พบผลลัพธ์ทั้งหมด 102 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4305/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดก: การฟ้องคดีของทายาทคนหนึ่งไม่สะดุดอายุความของทายาทอื่น และการขาดอายุความเมื่อฟ้องเกิน 1 ปี
ในคดีที่นาย ส. ทายาทคนหนึ่งฟ้องจำเลยขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินมรดกพิพาท โจทก์มิได้เข้าเป็นคู่ความในคดีด้วย คดีดังกล่าวคู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยจำเลยตกลงแบ่งที่ดินพิพาทให้นาย ส.นางก.นายก.และนางส. คนละหนึ่งในสิบ โดยนาย ส. ไม่ติดใจเรียกร้องสิ่งใดจากจำเลยอีก ศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2528ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีดังกล่าวไม่มีกรณีที่จะถือได้ว่านาย ส. ได้ฟ้องคดีเพื่อประโยชน์ของโจทก์ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งด้วยแต่ประการใด แม้ในคำฟ้องชั้นต้นจะเริ่มเรื่องเป็นการใช้สิทธิแทนทายาททั้งหมดในการเรียกทรัพย์มรดกคืนมา แต่เมื่อนาย ส. สละข้ออ้างในส่วนที่เป็นการเรียกร้องแทนทายาทตามที่กำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความเสียแล้ว กรณีที่จะถือว่าเป็นการ ใช้สิทธิแทนทายาทอื่นรวมทั้งโจทก์ด้วยจึงเป็นอันหมดไปในผลของคดี ที่ฟ้องการฟ้องคดีของนาย ส. จึงเป็นการใช้สิทธิเฉพาะตัวมิใช่เป็นการฟ้องคดีเพื่อสิทธิของทายาทซึ่งรวมทั้งโจทก์ด้วย คดีที่นาย ส.ฟ้องจึงไม่ทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์สะดุดหยุดอยู่ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 175 นาย จ. เจ้ามรดกตายเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2525 นาง ล. ผู้จัดการมรดกของนาย จ.โอนที่ดินที่พิพาทให้จำเลยเพียงผู้เดียว โจทก์ทราบเรื่องเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2526 โจทก์มาฟ้องเรียกส่วนแบ่งมรดกคือที่ดินพิพาทเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2529 จึงเป็นการฟ้องคดีเกินกำหนด 1 ปี นับแต่สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะเรียกเอามรดกส่วนของตนจากทรัพย์มรดกที่จำเลยรับโอนมาในฐานะทายาท คดีของโจทก์ จึงขาดอายุความมรดกตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1754 และกรณีตามคำฟ้องของโจทก์ก็มิใช่เป็นกรณีที่ฟ้องเอาส่วนแบ่งจากผู้จัดการมรดก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดกและการครอบครองร่วม สิทธิในการขอออกโฉนดที่ดิน และการบังคับคดีตามคำพิพากษา
โจทก์ที่ 1 กับพวกและจำเลยเป็นทายาทของ พ.เมื่อพ. ตายจำเลยยื่นคำร้องขอรับมรดกในที่ดินพิพาท แต่ถูกโจทก์ที่ 1 กับพวกคัดค้าน เจ้าพนักงานที่ดินให้คู่กรณีไปฟ้องร้องกันภายใน 60 วันเพราะตกลงกันไม่ได้ จำเลยมิได้ฟ้องร้องภายในกำหนดจนเจ้าพนักงานที่ดินได้จดทะเบียนให้โจทก์ที่ 1 กับพวกและจำเลยเป็นผู้รับมรดกของ พ. ร่วมกัน ดังนี้ แม้จำเลยจะอยู่ในที่พิพาทตลอดมาก็แสดงว่าจำเลยยอมละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 192 วรรคแรก โจทก์ที่ 1 กับพวกมีสิทธิร่วมกับจำเลยในที่ดินพิพาท เมื่อโจทก์ที่ 1 กับพวกขอออกโฉนดที่ดินพิพาท แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะจำเลยมิได้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานที่ดินด้วย ย่อมทำให้สิทธิของโจทก์ที่ 1 กับพวกถูกกระทบกระเทือน และจำเลยมีหน้าที่ต้องอนุมัตตามความต้องการของเจ้าของส่วนข้างมาก โจทก์ที่ 1 มีสิทธิฟ้องขอให้ถือเอาคำพิพากษาแสดงเจตนาของจำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1333/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดก: การครอบครองทรัพย์มรดกในฐานะผู้จัดการมรดกย่อมไม่ทำให้เกิดอายุความต่อทายาทอื่น
