงต้องนำอายุความตามประดิทินมาบวกอีก 1 ปี โจทก์ซึ่งเกิดเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2480 มีอายุครบ 55 ปี ตามประดิทินในปี 2535 เมื่อบวกอีก 1 ปี โจทก์จึงมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 9 มีนาคม 2536
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6993/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับบุตรบุญธรรมที่ไม่สมบูรณ์และการสิทธิในมรดก: ข้อจำกัดด้านอายุและข้อกำหนดการยินยอม
ขณะที่ บ. จดทะเบียนรับจำเลยที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรม บ.มีอายุ 25 ปี ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิมมาตรา 1582 ที่กำหนดว่าผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่น้อยกว่า30 ปี ส่วนการที่ บ. รับจำเลยที่ 2 เป็นบุตรบุญธรรมนั้นโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรสของ บ. ไม่ได้ให้ความยินยอมด้วย ขัดต่อ ป.พ.พ.บรรพ 5 เดิม มาตรา 1584 การจดทะเบียนรับจำเลยทั้งสองเป็นบุตรบุญธรรมของ บ. ย่อมไม่สมบูรณ์ ไม่มีผลตามกฎหมาย จำเลยทั้งสองจึงมิใช่ทายาทโดยธรรมของ บ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6419/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พรากผู้เยาว์เพื่ออนาจาร แม้สำคัญผิดในอายุ แต่ยังคงมีความผิดฐานพรากผู้เยาว์
การที่เด็กหญิง ข.หลบหนีออกจากบ้านเพียงไปดูภาพยนตร์ซึ่งไม่ห่างไกลจากบ้านที่อยู่ เมื่อภาพยนต์เลิกแล้วก็คงกลับบ้านหากไม่ถูกจำเลยพาไป อำนาจในการปกครองดูแลของ จ. หาได้สิ้นสุดลงไม่ การที่จำเลยพาเด็กหญิง ข.ไปอยู่ที่อื่นหลายวันถือได้ว่าเป็นการพรากเด็กหญิง ข. ออกจาก จ.โดยปราศจากเหตุอันสมควร ระหว่างที่พาเด็กหญิง ข.ไปพักในที่ต่าง ๆ จำเลยได้กระทำชำเราเด็กหญิง ข. อันเป็นการกระทำอนาจารด้วย แม้ขณะเกิดเหตุเด็กหญิง ข. จะมีอายุ 13 ปี แต่เด็กหญิง ข.มีรูปร่างสมบูรณ์กว่าเด็กปกติทั่วไปจนจำเลยสำคัญผิดว่ามีอายุ 17 ปี จำเลยย่อมได้รับประโยชน์ ตาม ป.อ.มาตรา 62 วรรคแรก จำเลยจึงมีความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่ออนาจารตาม ป.อ. มาตรา 319 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6419/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร แม้สำคัญผิดในอายุ แต่ยังถือว่าเป็นการพราก
เด็กหญิงข.หลบหนีออกจากบ้านเพียงไปดูภาพยนตร์ซึ่งไม่ห่างไกลจากบ้านที่อยู่ เมื่อภาพยนตร์เลิกแล้วก็คงกลับบ้านหากไม่ถูกจำเลยพาไป อำนาจในการปกครองดูแลของ จ. ผู้ปกครองดูแลจึงหาได้สิ้นสุดลงไม่ จำเลยพาเด็กหญิงข.ไปอยู่ที่อื่นหลายวันและได้กระทำชำเราเด็กหญิง ข. หลายครั้ง ถือว่าเป็นการพรากเด็กหญิงข. ออกจากจ. โดยปราศจากเหตุอันสมควรและเป็นการกระทำอนาจารด้วยแม้ขณะเกิดเหตุเด็กหญิง ข. อายุ 13 ปี แต่มีรูปร่างสมบูรณ์กว่าเด็กปกติทั่วไปตามสายตาของบุคคลภายนอกจะประมาณว่ามีอายุประมาณ17 ถึง 18 ปี ซึ่งจำเลยก็สำคัญผิดเช่นนั้น จำเลยย่อมได้รับประโยชน์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 62 วรรคแรก จำเลยจึงมีความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 319
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5183/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายได้จากการขับรถสองแถวของผู้ที่มีอายุไม่ถึงเกณฑ์ตามกฎหมาย ไม่ถือเป็นรายได้ที่ใช้ชดใช้ค่าเสียหายได้
ขณะถึงแก่ความตาย ผู้ตายมีอายุ 19 ปี ซึ่งตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 บัญญัติว่า ผู้ขับรถต้องได้รับใบอนุญาตขับรถ และผู้ขอใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ ดังนั้นผู้ตายจึงต้องห้ามมิให้ขับรถยนต์สองแถวรับจ้างซึ่งจัดเป็นรถยนต์สาธารณะตามกฎหมาย การขับรถยนต์สองแถวรับจ้างของผู้ตายถือไม่ได้ว่าเป็นการทำงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 445โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1325/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาออกและสิทธิประโยชน์: การคำนวณค่าชดเชยตามอายุและข้อบังคับธนาคาร
