พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2328/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การนับอายุงานต่อเนื่อง และสิทธิประโยชน์หลังกลับเข้าทำงาน
นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ลูกจ้างร้องทุกข์ต่อผู้อำนวยการของนายจ้าง ผู้อำนวยการเห็นว่าการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม มีคำสั่งให้ลูกจ้างกลับเข้าทำงานตามเดิม และให้นับอายุงานต่อเนื่องโดยเว้นช่วงระหว่างเลิกจ้างถึงวันกลับเข้าทำงานและไม่จ่ายค่าจ้างระหว่างเลิกจ้าง ดังนี้ เมื่อเหตุที่ไม่นับอายุการเข้าทำงานต่อเนื่องนั้นนายจ้างอาศัยเทียบเคียงระเบียบว่าด้วยวินัย ฯ ซึ่งหากลูกจ้างอุทธรณ์คำสั่งเลิกจ้างตามระเบียบดังกล่าว นายจ้างก็สามารถเว้นช่วงการนับอายุงานระหว่างเลิกจ้างถึงวันเข้าทำงานและไม่จ่ายค่าจ้างระหว่างนั้นได้ ทั้งช่วงเวลาที่ถูกเลิกจ้างลูกจ้างก็มิได้ทำงานให้แก่นายจ้างเลย การที่นายจ้างไม่นับอายุงานต่อเนื่องและไม่จ่ายค่าจ้างระหว่างเลิกจ้างถึงวันที่ลูกจ้างกลับเข้าทำงาน จึงหาเป็นการไม่เป็นธรรมแก่ลูกจ้างไม่ นายจ้างออกคำสั่งเช่นนั้นได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1826-1833/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างระยะเวลา: การคำนวณอายุงานและค่าชดเชยจากสัญญาจ้างรายปี
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยมีกำหนดระยะเวลาจ้าง 1 ปี โดยระบุวันที่เริ่มต้นและสิ้นสุดแห่งสัญญาไว้ และเมื่อสัญญาครบกำหนดแล้วโจทก์จำเลยก็ทำสัญญากันใหม่ปีต่อปี ดังนี้ต้องถือว่าสัญญาจ้างแรงงานนี้เป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างเป็นปี ๆ ไป โจทก์จะขอให้นับอายุการทำงานของโจทก์ด้วยการนำระยะเวลาการจ้างในสัญญาทุกฉบับมารวมคำนวณเข้าด้วยกันเพื่อคำนวณค่าชดเชยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1826-1833/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างรายปี: อายุงานนับตามสัญญาแต่ละฉบับ ไม่สามารถรวมคำนวณต่อเนื่องได้
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยมีกำหนดระยะเวลาจ้าง 1 ปี โดยระบุวันที่เริ่มต้นและสิ้นสุดแห่งสัญญาไว้ และเมื่อสัญญาครบกำหนดแล้วโจทก์จำเลยก็ทำสัญญากันใหม่ปีต่อปี ดังนี้ต้องถือว่าสัญญาจ้างแรงงานนี้เป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างเป็นปี ๆ ไป โจทก์จะขอให้นับอายุการทำงานของโจทก์ด้วยการนำระยะเวลาการจ้างในสัญญาทุกฉบับมารวมคำนวณเข้าด้วยกันเพื่อคำนวณค่าชดเชยหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5967/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณเงินบำนาญ: เริ่มนับอายุงานเมื่อเป็นพนักงานประจำ แม้เคยเป็นลูกจ้างชั่วคราวก่อนหน้า
เมื่อข้อบังคับว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์พนักงานและคนงานของจำเลยกำหนดให้จ่ายเงินบำนาญตามอายุการทำงานเฉพาะแก่พนักงานและลูกจ้างประจำซึ่งพ้นจากงานเพราะเกษียณอายุ ก็ต้องเริ่มนับอายุการทำงานของโจทก์ในการคำนวณเงินบำนาญตั้งแต่วันที่โจทก์ได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานของจำเลยเป็นต้นไปแม้โจทก์เป็นลูกจ้างชั่วคราวก่อนได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานของจำเลยเป็นเวลา 10 ปีเศษก็ตาม โจทก์ก็ไม่อาจอ้างได้ว่าในช่วงเวลาที่เป็นลูกจ้างชั่วคราว โจทก์มีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานเพราะทำงานติดต่อกันเกิน 120 วัน เพื่อให้นับอายุการทำงานในการคำนวณเงินบำนาญตั้งแต่วันที่โจทก์เริ่มเป็นลูกจ้างชั่วคราว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 547-548/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนย้ายพนักงานจากธนาคารอาคารสงเคราะห์มายังการเคหะแห่งชาติ และการคำนวณอายุงานเพื่อประโยชน์ในการจ่ายเงินสงเคราะห์