จำเลยต่อสู้ว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความมรดก แต่ได้ความว่า หลังจากที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีครอบครัวแล้วได้แยกไปอยู่ที่อื่น ส่วนจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรของจำเลยที่ 2 อยู่ในที่พิพาทมาจนถึงปัจจุบัน ต่อมาเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้ว 10 ปี จำเลยที่ 1 ได้ร้องขอให้ศาลตั้งจำเลยที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดกรายพิพาทแต่ในการขายที่พิพาทโฉนดเลขที่ 56465 จำเลยที่ 3 ไม่ได้ปรึกษาจำเลยที่ 1 ประกอบกับเหตุที่จำเลยที่ 3 ยังไม่ได้แบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทสาย ภ. เพราะยังตกลงกันไม่ได้ระหว่างทายาททุกคน จำเลยที่ 3 ตั้งใจจะแบ่งมรดกเมื่อมีการตกลงกันเรียบร้อยแล้วระหว่างทายาททุกฝ่าย โดยตั้งใจจะเรียกประชุมทายาทภายใน 3 เดือน เพื่อให้ทายาทตกลงกันว่าจะแบ่งมรดกกันอย่างไร แสดงว่า จำเลยที่ 3 รับโอนและครอบครอง ที่พิพาทในฐานะผู้จัดการมรดกเพื่อดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาท เป็นการครอบครองแทนทายาทของเจ้ามรดก ทุกคน จำเลยที่ 3 ไม่อาจยกเอาอายุความ 1 ปี หรือ 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคแรกและวรรคท้าย ขึ้นต่อสู้โจทก์ ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกได้ ดังนี้คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2998/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดก: การครอบครองทรัพย์มรดกโดยทายาทร่วมกันทำให้คดีไม่ขาดอายุความ แม้ฟ้องเกิน 1 ปี
หลังจากเจ้ามรดกตาย โจทก์จำเลยซึ่งเป็นทายาทได้ตกลงเรื่องทรัพย์มรดกโดยให้ขายที่ดินบางส่วนนำเงินมาทำศพเจ้ามรดกนอกจากนี้บุตรโจทก์ก็ได้เข้าไปไถที่นามรดก ถือได้ว่าโจทก์ได้ร่วมครอบครองทรัพย์มรดกกับจำเลย โดยยังมิได้แบ่งปันทรัพย์มรดกกันเป็นสัดส่วน แม้โจทก์ฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย คดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2998/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดก: การครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกันและยังไม่ได้แบ่งปัน ทำให้คดีไม่ขาดอายุความแม้ฟ้องเกิน 1 ปี
หลังจากเจ้ามรดกตาย โจทก์จำเลยซึ่งเป็นทายาทได้ตกลงเรื่องทรัพย์มรดกโดยให้ขายที่ดินบางส่วนนำเงินมาทำศพเจ้ามรดกนอกจากนี้บุตรโจทก์ก็ได้เข้าไปไถที่นามรดก ถือได้ว่าโจทก์ได้ร่วมครอบครองทรัพย์มรดกกับจำเลย โดยยังมิได้แบ่งปันทรัพย์มรดกกันเป็นสัดส่วน แม้โจทก์ฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย คดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1968-1969/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนและอายุความมรดก: การฟ้องขับไล่ที่ดินที่ยังไม่ได้แบ่งแยกและการสืบสิทธิมรดก
โจทก์ที่1และโจทก์ที่2เป็นเจ้าของที่ดินแปลงเดียวกันโดยยังมิได้แบ่งแยกเป็นหลายโฉนดเพราะอยู่ในระหว่างการรังวัดแบ่งแยกของเจ้าพนักงานที่ดินเท่านั้นโจทก์ที่1จึงฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นของโจทก์ที่1ต่อมาเจ้าพนักงานที่ดินได้แบ่งแยกออกโฉนดที่ดินส่วนของโจทก์ที่2ให้แก่โจทก์ที่2ปรากฏว่าที่พิพาทและบ้านของจำเลยส่วนใหญ่อยู่ในที่ดินของโจทก์ที่2โจทก์ที่2จึงฟ้องจำเลยหลังจากได้รับโฉนดที่ดินมาแล้วและปรากฏว่าที่พิพาทบางส่วนอยู่ในโฉนดของโจทก์ที่1บางส่วนอยู่ในโฉนดของโจทก์ที่2โจทก์ทั้งสองต่างมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้ฟ้องของโจทก์ที่2จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173. โจทก์ที่2ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกตกทอดมายังโจทก์ที่2ตามพินัยกรรมและเรียกค่าเสียหายที่จำเลยอยู่ในที่พิพาทของโจทก์ที่2โดยละเมิดกรณีมิใช่ฟ้องเรียกที่พิพาทตามข้อกำหนดในพินัยกรรมทั้งจำเลยก็มิใช่บุคคลที่จะยกอายุความ1ปีขึ้นต่อสู้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1755แม้โจทก์ที่2จะฟ้องคดีเกิน1ปีหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่กรรมคดีของโจทก์ที่2ก็ไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4045/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ, อายุความมรดก, อำนาจฟ้อง, ผู้จัดการมรดก: ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์
คดีก่อนผู้พิทักษ์เป็นโจทก์ฟ้องคดีแทนผู้เสมือนไร้ความสามารถขอแบ่งมรดกของผู้เสมือนไร้ความสามารถ ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง โดยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องแทนผู้เสมือนไร้ความสามารถเพราะเป็นเพียงผู้พิทักษ์ มีอำนาจหน้าที่เพียงแต่ให้ความยินยอมหรือไม่แก่ ผู้เสมือนไร้ความสามารถเท่านั้น ผู้เสมือนไร้ความสามารถคือ โจทก์ในคดีนี้จึงมาเป็นโจทก์ฟ้องคดีเองโดยได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ ดังนี้ ฟ้องโจทก์ย่อมไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน และศาลอุทธรณ์ในคดีนี้ ไม่จำต้องพิพากษาคดีตามศาลอุทธรณ์ในคดีก่อน เพราะคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ในคดีก่อนย่อมสิ้นผลโดยคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อน ดังนั้นศาลอุทธรณ์คดีนี้จึงย่อมพิพากษากลับกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ในคดีก่อนได้