โจทก์มีอายุ 50 ปี ยื่นหนังสือลาออกจากงานต่อจำเลย มีข้อความว่า "ข้าพเจ้า (โจทก์) มีความประสงค์ขอลาออกจากงานเพื่อขอรับเงินชดเชยและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ให้แก่ข้าพเจ้า เต็มตามสิทธิของพนักงานที่ได้ปฏิบัติงานธนาคารมาด้วยดีจนอายุครบ 55 ปี" คำว่า "สิทธิของพนักงานที่ได้ปฏิบัติงานมาจนอายุครบ 55 ปี"นั้น เมื่อตามคำสั่งของจำเลยที่ 6/2525 เรื่อง กำหนดระยะเวลาจ้าง ตลอดจนกำหนดการจ่ายค่าชดเชยและเงินทดแทน ข้อ 9 มีข้อความว่าพนักงานชายอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป และพนักงานหญิงอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป หากกรรมการผู้จัดการใหญ่พิจารณาเห็นว่าสมควรอนุมัติให้ในกรณีพิเศษให้ลาออกเพื่อรับค่าชดเชยก็อาจทำได้ แต่ทั้งนี้ให้คำนวณค่าชดเชยตามข้อ 13.2 และตามข้อ 13.2 การจ่ายค่าชดเชย ให้คำนวณจ่ายให้เท่ากับเงินเดือนสุดท้าย คูณด้วยปีที่ทำงาน ดังนั้น พนักงานชายที่อายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไปเท่านั้นที่มีสิทธิพิเศษได้รับค่าชดเชยตามข้อ 9 นี้ ส่วนพนักงานชายที่มีอายุยังไม่ครบ 55 ปี แต่ปฏิบัติงานมานานเช่นโจทก์ในคดีนี้เมื่อลาออกจากงานจะได้รับค่าชดเชยตามข้อ 10 คือเท่ากับเงินเดือนสุดท้าย คูณด้วยจำนวนปีที่ทำงาน หารด้วยสอง ทำให้ค่าชดเชยลดลงกึ่งหนึ่งการที่โจทก์ระบุข้อความไว้ในหนังสือลาออกทำนองว่า ขอให้โจทก์ได้รับสิทธิเท่าเทียมกับพนักงานที่ได้ปฏิบัติงานมาจนมีอายุ 55 ปีดังกล่าว ก็เพื่อหวังผลให้ตนได้รับประโยชน์จากการคำนวณค่าชดเชย อันเป็นการอิงสิทธิของพนักงานที่มีคุณสมบัติตาม ข้อ 9 เท่านั้นหามีความหมายนอกเหนือไปจากนี้ไม่ ที่จำเลยอนุมัติให้โจทก์ลาออกจากงานโดยยินยอมตามเงื่อนไขในหนังสือลาออกของโจทก์ จึงเป็นคุณแก่โจทก์เท่าที่ระเบียบข้อบังคับของจำเลยจะเอื้อให้
เมื่อข้อความในหนังสือลาออกของโจทก์มีความชัดเจนในตัวและมีความหมายเป็นนัยเดียวไม่อาจแปลความเกินเลยไปถึงว่าจำเลยยังมีหน้าที่ต้องจ่ายสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ตามที่โจทก์เรียกร้องข้างต้นโดยคำนวณจนถึงโจทก์มีอายุครบ 55 ปี ซึ่งเป็นข้อเรียกร้องนอกเหนือจากข้อความที่ระบุไว้ในหนังสือลาออกอีก ดังนั้น ที่จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ โดยคำนวณตามหลักเกณฑ์ในข้อ 9จึงเป็นการชอบแล้ว
เมื่อข้อความในหนังสือลาออกของโจทก์มีความชัดเจนในตัวและมีความหมายเป็นนัยเดียวไม่อาจแปลความเกินเลยไปถึงว่าจำเลยยังมีหน้าที่ต้องจ่ายสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ตามที่โจทก์เรียกร้องข้างต้นโดยคำนวณจนถึงโจทก์มีอายุครบ 55 ปี ซึ่งเป็นข้อเรียกร้องนอกเหนือจากข้อความที่ระบุไว้ในหนังสือลาออกอีก ดังนั้น ที่จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ โดยคำนวณตามหลักเกณฑ์ในข้อ 9จึงเป็นการชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1305/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้เถียงก่อนยิงและการลดโทษตามอายุ: ป้องกันตัวไม่สมเหตุผล & ลดโทษทุกกระทง
การที่จำเลยพูดโต้เถียงกับผู้ตายอันเป็นทำนองท้าทายผู้ตายแสดงว่าจำเลยสมัครใจจะทะเลาะวิวาทกับผู้ตาย เมื่อจำเลยยิงผู้ตายถึงแก่ความ-ตายจึงไม่สามารถอ้างว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายได้
การลดมาตราส่วนโทษตาม ป.อ. มาตรา 76 เป็นการลดมาตราส่วนโทษเพราะเหตุอายุของผู้กระทำผิด เมื่อศาลใช้ดุลพินิจลดมาตราส่วนโทษให้แก่จำเลยแล้วก็จำต้องลดให้ทุกระทงความผิด แม้ว่าความผิดฐานมีอาวุธปืนจะยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นก็ตาม แต่ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อแรก ข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
การลดมาตราส่วนโทษตาม ป.อ. มาตรา 76 เป็นการลดมาตราส่วนโทษเพราะเหตุอายุของผู้กระทำผิด เมื่อศาลใช้ดุลพินิจลดมาตราส่วนโทษให้แก่จำเลยแล้วก็จำต้องลดให้ทุกระทงความผิด แม้ว่าความผิดฐานมีอาวุธปืนจะยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นก็ตาม แต่ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อแรก ข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้