การที่โจทก์ทั้งสองมาทำงานที่การเคหะแห่งชาติ เพราะประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 316 ข้อ 5 ให้โอนกิจการของธนาคารอาคารสงเคราะห์เฉพาะที่เกี่ยวกับธุรกิจตามมาตรา 27(1)และ (2) ตามพ.ร.บ. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. 2496 ให้แก่การเคหะแห่งชาติเมื่อมิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น การนับอายุการทำงานจึงต้องนับต่อเนื่องกันไป แต่เนื่องจากข้อบังคับของจำเลยกำหนดให้จ่ายเงินสงเคราะห์แก่พนักงานหรือลูกจ้างประจำเท่านั้น
เมื่อโจทก์ที่ 1 มีฐานะเป็นลูกจ้างประจำของธนาคารอาคารสงเคราะห์อยู่แล้วก่อนโอนมาเป็นลูกจ้างประจำของจำเลย จึงต้องนับอายุการทำงานติดต่อกัน ส่วนโจทก์ที่ 2เมื่อโอนมาเป็นลูกจ้างของจำเลยนั้นยังเป็นลูกจ้างชั่วคราวอยู่ เพิ่งจะได้รับแต่งตั้งเป็นลูกจ้างประจำภายหลังจึงต้องนับอายุการทำงานตั้งแต่วันได้รับแต่งตั้งเป็นลูกจ้างประจำ.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
เมื่อโจทก์ที่ 1 มีฐานะเป็นลูกจ้างประจำของธนาคารอาคารสงเคราะห์อยู่แล้วก่อนโอนมาเป็นลูกจ้างประจำของจำเลย จึงต้องนับอายุการทำงานติดต่อกัน ส่วนโจทก์ที่ 2เมื่อโอนมาเป็นลูกจ้างของจำเลยนั้นยังเป็นลูกจ้างชั่วคราวอยู่ เพิ่งจะได้รับแต่งตั้งเป็นลูกจ้างประจำภายหลังจึงต้องนับอายุการทำงานตั้งแต่วันได้รับแต่งตั้งเป็นลูกจ้างประจำ.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 196/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนย้ายลูกจ้างโดยไม่นับอายุงานต่อเนื่อง ถือเป็นการเลิกจ้าง
บริษัทจำเลยไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ จึงจัดการโอนโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำไปเป็นลูกจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ.โดยโจทก์ต้องไปเขียนใบสมัครงานใหม่กับห้างหุ้นส่วนจำกัดศ.แต่ไม่ปรากฏว่าได้มีการนับเวลาทำงานติดต่อกัน จึงถือไม่ได้ว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดศ.รับโอนการจ้างโจทก์จากบริษัทจำเลย กรณีดังนี้ ถือว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 196/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและการโอนย้ายลูกจ้าง กรณีไม่มีการนับต่อเนื่องอายุงาน ถือเป็นการเลิกจ้าง
บริษัทจำเลยไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ จึงจัดการโอนโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำไปเป็นลูกจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. โดยโจทก์ต้องไปเขียนใบสมัครงานใหม่กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. แต่ไม่ปรากฏว่าได้มีการนับเวลาทำงานติดต่อกัน จึงถือไม่ได้ว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. รับโอนการจ้างโจทก์จากบริษัทจำเลย กรณีดังนี้ ถือว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้ว.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3423/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนการจ้างไม่ใช่การเลิกจ้าง แม้การประปานครหลวงจะไม่นับอายุงานต่อเนื่อง