ทรัพย์มรดกของบิดาโจทก์จำเลยเป็นทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่งปัน และต่างได้ร่วมกันปกครองทรัพย์มรดกดังกล่าวตลอดมาจนมารดาโจทก์ จำเลยร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกและศาลแพ่งได้มีคำสั่งตั้งมารดาโจทก์ จำเลยเป็นผู้จัดการมรดก ต้องถือว่าทรัพย์มรดกอยู่ในระหว่างจัดการ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1736 อายุความจึงสะดุดหยุดลง ตั้งแต่นั้นมา โจทก์มาฟ้องขอแบ่งมรดกเมื่อเกิน 10 ปี นับแต่เจ้ามรดก ถึงแก่ความตาย คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
ทรัพย์มรดกของบิดาโจทก์จำเลยเป็นทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่งปัน และต่างได้ร่วมกันปกครองทรัพย์มรดกดังกล่าวตลอดมาจนมารดาโจทก์ จำเลยร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกและศาลแพ่งได้มีคำสั่งตั้งมารดาโจทก์ จำเลยเป็นผู้จัดการมรดก ต้องถือว่าทรัพย์มรดกอยู่ในระหว่างจัดการ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1736 อายุความจึงสะดุดหยุดลง ตั้งแต่นั้นมา โจทก์มาฟ้องขอแบ่งมรดกเมื่อเกิน 10 ปี นับแต่เจ้ามรดก ถึงแก่ความตาย คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3254/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดก: การครอบครองทรัพย์มรดกโดยทายาทและผู้จัดการมรดก ไม่ทำให้เกิดอายุความต่อทายาทอื่น
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอจัดการมรดกเกี่ยวกับที่ดินพิพาท ทั้งสองแปลงตามที่โจทก์ขอแบ่ง แสดงว่าที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นทรัพย์สินในกองมรดกซึ่งอยู่ระหว่างจัดการมรดก ถึงแม้ว่าจำเลยจะครอบครองที่พิพาทนั้นตั้งแต่เจ้ามรดกถึงแก่กรรมแต่ผู้เดียว ก็เป็นการครอบครองทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกที่ยังไม่ได้แบ่งปันกัน และต่อมาจำเลยก็ได้เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล ดังนั้นการที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะทายาท็ก็ดีและในฐานะผู้จัดการมรดกก็ดี ถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นด้วย จำเลยจึงจะยกอายุความหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกย่อมมีอำนาจฟ้องขอแบ่งทรัพย์พิพาทจากจำเลยได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2528)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2528)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3254/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดก: การครอบครองทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดกไม่ตัดสิทธิทายาทอื่นในการฟ้องร้อง
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอจัดการมรดกเกี่ยวกับที่ดินพิพาท ทั้งสองแปลงตามที่โจทก์ขอแบ่ง แสดงว่าที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นทรัพย์สินในกองมรดกซึ่งอยู่ระหว่างจัดการมรดกถึงแม้ว่าจำเลยจะครอบครองที่พิพาทนั้นตั้งแต่เจ้ามรดกถึงแก่กรรมแต่ผู้เดียว ก็เป็นการครอบครองทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกที่ยังไม่ได้แบ่งปันกัน และต่อมาจำเลยก็ได้เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล ดังนั้นการที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะทายาทก็ดีและในฐานะผู้จัดการมรดกก็ดี ถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นด้วยจำเลยจึงจะยกอายุความหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกย่อมมีอำนาจฟ้องขอแบ่งทรัพย์พิพาทจากจำเลยได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2528)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1400/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับโอนที่ดินจากผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วม ไม่ใช่ทายาท ไม่อาจยกอายุความมรดกขึ้นต่อสู้ได้
จำเลยมิใช่ทายาทของเจ้ามรดก จะยกอายุความ 1 ปีขึ้นต่อสู้ไม่ได้