การโอนการประปาบางบัวทองซึ่งเป็นกิจการของจำเลยให้กับการประปานครหลวงเป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรี การโอนดังกล่าวมีข้อตกลงระหว่างจำเลยกับการประปานครหลวงว่าพนักงานที่โอนไปจะได้รับสิทธิต่าง ๆ ที่มีอยู่เช่นเดิม และให้มีอายุการปฏิบัติงานติดต่อกัน การที่โจทก์แสดงความจำนงขอโอนไปปฏิบัติงานกับการประปานครหลวง และจำเลยได้มีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานเพื่อโอนไปปฏิบัติงานกับการประปานครหลวงนั้น พฤติการณ์เป็นเรื่องโอนการจ้างโดยเปลี่ยนตัวนายจ้างจากการประปาส่วนภูมิภาคเป็นการประปานครหลวง ถือไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 แม้ต่อมาภายหลังการประปานครหลวงจะไม่นับอายุการปฏิบัติงานต่อเนื่องให้โจทก์ก็ไม่อาจทำให้การโอนการจ้างดังกล่าวกลับมีผลเป็นการเลิกจ้างไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าชดเชยจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3423/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โอนการจ้างไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง แม้สิทธิประโยชน์ไม่ต่อเนื่อง
การโอนการประปาบางบัวทองซึ่งเป็นกิจการของจำเลยให้กับการประปานครหลวงเป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีการโอนดังกล่าวมีข้อตกลงระหว่างจำเลยกับการประปานครหลวงว่าพนักงานที่โอนไปจะได้รับสิทธิต่างๆที่มีอยู่เช่นเดิมและให้มีอายุการปฏิบัติงานติดต่อกันการที่โจทก์แสดงความจำนงขอโอนไปปฏิบัติงานกับการประปานครหลวงและจำเลยได้มีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานเพื่อโอนไปปฏิบัติงานกับการประปานครหลวงนั้นพฤติการณ์เป็นเรื่องโอนการจ้างโดยเปลี่ยนตัวนายจ้างจากการประปาส่วนภูมิภาคเป็นการประปานครหลวงถือไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46แม้ต่อมาภายหลังการประปานครหลวงจะไม่นับอายุการปฏิบัติงานต่อเนื่องให้โจทก์ก็ไม่อาจทำให้การโอนการจ้างดังกล่าวกลับมีผลเป็นการเลิกจ้างไม่โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าชดเชยจากจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2791/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชย vs. เงินบำเหน็จ: การหักเงินบำเหน็จออกจากค่าชดเชย และการนับอายุงานที่ไม่ต่อเนื่อง
สิทธิของลูกจ้างที่จะได้รับเงินบำเหน็จเป็นสิทธิที่เกิด ขึ้นโดยระเบียบเดิม เจตนาของโจทก์จำเลยในการทำข้อตกลงเปลี่ยนแปลงแก้ไขหลักการในการจ่ายเงินบำเหน็จจากระเบียบเดิมโดยให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จตัดตอนเป็นรายปีให้แก่ลูกจ้างก็เพื่อให้โจทก์ได้รับเงินบำเหน็จไปใช้ประโยชน์ก่อนเป็นการเปลี่ยนแปลงระเบียบเดิมเฉพาะระยะเวลาการจ่ายเงินบำเหน็จเท่านั้น ส่วนสาระสำคัญอื่น ๆ เป็นไปตามเดิม การที่ระเบียบเดิมกำหนดว่า ถ้าเงินบำเหน็จมากกว่าค่าชดเชยให้ตัดเงินบำเหน็จเท่ากับจำนวนเงินชดเชย ถ้าเงินบำเหน็จน้อยกว่าค่าชดเชยก็ให้ได้รับแต่ค่าชดเชยอย่างเดียวมิได้เกี่ยวกับระยะเวลาการจ่ายเงินบำเหน็จ จำเลยมีสิทธินำระเบียบดังกล่าวมาใช้บังคับแก่โจทก์ได้ โจทก์เป็นลูกจ้างของบริษัทสุรามหาคุณจำกัด ก่อนเป็นลูกจ้างจำเลยโดยมิได้นับระยะเวลาทำงานติดต่อกัน ถือได้ว่า บริษัทสุรามหาคุณ จำกัด กับจำเลยมิได้โอนการจ้างแก่กัน การนับระยะเวลาการทำงานของโจทก์เพื่อคำนวณค่าชดเชยที่โจทก์จะได้รับจากจำเลยต้องนับแต่วันที่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย เงินบำเหน็จที่จะถือว่าเป็นค่าชดเชยที่จำเลยจ่ายไปแล้วก็คือเงินบำเหน็จที่จำเลยจ่ายไปตั้งแต่ปีที่โจทก์เข้าเป็นลูกจ้างจำเลย ส่วนเงินบำเหน็จที่บริษัทสุรามหาคุณจำกัด จ่ายไปก่อนหน้านั้นเป็นการจ่ายเงินบำเหน็จตัดตอนของบริษัทสุรามหาคุณ จำกัดเองจะนำระยะเวลาที่โจทก์ทำงานกับบริษัทสุรามหาคุณ จำกัด มาคำนวณเป็นค่าชดเชยรวมกับระยะเวลาที่โจทก์ทำงานกับจำเลยหาได้ไม่